พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,425 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8689/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรม: การประเมินพฤติกรรมลูกจ้างที่ไม่ร้ายแรงเพียงพอต่อการเลิกจ้าง
ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่า โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะกระทำความผิดดังที่จำเลยกล่าวอ้างหรือไม่ ซึ่งไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างวันใด อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า ศาลแรงงานรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันที่คลาดเคลื่อนขัดต่อความเป็นจริง ขัดต่อพยานหลักฐานนั้น ไม่อาจก่อให้เกิดผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลแรงงาน อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การที่ลูกจ้างไม่สนใจในการประชุม เข้าประชุมสาย ละทิ้งหน้าที่กลับก่อนเวลา และไม่ออกเยี่ยมเยือนลูกค้าทำให้ยอดขายสินค้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นเพียงกรณีที่ลูกจ้างไม่ตั้งใจปฏิบัติงาน ไม่อุทิศเวลาให้แก่งานและไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานให้แล้ว ลูกจ้างแสดงท่าทางไม่พอใจ แสดงกิริยาไม่สุภาพหรือมีความประพฤติกระด้างกระเดื่อง ก็เป็นเพียงความประพฤติที่ไม่เหมาะสมอันไม่ควรพึงปฏิบัติเท่านั้น การกระทำของลูกจ้างยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างในกรณีร้ายแรง และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
การที่ลูกจ้างไม่สนใจในการประชุม เข้าประชุมสาย ละทิ้งหน้าที่กลับก่อนเวลา และไม่ออกเยี่ยมเยือนลูกค้าทำให้ยอดขายสินค้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นเพียงกรณีที่ลูกจ้างไม่ตั้งใจปฏิบัติงาน ไม่อุทิศเวลาให้แก่งานและไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานให้แล้ว ลูกจ้างแสดงท่าทางไม่พอใจ แสดงกิริยาไม่สุภาพหรือมีความประพฤติกระด้างกระเดื่อง ก็เป็นเพียงความประพฤติที่ไม่เหมาะสมอันไม่ควรพึงปฏิบัติเท่านั้น การกระทำของลูกจ้างยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างในกรณีร้ายแรง และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8492/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการรับพยานหลักฐาน และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีแรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลแรงงาน ไว้โดยเฉพาะที่จะเรียกพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบ และมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานใด ๆ ที่เห็นว่าจะทำให้ได้ ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่ความ
ศาลแรงงานสั่งรับเอกสารที่จำเลยส่งศาลและรับฟังสำเนาเอกสารของจำเลยเพราะเห็นว่าเป็นเอกสารสำคัญแห่งคดีที่จะทำให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่ความ เป็นการสั่งรับโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 45 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะดังกล่าว จึงเป็นการสั่งรับและรับฟังพยานหลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมาย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยตั้งคณะกรรมการสอบสวนโจทก์โดยไม่ตั้งผู้แทนจากสหภาพแรงงานร่วมเป็นกรรมการตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงเป็นการสอบสวนและเลิกจ้างโดยไม่ชอบ โจทก์มิได้กล่าวอ้างเรื่องนี้มาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ทั้งมิได้เป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
แม้จำเลยไม่ยื่นสำเนาเอกสารต่อศาลและไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยาน แต่ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานก็มีอำนาจใช้ ดุลพินิจสั่งรับเอกสารดังกล่าวไว้เป็นพยานของจำเลยได้ โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการ สั่งรับเอกสารเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานสั่งรับเอกสารที่จำเลยส่งศาลและรับฟังสำเนาเอกสารของจำเลยเพราะเห็นว่าเป็นเอกสารสำคัญแห่งคดีที่จะทำให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่ความ เป็นการสั่งรับโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 45 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะดังกล่าว จึงเป็นการสั่งรับและรับฟังพยานหลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมาย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยตั้งคณะกรรมการสอบสวนโจทก์โดยไม่ตั้งผู้แทนจากสหภาพแรงงานร่วมเป็นกรรมการตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงเป็นการสอบสวนและเลิกจ้างโดยไม่ชอบ โจทก์มิได้กล่าวอ้างเรื่องนี้มาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ทั้งมิได้เป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
แม้จำเลยไม่ยื่นสำเนาเอกสารต่อศาลและไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยาน แต่ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานก็มีอำนาจใช้ ดุลพินิจสั่งรับเอกสารดังกล่าวไว้เป็นพยานของจำเลยได้ โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการ สั่งรับเอกสารเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8382/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุด ฟ้องบังคับได้แม้พ้น 30 วัน ไม่ใช่การเพิกถอนคำสั่ง
พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย เงินประกัน ค่าชดเชย และค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง จำเลยทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว โจทก์และจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจึงถึงที่สุด จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานแก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานได้แม้จะเกินระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเพราะ มิใช่เป็นการฟ้องเพื่อเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง แต่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งไม่อยู่ในกำหนดเวลาที่จะต้องฟ้องภายใน 30 วัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย เงินประกัน ค่าชดเชย และค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตาม คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่ถึงที่สุด ทั้งโจทก์ได้แนบสำเนาคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมาท้ายคำฟ้องด้วยแล้ว สภาพแห่งข้อหาของโจทก์มีว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทั้งสี่ประเภทนั้นตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสอง เพราะจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยจึงต้อง จ่ายเงินทั้งสี่ประเภทให้โจทก์ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายเงินทั้งสี่ประเภทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละเท่าใด ตั้งแต่ช่วงเวลาใดถึงช่วงเวลาใดมาในฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย เงินประกัน ค่าชดเชย และค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตาม คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่ถึงที่สุด ทั้งโจทก์ได้แนบสำเนาคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมาท้ายคำฟ้องด้วยแล้ว สภาพแห่งข้อหาของโจทก์มีว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทั้งสี่ประเภทนั้นตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสอง เพราะจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยจึงต้อง จ่ายเงินทั้งสี่ประเภทให้โจทก์ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายเงินทั้งสี่ประเภทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละเท่าใด ตั้งแต่ช่วงเวลาใดถึงช่วงเวลาใดมาในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8099/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังสืบพยานฝ่ายจำเลย: ศาลไม่อนุญาตหากเหตุผลไม่สมควรหรือไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามฟ้อง อ้างว่าโจทก์หลงลืมและโจทก์เพิ่งทราบในภายหลังว่าตามกฎหมายสามารถเรียกร้องดอกเบี้ยได้ หลังจากที่ศาลแรงงาน สืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่นำพยานเข้าสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว แต่เหตุที่โจทก์อ้างก็ไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจรู้หรือไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่เข้ากรณีที่โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมคำให้การในคดีแรงงานเรื่องอายุความ ศาลอนุญาตได้หากยังอยู่ในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม ซึ่งข้อกฎหมายเกี่ยวกับคำให้การของจำเลยในคดีแรงงานนั้น มีบัญญัติไว้ในมาตรา 39 ที่ให้ศาลแรงงานสอบถามและบันทึกคำให้การจำเลยในวันนัดพิจารณาและตามมาตรา 37 วรรคสอง ก็บัญญัติว่าจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาล (วันนัดพิจารณา)ก็ได้ดังนั้นการที่จำเลยขอเพิ่มเติมคำให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความโดยยื่นต่อศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์แต่ยังไม่ได้สืบพยานโจทก์ จำเลยจึงยื่นคำให้การเพิ่มเติมได้โดยชอบเพราะยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยสามารถให้การเป็นหนังสือหรือให้การด้วยวาจาได้ตามมาตรา 39 และมาตรา 37 ดังกล่าวแล้วและกรณีดังกล่าวไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 มาใช้บังคับ เพราะมิใช่เป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหลังจากวันนัดพิจารณา ที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การเพิ่มเติมนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6879/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ ศาลยืนคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลยอันเป็นพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา 124 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เมื่อพิจารณาคำฟ้องประกอบกับสำเนาคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้ว พอถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่า ค. และ ง. ลูกจ้างไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 16 ตุลาคม 2542 ซึ่งเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง และการอุทธรณ์ดุลพินิจค่าเสียหายในคดีแรงงาน
ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลแรงงานกลาง จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ที่บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โจทก์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้นก็ได้ ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลแรงงานกลาง เมื่อศาลแรงงานกลาง สั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว ให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น" ในปัจจุบันศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด จากบทบัญญัติดังกล่าวศาลแรงงานกลางย่อมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานได้ทั่วราชอาณาจักร โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่)ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดีนี้ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้เช่นเดียวกัน
จำเลยอุทธรณ์โดยแสดงเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่าจำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับไม่ถึง 60,000 บาท และศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ที่โจทก์นำสืบ ล้วนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ได้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ แต่ไม่ได้กำหนดไว้ให้ชัด ศาลฎีกาจึงกำหนดให้ชัดแจ้ง
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ที่บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โจทก์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้นก็ได้ ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลแรงงานกลาง เมื่อศาลแรงงานกลาง สั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว ให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น" ในปัจจุบันศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด จากบทบัญญัติดังกล่าวศาลแรงงานกลางย่อมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานได้ทั่วราชอาณาจักร โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่)ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดีนี้ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้เช่นเดียวกัน
จำเลยอุทธรณ์โดยแสดงเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่าจำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับไม่ถึง 60,000 บาท และศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ที่โจทก์นำสืบ ล้วนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ได้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ แต่ไม่ได้กำหนดไว้ให้ชัด ศาลฎีกาจึงกำหนดให้ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6703/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งพักงานทางวินัยของนายจ้างและการฟ้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวข้อง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ตาม พ.ร.บ.การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 มีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทก์ กรณีโจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริตในการเบิกค่าเช่าบ้าน ไม่ว่าการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยดังกล่าวจะชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนยังมิได้ใช้อำนาจในฐานะนายจ้างมีคำสั่งอันเนื่องมาจากการสอบสวนตามคำสั่งดังกล่าวให้มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนยังทำการสอบสวนไม่เสร็จ และจำเลยที่ 1 ยังมิได้มีความเห็นหรือมีมติว่าโจทก์มีความผิดและมีคำสั่งที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยดังกล่าว
อุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พ.ร.บ. การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 มาตรา 23 บัญญัติว่า "ผู้ว่าการมีอำนาจ (1) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่งตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการฝ่าย หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน..." และข้อบังคับการประปาภูมิภาค ระบุว่า "ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ปฏิบัติงานผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ผู้ว่าการจะสั่งให้พักงานหรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนก็ได้..." เมื่อโจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริตในการเบิกค่าเช่าบ้านซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค จึงมีอำนาจสั่งให้พักงานโจทก์ไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัยได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 1 จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็ไม่มีผลกระทบต่อคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งให้พักงานดังกล่าว
อุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พ.ร.บ. การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 มาตรา 23 บัญญัติว่า "ผู้ว่าการมีอำนาจ (1) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่งตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการฝ่าย หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน..." และข้อบังคับการประปาภูมิภาค ระบุว่า "ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ปฏิบัติงานผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ผู้ว่าการจะสั่งให้พักงานหรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนก็ได้..." เมื่อโจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริตในการเบิกค่าเช่าบ้านซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค จึงมีอำนาจสั่งให้พักงานโจทก์ไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัยได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 1 จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็ไม่มีผลกระทบต่อคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งให้พักงานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยาน, อายุความค่าจ้าง, และดอกเบี้ยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
บทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ต้องนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมในคดีแรงงานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ภายหลังจากศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความและคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าคดีไม่มีความจำเป็นจะต้องสืบพยาน จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยกับพยานโจทก์ และให้นัดฟังคำพิพากษาในวันซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยเกือบ 2 เดือน จำเลยมีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาได้ แต่จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่า คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยได้ลดค่าจ้างผู้บริหารรวมทั้งโจทก์ลง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 การลดเงินเดือนโจทก์และไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่ลดแก่โจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ เป็นการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และผิดสัญญาจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้ค่าจ้างส่วนที่ถูกลด โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าจ้างที่จำเลยไม่มีอำนาจจะลดดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2543 ดังนั้นเฉพาะค่าจ้างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2540 ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกเอาจากจำเลยจึงขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี จำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามบทบัญญัติดังกล่าว
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ภายหลังจากศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความและคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าคดีไม่มีความจำเป็นจะต้องสืบพยาน จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยกับพยานโจทก์ และให้นัดฟังคำพิพากษาในวันซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยเกือบ 2 เดือน จำเลยมีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาได้ แต่จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่า คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยได้ลดค่าจ้างผู้บริหารรวมทั้งโจทก์ลง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 การลดเงินเดือนโจทก์และไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่ลดแก่โจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ เป็นการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และผิดสัญญาจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้ค่าจ้างส่วนที่ถูกลด โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าจ้างที่จำเลยไม่มีอำนาจจะลดดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2543 ดังนั้นเฉพาะค่าจ้างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2540 ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกเอาจากจำเลยจึงขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี จำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง และความสำคัญของกำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ ที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ทั้งตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์จากฐานข้อมูลการทะเบียนสำนักทะเบียนกลางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งรับรองก่อนวันที่โจทก์ฟ้อง 3 วัน ก็ระบุว่าจำเลยที่ 2 มีที่อยู่บ้านเลขที่ดังกล่าว การส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 2 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามคำสั่งของศาลแรงงานกลางก็มีบุคคลเดียวกับบุคคลที่เคยรับหนังสือทวงถามไว้แทนจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไว้แทน น่าเชื่อว่าบ้านเลขที่ตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้องเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยที่ 2 จริง แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ามีภูมิลำเนาแห่งอื่นอีก หากเป็นความจริงก็ต้องถือว่า จำเลยที่ 2 มีถิ่นที่อยู่หลายแห่ง บ้านเลขที่ตามฟ้องโจทก์ย่อมเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ด้วยแห่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 การส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ภูมิลำเนาตามฟ้อง โดยมีผู้รับแทนจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการส่งหมายโดยชอบ ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบวันนัดพิจารณาโดยชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดในวันที่ 9 กันยายน 2542 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2543 เกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตาม พ.ร.บ. จัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ให้ยกคำร้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดในวันที่ 9 กันยายน 2542 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2543 เกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตาม พ.ร.บ. จัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ให้ยกคำร้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว