คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 31

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,425 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การยื่นฟ้องใหม่, ขอบเขตจำเลย, และระยะเวลาดำเนินการ
การกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเข้ามาใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148(3) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เป็นอำนาจของศาลซึ่งมีอยู่ทั่วไปที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ และไม่อยู่ในบังคับแห่งบทกฎหมายว่าด้วยอายุความ หรือการย่นหรือขยายระยะเวลา ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 26 การนำคำฟ้องมายื่นใหม่ในกรณีนี้ หมายถึง การนำคำฟ้องในมูลกรณีเดียวกับคดีเดิมที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้น โจทก์มีสิทธิฟ้องทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการออกคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเป็นจำเลยได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นการฟ้องเฉพาะคู่ความเดิม ไม่อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 53 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นพนักงานตรวจแรงงานผู้ออกคำสั่งโดยตรงเป็นจำเลยได้ แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิมก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน การฟ้องใหม่ และอำนาจฟ้อง
การกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเข้ามาใหม่ในกรณีที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เป็นอำนาจของศาลที่มีอยู่ทั่วไปในอันที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะและไม่อยู่ในบังคับแห่งบทกฎหมายว่าด้วยอายุความ หรือการย่นหรือขยายระยะเวลาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 26
การนำคำฟ้องมายื่นใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 หมายถึงการนำคำฟ้องในมูลกรณีเดียวกับคดีเดิมที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ และโจทก์มีสิทธิฟ้องบุคคลทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการออกคำสั่งดังที่โจทก์ฟ้องได้โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นการฟ้องเฉพาะคู่ความเดิมกรณีไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 53 ดังนั้น โจทก์จึงสามารถฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นพนักงานตรวจแรงงานผู้ออกคำสั่งดังกล่าวโดยตรงเป็นจำเลยเข้ามาในคดีนี้ด้วยได้ แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6296/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแรงงาน และการฟ้องซ้ำ: มูลหนี้ต่างกัน ย่อมฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องเสนอข้อหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์จะตั้งข้อหาหรือฐานความผิดในคำฟ้องว่าเป็นเรื่องละเมิดและบรรยายฟ้องด้วยว่าโจทก์ตรวจสอบรู้ตัวผู้รับผิดว่าคือจำเลยก็ตามก็หาทำให้คำฟ้องคดีนี้เป็นคำฟ้องที่โจทก์เสนอข้อหาว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์แต่เพียงอย่างเดียวไม่
สิทธิเรียกร้องในกรณีผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
จำเลยมิได้ต่อสู้คดีไว้ในคำให้การว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรกซึ่งศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว แต่ปัญหาข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คดีทั้งสองเป็นคดีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้โจทก์เสียหาย แต่คดีแรกเป็นเรื่องจำเลยร่วมกับพวกทำให้สินค้าขาดจำนวนไปจากบัญชีรายรับรายจ่าย ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องจำเลยรับฝากเงินจากสมาชิกของโจทก์แล้วไม่ลงบัญชีเงินสดรับครบจำนวนที่รับฝาก เป็นเหตุให้เงินขาดหายไป มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นคนละกรณีกัน แม้โจทก์จะตรวจสอบทางบัญชีว่ามีสินค้าของโจทก์ขาดหายไปจากบัญชีและยังมีเงินขาดบัญชีอีกส่วนหนึ่งก็ตาม โจทก์ก็ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นคนละคดีได้หาจำต้องรวมฟ้องเป็นคดีเดียวกันไม่ฟ้องโจทก์ในคดีนี้มิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงาน: ศาลมีอำนาจขยายได้หากมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อความยุติธรรม
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 26 ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 มาอนุโลมใช้ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ได้ เมื่อมาตรา 26 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีแรงงานตามมาตรา 54จะต้องมีเหตุสุดวิสัยหรือมีพฤติการณ์พิเศษ ฉะนั้น การที่จำเลยไม่อาจคัดสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานกลางและคำให้การพยานเพื่อประกอบในการเขียนอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ย่อมเป็นความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่สมควรขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5662-5663/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรอการบังคับคดีเพื่อรอผลคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทแรงงาน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
ในระหว่างการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยจะยื่นคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ให้รอการบังคับคดีไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลคดีอาญาที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยอ้างว่าหากคดีอาญาถึงที่สุดว่า โจทก์ทั้งสองกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างแล้ว จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) นั้น หาได้ไม่ เนื่องจากคดีนี้ไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใด และกรณีตามคำขอของจำเลยดังกล่าวก็ไม่ใช่เป็นวิธีการเพื่อบังคับตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องด้วยบทกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งจำหน่ายฟ้องแย้ง แม้จำหน่ายคดีเดิม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ให้อำนาจจำเลยที่จะฟ้องโจทก์มาในคำให้การได้หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม และอำนาจในการฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวนำมาใช้ในคดีแรงงานด้วยโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 เมื่อปรากฏว่าจำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การและศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยแล้ว โจทก์ย่อมตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง คดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์คงมีผลทำให้ไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยตกไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุม: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดการยักยอกในคำฟ้องเพื่อให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย 202,314 บาท และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ยอมรับผิดทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 1 โดยตกลงผ่อนชำระเป็นรายเดือนแต่เมื่อถึงกำหนดชำระเงิน จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย จะเห็นได้ว่า คำฟ้องโจทก์มุ่งเน้นเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อันมีมูลฐานมาจากการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์เป็นข้อสำคัญซึ่งโจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้แจ้งชัดว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าโจทก์ไปเมื่อใด เงินที่ยักยอกเป็นจำนวนเท่าใด สินค้าที่ยักยอกเป็นสินค้าประเภทใด จำนวนเท่าใดและราคาเท่าใด หรือมิฉะนั้นโจทก์จะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินหรือรายการสินค้าที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกไปแนบมาท้ายฟ้องด้วย และแม้โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาก็ตาม แต่หนี้ตามสัญญาก็มีมูลฐานมาจากการที่โจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 2 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ถึงการมีอยู่ จำนวน และความสมบูรณ์แห่งหนี้ดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์มิได้กล่าวแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหากับข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจนเรื่องรายละเอียดการยักยอก ทำให้คำฟ้องเคลือบคลุม แม้ฟ้องตามสัญญา ก็ต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ตามสัญญา การที่โจทก์นำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองแม้เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญารับผิดรับใช้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีกำหนดจำนวนแน่นอน มิได้ฟ้องจะให้รับผิดในมูลหนี้ละเมิด แต่คำฟ้องของโจทก์มุ่งเน้นถึงการเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อันมีมูลฐานมาจากการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์เป็นข้อสำคัญ ดังนั้นโจทก์จะต้องบรรยายในคำฟ้องโดยกล่าวแสดงให้แจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 ได้ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ไปเมื่อใด เงินที่ยักยอกเป็นจำนวนเท่าใด สินค้าที่ยักยอกเป็นสินค้าประเภทใด จำนวนเท่าใด และราคาเท่าใด หรือมิฉะนั้นโจทก์ก็ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินหรือรายการสินค้าที่อ้างว่าจำเลยที่ 1ยักยอกไปแนบมาท้ายฟ้องด้วย เมื่อโจทก์มิได้กล่าวแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหากับข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ไป คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4038-4039/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้ขาดทุน แต่ทุนจดทะเบียนสูง และไม่มีเหตุผลเพียงพอ
มูลคดีที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองนั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 บัญญัติไว้ไม่ใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทซึ่งเกิดจากสัญญาจ้างพนักงานแต่อย่างใด โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้เนื่องจากมิได้อยู่ในเงื่อนไขข้อตกลง ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ได้บัญญัติหลักการสำคัญในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานได้ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เองหรือกำหนดให้คู่ความนำพยานมาสืบโดยจะให้ยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ก็ได้ การที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองอ้างเอกสารเป็นพยานและรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้กิจการของจำเลยประสบภาวะการขาดทุนต่อเนื่องนับแต่เริ่มดำเนินกิจการในปี 2538 จนถึงปี 2542 รวมเป็นเงินถึง 40 ล้านบาท และนอกจากโจทก์ทั้งสองแล้วจำเลยยังได้เลิกจ้างพนักงานอื่น ๆ อีก 2 คน แต่จำเลยมีทุนจดทะเบียนดำเนินการถึง208,500,000 บาท ประกอบกับจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าปกติการดำเนินธุรกิจประกันภัยสหกรณ์อย่างเช่นกิจการของจำเลยจะขาดทุนต่อเนื่องในระยะเวลา 6 ปีแรก และไม่ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าภาวะการขาดทุนของจำเลย ในขณะที่เลิกจ้างโจทก์ทั้งสองกับแนวโน้มในการดำเนินกิจการของจำเลยในปีต่อ ๆ ไปนั้น จะต้องประสบภาวะวิกฤตจนถึงขั้นไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ หากไม่แก้ไขการจัดการโดยวิธีเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จึงต้องถือว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองนั้นยังไม่มีเหตุอันสมควรอย่างเพียงพอ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4038-4039/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้ขาดทุนต่อเนื่อง แต่ทุนจดทะเบียนสูง และไม่มีเหตุผลเพียงพอ
มูลกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามที่ พ.ร.บ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 บัญญัติไว้ มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทซึ่งเกิดจากสัญญาจ้างพนักงานแต่อย่างใด ดังนั้น แม้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า "นายจ้างและลูกจ้างยินยอมให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิใด ๆ ที่จะพึงมีตามสัญญานี้เพื่อระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการก่อน ถ้าปรากฏว่าไม่สามารถระงับข้อพิพาทได้ให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป" ก็ตาม กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานนั้น พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 ให้อำนาจศาลที่จะเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควรและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ซึ่งเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้ การที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.1 และ จ.11 เป็นพยานและรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าว ทั้งที่โจทก์มิได้ระบุเอกสารทั้งสองฉบับไว้ในบัญชีระบุพยานของโจทก์ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า กิจการของจำเลยประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องนับแต่ดำเนินการในปี 2538 จนถึงปี 2542 รวมเป็นเงินถึง 40 ล้านบาท และนอกจากโจทก์แล้วจำเลยยังได้เลิกจ้างพนักงานอื่น ๆ อีก 2 คน ตามที่จำเลยอุทธรณ์ก็ตาม แต่จำเลยมีทุนจดทะเบียนดำเนินการถึง 208,500,000 บาท ประกอบกับจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าปกติการดำเนินธุรกิจประกันภัยสหกรณ์อย่างเช่นกิจการของจำเลยจะขาดทุนต่อเนื่องในระยะเวลา 6 ปีแรก และข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่า แนวโน้มในการดำเนินกิจการของจำเลยในปีต่อ ๆ ไปนั้นจะต้องประสบภาวะวิกฤตจนถึงขั้นไม่อาจดำเนินการกิจการต่อไปได้หากไม่แก้ไขการจัดการโดยวิธีเลิกจ้างโจทก์ ฉะนั้นจึงถือว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นยังไม่มีเหตุอันสมควรอย่างเพียงพอ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
of 443