พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยเอกสารปลอม แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้หากจำเลยอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยกู้เงินโจทก์เพียง 40,000 บาท ไม่ใช่68,000 บาท ดังโจทก์ฟ้อง แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อนี้แต่จำเลยเป็นฝ่ายอุทธรณ์ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารปลอม เพราะจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้กรอกข้อความอื่นใดไว้ จึงมีประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้ว่าสัญญากู้ปลอมหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การคิดคำนวณหนี้ที่จำหน่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ
ข้อกฎหมายเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า การเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้ ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็น เงินตราของประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
การที่โจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศขณะยื่นฟ้องเป็นเกณฑ์คำนวณในการมีคำขอท้ายฟ้อง และโจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยคิดเป็นเงินไทย โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินไทยดังกล่าวได้.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า การเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้ ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็น เงินตราของประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
การที่โจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศขณะยื่นฟ้องเป็นเกณฑ์คำนวณในการมีคำขอท้ายฟ้อง และโจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยคิดเป็นเงินไทย โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินไทยดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 196: การคิดคำนวณหนี้เงินตราต่างประเทศ
ข้อกฎหมายเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่าการเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้ ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราของประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา การที่โจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศขณะยื่นฟ้องเป็นเกณฑ์คำนวณในการมีคำขอท้ายฟ้อง และโจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยคิดเป็นเงินไทย โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินไทยดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในความเสียหายจากไฟไหม้ไร่อ้อย การให้สัตยาบันการพิจารณาคดี และสิทธิในทรัพย์สินในที่ดินป่าสงวน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์มิได้อุทธรณ์ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะลงชื่อมาในท้ายอุทธรณ์ แต่ก็ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้โจทก์มิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยไม่น้อยกว่า 3 วันตามกำหนด แต่เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องดังกล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้คัดค้านที่โจทก์ไม่ส่งสำเนาคำร้อง และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแล้ว จำเลยยังขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการชี้สองสถานไปเพื่อจำเลยจะได้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องด้วย เช่นนี้เท่ากับจำเลยให้สัตยาบันแก่การพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 แล้ว จำเลยจะยกเอาเหตุนี้ขึ้นมาคัดค้านในภายหลังอีกไม่ได้
แม้ที่ดินที่โจทก์ปลูกอ้อยจะเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่โจทก์เข้าไปยึดถือครอบครองโดยไม่ชอบก็ตาม แต่อ้อยดังกล่าวก็ยังเป็นทรัพย์ของโจทก์ เมื่อมีบุคคลอื่นมาทำให้อ้อยที่โจทก์ปลูกไว้เสียหาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้มาทำละเมิดได้
การปลูกป่าจำเป็นต้องแผ้วถางก่อน เมื่อแผ้วถางแล้วก็ต้องเผาหญ้าและต้นไม้ที่แผ้วถาง เพื่อให้พื้นที่เตียนจะได้ปลูกป่าต่อไป การที่คนงานปลูกป่าของจำเลยจุดไฟเผาหญ้าและต้นไม้ที่แผ้วถางไว้ จึงเป็นงานในทางการที่จ้าง จำเลยจะยกเอาเหตุดังกล่าวมาปัดความรับผิดหาได้ไม่
แม้โจทก์มิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยไม่น้อยกว่า 3 วันตามกำหนด แต่เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องดังกล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้คัดค้านที่โจทก์ไม่ส่งสำเนาคำร้อง และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแล้ว จำเลยยังขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการชี้สองสถานไปเพื่อจำเลยจะได้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องด้วย เช่นนี้เท่ากับจำเลยให้สัตยาบันแก่การพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 แล้ว จำเลยจะยกเอาเหตุนี้ขึ้นมาคัดค้านในภายหลังอีกไม่ได้
แม้ที่ดินที่โจทก์ปลูกอ้อยจะเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่โจทก์เข้าไปยึดถือครอบครองโดยไม่ชอบก็ตาม แต่อ้อยดังกล่าวก็ยังเป็นทรัพย์ของโจทก์ เมื่อมีบุคคลอื่นมาทำให้อ้อยที่โจทก์ปลูกไว้เสียหาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้มาทำละเมิดได้
การปลูกป่าจำเป็นต้องแผ้วถางก่อน เมื่อแผ้วถางแล้วก็ต้องเผาหญ้าและต้นไม้ที่แผ้วถาง เพื่อให้พื้นที่เตียนจะได้ปลูกป่าต่อไป การที่คนงานปลูกป่าของจำเลยจุดไฟเผาหญ้าและต้นไม้ที่แผ้วถางไว้ จึงเป็นงานในทางการที่จ้าง จำเลยจะยกเอาเหตุดังกล่าวมาปัดความรับผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3515/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคำร้องขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย: การพิจารณาประเภทคำสั่งและระยะเวลาที่ถูกต้อง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีชั้นร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยเพราะจำเลยทิ้งคำร้องมิใช่เป็นการสั่งในเนื้อหาของคำร้องและมิใช่เป็นคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาซึ่งจะต้องอุทธรณ์ภายใน 7 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคท้าย แต่มีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งจำหน่ายคำร้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบมาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำในทางการจ้าง แม้ผู้ครอบครองรถยนต์จะไม่ใช่ตน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 6 กระทำละเมิดต่อ โจทก์ในทางการจ้าง ของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 6 ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อ โจทก์ในทางการที่จ้าง ของจำเลยที่ 3 ถึง ที่ 6 ส่วนจำเลยที่ 2 พิพากษายกฟ้อง จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้เถียง คำพิพากษาศาลชั้นต้นใน ปัญหาข้อนี้ ดังนั้น จำเลยที่ 3ถึง ที่ 6 ซึ่ง เป็นนายจ้างย่อมต้อง ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 425 การที่จำเลยที่ 2 จะครอบครองรถยนต์ คันที่จำเลยที่ 1 ขับอยู่ในขณะเกิดเหตุ หรือไม่ จึงมิใช่สาระสำคัญในการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ถึง ที่ 6.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: วินิจฉัยถึงที่สุดหลังอธิบดีศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแล้ว ห้ามอุทธรณ์
คดีที่ศาลแรงงานกลางส่งสำนวนคดีไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคดีนั้นอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางหรือไม่ เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานวินิจฉัยว่าเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางแล้วคำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมถึงที่สุดต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาคำร้องขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์ คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
กรณีที่พิพาทกันในชั้นขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ซึ่งจำเลยยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์นั้น อำนาจในการสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตเป็นอำนาจเฉพาะของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้รวมตลอดถึงเรื่องการพิจารณาหลักประกันด้วย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดคู่ความจะฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์มิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2585/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีรวมพิจารณา: คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ผูกพันคดีที่เปิดให้อุทธรณ์ได้
โจทก์ผู้รับประกันภัยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยอ้างว่ารถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกรถคันที่จำเลยรับประกันภัยไว้ชนได้รับความเสียหาย จำเลยก็ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์อันเนื่องมาจากการที่รถเกิดชนกันในเหตุครั้งเดียวกันนี้ด้วยศาลชั้นต้นพิจารณาคดีรวมกันแล้วฟังว่า เหตุที่รถชนกันเกิดเพราะความประมาทของผู้ขับรถคันที่จำเลยรับประกันภัยไว้แต่ฝ่ายเดียวพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และยกฟ้องคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ แม้คดีหลังนี้จะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแต่ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ให้ถือว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีหลังดังกล่าวนี้มีผลผูกพันคู่ความในคดีแรกที่คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง หรืออีกนัยหนึ่งไม่มีบทมาตราใดให้ศาลอุทธรณ์จำต้องถือข้อเท็จจริงในคดีที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ก็มีส่วนประมาทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากทุจริตของพนักงานอื่น และการหักกลบลบหนี้ในคดีแรงงาน
ในการปิดบัญชีเงินสดของแต่ละวัน โจทก์ตรวจแต่บัญชีเงินสดมิได้ตรวจตราไปรษณียากรคงเหลือ ทะเบียน กับสมุดแรกรับตราไปรษณียากรและวิมัยบัตรตามหน้าที่ เป็นเหตุให้พนักงานเงินทุจริตนำไปรษณียากรและเงินฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์รายเดือนไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างโดยตรงฐานผิดสัญญาจ้างและฐานกระทำละเมิดต่อจำเลยในฐานลูกหนี้ร่วมกับพนักงานเงิน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเกษียณอายุ โดยโจทก์ไม่มีความผิด ขอให้จำเลยชำระเงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และเงินโบนัสแก่โจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยเป็นเหตุให้พนักงานเงินของจำเลยทุจริตทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงขอใช้สิทธิหักกลบลบหนี้กับเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลย ซึ่งเมื่อหักแล้วโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่อีกจำนวนหนึ่ง จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในจำนวนเงินดังกล่าว เช่นนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์กระทำผิดสัญญาจ้างและกระทำละเมิดต่อจำเลย จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมแล้ว ทั้งจำเลยได้บรรยายฟ้องแย้งว่า โจทก์มิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างไร จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไร เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วส่วนข้อที่ว่าโจทก์ละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างไรฉบับที่เท่าใดนั้น เป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงยุติว่า การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยเป็นเหตุให้พนักงานเงินทุจริตนำเงินของจำเลยไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวจำนวน 397,090.50 บาท และโจทก์ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนให้แก่จำเลยด้วย แม้ในฟ้องแย้งจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์ใช้เพียง 36,130.15 บาทก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าสามารถนำสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดมาหักกับสิทธิเรียกร้องในเงินตามฟ้องของโจทก์ได้ จึงต้องถือว่าจำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจำนวนทั้งหมดอยู่เช่นเดิม เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องรวม 375,257.14 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยเพื่อความสะดวกในการบังคับคดีตามคำพิพากษา จึงให้หักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป โจทก์จึงต้องชำระเงินให้จำเลยอีก21,833.36 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ย แต่เนื่องจากจำเลยมิได้อุทธรณ์จึงให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องแย้งตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง