คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 31

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,425 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587-5599/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่ง รมต.แรงงาน มอบข้อพิพาทให้ กสร. ไม่กระทบอำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องเลิกจ้าง
คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมที่สั่งตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ให้ลูกจ้างของผู้ร้องที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงาน ให้ผู้ร้องซึ่งสั่งปิดงานให้เปิดงานและรับลูกจ้างของผู้ร้องทั้งหมดกลับเข้าทำงาน และมอบให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างผู้ร้องกับลูกจ้างของผู้ร้องที่ยื่นข้อเรียกร้อง เป็นคำสั่งที่แก้ไขข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ซึ่งมีการนัดหยุดงานหรือมีการปิดงานที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศ หรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน หรืออาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ หรืออาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันเป็นการยกเลิกการนัดหยุดงานและการปิดงานที่ดำเนินการอยู่ แล้วมอบข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นผู้ชี้ขาด คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการกระทำใดในระหว่างการนัดหยุดงานหรือการปิดงานของนายจ้างหรือลูกจ้างที่กระทำผิดต่อกฎหมายหรือละเมิดสิทธิของอีกฝ่ายหรือต่อบุคคลภายนอก คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จึงไม่มีผลทำให้อำนาจในการดำเนินคดีนี้ของผู้ร้องที่ร้องขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสิบสาม ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 สิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีแรงงาน ต้องมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยจะกระทำซ้ำ หรือโจทก์จะได้รับความเสียหายต่อเนื่อง
คำสั่งให้ใช้วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีแรงงานอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 254 , 255 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31 , 58 ซึ่งเจตนารมณ์ในการอนุญาตให้ใช้วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอของโจทก์ ต้องเป็นกรณีจำเลยตั้งใจจะกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง และทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหายต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลย จำเลยที่ 1 มีคำสั่งพักงานโจทก์ก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง และมีคำขอให้ใช้วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาประมาณ 6 เดือน ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการอันเป็นการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปที่จะทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหายต่อไปอีกแต่อย่างใด เหตุที่อ้างว่าคำสั่งพักงานทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังคำสั่งพักงานเกือบ 7 เดือน ซึ่งไม่แน่ว่าโจทก์จะได้รับพิจารณาแต่งตั้งเพราะโจทก์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยถึง 5 เรื่อง ประกอบกับคำขอคุ้มครองชั่วคราวตรงตามประเด็นข้อพิพาทในคดีที่จะต้องวินิจฉัยก่อน การยื่นคำขอก็ล่วงเลยเวลาอันควร หากนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอของโจทก์มาใช้ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เช่นกัน จึงยังไม่มีเหตุสมควรเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31 , 58 มาใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923-3932/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทค่าจ้างหลังคำสั่งเดิมถูกยกเลิก: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม อายุความ 10 ปีมิใช่อายุความ 1 ปี
เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยของอธิบดีฯ ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 แม้จำเลยที่ 6 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะสืบพยานโจทก์ แต่ในขณะนั้นศาลปกครองชั้นต้นที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ยังไม่ได้เปิดดำเนินการและแม้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 จะยื่นคำร้องเช่นเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลางหลังจากศาลปกครองชั้นต้นเปิดดำเนินการแล้ว ก็เป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่เข้ากรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่รอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองชั้นต้น จึงชอบแล้ว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923-3932/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทค่าจ้างหลังคำสั่งยกเลิก - อายุความ 10 ปีมิใช่อายุความลาภมิควรได้ - ศาลแรงงานพิพากษายืน
เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยของอธิบดีฯ ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 แม้จำเลยที่ 6 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางดำเนินการตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะสืบพยานโจทก์ แต่ในขณะนั้นศาลปกครองชั้นต้นที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ยังไม่ได้เปิดดำเนินการและแม้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 จะยื่นคำร้องเช่นเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลาง หลังจากศาลปกครองชั้นต้นเปิดดำเนินการแล้ว ก็เป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่เข้ากรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราว และจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่รอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองชั้นต้น จึงชอบแล้ว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน 62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเงินรางวัลพิเศษและข้อจำกัดการแก้ไขคำฟ้องในคดีแรงงาน
ตามหนังสือแจ้งเงินเดือนและเงินรางวัลพิเศษระบุว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษโดยมิได้มีหลักเกณฑ์ว่าผู้มีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษต้องมีสภาพเป็นพนักงานของจำเลยในวันที่จำเลยจ่ายเงินรางวัลพิเศษ ดังนั้น แม้โจทก์จะลาออกไปในภายหลัง โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับเงินรางวัลดังกล่าว
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาการทำงานเพื่อคิดค่าชดเชยเพิ่มขึ้นนั้น มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและมิใช่การแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังจากที่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหลังสืบพยานแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง เนื่องจากไม่ได้วินิจฉัยประเด็นสำคัญเรื่องการลาออกหรือการเลิกจ้าง
ปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ยื่นใบลาออกจากงานเพราะเกษียณอายุโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2542 เป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างของโจทก์ด้วยการลาออกจากงาน เมื่อจำเลยอนุมัติ การลาออกของโจทก์จึงมีผลนับแต่วันที่โจทก์ประสงค์ นั้น จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้แล้วว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากโจทก์ลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลย ทำให้โจทก์พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานนับแต่วันที่ลาออกแล้ว อันเป็นประเด็นที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัย การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาโดยรับฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างเมื่ออายุครบ 50 ปี เพราะเหตุเกษียณอายุ โดยที่มิได้รับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานตามที่คู่ความนำสืบ และยังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์ได้ยื่นใบลาออกจากงานจริงหรือไม่ หากยื่นใบลาออก โจทก์ยื่นเมื่อใด การที่โจทก์ออกจากงานเป็นผลเนื่องจากโจทก์ยื่นใบลาออก หรือจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุโจทก์เกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ถือว่าเป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้ โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 ชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเสีย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องวินิจฉัยประเด็นสำคัญเรื่องการลาออกหรือเลิกจ้างก่อนพิพากษาคดีแรงงาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีโดยมิได้รับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานตามที่คู่ความนำสืบ และยังมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ได้ยื่นใบลาออกจากงานจริงหรือไม่ทั้งการที่โจทก์ออกจากงานเป็นผลเนื่องจากโจทก์ยื่นใบลาออกหรือจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุโจทก์เกษียณอายุ ถือว่าเป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 51 ชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรงเป็นเหตุชอบธรรม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารจำเลยทำรายการซื้อตั๋วแลกเงินแทนลูกค้า จากนั้นเก็บตั๋วแลกเงินที่ขายให้ลูกค้าไว้แล้วออกสมุดเงินฝากให้แก่ลูกค้าโดยที่ลูกค้ามิได้ฝากเงินไว้กับจำเลย เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบการทำงานของจำเลยซึ่งให้สาขาออกคู่ฉบับใบลงรับมอบให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐาน อาจเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ เพราะหากลูกค้านำสมุดเงินฝากมาขอเบิกเงินจากจำเลย จำเลยอาจต้องรับผิดจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากแก่ลูกค้า แม้จะยังไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์กระทำไปโดยได้รับความยินยอมจากลูกค้าและเพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยโจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่ ก็ต้องถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรงแล้ว จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องตักเตือนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)
อุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างพยานบุคคล พยานเอกสารและเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่า พยานหลักฐานจำเลยยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้แทนนิติบุคคลไม่ยินยอมให้ใช้ชื่อนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ซื้อตั๋วแลกเงินก็ดี จ. เป็นผู้เก็บส่วนต่างของดอกเบี้ยจากการจำหน่ายตั๋วแลกเงินให้แก่ลูกค้าก็ดี ล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและคณะกรรมการสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งขึ้นมิได้มีการสอบสวนทางวินัยและลงโทษโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังข้อเท็จจริงว่า ท. กับ จ. กระทำการฝ่าฝืนต่อระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยและจำเลยอนุมัติให้บุคคลทั้งสองลาออกดังที่โจทก์อ้างมาในอุทธรณ์ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน, การเบิกเงินเดือนล่วงหน้า, เหตุเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลในชั้นอุทธรณ์
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 49 หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นที่ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้ มิใช่ว่าเมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทุจริตยักยอกทรัพย์ของบริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้างแล้วจะต้องถือว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอยู่ในตัว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถือโอกาสที่เป็นตัวแทนของผู้บริหารจำเลยขอเบิกและอนุมัติจ่ายเงินเดือนล่วงหน้าให้ตัวเองทุกเดือนรวม52 ครั้ง เป็นเงินกว่าล้านบาท ทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่าจำเลยกำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินจนทำให้กิจการของจำเลยเสียหาย นับว่ามีเหตุผลเพียงพอที่ทำให้จำเลยไม่ไว้วางใจให้โจทก์บริหารกิจการของจำเลยต่อไป การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างที่ค้างค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งจำเลยให้การว่าโจทก์ยักยอกเงินของจำเลยไปและตกลงจะผ่อนชำระคืน แต่ไม่ยอมชำระ จึงฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระเงินที่ยักยอกไปคืนพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งสภาพแห่งข้อหาคือเหตุที่จำเลยมีสิทธิเหนือโจทก์เกิดจากการที่โจทก์ยักยอกเงินจำเลยไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลย ฟ้องแย้งดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31 แล้ว ฟ้องแย้งจำเลยไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จะยกเรื่องอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานหรือไม่นั้น โจทก์จะต้องยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาท เพื่อจะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานจะพิพากษาคดี ซึ่งคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9วรรคสอง บัญญัติให้เป็นที่สุด เมื่อโจทก์มิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งแสดงว่าโจทก์ยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยได้ การที่โจทก์เพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์จึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166-167/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งย้ายงานที่ไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างโดยปริยาย: อำนาจฟ้องและการพิจารณาข้อเท็จจริง
แม้สิทธิในการย้ายตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกจ้าง บริษัทจำเลยในฐานะนายจ้างสามารถกระทำได้ตามความเหมาะสมเพราะเป็นอำนาจในการบริหารจัดการภายในองค์กรของจำเลยก็ตาม แต่การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ทั้งสองซึ่งมีรายได้น้อยให้ไปทำงานในโรงงานที่ห่างจากสถานที่ทำงานเดิมถึง 120 กิโลเมตร โดยไม่จัดที่พักหรือหารถรับส่งในการไปทำงานให้ อีกทั้งโจทก์ทั้งสองไม่สามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายและก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์ทั้งสองอย่างยิ่ง ยากที่โจทก์ทั้งสองจะปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยได้ จึงมีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสอง คำสั่งของจำเลยดังกล่าวแม้จะชอบด้วยกฎหมายแต่ก็เป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม ฉะนั้น การที่โจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยจึงยังถือไม่ได้ว่าจงใจขัดคำสั่งของจำเลยและละทิ้งหน้าที่และแม้คำสั่งของจำเลยจะไม่เป็นธรรม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ออกคำสั่งย้ายโดยเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ทั้งสองทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยปริยาย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ จำเลยยังไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง แต่เพิ่งมีคำสั่งเลิกจ้างหลังจากมีการฟ้องคดีนี้แล้ว ฉะนั้น ขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้จึงยังไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายในเรื่องที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ แต่อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
of 443