พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม: โจทก์ฟ้องซ้ำไม่ได้หากเคยถูกตัดสินแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่อยู่ในโฉนด
จำเลยเคยยื่นคำร้องในคดีก่อนอ้างว่าที่พิพาทเป็นที่ดินในโฉนดของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปกปักษ์ขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโฉนดของโจทก์ ความจริงจำเลยเข้าไปอาศัยและทำนาโดยอาศัยสิทธิการเช่าของบุคคลอื่นที่เช่าที่ดินไปจากโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์ โดยต่างคนต่างครอบครองตามแนวเขตที่ดินของตนไม่ปรปักษ์กัน ดังนี้ คำพิพากษาคดีก่อนจะชอบหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องผูกพันในคำพิพากษานั้นว่า ที่พิพาทไม่ได้อยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีหลังและนำสืบว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจึงรับฟังไม่ได้
แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อคำพิพากษาวินิจฉัยมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลย จำเลยย่อมอุทธรณ์ได้
แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อคำพิพากษาวินิจฉัยมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลย จำเลยย่อมอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม: โจทก์ฟ้องซ้ำไม่ได้เมื่อคำพิพากษาเดิมวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว
จำเลยเคยยื่นคำร้องในคดีก่อนอ้างว่าที่พิพาทเป็นที่ดินในโฉนดของโจทก์ซึ่งจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโฉนดของโจทก์ ความจริงจำเลยเข้าไปอาศัยและทำนาโดยอาศัยสิทธิการเช่าของบุคคลอื่นที่เช่าที่ดินไปจากโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์ โดยต่างคนต่างครอบครองตามแนวเขตที่ดินของตนไม่ปรปักษ์กันดังนี้ คำพิพากษาคดีก่อนจะชอบหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องผูกพันในคำพิพากษานั้นว่า ที่พิพาทไม่ได้อยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีหลังและนำสืบว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจึงรับฟังไม่ได้
แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อคำพิพากษาวินิจฉัยมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลย จำเลยย่อมอุทธรณ์ได้
แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อคำพิพากษาวินิจฉัยมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลย จำเลยย่อมอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถา: การเพิกถอนคำสั่งเดิมและการอุทธรณ์คำสั่งศาล
ในวันที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 และทนายไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนและสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและไต่สวนคำร้องขออนาถาใหม่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2517 ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และมีคำสั่งลงวันที่ 9 เมษายน 2518 อนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถา โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลลงวันที่ 31 ตุลาคม 2517 ซึ่งโจทก์ได้โต้แย้งไว้แล้ว จึงหาใช่เป็นอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตให้จำเลยอทุธรณ์อย่างคนอนาถาอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา156 วรรคสามไม่ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการสืบพยานหลักฐานของจำเลยในชั้นไต่สวนอนาถาและสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่วนั้นได้ เพราะศาลได้สั่งไปโดยชอบแล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีการขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 หรือ 202 ด้วย ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นอนุญาตให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการสืบพยานหลักฐานของจำเลยในชั้นไต่สวนอนาถาและสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่วนั้นได้ เพราะศาลได้สั่งไปโดยชอบแล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีการขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 หรือ 202 ด้วย ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นอนุญาตให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอนุญาตไต่สวนอนาถาใหม่ และรับอุทธรณ์อนาถาไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ในวันที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 และทนายไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนและสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและไต่สวนคำร้องขออนาถาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2517 ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และมีคำสั่งลงวันที่ 9 เมษายน 2518 อนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถา โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลลงวันที่ 31 ตุลาคม 2517 ซึ่งโจทก์ได้โต้แย้งไว้แล้ว จึงหาใช่เป็นอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์อย่างคนอนาถาอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156วรรคสามไม่จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการสืบพยานหลักฐานของจำเลยในชั้นไต่สวนอนาถาและสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้ เพราะศาลได้สั่งไปโดยชอบ แล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีการขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 หรือ 202 ด้วย ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นอนุญาตให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการสืบพยานหลักฐานของจำเลยในชั้นไต่สวนอนาถาและสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้ เพราะศาลได้สั่งไปโดยชอบ แล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีการขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 หรือ 202 ด้วย ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นอนุญาตให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของคนต่างด้าวในการฟ้องคดีที่ดิน แม้ไม่ได้กรรมสิทธิ์ แต่มีสิทธิเรียกร้อง
กฎหมายที่ดินมิได้ห้ามคนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดินโดยเด็ดขาด แม้ว่าโจทก์จะเป็นคนต่างด้าวก็มีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดิน โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลย แต่ยกฟ้องเพราะบังคับให้คืนเงินตามคำขอของโจทก์ไม่ได้ จำเลยอุทธรณ์ฎีกาได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ต้องอาศัยประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้ว และขอบเขตการฎีกาของจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุก ขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นที่ดินโฉนดที่ 1174 ของบุตรจำเลย จำเลยมิได้ทำละเมิด และค่าเสียหายไม่ถึงจำนวนที่ฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นที่ดินนอกโฉนดที่ 1174 และเป็นที่ดินของ ก. เมื่อ ก. ตายแล้วฝ่ายโจทก์ครอบครองตลอดมาจำเลยเพิ่งโต้แย้งการครอบครองไม่ถึง 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดสิทธิฟ้องร้องเรียกคืนการครอบครอง โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งของ ก. จึงมีอำนาจฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้ฎีกาประเด็นที่ว่า ที่พิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่1174 ของจำเลยหรือไม่ โจทก์ขาดสิทธิครอบครองและมีอำนาจฟ้องหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์เสียหายจริงแล้ว จำเลยคงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในประเด็นเรื่องละเมิดและค่าเสียหายเท่านั้น จะรื้อฟื้นประเด็นที่ยุติไปแล้วเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกาต่อไปอีกหาได้ไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแต่ผู้เดียว มิได้ให้จำเลยร่วมต้องรับผิดด้วย จำเลยร่วมจะฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายด้วยหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแต่ผู้เดียว มิได้ให้จำเลยร่วมต้องรับผิดด้วย จำเลยร่วมจะฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่สามารถรื้อฟื้นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วได้ และจำเลยร่วมไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นค่าเสียหายที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดแต่เพียงผู้เดียว
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุก ขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นที่ดินโฉนดที่ 1174 ของบุตรจำเลย จำเลยมิได้ทำละเมิด และค่าเสียหายไม่ถึงจำนวนที่ฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นที่ดินนอกโฉนดที่1174 และเป็นที่ดินของ ก. เมื่อ ก. ตายแล้วฝ่ายโจทก์ครอบครองตลอดมา จำเลยเพิ่งโต้แย้งการครอบครองไม่ถีง 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดสิทธิฟ้องร้องเรียกคืนการครอบครอง โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งของ ก. จึงมีอำนาจฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้ฎีกา ประเด็นที่ว่าที่พิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่ 1174 ของจำเลยหรือไม่ โจทก์ขาดสิทธิครอบครองและมีอำนาจฟ้องหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์เสียหายจริงแล้ว จำเลยคงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในประเด็นเรื่องละเมิดและค่าเสียหายเท่านั้นจะรื้อฟื้นประเด็นที่ยุติไปแล้วเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกาต่อไปอีกหาได้ไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแต่ผู้เดียว มิได้ให้จำเลยร่วมต้องรับผิดด้วย จำเลยร่วมจะฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายด้วยหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแต่ผู้เดียว มิได้ให้จำเลยร่วมต้องรับผิดด้วย จำเลยร่วมจะฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าและค่าเลี้ยงดูบุตร: อุทธรณ์หลังศาลพิพากษาไม่เป็นเหตุต้องห้าม
คดีฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงดูภริยาและบุตร คู่ความยอมหย่าและไม่สืบพยานเรื่องบุตรกับค่าอุปการะเลี้ยงดูขอให้ศาลพิจารณาพิพากษา เมื่อศาลพิพากษาแล้วคู่ความอุทธรณ์ได้ ไม่ต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาสมรสและภาระการพิสูจน์ การยอมให้ศาลชี้ขาดเฉพาะค่าเสียหายมิใช่การสละข้อต่อสู้ทั้งหมด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาสมรส ขอให้คืนของหมั้นและใช้ค่าเสียหายค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส เงินรับไหว้และสร้อยคอที่โจทก์ที่ 2 ซื้อให้โจทก์ที่ 3 จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยมิได้ผิดสัญญาสมรส โจทก์มิได้เสียหายตามฟ้องวันชี้สองสถานคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า ในประเด็นค่าเสียหายทั้งหมดตามฟ้องโจทก์ฝ่ายจำเลยตกลงยอมให้ศาลชี้ขาดไปตามฟ้อง ตามสิทธิในกฎหมายโดยจำเลยสละข้อเท็จจริงซึ่งยกเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ ดังนี้ ถือว่าเฉพาะแต่ประเด็นเรื่องค่าเสียหายเท่านั้นที่จำเลยยอมให้ศาลชี้ขาดไปได้ โดยจำเลยยอมสละข้อเท็จจริงที่ยกเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่ประเด็นเรื่องผิดสัญญาสมรส จำเลยหาได้สละข้อต่อสู้อย่างใดไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาสมรส เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใดว่าโจทก์ยังติดใจสืบพยานในประเด็นข้อนี้อยู่และโจทก์ก็มิได้นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างในฟ้องของตน จึงจะฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาสมรสมิได้
จำเลยได้กล่าวในอุทธรณ์แล้วว่า'คดีนี้โดยข้อเท็จจริงแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาสมรสแต่ประการใด' ฉะนั้น ในการที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาสมรสหรือไม่ศาลอุทธรณ์ก็จำต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อโจทก์ผู้มีหน้าที่หรือภาระในการนำสืบพิสูจน์ข้อเท็จจริงในประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาสมรสตามฟ้องโจทก์หรือไม่ มิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้เลยศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกหน้าที่หรือภาระในการนำสืบพิสูจน์ของโจทก์ขึ้นกล่าวอ้างเป็นข้อยกฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับภาระการพิสูจน์ได้หาเป็นการเกินคำขอของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ไม่
จำเลยได้กล่าวในอุทธรณ์แล้วว่า'คดีนี้โดยข้อเท็จจริงแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาสมรสแต่ประการใด' ฉะนั้น ในการที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาสมรสหรือไม่ศาลอุทธรณ์ก็จำต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อโจทก์ผู้มีหน้าที่หรือภาระในการนำสืบพิสูจน์ข้อเท็จจริงในประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาสมรสตามฟ้องโจทก์หรือไม่ มิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้เลยศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกหน้าที่หรือภาระในการนำสืบพิสูจน์ของโจทก์ขึ้นกล่าวอ้างเป็นข้อยกฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับภาระการพิสูจน์ได้หาเป็นการเกินคำขอของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2061/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในความผิดละเมิด หากศาลยังไม่ได้ยุติว่าลูกจ้างเป็นฝ่ายประมาท
ในคดีอาญาศาลพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส คดีถึงที่สุดคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2, ที่ 3 ซึ่งมิได้ถูกฟ้องคดีอาญานั้นด้วย (อ้างฎีกาที่338/2516) จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยังอาจยกข้อต่อสู้และนำสืบในคดีแพ่งได้ว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายทำละเมิดต่อโจทก์หากแต่โจทก์ที่ 2 เป็นฝ่ายขับรถโดยประมาทเอง หาได้ถูกกฎหมายปิดปากมิให้นำสืบโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นดังคดีเฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ไม่การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็เพราะศาลชั้นต้นมิได้บังคับให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นฝ่ายประมาทแต่ฝ่ายเดียว คำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นการตั้งประเด็นในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นฝ่ายทำละเมิด ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ในเมื่อคดีเฉพาะตัวจำเลยที่ 2 ที่ 3 ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะฟังข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าโจทก์ที่ 2 หรือจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทขับรถยนต์โดยประมาทเสียก่อน