พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีครอบครองปรปักษ์ราคาทรัพย์สินไม่เกิน 2 แสน ศาลชั้นต้นชอบที่จะโอนคดีให้ศาลแขวงพิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีขอให้มีคำสั่งว่าที่ดินเนื้อที่เฉพาะส่วนประมาณ 4 ไร่ เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอ ในวันนัดพร้อมคู่ความแถลงร่วมกันว่าที่ดินพิพาทมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีเห็นว่าคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง จึงให้โอนคดีไปพิจารณาที่ศาลแขวงสุพรรณบุรี แต่ศาลแขวงสุพรรณบุรีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงจึงไม่รับโอนคดีและคืนสำนวนไปยังศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีมีคำสั่งนัดพร้อมและแจ้งวันนัดให้คู่ความทราบ กรณีเป็นเรื่องศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและศาลแขวงสุพรรณบุรีต่างไม่รับพิจารณาคดีของผู้ร้อง แม้เนื้อหาอุทธรณ์ของผู้ร้องจะเป็นทำนองโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีรับสำนวนคืนจากศาลแขวงสุพรรณบุรีแล้ว ทั้งคดีมีปัญหาวินิจฉัยว่าระหว่างศาลดังกล่าว ศาลใดจะต้องพิจารณาคดีต่อไป ผู้ร้องชอบที่จะอุทธรณ์คดีนี้โดยยื่นที่ศาลจังสุพรรณบุรีได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์อันเป็นการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) ต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188 (1) แต่เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านเข้ามา คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยมีทุนทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่จะพิจารณาพิพากษาตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีชอบที่จะโอนคดีไปให้ศาลแขวงสุพรรณบุรีพิจารณาต่อไปได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์อันเป็นการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) ต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188 (1) แต่เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านเข้ามา คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยมีทุนทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่จะพิจารณาพิพากษาตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีชอบที่จะโอนคดีไปให้ศาลแขวงสุพรรณบุรีพิจารณาต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์จำเลยในคดีที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การอุทธรณ์ต้องกระทบสิทธิของจำเลย
คดีศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ต่อเมื่อคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีโดยฝ่าฝืนข้อบังคับที่กำหนดให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์จะต้องปฏิบัติกิจการในหน้าที่ด้วยตนเอง เว้นแต่ข้อบังคับหรือมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมจะกำหนดให้มอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้ กรณีนี้ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอำนาจฟ้องหาได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยแต่ประการใดไม่จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลอาคารชุด: การมอบอำนาจฟ้องคดีต้องเป็นไปตามข้อบังคับ หากไม่เป็นไปตามข้อบังคับ จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ต่อเมื่อคำวินิจฉัยของ ศาลชั้นต้นมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีโดยฝ่าฝืนข้อบังคับที่กำหนดให้ผู้จัดการนิติบุคคล อาคารชุดโจทก์จะต้องปฏิบัติกิจการในหน้าที่ด้วยตนเอง เว้นแต่ข้อบังคับหรือมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมจะกำหนดให้มอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้ กรณีนี้ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง หาได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยแต่ประการใดไม่ จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10721/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อร้ายแรงของผู้มอบอำนาจย่อมไม่ทำให้สัญญาจำนองที่บุคคลภายนอกสุจริตทำขึ้นเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แม้ขณะจดทะเบียนจำนองจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิใช่เจ้าของที่ดินพิพาทแต่พฤติการณ์ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้จำเลยที่ 1 เป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1และที่ 2 นำไปใช้ในกิจการอื่นถือว่าโจทก์ที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์ที่ 1 จะยกเอาผลที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนมาฟ้องจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองที่ดินพิพาทโดยสุจริตขอให้เพิกถอนการจำนองหาได้ไม่
เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่สามารถฟ้องเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ได้ ที่ดินพิพาทจึงยังติดจำนองอยู่ซึ่งจำเลยที่ 3 สามารถบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินพิพาทได้ไม่ว่าที่ดินพิพาทจะถูกโอนกลับไปเป็นของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ดังนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีผลกระทบต่อจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3จึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 247
เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่สามารถฟ้องเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ได้ ที่ดินพิพาทจึงยังติดจำนองอยู่ซึ่งจำเลยที่ 3 สามารถบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินพิพาทได้ไม่ว่าที่ดินพิพาทจะถูกโอนกลับไปเป็นของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ดังนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีผลกระทบต่อจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3จึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องแย้ง, ประเด็นนอกฟ้อง, และการไม่ยกประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอเรียกค่าชดเชยการใช้ทางจำเป็นจากโจทก์ในอัตราปีละ 20,000 บาท และขอเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุถูกฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การ ส่วนฟ้องแย้งเรื่องค่าเสียหายไม่รับค่าขึ้นศาลให้คำนวณจากค่าชดเชย 20,000 บาท คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย ดังนี้ พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับค่าชดเชยเท่านั้น ต่อมามีการส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ สำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้แก่โจทก์โดยมิได้กำหนดให้ฝ่ายโจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ทั้งจำเลยก็มิได้นำส่งหมายนัด คำให้การ และฟ้องแย้งให้แก่ฝ่ายโจทก์ จนเวลาล่วงเลยไปจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่โจทก์และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันยื่นคำฟ้องแย้ง อันเป็นการที่จำเลยทิ้งฟ้องแย้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 174 (1)
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเองจนได้ภาระจำยอม หาได้บรรยายว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมที่ขายให้โจทก์ไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ซื้อที่ดินมาจากบุคคลอื่นย่อมได้รับสิทธิที่เจ้าของเดิมมีอยู่แล้วในการใช้ทางพิพาทนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม หากโจทก์ยังติดใจในประเด็นเรื่องทางจำเป็นอยู่ แม้โจทก์จะไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ แต่ก็ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย เมื่อโจทก์มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องทางจำเป็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ฉะนั้น ประเด็นในเรื่องทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเองจนได้ภาระจำยอม หาได้บรรยายว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมที่ขายให้โจทก์ไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ซื้อที่ดินมาจากบุคคลอื่นย่อมได้รับสิทธิที่เจ้าของเดิมมีอยู่แล้วในการใช้ทางพิพาทนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม หากโจทก์ยังติดใจในประเด็นเรื่องทางจำเป็นอยู่ แม้โจทก์จะไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ แต่ก็ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย เมื่อโจทก์มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องทางจำเป็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ฉะนั้น ประเด็นในเรื่องทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายข้ามเขตและการแจ้งผลการส่งให้จำเลยเพื่อดำเนินคดีต่อไป ศาลฎีกาตัดสินว่าการไม่แจ้งผลการส่งหมายทำให้จำเลยไม่ทราบ และไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง
ศาลจังหวัดสมุทรปราการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดให้จำเลยเป็นผู้ส่งสำเนาอุทธรณ์ ปรากฏว่าโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลจังหวัดสมุทรปราการจึงมีหนังสือแจ้งให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้สั่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ ต่อมาศาลแพ่งกรุงเทพใต้แจ้งผลการส่งหมายมาที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการว่าส่งให้ไม่ได้ ศาลจังหวัดสมุทรปราการสั่งว่ารอจำเลยแถลง ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยมิได้เป็นผู้นำส่งแต่เป็นการส่งหมายข้ามเขตที่ศาลเป็นผู้ส่งเอง เมื่อศาลจังหวัดสมุทรปราการมิได้แจ้งผลการส่งหมายให้จำเลยทราบจำเลยย่อมไม่มีทางทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยมิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) อันจะถือเป็นการทิ้งฟ้องแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาล - มูลหนี้เกี่ยวข้องกัน - สิทธิอุทธรณ์ของจำเลย
จำเลยขอสินเชื่อโดยทำสัญญากับโจทก์หลายประเภท และจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ มูลหนี้ทั้งหมดจึงเกี่ยวข้องกันและโจทก์มีสิทธินำมาฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันได้ ค่าขึ้นศาลที่โจทก์มีหน้าที่ชำระตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 1(ก) จึงเท่ากับสองแสนบาทซึ่งเป็นอัตราสูงสุด การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มโดยแยกตามมูลหนี้แต่ละสัญญา จึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมายจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระแทนโจทก์หากตนเป็นฝ่ายแพ้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย จึงมีสิทธิคัดค้านและอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5717/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการพิจารณาคดีเมื่อมีคดีอาญาเชื่อมโยง ศาลฎีกาไม่มีอำนาจสั่งรอ หากอุทธรณ์ยังไม่รับพิจารณา
แม้โจทก์จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางที่มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกาก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็ยังไม่ปรากฏว่าศาลฎีกามีคำสั่งให้รับคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาและได้มีการส่งคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ไปให้ศาลฎีกาพิจารณาแล้วแต่อย่างใด ฉะนั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้รอการพิจารณาคดีไว้ก่อนจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ศาลฎีกาไม่มีอำนาจพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4378/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาใหม่ที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน ทำให้กระบวนการทั้งหมดเป็นโมฆะ
จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นยกคำร้องเพราะจำเลยไม่ไปศาลศาลจึงสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวก็ชอบที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 เพื่อขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณานัดไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างเหตุมิได้จงใจไม่มาศาลในวันนัดไต่สวน ขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าไต่สวนใหม่จึงไม่ชอบเพราะกรณีมิใช่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตามมาตรา 27 ฉะนั้น กระบวนพิจารณานับแต่วันที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องของจำเลยและนัดไต่สวนตลอดมาจนกระทั่งมีคำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่มิชอบ ฎีกาของจำเลยจึงถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082-4083/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับข้อจำกัดในการอุทธรณ์ฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นที่ไม่ชอบ และประเด็นส่วนได้เสีย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์สินกันต่อหน้าศาล แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ฮ. ทายาทผู้หนึ่งไม่ได้รับส่วนแบ่งเลย ในขณะที่ทายาทอื่นได้รับส่วนแบ่งกันทุกคนก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ ฮ. จะไปว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียจากการได้หรือไม่ได้รับมรดกของ ฮ. จึงไม่มีข้ออ้างเป็นเหตุแห่งส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ได้