พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,425 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงาน: ห้ามอุทธรณ์เมื่อทำโดยความยินยอมและไม่มีพยานหลักฐานใหม่
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกัน และมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงอาจมีผลไม่ตรง หรือไม่เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 ซึ่งห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกจากนี้คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจต่อกันเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีความสัมพันธ์อันดีกันต่อไป พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 38 วรรคหนึ่ง จึงบัญญัติให้ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน การที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยคดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินต่างๆ แล้ว คู่ความตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า "ข้อ 1 โจทก์จำเลยรับกันว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเกิดจากความเข้าใจผิด บัดนี้สองฝ่ายเข้าใจกันดีแล้ว จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นคนของจำเลย ปัจจุบันออกจากบริษัทจำเลยแล้ว จำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ 40,000 บาท โดยจะนำเงินมาวางศาลภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ข้อ 2 จำเลยจะนำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้และรายงานกระบวนพิจารณาไปปิด ณ ที่ทำการของจำเลยมีกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2548 ข้อ 3 โจทก์ยอมตามข้อ 1 ข้อ 2 ไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใดจากกันอีก" และพิพากษาตามยอมจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์ได้ ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
ขณะที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย โจทก์มีทนายความอยู่ด้วยและทนายความของโจทก์ก็ร่วมลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากกลัวคำขู่ของศาลแรงงานกลางขณะทำการไกล่เกลี่ยนั้น โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏหลักฐานอื่นในสำนวน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ขณะที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย โจทก์มีทนายความอยู่ด้วยและทนายความของโจทก์ก็ร่วมลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากกลัวคำขู่ของศาลแรงงานกลางขณะทำการไกล่เกลี่ยนั้น โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏหลักฐานอื่นในสำนวน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงาน: การอุทธรณ์และการคุ้มครองโดยกฎหมาย
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกันและมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือไม่เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ซึ่งห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกจากนี้คดีแรงงานยังเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจต่อกันเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีความสัมพันธ์อันดีกันต่อไป พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง จึงบัญญัติให้ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน การที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยและพิพากษาตามยอมจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์ได้ ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. 138 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
สำหรับอุทธรณ์ที่อ้างว่าโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากกลัวคำขู่ของศาลแรงงานกลางขณะทำการไกล่เกลี่ยนั้น เห็นว่า ขณะที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย โจทก์มีทนายความอยู่ด้วย และทนายความของโจทก์ก็ร่วมลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวโจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานอื่นในสำนวน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับอุทธรณ์ที่อ้างว่าโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากกลัวคำขู่ของศาลแรงงานกลางขณะทำการไกล่เกลี่ยนั้น เห็นว่า ขณะที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย โจทก์มีทนายความอยู่ด้วย และทนายความของโจทก์ก็ร่วมลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวโจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานอื่นในสำนวน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: ศาลฎีกาตัดสินว่าการประนีประนอมยอมความไม่ครอบคลุมคดีเดิมที่ศาลตัดสินว่าฟ้องเคลือบคลุม จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนเป็นคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่านายหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าโล่ที่จำเลยสัญญาว่าจะมอบให้ และค่าปรับเงินเดือนเพิ่มพร้อมทั้งออกหนังสือรับรองเกี่ยวกับการทำงานให้โจทก์ ระหว่างการพิจารณาศาลแรงงานกลางได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่าคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม คงพิจารณาคดีต่อไปเฉพาะประเด็นเรื่องค่าโล่และค่าปรับเงินเดือนเพิ่ม จึงเป็นการยกคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปแล้ว เมื่อไม่มีการอุทธรณ์คัดค้าน ข้อพิพาทในเรื่องค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์ฟ้องในคดีแพ่งดังกล่าว จึงเป็นอันยุติเพราะฟ้องเคลือบคลุม ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดีข้อพิพาทเรื่องค่านายหน้าจึงมิได้อยู่ในกระบวนพิจารณาในคดีแพ่งดังกล่าวต่อไปแล้วการที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในเวลาต่อมา โดยจำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ 36,000 บาท ซึ่งน้อยกว่าค่าโล่และค่าปรับเงินเดือนเพิ่มที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเป็นเงิน 5,000 บาท และ 66,000 บาท รวมกันโดยไม่ระบุเป็นค่าอะไร และไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าการประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทในเรื่องค่านายหน้าที่ศาลยกฟ้องเพราะฟ้องเคลือบคลุมไปแล้วด้วยแต่อย่างใด แม้ศาลแรงงานกลางและพิพากษาตามยอมไปแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องค่านายหน้าระหว่างโจทก์จำเลยไปแล้ว จึงไม่ต้องห้ามไม่ให้โจทก์นำค่านายหน้ามาฟ้องเป็นคดีนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: การยกฟ้องเนื่องจากฟ้องเคลือบคลุม ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ทำให้ฟ้องใหม่ได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่านายหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าโล่ที่จำเลยสัญญาว่าจะมอบให้ และค่าปรับเงินเดือนเพิ่ม พร้อมทั้งออกหนังสือรับรองเกี่ยวกับการทำงานให้โจทก์ ระหว่างการพิจารณาจำเลยขอให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม คงพิจารณาคดีต่อไปเฉพาะประเด็นเรื่องค่าโล่และค่าปรับเงินเดือนเพิ่ม อันเป็นการยกคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการอุทธรณ์คัดค้าน ข้อพิพาทในเรื่องค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเป็นอันยุติเพราะฟ้องเคลือบคลุมซึ่งเป็นกรณีที่ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี และไม่ได้อยู่ในกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวต่อไปแล้ว การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในเวลาต่อมา โดยจำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ 36,000 บาท ซึ่งน้อยกว่าค่าโล่และค่าปรับเงินเดือนเพิ่มที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงิน 5,000 บาท และ 66,000 บาท รวมกันโดยไม่ระบุว่าค่าอะไร และไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าการประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทในเรื่องค่านายหน้าที่ศาลยกฟ้องเพราะฟ้องเคลือบคลุมไปแล้วด้วยแต่อย่างใด แม้ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาตามยอมไปแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องค่านายหน้าระหว่างโจทก์จำเลยไปแล้ว จึงไม่ต้องห้ามไม่ให้โจทก์นำค่านายหน้ามาฟ้องเป็นคดีนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลความเสียหายจากการลาป่วยต่อเนื่องและการหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นว่า ม. ไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์แทนจำเลย ทั้งจำเลยยังให้การรับในคำให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ไม่อาจยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
โจทก์เป็นหัวหน้าพนักงานขายต้องควบคุมดูแลพนักงานขายในการจำหน่ายสินค้าเพื่อหารายได้ให้แก่จำเลย แต่กลับลาป่วยทั้งเดือนไม่ได้มาทำงานเลยย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ถือว่าโจทก์หย่อนสมรรถภาพในการทำงานการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์
โจทก์เป็นหัวหน้าพนักงานขายต้องควบคุมดูแลพนักงานขายในการจำหน่ายสินค้าเพื่อหารายได้ให้แก่จำเลย แต่กลับลาป่วยทั้งเดือนไม่ได้มาทำงานเลยย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ถือว่าโจทก์หย่อนสมรรถภาพในการทำงานการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับพยานหลักฐานและการบังคับใช้สัญญาค้ำประกันในคดีแรงงาน
แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารรายงานการเก็บเงินจากต่างจังหวัดเป็นพยาน แต่โจทก์นำเอกสารดังกล่าวเข้าสืบประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ และศาลแรงงานกลางยอมให้โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าวและรับไว้เป็นพยาน ถือเป็นพยานที่ศาลแรงงานกลางเรียกมาสืบเพื่อความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
เมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จะนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอน แก้ไขข้อความในเอกสารนั้นไม่ได้ แต่สำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงิน มิใช่พยานหลักฐานที่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีเอกสารมาแสดง จึงไม่ต้องห้ามที่จะนำพยานบุคคลมานำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร และการที่โจทก์เบิกความรับว่าสำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงินไม่มีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้า แม้จะเบิกความว่าตามปกติต้องมีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าอยู่ในสำเนา ก็ไม่ได้นำสืบว่ามีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าในเอกสาร จึงมิใช่การนำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร ไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)
สัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า "ผู้ค้ำประกันขอทำสัญญาฉบับนี้ไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการค้ำประกันในความเสียหาย หรือความผิดใดที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นไม่ว่าโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายหรือต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่บุคคล นิติบุคคลอื่น ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต" แม้ช่องว่างที่เว้นไว้หลังข้อความว่า ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ จะไม่ได้เขียนข้อความว่า โจทก์ แต่เมื่ออ่านข้อความตอนต้นว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เพื่อความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมหมายความได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ชำระค่าเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
เมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จะนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอน แก้ไขข้อความในเอกสารนั้นไม่ได้ แต่สำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงิน มิใช่พยานหลักฐานที่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีเอกสารมาแสดง จึงไม่ต้องห้ามที่จะนำพยานบุคคลมานำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร และการที่โจทก์เบิกความรับว่าสำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงินไม่มีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้า แม้จะเบิกความว่าตามปกติต้องมีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าอยู่ในสำเนา ก็ไม่ได้นำสืบว่ามีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าในเอกสาร จึงมิใช่การนำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร ไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)
สัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า "ผู้ค้ำประกันขอทำสัญญาฉบับนี้ไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการค้ำประกันในความเสียหาย หรือความผิดใดที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นไม่ว่าโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายหรือต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่บุคคล นิติบุคคลอื่น ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต" แม้ช่องว่างที่เว้นไว้หลังข้อความว่า ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ จะไม่ได้เขียนข้อความว่า โจทก์ แต่เมื่ออ่านข้อความตอนต้นว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เพื่อความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมหมายความได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ชำระค่าเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8684/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาความชอบธรรมของคำสั่งย้ายงานและสิทธิในการปฏิเสธทำงานล่วงเวลา
คำฟ้องของโจทก์อ้างเหตุการเลิกจ้าง จ. สองประการคือ ประการแรก จ. ฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ที่สั่งให้ จ. ย้ายแผนก กับประการที่สอง จ. กระทำผิดซ้ำคำเตือนกรณีไม่ทำงานล่วงเวลา แม้จำเลยจะให้การต่อสู้เฉพาะประเด็นการให้ จ. ทำงานล่วงเวลาโดยไม่ได้กล่าวถึงประเด็น จ. ฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ที่สั่งให้ จ. ย้ายไปทำงานในแผนกก๊าซคัทติ้ง และต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงว่า จ. ไม่ไปทำงานในแผนกก๊าซคัทติ้งในเวลาปกติก็ตาม แต่กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างศาลต้องพิจารณาด้วยว่าเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงจากคำฟ้องและคำให้การในประเด็นนี้ว่า จ. ไม่ได้ย้ายไปทำงานในแผนกก๊าซคัทติ้งตามคำสั่งของโจทก์ แล้ววินิจฉัยว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ได้วินิจฉัยนอกประเด็น
การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ จ. ย่อมมีอำนาจย้าย จ. จากแผนกอะมะดะคัทติ้งไปทำงานที่แผนกก๊าซคัทติ้งได้ แม้ จ. ยังใช้เครื่องจักรไม่เป็นก็สามารถฝึกการใช้เครื่องจักรได้ และแม้ในระหว่างเวลาทำงานปกติช่วงวันเกิดเหตุ จ. ไม่สามารถฝึกใช้เครื่องจักรเพราะโจทก์ต้องใช้เครื่องจักรทำการผลิตสินค้า โจทก์ก็อาจจะมอบหมายให้ จ. ทำงานอื่นในแผนกก๊าซคัทติ้งไปพลางก่อนก็ได้ คำสั่งของโจทก์ที่สั่งให้ จ. ไปทำงานในเครื่องจักรที่โจทก์ทราบอยู่แล้วว่า จ. ไม่มีความสามารถใช้เครื่องจักรได้ และไม่มีเครื่องจักรให้ จ. ทำงานในเวลาปกติ เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งให้ จ. ย้ายแผนกทำให้สภาพการจ้าง จ. ต่ำกว่าเดิม และการออกคำสั่งย้ายงานดังกล่าวโจทก์มีเจตนากลั่นแกล้ง จ. คำสั่งดังกล่าวของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว แต่เนื่องจากโจทก์รู้อยู่แล้วว่า จ. ใช้เครื่องจักรในแผนกก๊าซคัทติ้งไม่เป็น จะต้องฝึกการใช้เครื่องจักรก่อน เมื่อโจทก์ยังไม่เคยฝึกให้ จ. ใช้เครื่องจักร แม้ จ. จะย้ายไปทำงานที่แผนกก๊าซคัทติ้งก็ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประจำเครื่องจักรได้เพราะขณะนั้นโจทก์ใช้เครื่องจักรเร่งผลิตสินค้า การฝ่าฝืนคำสั่งของ จ. ที่ไม่ย้ายไปทำงานในแผนกก๊าซคัทติ้งของวันเกิดเหตุจึงไม่ได้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง หรืออาจจะเสียหายอย่างร้ายแรง ย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกรณีร้ายแรง
จ. มีเวลาทำงานปกติตั้งแต่เวลา 8.30 ถึง 17.30 นาฬิกา การที่โจทก์มีคำสั่ง ให้ จ. เข้าปฎิบัติการใช้เครื่องก๊าซคัทติ้งตั้งแต่เวลา 18 ถึง 20 นาฬิกา จึงเป็นการสั่งให้ จ. ทำงานนอกเวลาทำงานปกติ ซึ่งถือว่าสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลานั้นเอง เมื่อ จ. ไม่ยินยอมทำงานล่วงเวลา จะถือว่า จ. ฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์อันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเลิกจ้าง จ. ด้วยเหตุดังกล่าว โดยไม่จ่ายค่าชดเชย
การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ จ. ย่อมมีอำนาจย้าย จ. จากแผนกอะมะดะคัทติ้งไปทำงานที่แผนกก๊าซคัทติ้งได้ แม้ จ. ยังใช้เครื่องจักรไม่เป็นก็สามารถฝึกการใช้เครื่องจักรได้ และแม้ในระหว่างเวลาทำงานปกติช่วงวันเกิดเหตุ จ. ไม่สามารถฝึกใช้เครื่องจักรเพราะโจทก์ต้องใช้เครื่องจักรทำการผลิตสินค้า โจทก์ก็อาจจะมอบหมายให้ จ. ทำงานอื่นในแผนกก๊าซคัทติ้งไปพลางก่อนก็ได้ คำสั่งของโจทก์ที่สั่งให้ จ. ไปทำงานในเครื่องจักรที่โจทก์ทราบอยู่แล้วว่า จ. ไม่มีความสามารถใช้เครื่องจักรได้ และไม่มีเครื่องจักรให้ จ. ทำงานในเวลาปกติ เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งให้ จ. ย้ายแผนกทำให้สภาพการจ้าง จ. ต่ำกว่าเดิม และการออกคำสั่งย้ายงานดังกล่าวโจทก์มีเจตนากลั่นแกล้ง จ. คำสั่งดังกล่าวของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว แต่เนื่องจากโจทก์รู้อยู่แล้วว่า จ. ใช้เครื่องจักรในแผนกก๊าซคัทติ้งไม่เป็น จะต้องฝึกการใช้เครื่องจักรก่อน เมื่อโจทก์ยังไม่เคยฝึกให้ จ. ใช้เครื่องจักร แม้ จ. จะย้ายไปทำงานที่แผนกก๊าซคัทติ้งก็ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประจำเครื่องจักรได้เพราะขณะนั้นโจทก์ใช้เครื่องจักรเร่งผลิตสินค้า การฝ่าฝืนคำสั่งของ จ. ที่ไม่ย้ายไปทำงานในแผนกก๊าซคัทติ้งของวันเกิดเหตุจึงไม่ได้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง หรืออาจจะเสียหายอย่างร้ายแรง ย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกรณีร้ายแรง
จ. มีเวลาทำงานปกติตั้งแต่เวลา 8.30 ถึง 17.30 นาฬิกา การที่โจทก์มีคำสั่ง ให้ จ. เข้าปฎิบัติการใช้เครื่องก๊าซคัทติ้งตั้งแต่เวลา 18 ถึง 20 นาฬิกา จึงเป็นการสั่งให้ จ. ทำงานนอกเวลาทำงานปกติ ซึ่งถือว่าสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลานั้นเอง เมื่อ จ. ไม่ยินยอมทำงานล่วงเวลา จะถือว่า จ. ฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์อันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเลิกจ้าง จ. ด้วยเหตุดังกล่าว โดยไม่จ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7508-7528/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งคดีแรงงานต้องเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม หากไม่เกี่ยวเนื่อง ศาลไม่รับฟ้อง
ตามคำฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานทุกวันเพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีวัตถุดิบซึ่งไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างในช่วงที่โจทก์ไม่ได้ทำงานด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายค่าจ้างช่วงที่จำเลยที่ 1 ไม่มีงานให้โจทก์ทำและค่าชดเชยแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ดังนี้ คำฟ้องเดิมจึงเป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายเงินตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 124 วรรคสาม อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายต่อชื่อเสียงของจำเลยที่ 1 กรณีโจทก์ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอันเป็นเท็จ ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียงนั้น เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งไม่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7289/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นไม่มีส่วนได้เสียในคดีแรงงาน และไม่มีสิทธิขอทุเลาการบังคับคดี
โจทก์เป็นลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับจำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุด เป็นกรณีลูกจ้างฟ้องให้นายจ้างชำระเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 วรรคสาม และ ป.พ.พ. มาตรา 582 ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ผู้ร้องเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลย ไม่ใช่ผู้ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ไม่ใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลและไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยให้ทำการแทนจึงไม่ใช่นายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 ตามความหมายคำว่านายจ้าง (2) และไม่ใช่ผู้ตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานให้ จึงไม่ใช่นายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ผู้ร้องไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับโจทก์ ผลแห่งคดีมีเพียงว่านายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างหรือไม่เพียงใด เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชอบชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับ กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชอบชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับ กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7289/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นไม่เป็นนายจ้างในคดีแรงงาน ไม่มีหน้าที่ชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จึงไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
โจทก์เป็นลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับจำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุด ผู้ร้องเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลย จึงไม่ใช่นายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 5 ตามความหมายคำว่า นายจ้าง (2) และ ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับ กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้ และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับ กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้ และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้