พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการยึดและการขายทอดตลาด: การยื่นคำร้องยกเลิกการขายทอดตลาดต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นก่อน
โจทก์ทราบถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนการยึดไปแล้ว ซึ่งโจทก์จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลที่ทำการบังคับคดีไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่โจทก์ทราบการฝ่าฝืนนั้น เพื่อขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการขายทอดตลาด อันเป็นกระบวนวิธีการบังคับคดีที่ไม่ชอบหรือฝ่าฝืนกฎหมายนั้นเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 แต่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น กลับมายื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ผิดขั้นตอนของลำดับชั้นศาลดังนั้นโจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาหาได้ไม่ ส่วนการขายทอดตลาดทรัพย์ซึ่งถูกเพิกถอนการยึดไปแล้วเป็นการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบ เป็นเรื่องของผู้มีส่วนได้เสียจะไปว่ากล่าวเอาต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นสิทธิอุทธรณ์/ฎีกาเป็นอันสูญ
โจทก์ทราบถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนการยึดไปแล้ว ซึ่งโจทก์จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่ทำการบังคับคดีไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่โจทก์ทราบการฝ่าฝืนนั้น เพื่อขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการขายทอดตลาด อันเป็นกระบวนวิธีการบังคับคดีที่ไม่ชอบหรือฝ่าฝืนกฎหมายนั้นเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 แต่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น กลับมายื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ผิดขั้นตอนของลำดับชั้นศาล ดังนั้นโจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาหาได้ไม่ ส่วนการขายทอดตลาดทรัพย์ซึ่งถูกเพิกถอนการยึดไปแล้วเป็นการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบ เป็นเรื่องของผู้มีส่วนได้เสียจะไปว่ากล่าวเอาต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องพิสูจน์ตามฟ้อง จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้หากพยานหลักฐานไม่พอ
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ตามฟ้องของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่พอให้ฟังได้ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมอุทธรณ์และการปฏิบัติตามเงื่อนไขการอุทธรณ์หลังมีคำพิพากษา
แม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองอุทธรณ์อย่างคนอนาถา และสั่งว่าหากจำเลยยังติดใจอุทธรณ์ ให้จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์มาชำระต่อศาลชั้นต้นใน 10 วันแต่เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการชำระเงินออกไปอีก 15 วัน ศาลชั้นต้นก็ได้สั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาไปเพียง7 วัน อันเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่สั่งขยายระยะเวลาการชำระเงินให้จำเลยทั้งสอง เพื่อประโยชน์แก่ความยุติธรรม จำเลยจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องการขอขยายระยะเวลาการชำระเงินดังกล่าวได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 223 การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ในเรื่องเกี่ยวกับการขอขยายระยะเวลาการชำระเงินค่าธรรมเนียมอุทธรณ์เป็นการยื่นอุทธรณ์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว และย่อมทำให้การบังคับคดีต้องล่าช้าไป อันอาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยจึงต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวทนาย, การชี้สองสถาน, และการดำเนินการพิจารณาคดีภาษีอากรที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำร้องของ ทนายโจทก์ที่ขอถอนตนเองจากการเป็นทนาย มิได้กล่าวว่าทนายโจทก์ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วหรือหาตัวความไม่พบถือได้ว่าทนายโจทก์มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลถึงเหตุดังกล่าวตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 วรรคแรกประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 บังคับไว้ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ ไม่มีเหตุที่ศาลต้องอนุญาตให้ทนายถอนตัว การสั่งคำร้องของ ทนายโจทก์ที่ขอถอนตัวจากการเป็นทนายและขอเลื่อนคดี เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณานอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำหรือออกคำสั่งดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 16 ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 20 ได้กำหนดไว้ว่า ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่ใด หรือในวันเวลาใด ๆก็ได้ตามที่เห็นสมควร การที่ศาลภาษีอากรกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาการชี้สองสถานมาอ่านให้คู่ความฟังที่หน้าห้องโดยมิได้ขึ้นนั่งพิจารณาบนบัลลังก์ก็ชอบด้วยข้อกำหนดดังกล่าว การที่ผู้พิพากษาคนเดียวทำการชี้สองสถานไม่ครบองค์คณะโจทก์มิได้คัดค้านในขณะนั้นถือว่าไม่ติดใจคัดค้านในเรื่ององค์คณะ จึงยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ไม่ได้ ศาลภาษีอากรกลางทำการชี้สองสถานโดยนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏในคำคู่ความเทียบกันดูแล้ว กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบโดยศาลมิได้สอบถามคู่ความถึงข้ออ้างข้อเถียงว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้างข้อเถียงนั้นอย่างไร ถ้าเป็นกรณีที่ไม่จำต้องสอบถามเนื่องจากเป็นข้อที่คู่ความโต้แย้งกันในคำฟ้องและคำให้การโดยตรงอยู่แล้ว การชี้สองสถานนั้นก็ชอบด้วยข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการไต่สวนเหตุสุดวิสัย ศาลไม่ต้องไต่สวนหากไม่ได้อ้างเหตุสุดวิสัย
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาจะไม่มาศาลตามกำหนดนัดเพราะรถที่จำเลยที่ 1 ใช้เป็นพาหนะเดินทางมาศาลเกิดอุบัติเหตุอันเป็นเหตุสุดวิสัยมิอาจก้าวล่วงเสียได้ การที่ศาลว่าไม่มีเหตุสมควรจะไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงไม่เห็นชอบด้วย เพราะตาม ป.วิ.พ.นั้น เหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องไต่สวนและหากได้ความว่าจำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ ถือได้ว่าเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่า กรณีที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 นั้น มิใช่เพราะกรณีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนแต่เป็นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่มาตามกำหนดนัดอันเป็นการขาดนัดพิจารณา ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ หากเป็นความจริงก็ต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องอุทธรณ์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ จึงมิใช่คำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201แต่เป็นการสั่งสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนตามคำร้องขอ เป็นการยกคำร้องขอตามมาตรา 156 วรรคสาม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิดำเนินการต่อไปได้แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าเท่านั้น หรือหากเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประการใดก็ย่อมอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ไม่ ทั้งไม่ใช่กรณีขาดนัดตามมาตรา 202 ซึ่งจะขอพิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา 207 ประกอบมาตรา 209
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องอุทธรณ์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ จึงมิใช่คำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201แต่เป็นการสั่งสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนตามคำร้องขอ เป็นการยกคำร้องขอตามมาตรา 156 วรรคสาม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิดำเนินการต่อไปได้แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าเท่านั้น หรือหากเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประการใดก็ย่อมอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ไม่ ทั้งไม่ใช่กรณีขาดนัดตามมาตรา 202 ซึ่งจะขอพิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา 207 ประกอบมาตรา 209
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี และการไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลต้องไต่สวนเหตุผลที่ไม่มาศาลก่อน
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาจะไม่มาศาลตามกำหนดนัดเพราะรถที่จำเลยที่ 1 ใช้เป็นพาหนะเดินทางมาศาลเกิดอุบัติเหตุอันเป็นเหตุสุดวิสัยมิอาจก้าวล่วงเสียได้ การที่ศาลว่าไม่มีเหตุสมควรจะไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่เห็นชอบด้วย เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น เหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องไต่สวนและหากได้ความว่าจำเลยที่ 1ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ ถือได้ว่าเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่า กรณีที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 นั้น มิใช่เพราะกรณีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนแต่เป็นเพราะจำเลยที่ 1ไม่มาตามกำหนดนัดอันเป็นการขาดนัดพิจารณา ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ หากเป็นความจริงก็ต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1โดยมิได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องอุทธรณ์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ จึงมิใช่คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 แต่เป็นการสั่งสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนตามคำร้องขอ เป็นการยกคำร้องขอตามมาตรา 156 วรรคสาม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิดำเนินการต่อไปได้แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าเท่านั้น หรือหากเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประการใดก็ย่อมอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ไม่ ทั้งไม่ใช่กรณีขาดนัดตามมาตรา 202 ซึ่งจะขอพิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา 207 ประกอบมาตรา 209
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์จำเลยที่ไม่เคยคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และการขอประนอมหนี้หลังที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติให้ล้มละลาย
จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของจำเลยที่ 2 แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 มาก็ไม่เกิดสิทธิอุทธรณ์ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 61 บัญญัติว่าเมื่อเจ้าหนี้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย จึงเป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย จะงดพิพากษาหรือพิพากษาเป็นอย่างอื่นไม่ได้เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติไม่ยอมรับคำขอประนอมหนี้ของจำเลยที่ 2และขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลเพื่อพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายอีก ทั้ง ๆ ที่เป็นการพ้นขั้นตอนและพ้นระยะเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 45 แล้ว จึงเป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน หากฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา อีกฝ่ายมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้
โจทก์จำเลยแถลงในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาโกงเจ้าหนี้และเบิกความเท็จ และศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าหนี้ จ. จำนวน 100,000 บาท และโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวแลกกับการที่จำเลยงดเว้นใช้สิทธิอุทธรณ์ในคดีแพ่ง ที่โจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉล จำเลยตกลงโดย ทนายโจทก์และจำเลยลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ถือว่าข้อตกลง ดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและมีผลผูกพันกัน เมื่อโจทก์ ถอนฟ้องคดีอาญาแล้ว จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ในคดีแพ่งดังกล่าวจำเลย จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยยื่นอุทธรณ์คดีแพ่งฝ่าฝืนข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นฎีกา แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยจะยังไม่ได้ยื่นฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าว แต่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฎีกาและโจทก์ได้แก้ฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้จำเลยรับผิดค่าใช้จ่ายของโจทก์ในชั้นฎีกาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้เมื่อใด จึงให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยสำหรับค่าใช้จ่ายชั้นฎีกานับแต่วันอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน การผิดสัญญาและการชดใช้ค่าเสียหายจากการอุทธรณ์คดีแพ่ง
โจทก์จำเลยแถลงในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาโกงเจ้าหนี้และเบิกความเท็จ และศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าหนี้ จ.จำนวน100,000 บาท และโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวแลกกับการที่จำเลยงดเว้นใช้สิทธิอุทธรณ์ในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉล จำเลยตกลง โดยทนายโจทก์และจำเลยลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและมีผลผูกพันกัน เมื่อโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาแล้ว จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ในคดีแพ่งดังกล่าว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยยื่นอุทธรณ์คดีแพ่งฝ่าฝืนข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นฎีกา แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยจะยังไม่ได้ยื่นฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าว แต่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฎีกาและโจทก์ได้แก้ฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้จำเลยรับผิดค่าใช้จ่ายของโจทก์ในชั้นฎีกาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้เมื่อใด จึงให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยสำหรับค่าใช้จ่ายชั้นฎีกานับแต่วันอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนี้
จำเลยยื่นอุทธรณ์คดีแพ่งฝ่าฝืนข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นฎีกา แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยจะยังไม่ได้ยื่นฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าว แต่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฎีกาและโจทก์ได้แก้ฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้จำเลยรับผิดค่าใช้จ่ายของโจทก์ในชั้นฎีกาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้เมื่อใด จึงให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยสำหรับค่าใช้จ่ายชั้นฎีกานับแต่วันอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนี้