พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,425 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6458-6461/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, การคำนวณดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย และการใช้สิทธิฟ้องร้องของลูกจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเคยจ่ายค่าเชื่อมมิกซ์ในอัตราวันละ 30 บาท โจทก์แต่ละคนได้รับเฉลี่ยเดือนละ 780 บาท ต่อมาจำเลยไม่จ่ายซึ่งคำนวณแล้วเป็นเงินเดือนละไม่ต่ำกว่า 500 บาท ตั้งแต่เดือนมกราคม2543 อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับการทำงาน และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้จำเลยจ่ายเพียงอัตราเดือนละ 500 บาท ทั้งที่กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเดือนละ 780 บาท แต่ต้องถือได้แน่นอนว่าโจทก์เรียกร้องเงินจำนวนนี้ตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่แจ้งชัดไม่เคลือบคลุม
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาท"ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้
การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับมาพอให้วินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งงดสืบพยาน เป็นการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดี อุทธรณ์จำเลยที่โต้แย้งดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความของจำเลยภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาอันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. จึงผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายเป็นหนี้เงิน ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็นผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาท"ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้
การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับมาพอให้วินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งงดสืบพยาน เป็นการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดี อุทธรณ์จำเลยที่โต้แย้งดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความของจำเลยภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาอันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. จึงผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายเป็นหนี้เงิน ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็นผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6458-6461/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแรงงาน การกำหนดประเด็นข้อพิพาท การแถลงรับข้อเท็จจริง และดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย
โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยจ่ายค่าเชื่อมมิกซ์ในอัตราวันละ 30 บาท โจทก์แต่ละคนได้รับเฉลี่ยเดือนละ 780 บาท ต่อมาจำเลยไม่จ่ายค่าเชื่อมมิกซ์ซึ่งคำนวณแล้วโจทก์แต่ละคนได้รับเป็นเงินเดือนละไม่ต่ำกว่า 500 บาท ตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับการทำงานและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายเงิน ดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้จำเลยจ่ายค่าเชื่อมมิกซ์เพียงอัตราเดือนละ 500 บาท ทั้งที่ในคำฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิได้รับเดือนละ 780 บาท ก็ตาม ก็ถือได้แน่นอนว่าโจทก์เรียกร้องเงินจำนวนนี้ตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ฟ้องของโจทก์ทั้งสี่ไม่เคลือบคลุม
แม้ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงาน จดประเด็นข้อพิพาท" ก็มิใช่บทบังคับศาลเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้ เพราะการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานต้องเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมดังที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 29 หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้วก็ถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความ ภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความมีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา อันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. ทนายจำเลยจึงต้องผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์ทั้งสี่เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์ทั้งสี่เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้าง ส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และ 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
อุทธรณ์ของจำเลยซึ่งบิดเบือนข้อเท็จจริงถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาล แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องเรียกมา ศาลแรงงานกลางได้พิพากษากำหนดเป็นจำนวนเงินไว้แล้ว หนี้ดังกล่าวต้องชำระเป็นเงินจึงเป็นหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายนับแต่วัน ผิดนัดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็น ผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใด จึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ทั้งนี้โดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52
แม้ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงาน จดประเด็นข้อพิพาท" ก็มิใช่บทบังคับศาลเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้ เพราะการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานต้องเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมดังที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 29 หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้วก็ถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความ ภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความมีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา อันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. ทนายจำเลยจึงต้องผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์ทั้งสี่เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์ทั้งสี่เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้าง ส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และ 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
อุทธรณ์ของจำเลยซึ่งบิดเบือนข้อเท็จจริงถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาล แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องเรียกมา ศาลแรงงานกลางได้พิพากษากำหนดเป็นจำนวนเงินไว้แล้ว หนี้ดังกล่าวต้องชำระเป็นเงินจึงเป็นหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายนับแต่วัน ผิดนัดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็น ผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใด จึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ทั้งนี้โดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6408/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: การที่ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ทำให้ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าตอบแทนในการขายสินค้าแก่โจทก์ตามข้อตกลงที่จำเลยจะจ่ายค่าตอบแทนในการขายสินค้าให้โจทก์ในอัตราร้อยละห้าของยอดเงินที่ขายได้และเรียกเก็บจากลูกค้าได้แล้ว อันเป็นการฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจ้าง จำเลยฟ้องแย้งว่าระหว่างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ได้ลักเอาข้อมูลลับและเอกสารลับเกี่ยวกับบัญชีรายชื่อลูกค้า ใบเสนอราคา รายละเอียดสินค้าพร้อมราคาต้นทุนและราคาขายของจำเลยไปให้บุคคลอื่นเพื่อแย่งลูกค้าของจำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยอันเป็นการฟ้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิด ซึ่งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการขายสินค้าของโจทก์แต่อย่างใด ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6373/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างสิ้นสุดเมื่อมีข้อตกลงใหม่ หรือยกเลิกข้อตกลงเดิม การจ่ายโบนัสตามข้อตกลงเดิม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง หมายความว่า ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นว่าคดีไม่อาจเจรจาตกลงประนีประนอมยอมความกันได้และจำเป็นต้องสืบพยานของคู่ความ ศาลแรงงานจึงจะดำเนินกระบวนพิจารณาโดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้นำพยานเข้าสืบก่อนหรือหลัง แต่หากศาลแรงงานเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่จำต้องสืบพยานของคู่ความแล้ว ศาลแรงงานก็ไม่จำต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยแล้ว แต่คู่ความตกลงกันไม่ได้และเมื่อฟังคำแถลงของคู่ความประกอบกับเอกสารที่คู่ความเสนอมาแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยและพิพากษาคดีไป กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานชอบแล้ว
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง และมาตรา 12 วรรคสอง หมายความว่า เมื่อสถานประกอบกิจการใดจัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นแล้ว หากระยะเวลาการบังคับใช้ที่กำหนดไว้ในข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงโดยมิได้มีการเจรจาตกลงกันใหม่ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นจะมีผลใช้บังคับต่อ ๆ ไป อีกคราวละหนึ่งปี ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนี้จะสิ้นผลใช้บังคับต่อเมื่อนายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นใหม่เท่านั้น
ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยแล้ว แต่คู่ความตกลงกันไม่ได้และเมื่อฟังคำแถลงของคู่ความประกอบกับเอกสารที่คู่ความเสนอมาแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยและพิพากษาคดีไป กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานชอบแล้ว
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง และมาตรา 12 วรรคสอง หมายความว่า เมื่อสถานประกอบกิจการใดจัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นแล้ว หากระยะเวลาการบังคับใช้ที่กำหนดไว้ในข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงโดยมิได้มีการเจรจาตกลงกันใหม่ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นจะมีผลใช้บังคับต่อ ๆ ไป อีกคราวละหนึ่งปี ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนี้จะสิ้นผลใช้บังคับต่อเมื่อนายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นใหม่เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5655/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอายัดทรัพย์สิน-ค่าจ้าง: ผลกระทบต่อลูกจ้าง-นายจ้าง และอำนาจศาลแรงงาน
อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางได้มีคำวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคท้าย อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า คดีอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางหรือไม่ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งว่า "อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 ทศ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงมีคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินของบุคคลที่มีอยู่ในความครอบครองจำเลยทั้งหมดมีกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ลงในคำสั่งอายัด" ซึ่งวิธีอายัดทรัพย์สินให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม และ ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ กับระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอายัดทรัพย์สินตามความในมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร พ.ศ. 2539 ข้อ 15 ได้ระบุเรื่องผลการอายัดไว้ในข้อ (2) (ก) ว่า "สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงิน การอายัดสิทธิเรียกร้องแห่งรายได้เป็นคราว ๆ ซึ่งรวมถึงจำนวนเงินที่ถึงกำหนดชำระภายหลังการอายัดนั้นด้วย แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาว่าคำสั่งอายัดนั้นรวมถึงเงินที่ต้องชำระภายหลังการอายัดด้วยหรือไม่" เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยมีหนังสืออายัดค่าจ้างของโจทก์ ซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยเป็นคราว ๆ โดยมิได้ระบุยกเว้นเงินที่จะถึงกำหนดชำระแก่โจทก์ภายหลังการอายัด คำสั่งอายัดจึงรวมถึงค่าจ้างที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยภายหลังการอายัดด้วยจนกว่าคำสั่งอายัดจะสิ้นผล เมื่อต่อมาศาลอาญาได้มีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาการอายัดทรัพย์สินของโจทก์ออกไปอีก 180 วัน ระยะเวลาการอายัดที่ศาลอาญาขยายให้ดังกล่าวมีผลครอบคลุมถึงค่าจ้างในระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างและดอกเบี้ยตามที่ฟ้องให้แก่โจทก์
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งว่า "อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 ทศ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงมีคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินของบุคคลที่มีอยู่ในความครอบครองจำเลยทั้งหมดมีกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ลงในคำสั่งอายัด" ซึ่งวิธีอายัดทรัพย์สินให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม และ ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ กับระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอายัดทรัพย์สินตามความในมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร พ.ศ. 2539 ข้อ 15 ได้ระบุเรื่องผลการอายัดไว้ในข้อ (2) (ก) ว่า "สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงิน การอายัดสิทธิเรียกร้องแห่งรายได้เป็นคราว ๆ ซึ่งรวมถึงจำนวนเงินที่ถึงกำหนดชำระภายหลังการอายัดนั้นด้วย แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาว่าคำสั่งอายัดนั้นรวมถึงเงินที่ต้องชำระภายหลังการอายัดด้วยหรือไม่" เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยมีหนังสืออายัดค่าจ้างของโจทก์ ซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยเป็นคราว ๆ โดยมิได้ระบุยกเว้นเงินที่จะถึงกำหนดชำระแก่โจทก์ภายหลังการอายัด คำสั่งอายัดจึงรวมถึงค่าจ้างที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยภายหลังการอายัดด้วยจนกว่าคำสั่งอายัดจะสิ้นผล เมื่อต่อมาศาลอาญาได้มีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาการอายัดทรัพย์สินของโจทก์ออกไปอีก 180 วัน ระยะเวลาการอายัดที่ศาลอาญาขยายให้ดังกล่าวมีผลครอบคลุมถึงค่าจ้างในระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างและดอกเบี้ยตามที่ฟ้องให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนต้องเกิดจากเจตนา และกรณีที่นายจ้างไม่ส่งเงินสมทบโดยที่ผู้ประกันตนไม่ทราบ
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ลักษณะ 2 หมวด 1 บัญญัติให้เรื่องการเป็นผู้ประกันตน รวมถึงการสิ้นสุดของความเป็นผู้ประกันตน อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของสำนักงานประกันสังคมจำเลย และยังให้สิทธิแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนต่อจำเลยตามมาตรา 39 ว่า หากโจทก์ไม่พอใจคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมที่สั่งการตามกฎหมายฉบับนี้ ให้โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งตามมาตรา 85 คณะกรรมการอุทธรณ์ที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 86 ก็เป็นคณะกรรมการของจำเลยโดยให้ผู้แทนสำนักงานประกันสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการเพื่อต้องการให้คณะกรรมการอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำสั่งของเลขาธิการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมอีกชั้นหนึ่ง คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์จึงเป็นคำสั่งในหน่วยงานของจำเลย นอกจากนี้มาตรา 87 วรรคท้าย ยังได้บัญญัติรับรองสิทธิของโจทก์ไว้อีกว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ดังนี้เมื่อจำเลยแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ และคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีเจตนารมณ์เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างและบุคคลอื่น บทบัญญัติมาตราใดที่กำหนดเงื่อนไขให้บุคคลดังกล่าวต้องสิ้นสิทธิจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัดว่าต้องเป็นกรณีกระทำโดยเจตนาเท่านั้น มาตรา 41 (4) ที่บัญญัติให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกันจึงหมายถึงกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบโดยจงใจ และไม่มีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบ โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่า ธนาคาร ท. นายจ้างโจทก์ยกเลิกการส่งเงินสมทบแทนโจทก์และโจทก์ไม่ได้จงใจไม่ส่งเงินสมทบ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบ ความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์จึงยังไม่สิ้นสุดลงตามมาตรา 41 (4)
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีเจตนารมณ์เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างและบุคคลอื่น บทบัญญัติมาตราใดที่กำหนดเงื่อนไขให้บุคคลดังกล่าวต้องสิ้นสิทธิจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัดว่าต้องเป็นกรณีกระทำโดยเจตนาเท่านั้น มาตรา 41 (4) ที่บัญญัติให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกันจึงหมายถึงกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบโดยจงใจ และไม่มีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบ โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่า ธนาคาร ท. นายจ้างโจทก์ยกเลิกการส่งเงินสมทบแทนโจทก์และโจทก์ไม่ได้จงใจไม่ส่งเงินสมทบ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบ ความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์จึงยังไม่สิ้นสุดลงตามมาตรา 41 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4507/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ไม่สุจริต/ไม่อาจไว้วางใจ: สิทธิค่าชดเชยและโบนัส
คำสั่งเลิกจ้างของจำเลยระบุเหตุเลิกจ้างว่าโจทก์มีพฤติการณ์ปฏิบัติหน้าที่ไม่สุจริต สอบสวนรับบุคคลที่ ขาดคุณสมบัติขึ้นทะเบียนเป็นลูกจ้างของจำเลย บันทึกรายการขอขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าที่เป็นเท็จ จัดทำคำขอกู้ให้ แก่บุคคลดังกล่าวด้วยวงเงินกู้สูง และมีพฤติการณ์มีส่วนรู้เห็นกับการที่มีบุคคลภายนอกเรียกหรือรับผลประโยชน์จากลูกค้าเป็นค่าวิ่งเต้นในการเข้าเป็นลูกค้าเพื่อกู้เงินจากจำเลยซึ่งจำเลยอาจปรับเข้ากับข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยวินัย การสอบสวนและการลงโทษสำหรับพนักงานและลูกจ้าง ข้อ 5 (4) ว่าโจทก์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงด้วยการทุจริตต่อหน้าที่ได้ แต่กลับปรากฎตามรายงานผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่จำเลยตั้งขึ้นว่าโจทก์กระทำผิดวินัยตาม ข้อ 3 (4) (6) (7) (10) แต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ สมควรเลิกจ้างโจทก์ตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การเรียกประกัน การเลื่อนเงินเดือน การถอดถอนสำหรับพนักงาน ข้อ 19 (2) ด้วยเหตุไม่อาจไว้วางใจให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และต่อมาจำเลยก็มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสอบสวนโดยอ้างเหตุว่าการกระทำของโจทก์ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่และชื่อเสียง ของจำเลย ซึ่งตามข้อบังคับของจำเลย ข้อ 6 ระบุว่าไม่เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยข้อบังคับของจำเลย หมวด 4 การถอดถอนข้อ 19 (2) เพราะไม่อาจไว้วางใจให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้อันเป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างเท่านั้น ต้องถือว่าจำเลยไม่ได้ประสงค์ลงโทษทางวินัยด้วยการไล่ออกหรือปลดออกเนื่องจากโจทก์กระทำผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ แต่จำเลยประสงค์เลิกสัญญาจ้างเพราะเหตุไม่อาจไว้วางใจให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งไม่เข้าข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 46 ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 11 (1) และมาตรา 11 วรรคสอง แม้ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ก็ตาม แต่ตามระเบียบดังกล่าวข้อ 45 ก็ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างในหลักเกณฑ์เดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 เป็นเพียงการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ และศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทการจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวเสียให้ถูกต้อง
ระเบียบฉบับที่ 33 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสประจำปีสำหรับพนักงานของจำเลย ข้อ 2 กำหนดว่าพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาครบในรอบปีใดจะได้รับเงินโบนัสในรอบปีนั้นตามกฎเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ถ้าพนักงาน ผู้ใดไม่เคยลา?จะได้รับเงินโบนัสเต็มจำนวน? ส่วนข้อ 3 ถึง 9 ของระเบียบดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ่าย เงินโบนัสสำหรับพนักงานของจำเลยที่ทำงานไม่ครบรอบปีบัญชีจากสาเหตุกรณีต่าง ๆ เช่น ลาออก ได้รับทุนไปศึกษาต่อ ต้องออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ถูกเลิกจ้างเป็นต้น สำหรับหลักเกณฑ์ตามข้อ 10 วรรคสอง ก็เป็นกรณีที่พนักงานที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยในระหว่างรอบบัญชีของปีนั้น ๆ หาได้หมายความถึงพนักงานที่ทำงานครบรอบปีจนมีสิทธิได้รับเงินโบนัสเต็มจำนวนดังที่ระบุไว้ในข้อ 2 (1) ไม่ โจทก์ทำงานครบรอบปีบัญชี 1 เมษายน 2539 ถึง 31 มีนาคม 2540 แล้ว จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 และโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งอยู่ในระหว่างรอบปีบัญชี 1 เมษายน 2540 ถึง 31 มีนาคม 2541 โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินโบนัสเต็มจำนวนสำหรับรอบปีบัญชี 1 เมษายน 2539 ถึง 31 มีนาคม 2540 ตามระเบียบของจำเลยข้อ 2 (1)
ระเบียบฉบับที่ 33 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสประจำปีสำหรับพนักงานของจำเลย ข้อ 2 กำหนดว่าพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาครบในรอบปีใดจะได้รับเงินโบนัสในรอบปีนั้นตามกฎเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ถ้าพนักงาน ผู้ใดไม่เคยลา?จะได้รับเงินโบนัสเต็มจำนวน? ส่วนข้อ 3 ถึง 9 ของระเบียบดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ่าย เงินโบนัสสำหรับพนักงานของจำเลยที่ทำงานไม่ครบรอบปีบัญชีจากสาเหตุกรณีต่าง ๆ เช่น ลาออก ได้รับทุนไปศึกษาต่อ ต้องออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ถูกเลิกจ้างเป็นต้น สำหรับหลักเกณฑ์ตามข้อ 10 วรรคสอง ก็เป็นกรณีที่พนักงานที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยในระหว่างรอบบัญชีของปีนั้น ๆ หาได้หมายความถึงพนักงานที่ทำงานครบรอบปีจนมีสิทธิได้รับเงินโบนัสเต็มจำนวนดังที่ระบุไว้ในข้อ 2 (1) ไม่ โจทก์ทำงานครบรอบปีบัญชี 1 เมษายน 2539 ถึง 31 มีนาคม 2540 แล้ว จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 และโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งอยู่ในระหว่างรอบปีบัญชี 1 เมษายน 2540 ถึง 31 มีนาคม 2541 โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินโบนัสเต็มจำนวนสำหรับรอบปีบัญชี 1 เมษายน 2539 ถึง 31 มีนาคม 2540 ตามระเบียบของจำเลยข้อ 2 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรอการชำระค่าเสียหายให้บุคคลภายนอกก่อน จึงมีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกจ้างและทายาท
ป.พ.พ. มาตรา 425 เป็นบทบัญญัติถึงหน้าที่และความรับผิดของนายจ้างที่ต้องร่วมกับลูกจ้างรับผิดต่อความเสียหายที่บุคคลภายนอกได้รับจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างเท่านั้น แต่ในระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสิทธิของนายจ้างและหน้าที่ของลูกจ้างจะพึงมีต่อกันเพียงใดต้องเป็นไปตามมาตรา 426 ลูกจ้างขับรถของนายจ้างโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเสียหาย แต่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างยังไม่สามารถตกลงจำนวนค่าเสียหายและยังไม่ได้ชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอก โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้เป็นลูกจ้างที่กระทำละเมิดตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ในทางแพ่ง จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในฐานะทายาทและจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ค้ำประกันของลูกจ้างชำระค่าเสียหายส่วนนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทการเลิกจ้างและการทุจริตต่อหน้าที่ ศาลแรงงานมีอำนาจวินิจฉัยปรับบทความผิดอาญาฐานปลอมเอกสารได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยให้การว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ ข้ออ้างและข้อเถียงที่คู่ความไม่รับกันจึงอยู่ที่ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลแรงงานกลางจดไว้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ทำการทุจริต จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ผลแห่งการเลิกจ้างจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 และ ป.พ.พ. มาตรา 583 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์อันเป็นผลการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้จึงไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
ในคดีแรงงานได้มี พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 บัญญัติเรื่องประเด็น ข้อพิพาทไว้แล้วโดยเฉพาะ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้
จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่าการที่โจทก์ทำบันทึกขอเบิกเงินค่ามัดจำเสื้อฟอร์มของ น. คืนและทำใบเบิกจ่ายเงินเสนอผู้บังคับบัญชาระบุว่า น.ขอเบิกเงินค่ามัดจำเสื้อฟอร์มคืนโดยลงชื่อ น. ในใบเบิกจ่ายเงินช่องผู้ขอเบิกทั้ง ๆ ที่ น. ไม่มีสิทธิเบิกและไม่ได้ขอเบิกเงินดังกล่าว เป็นทั้งการทุจริตต่อหน้าที่และการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่ นายจ้างโดยการปลอมเอกสารใบเบิกจ่ายเงิน เมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้กระทำการตามที่จำเลยกล่าวอ้างจึงชอบที่จะต้องวินิจฉัยปรับบทด้วยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการปลอมเอกสารใบเบิกจ่ายเงินอันเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้หรือไม่ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางไม่วินิจฉัยปรับบทดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาเรื่องการวินิจฉัยปรับบทเป็นปัญหาข้อกฎหมายและคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียเลยว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดอาญาฐานปลอมเอกสารหรือไม่
ในคดีแรงงานได้มี พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 บัญญัติเรื่องประเด็น ข้อพิพาทไว้แล้วโดยเฉพาะ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้
จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่าการที่โจทก์ทำบันทึกขอเบิกเงินค่ามัดจำเสื้อฟอร์มของ น. คืนและทำใบเบิกจ่ายเงินเสนอผู้บังคับบัญชาระบุว่า น.ขอเบิกเงินค่ามัดจำเสื้อฟอร์มคืนโดยลงชื่อ น. ในใบเบิกจ่ายเงินช่องผู้ขอเบิกทั้ง ๆ ที่ น. ไม่มีสิทธิเบิกและไม่ได้ขอเบิกเงินดังกล่าว เป็นทั้งการทุจริตต่อหน้าที่และการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่ นายจ้างโดยการปลอมเอกสารใบเบิกจ่ายเงิน เมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้กระทำการตามที่จำเลยกล่าวอ้างจึงชอบที่จะต้องวินิจฉัยปรับบทด้วยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการปลอมเอกสารใบเบิกจ่ายเงินอันเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้หรือไม่ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางไม่วินิจฉัยปรับบทดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาเรื่องการวินิจฉัยปรับบทเป็นปัญหาข้อกฎหมายและคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียเลยว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดอาญาฐานปลอมเอกสารหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การพิพากษานอกประเด็น และการวินิจฉัยปรับบทฐานปลอมเอกสารในคดีแรงงาน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยให้การว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ ข้อที่ไม่รับกันจึงอยู่ที่ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลแรงงานกลางจดไว้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ทำการทุจริต จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ผลแห่งการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ผลแห่งการเลิกจ้างจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์อันเป็นผลของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้จึงไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทำบันทึกขอเบิกเงินค่ามัดจำเสื้อฟอร์มของ น. คืนและทำใบเบิกจ่ายเงินเสนอผู้บังคับบัญชาระบุว่า น. ขอเบิกเงินค่ามัดจำคืนโดยลงชื่อ น. ในใบเบิกจ่ายเงินช่องผู้ขอเบิกทั้ง ๆ ที่ น. ไม่มีสิทธิเบิกและไม่ได้ขอเบิก เป็นทั้งการทุจริตต่อหน้าที่และกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างการที่ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ได้กระทำการตามที่จำเลยให้การก็ชอบที่จะวินิจฉัยปรับบทด้วยว่าเป็นการปลอมเอกสารใบเบิกจ่ายเงินอันเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามที่จำเลยให้การไว้หรือไม่ด้วย การไม่วินิจฉัยปรับบทดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทำบันทึกขอเบิกเงินค่ามัดจำเสื้อฟอร์มของ น. คืนและทำใบเบิกจ่ายเงินเสนอผู้บังคับบัญชาระบุว่า น. ขอเบิกเงินค่ามัดจำคืนโดยลงชื่อ น. ในใบเบิกจ่ายเงินช่องผู้ขอเบิกทั้ง ๆ ที่ น. ไม่มีสิทธิเบิกและไม่ได้ขอเบิก เป็นทั้งการทุจริตต่อหน้าที่และกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างการที่ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ได้กระทำการตามที่จำเลยให้การก็ชอบที่จะวินิจฉัยปรับบทด้วยว่าเป็นการปลอมเอกสารใบเบิกจ่ายเงินอันเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามที่จำเลยให้การไว้หรือไม่ด้วย การไม่วินิจฉัยปรับบทดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ