พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเป็นที่สุดห้ามฎีกา: ผลของกฎหมายใหม่ต่อการยื่นฎีกา
ขณะผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.มาตรา 288โดยให้เพิ่ม วรรคสาม ของมาตรา 288 ว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1) และ(2) ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้นให้ยื่นฎีกาได้...ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม"ตามบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ มาตรา 223 บัญญัติว่า "...คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นประมวลกฎหมายนี้...จะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด" จึงมีความหมายว่า ในการยื่นฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นจะต้องไม่เป็นที่สุด หากเป็นที่สุดไม่ว่าจะในชั้นศาลชั้นต้นหรือชั้นศาลอุทธรณ์แล้วต้องห้ามยื่นฎีกา
ผู้ร้องยื่นฎีกาภายหลังที่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดใช้บังคับแล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
ผู้ร้องยื่นฎีกาภายหลังที่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดใช้บังคับแล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดหลังยื่นฎีกา
ขณะผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 โดยให้เพิ่มวรรคสาม ของมาตรา 288 ว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1)และ (2) ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 บัญญัติว่า"ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้นให้ยื่นฎีกาได้ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม" ตามบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ มาตรา 223บัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นประมวลกฎหมายนี้จะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด" จึงมีความหมายว่า ในการยื่นฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นจะต้องไม่เป็นที่สุด หากเป็นที่สุดไม่ว่าจะในชั้นศาลชั้นต้นหรือชั้นศาลอุทธรณ์แล้วต้องห้ามยื่นฎีกา
ผู้ร้องยื่นฎีกาภายหลังที่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดใช้บังคับแล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
ผู้ร้องยื่นฎีกาภายหลังที่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดใช้บังคับแล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: โจทก์ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องคดีต่อศาล
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้คำปรึกษาในด้านเทคนิคพิเศษและด้านวิชาการเกี่ยวกับโครงการของจำเลย ข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ตกลงกันว่าจะเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดมีลักษณะเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 มาตรา 5 เมื่อมีกรณีพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต้องถูกผูกพันโดยข้อสัญญานั้น
สัญญาจ้างมีข้อความระบุชัดว่าคู่สัญญาต้องตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดข้อพิพาททั้งปวงที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาจ้าง และข้อพิพาทในคดีนี้ที่โต้เถียงกันว่าจำเลยต้องชำระค่าจ้างตามสัญญาจ้างให้แก่โจทก์ หรือไม่ จึงเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาจ้าง ซึ่งคู่กรณีจะต้องหาทางระงับข้อพิพาทดังกล่าวด้วยการตกลงกัน หากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องเสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการดังกล่าว หาได้ใช้บังคับแต่เฉพาะเมื่อเกิดปัญหาในเรื่องการตีความข้อความ ในสัญญาจ้างไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ตามสัญญาดังกล่าวก่อน
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้สั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน เมื่อ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้เป็นที่สุดจำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223
ปัญหาวินิจฉัยในชั้นฎีกามีเพียงว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนหรือไม่ เมื่อข้อสัญญาในสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 10 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างมีข้อความระบุชัดว่าคู่สัญญาต้องตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดข้อพิพาททั้งปวงที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาจ้าง และข้อพิพาทในคดีนี้ที่โต้เถียงกันว่าจำเลยต้องชำระค่าจ้างตามสัญญาจ้างให้แก่โจทก์ หรือไม่ จึงเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาจ้าง ซึ่งคู่กรณีจะต้องหาทางระงับข้อพิพาทดังกล่าวด้วยการตกลงกัน หากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องเสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการดังกล่าว หาได้ใช้บังคับแต่เฉพาะเมื่อเกิดปัญหาในเรื่องการตีความข้อความ ในสัญญาจ้างไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ตามสัญญาดังกล่าวก่อน
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้สั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน เมื่อ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้เป็นที่สุดจำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223
ปัญหาวินิจฉัยในชั้นฎีกามีเพียงว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนหรือไม่ เมื่อข้อสัญญาในสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 10 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: การฟ้องคดีก่อนเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้คำปรึกษาในด้านเทคนิคพิเศษและด้านวิชาการเกี่ยวกับโครงการของจำเลย และมี ข้อสัญญาว่า หากคู่สัญญามีกรณีพิพาทเกิดขึ้นจากสัญญาดังกล่าวจะต้องเสนอข้อพิพาทนั้นให้อนุญาโตตุลาการแห่งกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ชี้ขาด ข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ตกลงกันว่าจะเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดมีลักษณะเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 เมื่อมีกรณีพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดก่อน
เมื่อสัญญาจ้างมีข้อความระบุชัดว่าคู่สัญญาต้องตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดข้อพิพาททั้งปวงที่เกิดจาก ข้อตกลงตามสัญญาจ้าง ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีที่โต้เถียงกันว่าจำเลยต้องชำระค่าจ้างตามสัญญาจ้างให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาจ้างซึ่งคู่กรณีจะต้องหาทางระงับข้อพิพาทด้วยการตกลงกัน หากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องเสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด ข้อตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการดังกล่าวหาได้ใช้บังคับแต่เฉพาะเมื่อเกิดปัญหาในเรื่องการตีความข้อความในสัญญาจ้างไม่
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้สั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้เป็นที่สุด จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223
เมื่อข้อสัญญาในสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 10 โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลโดยมิได้เสนอ ข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อสัญญาจ้างมีข้อความระบุชัดว่าคู่สัญญาต้องตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดข้อพิพาททั้งปวงที่เกิดจาก ข้อตกลงตามสัญญาจ้าง ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีที่โต้เถียงกันว่าจำเลยต้องชำระค่าจ้างตามสัญญาจ้างให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาจ้างซึ่งคู่กรณีจะต้องหาทางระงับข้อพิพาทด้วยการตกลงกัน หากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องเสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด ข้อตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการดังกล่าวหาได้ใช้บังคับแต่เฉพาะเมื่อเกิดปัญหาในเรื่องการตีความข้อความในสัญญาจ้างไม่
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้สั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้เป็นที่สุด จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223
เมื่อข้อสัญญาในสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 10 โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลโดยมิได้เสนอ ข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8750/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลในการพิจารณาฟ้องแย้งร่วมกับคำให้การ และความชอบด้วยกฎหมายของการสั่งให้พิจารณาก่อนพิพากษา
จำเลยฟ้องแย้งและมีคำขอบังคับโจทก์รวมมาในคำให้การตรงกับบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องตรวจฟ้องแย้งของจำเลยและมีคำสั่งตามที่พิจารณาเห็นสมควรว่าจะรับไว้พิจารณาต่อไป หรือไม่ โดยต้องพิจารณาประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การโดยมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องฟ้องแย้งของจำเลยไว้เลย จึงเป็นการไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว และเมื่อคดียังมีปัญหาเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยเช่นนี้ สมควรให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งฟ้องแย้งของจำเลยเสียก่อนแล้วจึงค่อยพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งได้ตาม มาตรา 27 และเมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยจึงยังไม่มีเหตุที่จำเลยจะมาอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งในเรื่องฟ้องแย้งโดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับฟ้องแย้งได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและให้ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องแย้งของจำเลยก่อนแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8750/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลในการพิจารณาฟ้องแย้งของจำเลยก่อนพิจารณาคดีหลัก
จำเลยฟ้องแย้งและมีคำขอบังคับโจทก์รวมมาในคำให้การตรงกับบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องตรวจฟ้องแย้งของจำเลยและมีคำสั่งตามที่พิจารณาเห็นสมควรว่าจะรับไว้พิจารณาต่อไป หรือไม่ โดยต้องพิจารณาประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การโดยมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องฟ้องแย้งของจำเลยไว้เลย จึงเป็นการไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว และเมื่อคดียังมีปัญหาเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยเช่นนี้ สมควรให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งฟ้องแย้งของจำเลยเสียก่อนแล้วจึงค่อยพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งได้ตาม มาตรา 27 และเมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยจึงยังไม่มีเหตุที่จำเลยจะมาอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งในเรื่องฟ้องแย้งโดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับฟ้องแย้งได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและให้ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องแย้งของจำเลยก่อนแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8411/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์และการพิจารณาเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการขยายเวลาชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2541 ต่อมาวันที่ 5 มิถุนายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่หนึ่งออกไปอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 แต่จำเลยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ในระยะเวลาดังกล่าว ครั้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สอง แม้จะยื่นภายหลังจากล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายให้แล้วก็ตาม แต่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้แสดงเหตุว่า กรณีมีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องได้ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องเป็นเหตุสุดวิสัยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 จึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จึงชอบแล้ว เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 29 กรกฎาคม 2541 จึงยังไม่เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5070/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผู้กระทำผิดตามมาตรา 89 ประมวลรัษฎากร: ลงโทษตามอนุมาตราที่เบี้ยปรับสูงสุดเท่านั้น
บทบัญญัติในประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 89 มิได้มุ่งหมายให้ลงโทษผู้กระทำผิดเรียงตามอนุมาตราไป แต่มุ่งหมายให้ลงโทษตามอนุมาตราที่กำหนดเบี้ยปรับสูงสุดเพียงอนุมาตราเดียว เมื่อการกระทำผิดของโจทก์ที่นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ในการคำนวณภาษีเข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 89(4) และ 89(7) ซึ่งมีกำหนดโทษให้เสียเบี้ยปรับหนึ่งเท่าและสองเท่าของจำนวนภาษีที่คลาดเคลื่อนตามลำดับแล้วศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียวได้ ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าใบกำกับภาษีของโจทก์บางส่วนปลอมโจทก์ไม่มีสิทธินำภาษีซื้อในใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้โจทก์จะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางในส่วนนี้แต่โจทก์ไม่มายื่นคำฟ้องอุทธรณ์และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามกฎหมายศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องโดยอ้างว่าหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ น. ทนายโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในคำฟ้อง แม้ในคำฟ้องจะระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้นาย ส. ดำเนินคดีแทน แต่เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งนาย น. เป็นทนายความ พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์ จึงเท่ากับว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยด้วยตนเอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องโจทก์ จึงเป็นการสั่งโดยเข้าใจผิด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแล้ว แต่ศาลชั้นต้นไม่เพิกถอน โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ตามบทกฎหมายทั่วไป หาใช่ต้องอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคท้ายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดี: ผู้มีอำนาจลงนามแต่งตั้งทนายความ ถือเป็นการฟ้องด้วยตนเอง ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งไม่รับฟ้องได้
ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องโดยอ้างว่าหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ น.ทนายโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในคำฟ้อง แม้ในคำฟ้องจะระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้นาย ส.ดำเนินคดีแทน แต่เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งนาย น.เป็นทนายความ พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์ จึงเท่ากับว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยด้วยตนเอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องโจทก์ จึงเป็นการสั่งโดยเข้าใจผิด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแล้ว แต่ศาลชั้นต้นไม่เพิกถอน โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ตามบทกฎหมายทั่วไป หาใช่ต้องอุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18วรรคท้ายไม่