พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีและการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าวโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7 เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132(1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้วมีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180,181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจนและเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(1)แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากเกินทุนทรัพย์, โต้แย้งดุลพินิจ, และประเด็นใหม่นอกเหนือคำอุทธรณ์เดิม
การที่ผู้ร้องทั้งสองฎีกาว่า การนำสืบของผู้คัดค้านยังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านได้ที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 นั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทภายในเส้นสีเขียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก มีผลเป็นการยกคำร้องขอของผู้ร้องที่ 2 ไปด้วย เมื่อผู้ร้องที่ 2 ไม่อุทธรณ์ได้แต่แก้อุทธรณ์และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ดังนั้น ประเด็นในเรื่องที่พิพาทภายในเส้นสีแดงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องที่ 2 หรือไม่ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ผู้ร้องที่ 2 ขอให้ศาลฎีกาพิจารณาว่าสิทธิในการเป็นทายาทผู้รับมรดกของผู้ร้องที่ 2 ยังคงมีอยู่ต่อไปนั้น เป็นฎีกาในข้อที่นอกเหนือไปจากประเด็นในคำร้องขอของผู้ร้องที่ 2 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิขอหลักประกันคืนหลังฎีกา: อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ไม่ใช่ศาลฎีกา
การที่จำเลยยื่นคำแถลงขอหลักประกันคืนต่อศาลชั้นต้น แม้เป็นการยื่นหลังจากคู่ความยื่นฎีกาแล้ว ก็เป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 251 ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติว่าถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างไรแล้วให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลฎีกาได้เลย ฉะนั้นเมื่อจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นชอบที่จะอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 จะอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิขอหลักประกันคืนและการอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่จำเลยยื่นคำแถลงขอหลักประกันคืนต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 251เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำแถลงของจำเลย จำเลยจึงชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นมายังศาลฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟัง หรือถือไม่ได้ว่าผู้ร้องได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223เมื่อผู้ร้องยกเหตุดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเสียเองโดยไม่ต้องย้อนสำนวน คดีนี้ได้มีการส่งหมายนัดอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ไปให้ทนายผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว ส่วนคำแถลงของผู้ร้องที่ขอให้ส่งคำคู่ความ ไปยังภูมิลำเนาของผู้ร้องนั้น ปรากฏว่าผู้ร้องได้ยื่นไว้ ในคดีอื่น มิได้ยื่นไว้ในคดีนี้ ดังนั้น จึงต้องถือว่า ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟังโดยชอบแล้ว ไม่ชอบที่ผู้ร้องจะมา ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฎีกา เมื่อล่วงเลยกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้น ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนด: การแจ้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการขอขยายระยะเวลา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟัง หรือถือไม่ได้ว่าผู้ร้องได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามป.วิ.พ.มาตรา 223 เมื่อผู้ร้องยกเหตุดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเสียเองโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
คดีนี้ได้มีการส่งหมายนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปให้ทนายผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว ส่วนคำแถลงของผู้ร้องที่ขอให้ส่งคำคู่ความไปยังภูมิลำเนาของผู้ร้องนั้น ปรากฏว่าผู้ร้องได้ยื่นไว้ในคดีอื่น มิได้ยื่นไว้ในคดีนี้ ดังนั้น จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟังโดยชอบแล้ว ไม่ชอบที่ผู้ร้องจะมาขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฎีกาเมื่อล่วงเลยกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้
คดีนี้ได้มีการส่งหมายนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปให้ทนายผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว ส่วนคำแถลงของผู้ร้องที่ขอให้ส่งคำคู่ความไปยังภูมิลำเนาของผู้ร้องนั้น ปรากฏว่าผู้ร้องได้ยื่นไว้ในคดีอื่น มิได้ยื่นไว้ในคดีนี้ ดังนั้น จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟังโดยชอบแล้ว ไม่ชอบที่ผู้ร้องจะมาขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฎีกาเมื่อล่วงเลยกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคแรก ต้องมีการยึดทรัพย์สินก่อน และไม่ลิดรอนสิทธิเจ้าหนี้
โจทก์ที่ 2 มิได้ร่วมกับโจทก์ที่ 1 ยื่นคำร้องของดการบังคับคดีไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของโจทก์ที่ 1 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิฎีกา การขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 วรรคแรกจะต้องมีการบังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะนั้น เนื่องจากวิธีการบังคับคดีที่จะงดคือการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นการคุ้มครองป้องกันมิให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับความเสียหายจากการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินก่อนที่จะได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดในคดีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นโจทก์ หาได้ให้ความคุ้มครองแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถึงขนาดลิดรอนสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิให้ดำเนินการเพื่อผลในการบังคับคดีตามคำพิพากษากับทรัพย์อื่นต่อไปไม่ คำร้องของโจทก์ที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอให้งดการบังคับคดีที่อาจมีต่อไปในอนาคตไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่เพิกถอนคำบังคับ และค่าขึ้นศาลสำหรับคดีปลดเปลื้องทุกข์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้เพิกถอนคำบังคับที่บังคับให้ผู้ร้องชำระเงินในส่วนที่ขาดไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดเดิมซึ่งผู้ร้องเป็นผู้สู้ราคาสูงสุดผู้ร้องย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ได้ กรณีนี้เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามข้อ (2)ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนการชำระเงินจากการประมูล และค่าขึ้นศาลสำหรับคดีที่คำขอไม่สามารถคำนวณเป็นราคาเงินได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้เพิกถอนคำบังคับที่บังคับให้ผู้ร้องชำระเงินในส่วนที่ขาดไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดเดิมซึ่งผู้ร้องเป็นผู้สู้ราคาสูงสุด ผู้ร้องย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ตามป.วิ.พ.มาตรา 223 ได้ กรณีนี้เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามข้อ (2) ในตาราง 1ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3771/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้และการชำระหนี้เพิ่มเติมหลังขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนอง
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ระบุว่า หลังจากโจทก์ยึด-ทรัพย์ของจำเลยทั้งสี่ออกขายทอดตลาดแล้ว โจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ในคดีนี้ให้แก่โจทก์อีก อ้างว่าเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยทั้งสี่ไม่เพียงพอกับเงินที่จำเลยทั้งสี่ต้องชำระตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ปฏิเสธที่จะชำระหนี้เพราะตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ถ้าหากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ไม่ชำระหนี้ โจทก์ก็มีสิทธิบังคับชำระหนี้เพียงจากทรัพย์ที่จำเลยทั้งสี่จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์เท่านั้น คำร้องของจำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 3 ในส่วนนี้อนุโลมได้ว่าเป็นการร้องขอให้งดการบังคับคดีอีกต่อไปอยู่ด้วยเมื่อศาลชั้นต้นมีคำอธิบายสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมซึ่งมีผลให้โจทก์สามารถติดตามยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เพื่อบังคับชำระหนี้ได้อีกจนครบมูลหนี้ จึงมีผลเป็นคำสั่งในชั้นบังคับคดีที่ให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้อยู่ในตัวจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงอาจใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 223
คำฟ้องโจทก์ระบุชัดเจนว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่ครบ ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระจนครบ โจทก์และจำเลยทั้งสี่ไม่ได้ตกลงจำกัดความรับผิดไว้ว่าถ้าหากโจทก์ยึดทรัพย์ของจำเลยทั้งสี่ที่ได้จำนองไว้แก่โจทก์ออกขายทอดตลาดได้เงินไม่ครบจำนวนหนี้แล้ว จำเลยทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดอีก หรือโจทก์ติดตามเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่จนครบจำนวนหนี้ไม่ได้อีก ดังนั้น เมื่อโจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่เพียงพอจำนวนหนี้ โจทก์จึงยังมีสิทธิติดตามบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสี่ภายใน 10 ปี ได้จนครบจำนวนหนี้
คำฟ้องโจทก์ระบุชัดเจนว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่ครบ ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระจนครบ โจทก์และจำเลยทั้งสี่ไม่ได้ตกลงจำกัดความรับผิดไว้ว่าถ้าหากโจทก์ยึดทรัพย์ของจำเลยทั้งสี่ที่ได้จำนองไว้แก่โจทก์ออกขายทอดตลาดได้เงินไม่ครบจำนวนหนี้แล้ว จำเลยทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดอีก หรือโจทก์ติดตามเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่จนครบจำนวนหนี้ไม่ได้อีก ดังนั้น เมื่อโจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่เพียงพอจำนวนหนี้ โจทก์จึงยังมีสิทธิติดตามบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสี่ภายใน 10 ปี ได้จนครบจำนวนหนี้