พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่ต้องรับผิดในหนี้ค่าจ้างจากความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง แม้จะเกี่ยวข้องจัดการงาน
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ย่อมถึงที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้จะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้เกี่ยวกับการจ้างแรงงานของลูกจ้างห้างหุ้นส่วนเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่นายจ้างต้องรับผิดต่อลูกจ้าง หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างจึงไม่ต้องรับผิด
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาของลูกหนี้แม้ไม่โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ และอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการงดสอบพยาน
แม้ลูกหนี้จะมิได้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของผู้ขอรับชำระหนี้ ลูกหนี้ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ เพราะไม่มีกฎหมายห้าม
(วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2526)
การที่ศาลจะมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้นั้นมิได้มีกฎหมายกำหนดให้ศาลจะต้องรอจนกว่าการอุทธรณ์ฎีกาในเรื่องที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะถึงที่สุดเสียก่อน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจที่จะให้งดสอบพยานของลูกหนี้ได้ถ้าเห็นว่าประเด็นที่จะขอให้สอบไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และได้ส่งหมายเรียกไปตามภูมิลำเนาแล้วแต่ส่งไม่ได้
การที่จะนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาในการทำความเห็นเสนอต่อศาลนั้นเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2526)
การที่ศาลจะมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้นั้นมิได้มีกฎหมายกำหนดให้ศาลจะต้องรอจนกว่าการอุทธรณ์ฎีกาในเรื่องที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะถึงที่สุดเสียก่อน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจที่จะให้งดสอบพยานของลูกหนี้ได้ถ้าเห็นว่าประเด็นที่จะขอให้สอบไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และได้ส่งหมายเรียกไปตามภูมิลำเนาแล้วแต่ส่งไม่ได้
การที่จะนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาในการทำความเห็นเสนอต่อศาลนั้นเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งอนุญาตรับชำระหนี้ แม้มิได้โต้แย้ง & ดุลพินิจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
แม้ลูกหนี้จะมิได้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของผู้ขอรับชำระหนี้ ลูกหนี้ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ เพราะไม่มีกฎหมายห้าม (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2526)
การที่ศาลจะมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้นั้นมิได้มีกฎหมายกำหนดให้ศาลจะต้องรอจนกว่าการอุทธรณ์ฎีกาในเรื่องที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะถึงที่สุดเสียก่อน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจที่จะให้งดสอบพยานของลูกหนี้ได้ถ้าเห็นว่าประเด็นที่จะขอให้สอบไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และได้ส่งหมายเรียกไปตามภูมิลำเนาแล้วแต่ส่งไม่ได้
การที่จะนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาในการทำความเห็นเสนอต่อศาลนั้นเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ศาลจะมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้นั้นมิได้มีกฎหมายกำหนดให้ศาลจะต้องรอจนกว่าการอุทธรณ์ฎีกาในเรื่องที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะถึงที่สุดเสียก่อน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจที่จะให้งดสอบพยานของลูกหนี้ได้ถ้าเห็นว่าประเด็นที่จะขอให้สอบไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และได้ส่งหมายเรียกไปตามภูมิลำเนาแล้วแต่ส่งไม่ได้
การที่จะนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาในการทำความเห็นเสนอต่อศาลนั้นเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางภารจำยอมย่อมต้องยกขึ้นอุทธรณ์หากไม่เห็นพ้องกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น การยกขึ้นฎีกาจึงเป็นการยกประเด็นใหม่
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและเป็นทางภารจำยอม เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่เป็นทางภารจำยอม แต่เป็นทางจำเป็นจึงพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางพิพาท คำขออื่น ๆ ให้ยก หากโจทก์เห็นว่าโจทก์ได้สิทธิทางภารจำยอม โจทก์ก็จะต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวินิจฉัยไม่ถูกต้องอย่างไร แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ เพียงแก้อุทธรณ์และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมด้วย ฉะนั้นประเด็นในเรื่องทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำขอทางสิทธิในที่ดิน: โจทก์ต้องอุทธรณ์หากไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและเป็นทางภารจำยอมเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่เป็นทางภารจำยอม แต่เป็นทางจำเป็น จึงพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางพิพาทคำขออื่นๆ ให้ยก หากโจทก์เห็นว่าโจทก์ได้สิทธิทางภารจำยอม โจทก์ก็จะต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวินิจฉัยไม่ถูกต้องอย่างไร แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ เพียงแก้อุทธรณ์และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมด้วย ฉะนั้นประเด็นในเรื่องทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตฟ้อง: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยหากคำสั่งไม่ถึงที่สุด
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตฟ้อง: คำสั่งศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3330/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกและการแบ่งมรดกโดยทายาทแทนที่ สิทธิฟ้องร้องแบ่งมรดก
การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขอจัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินพิพาทสองแปลงตามที่โจทก์ขอแบ่ง แสดงว่าที่ดินทั้งสองแปลงเป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ ผ. ซึ่งอยู่ระหว่างจัดการมรดกถึงแม้ว่าจำเลยจะครอบครองที่ดินดังกล่าวตั้งแต่ ผ. ตายแต่ผู้เดียวดังที่จำเลยให้การก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันกันและต่อมาจำเลยก็ได้เป็นผู้จัดการมรดก ดังนั้นที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยจะยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้ไม่ได้ โจทก์ซึ่งมีสิทธิรับมรดกแทนที่ของทายาทของ ผ. เจ้ามรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอแบ่งจากจำเลยได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นและมิได้ยกปัญหานี้เป็นข้ออุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยให้ฟังพยานโจทก์จำเลยก่อนนั้นไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นและมิได้ยกปัญหานี้เป็นข้ออุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยให้ฟังพยานโจทก์จำเลยก่อนนั้นไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3330/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกและการฟ้องแบ่งมรดกของทายาท
การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขอจัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินพิพาทสองแปลงตามที่โจทก์ขอแบ่ง แสดงว่าที่ดินทั้งสองแปลงเป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ ผ. ซึ่งอยู่ระหว่างจัดการมรดกถึงแม้ว่าจำเลยจะครอบครองที่ดินดังกล่าวตั้งแต่ ผ.ตายแต่ผู้เดียวดังที่จำเลยให้การ ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันกันและต่อมาจำเลยก็ได้เป็นผู้จัดการมรดก ดังนั้นที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยจะยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาใช้ไม่ได้ โจทก์ซึ่งมีสิทธิรับมรดกแทนที่ของทายาทของ ผ. เจ้ามรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอแบ่งจากจำเลยได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นและมิได้ยกปัญหานี้เป็นข้ออุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยให้ฟังพยานโจทก์จำเลยก่อนนั้นไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นและมิได้ยกปัญหานี้เป็นข้ออุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยให้ฟังพยานโจทก์จำเลยก่อนนั้นไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงาน: คดีละเมิดอำนาจศาลต้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 54 ที่บัญญัติให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานไปยังศาลฎีกานั้น มุ่งหมายให้ใช้เฉพาะแก่คดีแรงงานเท่านั้น คดีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลมิใช่คดีแรงงาน แม้คำสั่งลงโทษผู้ถูกกล่าวหาฐานละเมิดอำนาจศาลจะเป็นคำสั่งของศาลแรงงานกลาง ผู้ถูกกล่าวหาก็ต้องอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์