พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2061/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมในละเมิดของลูกจ้าง หากข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่าลูกจ้างเป็นฝ่ายประมาท
ในคดีอาญา ศาลพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส คดีถึงที่สุดคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2, ที่ 3 ซึ่งมิได้ถูกฟ้องคดีอาญานั้นด้วย (อ้างฎีกาที่338/2516) จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยังอาจยกข้อต่อสู้และนำสืบในคดีแพ่งได้ว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายทำละเมิดต่อโจทก์ หากแต่โจทก์ที่ 2 เป็นฝ่ายขับรถโดยประมาทเอง หาได้ถูกกฎหมายปิดปากมิให้นำสืบโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นดังคดีเฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ไม่การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็เพราะศาลชั้นต้นมิได้บังคับให้จำเลยที่ 2 ที่ 3ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3ก็ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นฝ่ายประมาทแต่ฝ่ายเดียว คำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นการตั้งประเด็นในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นฝ่ายทำละเมิด ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ในเมื่อคดีเฉพาะตัวจำเลยที่ 2 ที่ 3 ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่าจำเลยที่1 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่ ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะฟังข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าโจทก์ที่ 2หรือจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทขับรถยนต์โดยประมาทเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงให้ศาลชี้ขาดข้อพิพาทที่ดินและการไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด
การที่คู่ความตกลงกันให้ศาลไปตรวจดูที่พิพาท แล้วให้ศาลชี้ขาดตามที่เห็นสมควรโดยคู่ความยินยอมตามที่ศาลชี้ขาดนั้นหาใช่เป็นการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ไม่ เพราะศาลยังต้องชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีอีกว่าที่พิพาทควรจะเป็นของใครเพียงใด คดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138 แต่เมื่อศาลตรวจดูที่พิพาทแล้ว เห็นว่า ไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ว่าเป็นของฝ่ายใด จึงพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทออกเป็นสองส่วนให้โจทก์จำเลยได้ฝ่ายละส่วน โจทก์จะอุทธรณ์ว่าที่พิพาทมีลักษณะเหมือนของโจทก์ ควรให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง ดังนี้หาได้ไม่ เพราะเท่ากับไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของศาลตามที่ตกลงไว้นั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นเป็นไปโดยมิชอบ ศาลสูงก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงให้ศาลชี้ขาดที่พิพาท: ไม่เป็นประนีประนอม & ผูกพันตามคำชี้ขาด
การที่คู่ความตกลงกันให้ศาลไปตรวจดูที่พิพาท แล้วให้ศาลชี้ขาดตามที่เห็นสมควรโดยคู่ความยินยอมตามที่ศาลชี้ขาดนั้นหาใช่เป็นการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ไม่ เพราะศาลยังต้องชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีอีกว่าที่พิพาทควรจะเป็นของใครเพียงใด คดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 แต่เมื่อศาลตรวจดูที่พิพาทแล้ว เห็นว่า ไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ว่าเป็นของฝ่ายใด จึงพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทออกเป็นสองส่วน ให้โจทก์จำเลยได้ฝ่ายละส่วน โจทก์จะอุทธรณ์ว่าที่พิพาทมีลักษณะเหมือนของโจทก์ ควรให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง ดังนี้หาได้ไม่ เพราะเท่ากับไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของศาลตามที่ตกลงไว้นั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นเป็นไปโดยมิชอบ ศาลสูงก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงตรวจสอบที่ดินมรดกก่อนโอน การปฏิบัติตามข้อตกลงและผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
คู่ความตกลงกันว่า จำเลยยินดีโอนห้องแถวพร้อมกับที่ดิน 2 ห้องที่เหลือตามพินัยกรรมดังโจทก์ฟ้องให้โจทก์ ในเมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินไปสำรวจแล้วให้เจ้าพนักงานที่ดินแยกออกมาว่าห้องทั้งสองอยู่ที่ใด ถ้าหากเจ้าพนักงานที่ดินตรวจแล้วว่าที่ดินและห้องแถวตามพินัยกรรมไม่มีอยู่เลย โจทก์ก็ยินดีถอนฟ้องแต่ถ้าปรากฏว่ามีเหลืออยู่เป็นจำนวนมากกว่า 2 ห้อง โจทก์ยอมรับเพียง 2 ห้อง จำเลยยินดีโอนให้โจทก์ การตรวจสอบนี้ให้ถือเอาพินัยกรรมตามฟ้องและตราจองเลขที่ 5 เป็นหลัก ดังนี้เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบแล้วได้ความว่าห้องแถวดังกล่าวอยู่ในตราจองเลขที่ 2172 โดยเจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบรูปแผนที่ในพินัยกรรมแล้ว แสดงว่าที่ดินพร้อมด้วยห้องแถวที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามพินัยกรรม คือ ที่ดินตราจองเลขที่ดังกล่าว จำเลยต้องโอนให้โจทก์ตามข้อตกลง และเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินตรวจพบแล้วก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องตรวจสอบที่ดินมรดกรายนี้ทั้งหมดต่อไปอีก
ข้อตกลงของโจทก์จำเลยเช่นว่านี้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 และไม่เป็นการที่ศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นตามมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งด้วย
ปัญหาเรื่องข้อตกลงขัดต่อ มาตรา 138 หรือไม่ และศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วันนัดสืบพยานประเด็นโจทก์ จำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 มิได้ไปศาลตามนัด แต่ศาลได้สืบพยานไปโดยมิได้มี การสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกาจำเลยที่ 1 จะฎีกาแทนไม่ได้
ข้อตกลงของโจทก์จำเลยเช่นว่านี้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 และไม่เป็นการที่ศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นตามมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งด้วย
ปัญหาเรื่องข้อตกลงขัดต่อ มาตรา 138 หรือไม่ และศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วันนัดสืบพยานประเด็นโจทก์ จำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 มิได้ไปศาลตามนัด แต่ศาลได้สืบพยานไปโดยมิได้มี การสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกาจำเลยที่ 1 จะฎีกาแทนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงนอกศาลเกี่ยวกับการโอนมรดกและการตรวจสอบทรัพย์สิน ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คู่ความตกลงกันว่า จำเลยยินดีโอนห้องแถวพร้อมกับที่ดิน2 ห้องที่เหลือตามพินัยกรรมดังโจทก์ฟ้องให้โจทก์ ในเมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินไปสำรวจแล้วให้เจ้าพนักงานที่ดินแยกออกมาว่าห้องทั้งสองอยู่ที่ใด ถ้าหากเจ้าพนักงานที่ดินตรวจแล้วว่าที่ดินและห้องแถวตามพินัยกรรมไม่มีอยู่เลย โจทก์ก็ยินดีถอนฟ้องแต่ถ้าปรากฏว่ามีเหลืออยู่เป็นจำนวนมากกว่า 2 ห้อง โจทก์ยอมรับเพียง 2 ห้อง จำเลยยินดีโอนให้โจทก์ การตรวจสอบนี้ให้ถือเอาพินัยกรรมตามฟ้องและตราจองเลขที่ 5 เป็นหลัก ดังนี้เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบแล้วได้ความว่าห้องแถวดังกล่าวอยู่ในตราจองเลขที่ 2172 โดยเจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบรูปแผนที่ในพินัยกรรมแล้ว แสดงว่าที่ดินพร้อมด้วยห้องแถวที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามพินัยกรรม คือ ที่ดินตราจองเลขที่ดังกล่าว จำเลยต้องโอนให้โจทก์ตามข้อตกลง และเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินตรวจพบแล้วก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องตรวจสอบที่ดินมรดกรายนี้ทั้งหมดต่อไปอีก
ข้อตกลงของโจทก์จำเลยเช่นว่านี้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 และไม่เป็นการที่ศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นตามมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งด้วย
ปัญหาเรื่องข้อตกลงขัดต่อมาตรา 138 หรือไม่ และศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วันนัดสืบพยานประเด็นโจทก์ จำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 มิได้ไปศาลตามนัด แต่ศาลได้สืบพยานไปโดยมิได้มีการสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกาจำเลยที่ 1 จะฎีกาแทนไม่ได้
ข้อตกลงของโจทก์จำเลยเช่นว่านี้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 และไม่เป็นการที่ศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นตามมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งด้วย
ปัญหาเรื่องข้อตกลงขัดต่อมาตรา 138 หรือไม่ และศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วันนัดสืบพยานประเด็นโจทก์ จำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 มิได้ไปศาลตามนัด แต่ศาลได้สืบพยานไปโดยมิได้มีการสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกาจำเลยที่ 1 จะฎีกาแทนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407-2408/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับ เพราะคำขอฎีกาขัดแย้งกับคำขอในอุทธรณ์ และไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องโจทก์และบังคับคดีไปตามฟ้องแย้ง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นบางข้อ และพิพากษาใหม่ทุกประเด็น เป็นการสมประโยชน์ตามคำขอของจำเลยในชั้นอุทธรณ์แล้ว จำเลยจะฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์.โดยไม่ต้องสืบพยานอีกไม่ได้ เพราะเป็นคำขอที่ขัดกันกับคำขอของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เป็นไปตามคำขอของจำเลยแล้ว
ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ว่า ยังไม่จำต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์นั้น หากจำเลยไม่ได้ฎีกาขึ้นมาว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบประการใด เป็นฎีกาที่จำเลยไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้ไม่ได้
ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ว่า ยังไม่จำต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์นั้น หากจำเลยไม่ได้ฎีกาขึ้นมาว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบประการใด เป็นฎีกาที่จำเลยไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การหลังขาดนัด และการอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาคดี
จำเลยซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งว่า การขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยจงใจ ไม่มีเหตุควรอนุญาตให้ยื่นคำให้การ ให้ยกคำร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งตามมาตรา 199 ซึ่งเป็นคำสั่งโดยปกติในระหว่างพิจารณาของศาลก่อนที่จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์พ้นกำหนด: เหตุสุดวิสัยต้องพิจารณาความบกพร่องของคู่ความและโอกาสในการดำเนินการ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดอุทธรณ์แล้ว 1 วัน อ้างเหตุว่าไปต่างจังหวัดเพื่อหาเงินมายื่นอุทธรณ์ ขากลับฝนตกน้ำท่วมถนนทางขาด การเดินทางกินเวลา 2 วัน ทั้งมีการสวนสนามที่พระบรมรูปทรงม้าการจราจรติดขัดจึงยื่นไม่ทันกำหนด กรณีดังนี้มิใช่ว่าโจทก์จะไม่มีโอกาสที่จะยื่นอุทธรณ์หรือคำขอเลย โจทก์มีทนายชอบจะติดต่อกับทนายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนได้ ที่โจทก์เดินทางไปหาเงินต่างจังหวัดใกล้ชิดกับวันขาดอายุอุทธรณ์ เป็นความบกพร่องของโจทก์เองด้วย หาเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยการยื่นอุทธรณ์: การเดินทางติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย แม้มีทนายความดำเนินการแทนได้
โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดอุทธรณ์แล้ว 1 วัน อ้างเหตุว่าไปต่างจังหวัดเพื่อหาเงินมายื่นอุทธรณ์ ขากลับฝนตกน้ำท่วมถนน ทางขาด การเดินทางกินเวลา 2 วัน ทั้งมีการสวนสนามที่พระบรมรูปทรงม้าการจราจรติดขัดจึงยื่นไม่ทันกำหนด กรณีดังนี้มิใช่ว่าโจทก์จะไม่มีโอกาสที่จะยื่นอุทธรณ์หรือคำขอเลย โจทก์มีทนายชอบจะติดต่อกับทนายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนได้ ที่โจทก์เดินทางไปหาเงินต่างจังหวัดใกล้ชิดกับวันขาดอายุอุทธรณ์ เป็นความบกพร่องของโจทก์เองด้วย หาเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกล่าวหาศาลไม่เป็นธรรมในคำฟ้องอุทธรณ์ถือเป็นการละเมิดอำนาจศาล แม้จะคัดจากเอกสารอื่น
โจทก์ยื่นคำแถลงไปยังสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาคมีข้อความว่าศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่พูดกันในขณะจดรายงานฯ เป็นการช่วยเหลือฝ่ายจำเลยซึ่งมีอิทธิพล ทำให้โจทก์เสียเปรียบในเชิงคดีและเป็นการไม่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ต่อมาโจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยคัดข้อความดังกล่าวมาในฟ้องอุทธรณ์ด้วย ข้อความดังกล่าวนี้กล่าวหาว่าศาลไม่เป็นธรรมจึงถือได้ว่าเป็นข้อความที่มุ่งกล่าวเสียดสีศาล
แม้ข้อความที่กล่าวเสียดสีศาลจะเป็นข้อความซึ่งโจทก์คัดมาจากคำแถลงของโจทก์และหาใช่ถ้อยคำที่โจทก์ใช้ในอุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่โจทก์ยกมากล่าวไว้ในอุทธรณ์โดยไม่จำเป็น จึงเป็นการแสดงเจตนาว่าโจทก์มุ่งกล่าวให้เห็นในคำฟ้องอุทธรณ์ด้วย
แม้ตัวโจทก์จะเป็นผู้ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็เป็นผู้เรียงข้อความที่เสียดสีเหล่านั้น ผลแห่งการยื่นจึงถือได้เท่ากับว่าทนายโจทก์เป็นผู้ยื่นเองด้วย ฉะนั้น ตัวโจทก์และทนายโจทก์ย่อมมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในฐานที่ประพฤติตนไม่เรียบร้อยอย่างหนึ่งในบริเวณศาล
แม้ข้อความที่กล่าวเสียดสีศาลจะเป็นข้อความซึ่งโจทก์คัดมาจากคำแถลงของโจทก์และหาใช่ถ้อยคำที่โจทก์ใช้ในอุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่โจทก์ยกมากล่าวไว้ในอุทธรณ์โดยไม่จำเป็น จึงเป็นการแสดงเจตนาว่าโจทก์มุ่งกล่าวให้เห็นในคำฟ้องอุทธรณ์ด้วย
แม้ตัวโจทก์จะเป็นผู้ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็เป็นผู้เรียงข้อความที่เสียดสีเหล่านั้น ผลแห่งการยื่นจึงถือได้เท่ากับว่าทนายโจทก์เป็นผู้ยื่นเองด้วย ฉะนั้น ตัวโจทก์และทนายโจทก์ย่อมมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในฐานที่ประพฤติตนไม่เรียบร้อยอย่างหนึ่งในบริเวณศาล