คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 223

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น การโต้แย้งข้อเท็จจริงถือเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ จะต้องเป็นการอุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ ศ. เข้าร่วมประมูลและทำหนังสือสัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพียงแต่ผู้ร้องมิได้นำหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อศาลนั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงส่วนที่ผู้ร้องอุทธรณ์ต่อไปว่า แม้ ศ. ไม่มีอำนาจกระทำการดังกล่าวแต่ผู้ร้องก็ได้รับทราบการกระทำทั้งหมดของ ศ. และมิได้คัดค้านเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในผลแห่งการที่ตัวแทนได้กระทำลงไปนั้นก็เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อนไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เพราะต้องรับฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ศ. เป็นตัวแทนของผู้ร้องหรือไม่ผลเท่ากับเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว
โจทก์ถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในระหว่างที่คดีแพ่งของโจทก์อยู่ระหว่างพิจารณา โจทก์จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือว่าคดีแพ่งได้อีกตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) และมาตรา 25 การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีแพ่งด้วยตนเองจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ป.วิ.พ. กรณีคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาด
คำว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง" ของบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรคคสี่ หมายถึง หากมีกรณียื่นคำร้องตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แล้ว คำสั่งใด ๆ ของศาลที่เกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง" ในบทบัญญัติวรรคสี่นี้ทั้งสิ้น การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ย่อมเป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการพิจารณาคำแก้อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงิน 177,561.50 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 93,600 บาท แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงิน 34,028 บาท แก่โจทก์ โจทก์ฎีกาขอให้ชำระเงินตามฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยต้องรับผิดชำระตามฟ้องแก่โจทก์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 93,600 บาท โจทก์อุทธรณ์ จำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ขอให้หักจำนวนเงินที่ต้องชำระลดลง หรือยกฟ้องโจทก์ เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาชั้นต้น จำเลยต้องกระทำโดยการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 จำเลยจะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 34,028 บาท ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมฎีกาได้ว่าศาลอุทธรณ์หยิบยกคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยมาพิจารณาแล้วพิพากษาแก้ดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นฎีกาในข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง, ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกกรอบคำพิพากษาชั้นต้น, และผลของการไม่วางค่าธรรมเนียมอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงิน 177,561.50 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 93,600 บาท แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงิน 34,028 บาท แก่โจทก์ โจทก์ฎีกาขอให้ชำระเงินตามฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 93,600 บาท แก่โจทก์ จำเลยมิได้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์หยิบยกคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยมาพิจารณาแล้วพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระแก่โจทก์เพียง 34,028 บาท เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นฎีกาในข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามฎีกา
จำเลยยื่นอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว เท่ากับไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ขอให้หักจำนวนเงินที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ลดลงจาก 93,600 บาท หรือยกฟ้องโจทก์นั้น เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 จำเลยจะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 34,028 บาท ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5810/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักประกันการบังคับคดี: สมุดเงินฝากเป็นเพียงหลักประกันการชำระหนี้ ไม่ใช่การชำระหนี้โดยตรง สิทธิบังคับคดีอาจสูญเสียหากไม่ดำเนินการภายใน 10 ปี
ในวันที่ยื่นฎีกาโจทก์ได้ยื่นคำร้องลักษณะเดียวกันต่อศาลชั้นต้นด้วย แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าวชอบแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 โจทก์จะใช้สิทธิฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ได้เพราะเป็นการปฏิบัติผิดขั้นตอนของลำดับชั้นศาลไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ
การที่จำเลยที่ 2 นำสมุดเงินฝากของธนาคารมาเป็นหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์พร้อมกับทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นว่า ถ้าจำเลยทั้งสองแพ้คดีและไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์คือสมุดเงินฝากที่นำมาวางศาลนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จะอ้างว่าเมื่อโจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์เงินในสมุดเงินฝากดังกล่าวจึงตกเป็นของโจทก์โดยปริยายหาได้ไม่ แม้สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำต่อศาลชั้นต้นจะยังมีผลบังคับอยู่ แต่สัญญาดังกล่าวก็ระบุว่าถ้าจำเลยทั้งสองแพ้คดีและไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์คือสมุดเงินฝากที่นำมาวางศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีการบังคับคดีเสียก่อนศาลจึงจะมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากนั้นแก่โจทก์ได้ เมื่อโจทก์มิได้ร้องขอให้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จนล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ก็ย่อมสิ้นสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะยึดสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้เป็นหลักประกันหรือเพื่อบังคับคดีอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5810/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักประกันทุเลาการบังคับคดี สิทธิในการขอคืนเมื่อโจทก์ขาดการบังคับคดีเกิน 10 ปี
โจทก์ฎีกาขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ทนายโจทก์ไม่ชอบ แต่ในวันที่ยื่นฎีกาโจทก์ได้ยื่นคำร้องลักษณะเดียวกันนี้ต่อศาลชั้นต้นด้วย โดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 โจทก์จะใช้สิทธิฎีกาคำสั่งดังกล่าวโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ได้
การที่จำเลยที่ 2 นำสมุดเงินฝากของธนาคารมาเป็นหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์พร้อมกับทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นว่า ถ้าจำเลยทั้งสองแพ้คดีและไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์คือสมุดเงินฝากที่นำมาวางศาลนั้น สมุดเงินฝากดังกล่าวเป็นเพียงหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์เท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเมื่อชนะคดีในชั้นอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ เงินในสมุดเงินฝากดังกล่าวจึงตกเป็นของโจทก์โดยปริยายหาได้ไม่ และจากสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีการบังคับคดีเสียก่อน ศาลจึงจะมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากนั้นแก่โจทก์ได้ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปี โจทก์ย่อมสิ้นสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะยึดสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้เป็นหลักประกันหรือเพื่อบังคับคดีอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การขาดนัดพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีโดยเอกสาร
อุทธรณ์ของจำเลยบรรยายถึงการขอเลื่อนคดีของจำเลยในชั้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ทุกครั้งว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดการไต่สวนคำร้องเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบต่อไปรวมอยู่ด้วย แม้ตอนท้ายสุดของอุทธรณ์จะขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของจำเลยใหม่ตามที่ร้องขอ อุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นการอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดการไต่สวนคำร้องอยู่ในตัว ไม่ใช่อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่แต่เพียงสถานเดียว คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยอุทธรณ์ได้พร้อมคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ซึ่งเป็นคำสั่งวินิจฉัยภายในกำหนด 1 เดือน แต่จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งไว้จึงต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์และการพิจารณาคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งต้องอาศัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจากคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าวเป็นพื้นฐานจึงจะพิจารณาได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ จึงไม่มีเหตุที่จะให้พิจารณาคดีใหม่
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เป็นคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 223
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมและจำนองเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยทราบนัดแล้วไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสอง ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 198 ทวิ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลไม่อนุญาตแก้ไขคำพิพากษาเมื่อโจทก์คำนวณหนี้ผิดพลาดในคำฟ้อง ต้องอุทธรณ์โต้แย้ง
จำนวนหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามที่โจทก์บรรยายมาในตอนต้นของคำฟ้องรวมแล้วเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่ในตอนท้ายของคำฟ้องโจทก์กลับสรุปว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์รวมเป็นเงิน 12,357,821.97 บาท พร้อมกับมีคำขอบังคับให้ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการคำนวณผิดพลาด แต่โจทก์ก็มิได้ขอแก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ยอดหนี้ทั้ง 5 รายการ เป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเป็นเงินเพียง 12,357,821.97 บาท ถือว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับชำระหนี้ตามจำนวนหนี้ที่ระบุในคำขอท้ายฟ้อง และพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 12,357,821.97 บาท นั้น เท่ากับศาลชั้นต้นเห็นแล้วว่าจำนวนหนี้รวมเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามมาตรา 142 ที่ห้ามมิให้ศาลพิพากษาเกินคำขอ จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีในกรอบแห่งกระบวนพิจารณา มิใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ตามมาตรา 143 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์จะขอให้แก้ไขได้ แต่โจทก์ชอบที่จะต้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามที่มาตรา 223 ให้สิทธิไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดการบังคับชำระหนี้ตามคำขอท้ายฟ้อง ศาลไม่อาจพิพากษาเกินจำนวนที่ระบุ แม้หนี้จริงจะมากกว่า
แม้หนี้ทั้งห้ารายการ ตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเป็นเงินเพียง 12,357,821.97 บาท ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการคำนวณผิดพลาดก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการขอแก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้อง ถือว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับชำระหนี้ตามจำนวนหนี้ที่ระบุในคำขอท้ายฟ้องดังกล่าว ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 12,357,821.97 บาท เท่าที่ศาลเห็นชัดแจ้งแล้วว่า จำนวนหนี้ในคดีนี้ที่รวมเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่ก็ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวได้เพราะเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 142 ที่ห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอ จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในกรอบแห่งกระบวนพิจารณามิใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่งที่โจทก์จะขอให้แก้ไขได้ แต่โจทก์ชอบที่จะต้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ให้สิทธิไว้
of 33