พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082-4083/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับข้อจำกัดในการอุทธรณ์ฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นที่ไม่ชอบ และประเด็นส่วนได้เสีย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์สินกันต่อหน้าศาล แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ฮ. ทายาทผู้หนึ่งไม่ได้รับส่วนแบ่งเลย ในขณะที่ทายาทอื่นได้รับส่วนแบ่งกันทุกคนก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ ฮ. จะไปว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียจากการได้หรือไม่ได้รับมรดกของ ฮ. จึงไม่มีข้ออ้างเป็นเหตุแห่งส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซ้ำ เมื่อศาลเคยมีคำสั่งแล้วว่าไม่มีเหตุอันสมควร
จำเลยเคยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์มาแล้วครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด คดีจึงฟังได้เป็นยุติว่าคดีจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ครั้งใหม่โดยอ้างเหตุว่ายากจนลงกว่าเดิม แม้จะฟังได้ตามข้ออ้างของจำเลย ศาลก็ไม่อาจอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ศาลมีดุลพินิจ พิจารณาจากเหตุพิเศษ การอนุญาตขยายบางส่วนไม่ถือเป็นเหตุอุทธรณ์
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลา แม้จะน้อยกว่าระยะเวลาที่จำเลยขอไป 2 วัน ก็ไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะอุทธรณ์ให้ขยายระยะเวลาต่อไปได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม พิจารณาจากสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้เทียบกับประโยชน์ทดแทนตามกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ไปแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการลดส่วนอัตราเงินสมทบเกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บปวด กรณีทุพพลภาพ กรณีคลอดบุตร และกรณีตาย พ.ศ. 2534 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอลดส่วนและการพิจารณาหักส่วนลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจะต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมโดยให้พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคมดังกล่าวได้ระบุเกี่ยวกับหลักเกณฑ์หรือปัจจัยที่ใช้พิจารณาให้คะแนนในเรื่องสวัสดิการกรณีเจ็บป่วย แบ่งเป็น 9 หัวข้อ โจทก์ได้คะแนนรวมเท่ากับ 0 ใน 8 หัวข้อ อีก 1 หัวข้อ คือ ระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลปรากฏว่า ประกาศสำนักงานประกันสังคมมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งในกรณีฉุกเฉิน แต่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ส่วนระเบียบของโจทก์ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งแต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาลถือได้ว่าสวัสดิการเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จัดให้อยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้คะแนน0 คิดเป็นคะแนนรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 0 จึงต้องถือว่าสวัสดิการที่โจทก์จัดให้พนักงานอยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โจทก์จึงไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ
ตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการลดส่วนอัตราเงินสมทบเกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บปวด กรณีทุพพลภาพ กรณีคลอดบุตร และกรณีตาย พ.ศ. 2534 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอลดส่วนและการพิจารณาหักส่วนลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจะต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมโดยให้พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคมดังกล่าวได้ระบุเกี่ยวกับหลักเกณฑ์หรือปัจจัยที่ใช้พิจารณาให้คะแนนในเรื่องสวัสดิการกรณีเจ็บป่วย แบ่งเป็น 9 หัวข้อ โจทก์ได้คะแนนรวมเท่ากับ 0 ใน 8 หัวข้อ อีก 1 หัวข้อ คือ ระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลปรากฏว่า ประกาศสำนักงานประกันสังคมมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งในกรณีฉุกเฉิน แต่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ส่วนระเบียบของโจทก์ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งแต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาลถือได้ว่าสวัสดิการเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จัดให้อยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้คะแนน0 คิดเป็นคะแนนรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 0 จึงต้องถือว่าสวัสดิการที่โจทก์จัดให้พนักงานอยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โจทก์จึงไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซ้ำหลังศาลฎีกาย้อนสำนวน และข้อจำกัดในการอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษากำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายโดยใช้ดุลพินิจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 แล้ว ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางดังกล่าวต่อ ศาลฎีกาเกี่ยวกับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอีก อ้างว่าเมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าจำเลยต้องชำระค่าเสียหายเต็มตามคำฟ้อง ดังนี้ ข้ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในประเด็นที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์อย่างคนอนาถาต้องมีเหตุผลสมควร และต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
การขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานอกจากผู้ขอต้องเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมแล้ว ยังต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าคดีของตนมีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 155 วรรคหนึ่งเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถามาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ และศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุสมควรอุทธรณ์และยกคำร้อง และสั่งว่าหากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ต่อไปให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระภายในเวลาที่กำหนด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเนื้อหาของคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว อันมีผลให้ยกคำขอนั้นเสียทีเดียว ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้ายให้สิทธิจำเลยอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายใน 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งการที่จำเลยอุทธรณ์พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวจึงต้องห้ามอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยกคำร้องของจำเลยชอบแล้ว แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้จำเลยฟัง ทั้งกำหนดเวลาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล และการชำระหนี้สินสมรสเพื่อยกเลิกการบังคับคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากผู้ร้องเพียงกึ่งหนึ่งและยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ดังนี้ แม้ก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องนี้ ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดังกล่าวและคดีถึงที่สุดแล้ว แต่คำร้องนี้เป็นคำร้องคนละอย่างกับคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์การที่คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องถึงที่สุดก็ไม่มีผลต่อสิทธิของผู้ร้องที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องนี้ เมื่อคำสั่งคำร้องนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ผู้ร้องอุทธรณ์ ผู้ร้องจึงย่อมอุทธรณ์ได้
การขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมมีผลให้ตัวทรัพย์ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้หลุดพ้นจากการบังคับคดี และมิใช่เป็นเพียงขอรับการคุ้มครองจากการได้รับผลกระทบกระทั่งจากการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 แต่เป็นการดำเนินการที่มีผลอย่างเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 นั่นเอง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องชอบแล้ว
การขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมมีผลให้ตัวทรัพย์ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้หลุดพ้นจากการบังคับคดี และมิใช่เป็นเพียงขอรับการคุ้มครองจากการได้รับผลกระทบกระทั่งจากการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 แต่เป็นการดำเนินการที่มีผลอย่างเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 นั่นเอง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7334/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและการยกข้อที่ไม่เคยต่อสู้คดีในชั้นฎีกา
แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและมิได้อ้างตนเองเบิกความเป็นพยานหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยต้องคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ แต่ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้รับมอบโฉนดที่ดินไปจากโจทก์นั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7201/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ค่าขึ้นศาล: จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเรื่องค่าขึ้นศาลแยกต่างหากจากคำสั่งอื่นได้
อุทธรณ์ของจำเลยฉบับแรกเป็นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลย และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าให้วางค่าธรรมเนียมศาลให้ครบถ้วนภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ จำเลยย่อมเข้าใจว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลจำนวนดังกล่าวเมื่อจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว จำเลยก็ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลจำนวน 200 บาท ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยฉบับแรกก่อนเพราะเป็นคนละกรณีกันกับอุทธรณ์ฉบับหลังซึ่งเป็นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเรื่องค่าขึ้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องขับไล่ที่มีทุนทรัพย์รวม: การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และการพิจารณาคดีส่วนที่มีทุนทรัพย์
การฟ้องคดีขับไล่หาได้มีความหมายเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียวเสมอไปเพราะเป็นคนละเรื่องกัน
การที่โจทก์ฟ้องขับไล่เป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยในเรื่องผิดสัญญาเช่าและไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป อันเป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่การที่โจทก์เรียกค่าเช่าที่ค้างชำระก่อนบอกเลิกสัญญาเช่า และค่าเสียหายภายหลังจากการบอกเลิกสัญญาเช่าเข้ามาด้วยรวมเป็นเงิน 186,000 บาท คดีในส่วนหลังนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องแม้คดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีหลักหรือคดีประธานจำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทในอัตราค่าเช่าเดือนละ 600 บาท และศาลชั้นต้นจะกำหนดค่าเสียหายหลังจากบอกเลิกสัญญาเช่าให้เดือนละ 20,000 บาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นเพียงแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น จึงต้องฟังว่าตึกแถวพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง แต่เมื่อคดีนี้เป็นทั้งคดีไม่มีทุนทรัพย์และคดีมีทุนทรัพย์รวมกันมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน 125,920 บาท จึงเกินกว่า 50,000 บาท ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การอุทธรณ์เป็นสิทธิของคู่ความฝ่ายที่แพ้คดี เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอีกครั้งหนึ่ง เว้นแต่คำสั่งหรือคำพิพากษานั้น กฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทั้งการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ก็ควรพิจารณาโดยเคร่งครัด เมื่อจำเลยถูกจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นคดีฟ้องขับไล่ แต่จำเลยยังมีสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนของคดีมีทุนทรัพย์ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อเป็นการไม่ชอบ และเห็นได้ชัดว่าคดีส่วนที่มีทุนทรัพย์ตามฟ้องและที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่อาจจะวินิจฉัยคดีนี้ไปเสียทีเดียวได้ จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
การที่โจทก์ฟ้องขับไล่เป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยในเรื่องผิดสัญญาเช่าและไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป อันเป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่การที่โจทก์เรียกค่าเช่าที่ค้างชำระก่อนบอกเลิกสัญญาเช่า และค่าเสียหายภายหลังจากการบอกเลิกสัญญาเช่าเข้ามาด้วยรวมเป็นเงิน 186,000 บาท คดีในส่วนหลังนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องแม้คดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีหลักหรือคดีประธานจำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทในอัตราค่าเช่าเดือนละ 600 บาท และศาลชั้นต้นจะกำหนดค่าเสียหายหลังจากบอกเลิกสัญญาเช่าให้เดือนละ 20,000 บาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นเพียงแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น จึงต้องฟังว่าตึกแถวพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง แต่เมื่อคดีนี้เป็นทั้งคดีไม่มีทุนทรัพย์และคดีมีทุนทรัพย์รวมกันมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน 125,920 บาท จึงเกินกว่า 50,000 บาท ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การอุทธรณ์เป็นสิทธิของคู่ความฝ่ายที่แพ้คดี เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอีกครั้งหนึ่ง เว้นแต่คำสั่งหรือคำพิพากษานั้น กฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทั้งการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ก็ควรพิจารณาโดยเคร่งครัด เมื่อจำเลยถูกจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นคดีฟ้องขับไล่ แต่จำเลยยังมีสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนของคดีมีทุนทรัพย์ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อเป็นการไม่ชอบ และเห็นได้ชัดว่าคดีส่วนที่มีทุนทรัพย์ตามฟ้องและที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่อาจจะวินิจฉัยคดีนี้ไปเสียทีเดียวได้ จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่