พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,425 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าจ้างต้องระบุรายละเอียดชัดเจน หากฟ้องไม่ชัดเจน ศาลอาจยกฟ้องได้
ลูกจ้างฟ้องเรียกให้นายจ้างชำระค่าจ้าง ลูกจ้างต้องบรรยายฟ้องมาให้ชัดแจ้งว่าค่าจ้างจำนวนที่เรียกให้ชำระเป็นค่าจ้างประเภทใด เพื่อที่นายจ้างจะได้ให้การต่อสู้ได้ว่าค่าจ้างจำนวนดังกล่าวลูกจ้างมีสิทธิได้รับจริงและนายจ้างยังมิได้ชำระหรือไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าคอมมิชชั่นที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากผลงานขายของลูกทีมโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ลูกทีมดังกล่าวมีใครบ้าง และแต่ละคนมีผลงานขายเท่าใด พอที่จำเลยทั้งสองจะให้การต่อสู้ได้ ฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงเคลือบคลุม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์มิได้เป็นนายหน้าติดต่อให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายและติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดกับธนาคารตามโครงการดีบีเอสไทยทนุ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าคอมมิชชั่นโครงการดังกล่าว จึงเป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างจากที่ศาลแรงงานกลางฟังไว้ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้เลิกจ้างโจทก์ ที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาเลิกจ้างโจทก์แต่เป็นเรื่องที่โจทก์สมัครใจลาออกเอง จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์มิได้เป็นนายหน้าติดต่อให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายและติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดกับธนาคารตามโครงการดีบีเอสไทยทนุ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าคอมมิชชั่นโครงการดังกล่าว จึงเป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างจากที่ศาลแรงงานกลางฟังไว้ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้เลิกจ้างโจทก์ ที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาเลิกจ้างโจทก์แต่เป็นเรื่องที่โจทก์สมัครใจลาออกเอง จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนและยื่นคำร้องใหม่ต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มิได้ทำให้ระยะเวลาดำเนินการนับต่อเนื่องกัน
การที่จำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้างยื่นคำร้องต่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยร่วมที่จะให้จำเลยดำเนินการต่อไปหรือไม่อย่างไรก็ได้ หาได้มีบทบัญญัติใดที่จำกัดห้ามมิให้จำเลยร่วมซึ่งถอนคำร้องที่ยื่นต่อจำเลยแล้วยื่นคำร้องใหม่เพื่อให้จำเลยดำเนินการตามมาตรา 123 อีกแต่อย่างใด เมื่อจำเลยร่วมถอนคำร้องฉบับลงวันที่ 26 มิถุนายน 2544 คำร้องฉบับดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป ต่อมาจำเลยร่วมยื่นคำร้องฉบับที่สองลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เพื่อให้จำเลยดำเนินการใหม่ จำเลยทำการสอบสวนและมีคำสั่งเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2544 ย่อมเป็นการดำเนินการภายในกำหนด 60 วัน ชอบด้วยมาตรา 124 วรรคหนึ่ง แล้วระยะเวลานับแต่วันที่ยื่นคำร้องฉบับแรก หาได้นับต่อเนื่องมารวมกับระยะเวลา 60 วันที่จำเลยต้องดำเนินการตามคำร้องฉบับที่สองไม่ คำสั่งของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแก้ไขคำให้การในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. และ พ.ร.บ.แรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำให้การไว้ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยขึ้นใหม่แทนวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์แต่เดิม เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานและมีการสืบพยานนัดแรก (พยานจำเลย) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยขึ้นใหม่แทนวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์แต่เดิม เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานและมีการสืบพยานนัดแรก (พยานจำเลย) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: การเรียกร้องเงินสมทบเงินฝากสะสมช่วงเวลาต่างกันถือเป็นการรื้อร้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินสมทบเงินฝากสะสมของโจทก์ในช่วงเวลานับแต่วันที่โจทก์เริ่มเข้าทำงานจนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ส่วนคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินสมทบเงินฝากสะสมของโจทก์ในช่วงเวลานับแต่วันที่เลิกจ้างโจทก์จนถึงวันที่โจทก์เกษียณอายุ แต่ทั้งสองคดีก็เป็นการที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายเงินสมทบซึ่งโจทก์อ้างว่ามีสิทธิจะได้รับตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินฝากสะสมฯ ซึ่งโจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายเงินสมทบทั้งสองช่วงเวลาดังกล่าวในคราวเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายเงินสมทบในคดีนี้อีก ถือได้ว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์จำเลยเป็นคู่ความเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลแรงงานพิจารณาจากพยานหลักฐาน ไม่ใช่คดีอาญา
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ อันเป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นคดีแรงงานอันเป็นคดีแพ่งประเภทหนึ่ง แม้จำเลยจะให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ได้ลักทรัพย์ของจำเลยอันมีมูลความผิดอาญาอยู่ด้วยก็ตาม ก็มิใช่ข้ออ้างที่จะมีผลให้มีการพิจารณาลงโทษโจทก์ในการกระทำผิดอาญา เพียงแต่อ้างเพื่อปฏิเสธไม่ต้องรับผิดในคดีแรงงานเท่านั้น การให้การต่อสู้เช่นนี้หาทำให้คดีนี้กลับกลายเป็นคดีอาญาไปไม่ การพิจารณาคดีนี้จึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ประกอบ ป.วิ.พ. ในกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ เป็นอย่างอื่น จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 174 และ 227 อันเป็นวิธีพิจารณาคดีอาญามาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงโดยวิธีการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 นั้น จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องค่าจ้างควบคู่กับการร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน: ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานสิ้นสุด
ก่อนที่โจทก์ทั้งสามจะฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ โจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดและประสงค์ให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 วรรคหนึ่ง ซึ่งในกรณีนี้โจทก์ทั้งสามอาจจะเลือกที่จะใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลแรงงานได้ โดยจะต้องใช้สิทธิในทางใดทางหนึ่ง แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ เมื่อโจทก์ทั้งสามยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้วโจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด ศาลแรงงานย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามที่ฟ้องเรียกเอาเงินค่าจ้างค้างจ่ายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ข้อกฎหมายนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142, 246 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนค่าบริการจัดหางานต่างประเทศเมื่อคนหางานทำงานไม่ครบตามสัญญาและนายจ้างล้มละลาย
ในวันนัดพิจารณา ศาลได้สอบถามจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองก็ได้แถลงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ต่อศาล การแถลงข้อเท็จจริงดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นคำให้การด้วยวาจา แม้ศาลจะมีคำสั่งว่าหากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การให้ยื่นคำให้การภายใน 15 วัน ก็ตาม ก็เพียงแต่ให้จำเลยที่ 2 มีโอกาสยื่นคำให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมจากที่ได้ให้การด้วยวาจาเท่านั้น และแม้ศาลจะระบุในคำพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การก็หมายความว่า จำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การเป็นหนังสือตามคำสั่งของศาลเท่านั้น เมื่อศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยให้จำเลยที่ 2 นำพยานเข้าสืบตามประเด็นในคำให้การแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การอีก
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้หมายเรียก ธ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้โอนค่าใช้จ่ายของโจทก์ในการเดินทางไปทำงานที่ไต้หวันให้แก่ ธ. ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการเข้ามาในคดีนี้แล้ว ธ. ย่อมไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ธ. จึงไม่อาจถูกจำเลยที่ 2 ฟ้องเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศแต่ไม่ครบกำหนด เพราะนายจ้างล้มละลายไม่มีงานให้โจทก์ทำ ดังนี้ เป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถทำงานได้จนสิ้นสุดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจัดหางาน เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิใช่สาเหตุจากโจทก์ และแม้เหตุดังกล่าวจะมิใช่เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากโจทก์ไปแล้วเป็นอัตราส่วนกับระยะเวลาที่โจทก์ได้ทำงานตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 46
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้หมายเรียก ธ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้โอนค่าใช้จ่ายของโจทก์ในการเดินทางไปทำงานที่ไต้หวันให้แก่ ธ. ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการเข้ามาในคดีนี้แล้ว ธ. ย่อมไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ธ. จึงไม่อาจถูกจำเลยที่ 2 ฟ้องเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศแต่ไม่ครบกำหนด เพราะนายจ้างล้มละลายไม่มีงานให้โจทก์ทำ ดังนี้ เป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถทำงานได้จนสิ้นสุดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจัดหางาน เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิใช่สาเหตุจากโจทก์ และแม้เหตุดังกล่าวจะมิใช่เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากโจทก์ไปแล้วเป็นอัตราส่วนกับระยะเวลาที่โจทก์ได้ทำงานตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้า: การยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความในคดีบังคับคดีและการวินิจฉัยของศาล
โจทก์ขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องในการชำระราคาสินค้าของจำเลยซึ่งมีต่อผู้คัดค้านโดยอ้างเพียงประการเดียวว่าเงินที่ขออายัดเป็นเงินที่ผู้คัดค้านค้างชำระราคาสินค้าซึ่งผู้คัดค้านซื้อจากจำเลย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า โจทก์กล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านมีภาระต้องชดใช้ราคาสินค้าดังกล่าวแก่จำเลยแต่จำเลยก็มิได้ฟ้องร้องให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยภายในเวลา 2 ปี นับแต่จำเลยส่งมอบสินค้า สิทธิเรียกร้องของจำเลยจึงขาดอายุความแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวจากผู้คัดค้าน คำคัดค้านของผู้คัดค้านเป็นการตั้งประเด็นเสมือนเป็นคำให้การต่อสู้คดีและเป็นคำให้การที่ชัดแจ้ง และแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความว่าเป็นเรื่องใดและขาดอายุความเพราะเหตุใด ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6288-6383/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมีผลผูกพันเมื่อนายจ้างไม่ฟ้องคัดค้านภายในกำหนดตามกฎหมาย
บริษัทจำเลยมีคำสั่งให้ลูกจ้างรวมถึงโจทก์ทั้งเก้าสิบหกหยุดงาน โดยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันที่ไม่มาทำงานร้อยละห้าสิบของค่าจ้างปกติ ต่อมาตัวแทนโจทก์ทั้งเก้าสิบหกได้ร้องเรียนเกี่ยวกับการออกคำสั่งดังกล่าวต่อพนักงานตรวจแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนแก่โจทก์ลูกจ้างที่ให้หยุดงานชั่วคราว จำเลยทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วไม่ได้ฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง แต่จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร และผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครมีคำสั่งไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงาน แต่การดำเนินการดังกล่าวของจำเลยผู้เป็นนายจ้างหาชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 ไม่ เนื่องจากตามบทบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้นายจ้างซึ่งไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจะต้องนำคดีไปสู่ศาลแรงงาน เมื่อจำเลยมิได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานกลางเพื่อฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 แสดงให้เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม ทั้งมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 3 กรณีดังกล่าวจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเงินประกันการทำงาน: ผู้จัดการอาคารชุดมีหน้าที่ควบคุมเงิน ถือเป็นงานที่นายจ้างเก็บเงินประกันได้
อุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างว่างานที่โจทก์ทำไม่เข้าลักษณะงานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ซึ่งออกตามมาตรา 6 และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินประกัน การทำงานที่เก็บไปให้แก่โจทก์นั้น แม้มิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง แต่เป็นการอุทธรณ์เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายจากการทำงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
โจทก์มิใช่พนักงานการเงิน แต่โจทก์เป็นผู้จัดการอาคารชุด มีสิทธิรับเงินจากลูกค้าและออกใบเสร็จรับเงิน ในนามตนเอง ควบคุมกำกับดูแลการจัดเก็บเงินและค่าใช้จ่ายต่างๆ ควบคุมการนำส่งทางการเงินและบัญชี ควบคุมพนักงานการเงินให้จัดเก็บเงินให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และมีอำนาจตรวจสอบความถูกต้องทางการเงินด้วย โจทก์จึงเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมเงินของนายจ้างอันเป็นงานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 (6) นายจ้างเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากโจทก์ได้
โจทก์มิใช่พนักงานการเงิน แต่โจทก์เป็นผู้จัดการอาคารชุด มีสิทธิรับเงินจากลูกค้าและออกใบเสร็จรับเงิน ในนามตนเอง ควบคุมกำกับดูแลการจัดเก็บเงินและค่าใช้จ่ายต่างๆ ควบคุมการนำส่งทางการเงินและบัญชี ควบคุมพนักงานการเงินให้จัดเก็บเงินให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และมีอำนาจตรวจสอบความถูกต้องทางการเงินด้วย โจทก์จึงเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมเงินของนายจ้างอันเป็นงานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 (6) นายจ้างเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากโจทก์ได้