คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 31

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,425 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12824/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังชำระหนี้ครบถ้วน: จำเลยหลุดพ้นความรับผิด
ตามคำพิพากษาตามยอมจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องปฏิบัติชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 1 และโจทก์รับว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวครบถ้วนแล้วตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลจังหวัดสุโขทัย เอกสารท้ายคำแถลงที่ยื่นต่อศาลแรงงานภาค 6 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันปฏิบัติชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีหนี้ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12635/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่ในคดีแรงงาน: ศาลไม่อนุญาตหากโจทก์ไม่มาสืบพยานตามนัด
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 บัญญัติเรื่องการขอให้พิจารณาใหม่ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ได้
วันที่ 11 มิถุนายน 2555 เป็นวันที่ศาลแรงงานกลางนัดพิจารณาและกำหนดประเด็นข้อพิพาท เมื่อไกล่เกลี่ยแล้วคู่ความตกลงกันไม่ได้ศาลแรงงานกลางจึงนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยในวันที่ 5 กันยายน 2555 วันที่ 5 กันยายน 2555 จึงเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์และจำเลย ไม่ใช่วันนัดพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบแล้วพิพากษายกฟ้องไปตามพยานหลักฐานและประเด็นในคดี ไม่ใช่การพิจารณาโดยขาดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11269/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแรงงาน: สัญญาจ้าง, การผ่อนชำระหนี้, และการย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่เป็นคดีละเมิดอย่างเดียวไม่ เพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างลูกจ้างมีข้อผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน นอกจากจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว ยังฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย และตามหนังสือรับรองและค้ำประกัน ข้อ 2 ก็ระบุว่า "หากปรากฏว่าระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานได้ทำความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดให้แก่โจทก์ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นโดยเจตนาหรือประมาท จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดในความเสียหายนั้นๆ และยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามจำนวนที่เสียหายไปนั้นทั้งสิ้น รวมทั้งความเสียหายทั้งปวง ซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย โดยไม่จำกัดวงเงิน และให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วม..." ข้อผูกพันของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์จึงหมายถึงจำเลยที่ 2 ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มูลละเมิดระหว่างจำเลยที่ 1 และโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานเกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2544 จำเลยที่ 1 ได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เดือนละ 1,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2546 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2548 อันเป็นการผ่อนชำระหนี้ขณะยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี จึงมีผลทำให้อายุความในส่วนนี้สะดุดหยุดลงและเริ่มนับใหม่ถัดจากวันผ่อนชำระหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายคือเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2548 ทั้งการที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดวันที่ 6 กันยายน 2550 ยังไม่พ้น 10 ปี นับจากวันที่ 17 ธันวาคม 2544 คดีโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องเคลือบคลุมนั้น โจทก์มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11269/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีสัญญาจ้างแรงงานและการผ่อนชำระหนี้ รวมถึงความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นคดีละเมิดอย่างเดียวไม่ เพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างลูกจ้างมีข้อผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน นอกจากจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์แล้วยังฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย และตามหนังสือรับรองและค้ำประกัน ก็ระบุว่า "หากปรากฏว่าระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานได้ทำความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดให้แก่โจทก์ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นโดยเจตนาหรือประมาท จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดในความเสียหายนั้น ๆ และยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามจำนวนที่เสียหายไปนั้นทั้งสิ้น รวมทั้งความเสียหายทั้งปวงซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย โดยไม่จำกัดวงเงิน และให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วม..." ข้อผูกพันของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์จึงหมายถึงจำเลยที่ 2 ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มูลละเมิดระหว่างจำเลยที่ 1 และโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานเกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2544 จำเลยที่ 1 ได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เดือนละ 1,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2546 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2548 อันเป็นการผ่อนชำระหนี้ขณะยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี จึงมีผลทำให้อายุความในส่วนนี้สะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ถัดจากวันผ่อนชำระหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายคือเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2548
ฟ้องเคลือบคลุมไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อโจทก์ไม่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9770/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างในการได้รับใบสำคัญแสดงการทำงานและดอกเบี้ยเงินประกันการทำงานหลังลาออก
หลังจากการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงด้วยการลาออก จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้แก่โจทก์ตามที่ขอ โจทก์ชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าได้ทำงานมานานเท่าไรและงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไรจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 585
ที่ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนเงินประกัน 2,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันลาออกจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ไม่ตรงกับเนื้อหาส่วนคำวินิจฉัยที่ให้จ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามฟ้อง ทั้งเมื่อโจทก์ลาออกมีผลในวันที่ 7 ธันวาคม 2552 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่คืนเงินประกันการทำงานแก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันลาออกดังกล่าว คือต้องคืนเงินประกันการทำงานภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 หากจำเลยที่ 1 ไม่คืนเงินประกันการทำงานแก่โจทก์ภายในวันดังกล่าวจะต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 10 วรรคสอง กรณีดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 เห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 จ่ายคืนเงินประกันการทำงานพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9450/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การปฏิบัติตามเจตนารมณ์สำคัญ แม้มีข้อความอื่นเพิ่มเติม
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 มีข้อความว่า จำเลยทั้งสองจะทำหนังสือแจ้งประกันสังคมโดยระบุว่าจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด...ปรากฏว่าภายหลังศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอม จำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงการให้ออกของพนักงาน ลงวันที่ 19 เมษายน 2553 ถึงผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 8 แจ้งเปลี่ยนแปลงการให้ออกของโจทก์จาก "ไล่ออกโดยมีความผิด" เป็น "ไล่ออกโดยไม่มีความผิด" ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความนำมายื่นต่อศาลและให้โจทก์รับไปแล้ว แม้หนังสือดังกล่าวจะมีข้อความอื่นนอกเหนือจากที่ระบุตาม ข้อ 2 ของสัญญาประนีประนอมยอมความรวมอยู่ด้วย แต่เมื่อโจทก์นำไปยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 8 เจ้าหน้าที่ก็ดำเนินการแก้ไขฐานข้อมูลการเลิกจ้างให้ว่าเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ตรงตามเจตนารมณ์ของคู่ความที่ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน เช่นนี้จะถือว่าจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8732/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: ศาลยึดหลักความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม มิใช่ความผิดพลาดของผู้ฟ้อง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 บัญญัติให้อำนาจศาลแรงงานในการย่นหรือขยายระยะเวลาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ได้ และตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 ได้วางหลักเกณฑ์ว่าจะกระทำได้เมื่อมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หาได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะกระทำได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและต้องทำก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยเช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ไม่
ศาลแรงงานภาค 5 อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 แต่โจทก์ซึ่งทราบวันนัดฟังคำพิพากษาโดยชอบแล้วไม่มาศาล และเพิ่งมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 16 มกราคม 2555 โจทก์อ้างว่าดำเนินคดีเองแต่ได้ปรึกษานิติกรศาลแรงงานภาค 5 มาโดยตลอด การที่โจทก์ไม่มาฟังคำพิพากษาและติดตามขอคัดคำพิพากษาหรือตรวจสอบรวมทั้งขอคำปรึกษาจากนิติกรศาลแรงงานภาค 5 ว่าคำพิพากษาศาลแรงงานให้อุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จึงเป็นความผิดหรือความบกพร่องของโจทก์เอง มิใช่เหตุความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานภาค 5 จะพึงขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีประกันสังคมและการพิจารณาความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเนื่องจากโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์จึงเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ จำเลยมิได้เป็นผู้มีคำวินิจฉัยจึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ อันเป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งศาลแรงงานกลางจะต้องมีคำวินิจฉัย แต่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ลักษณะ 2 หมวด 1 บัญญัติให้เรื่องการเป็นผู้ประกันตนอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของสำนักงานประกันสังคมจำเลย และยังให้สิทธิว่าหากไม่พอใจคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมที่สั่งการตามกฎหมายฉบับนี้ ให้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งตามมาตรา 85 คณะกรรมการอุทธรณ์ที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 86 ก็เป็นคณะกรรมการของจำเลยโดยผู้แทนสำนักงานประกันสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการเพื่อต้องการให้คณะกรรมการอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำสั่งของเลขาธิการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์จึงเป็นคำสั่งในหน่วยงานของจำเลย นอกจากนี้มาตรา 87 วรรคท้าย ยังได้บัญญัติรับรองสิทธิไว้อีกว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์นั้น ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ดังนี้ เมื่อจำเลยแจ้งยกเลิกการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ และคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
การที่จะพิจารณาความสัมพันธ์ของบุคคลว่าเป็นนายจ้างและลูกจ้างกันหรือไม่ นอกจากจะพิจารณาว่าบุคคลทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 5 แล้ว ยังต้องปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่าบุคคลที่เป็นลูกจ้างอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาโดยต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบุคคลที่เป็นนายจ้าง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ตามความเป็นจริงของความเป็นนายจ้างและลูกจ้างดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 583 ด้วย เมื่อโจทก์มีอิสระในการทำงาน ไม่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา และไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของบริษัท ต. ไม่ต้องลงเวลาทำงาน สามารถตัดสินใจในกิจการของบริษัทได้โดยลำพังไม่ต้องปรึกษาผู้ใด โดยโจทก์มีหน้าที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าของบริษัท และงบดุลของบริษัท ไม่ปรากฏว่าบริษัทดังกล่าวมีรายได้จากการขายสินค้าแต่อย่างใด แสดงว่าลักษณะการทำงานของโจทก์นั้น โจทก์จะทำงานอย่างไรก็ได้ ไม่ว่าจะมีผลงานหรือไม่มีผลงาน ก็ไม่มีการให้คุณให้โทษแก่โจทก์ อันแสดงให้เห็นว่าการทำงานของโจทก์มิได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของบริษัท ต. ดังนั้น นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบริษัท ต. จึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นนายจ้างและลูกจ้างกัน อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเข้าเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 33 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีแรงงานและการดำเนินคดีฟ้องแย้ง ศาลมีอำนาจอนุญาตถอนฟ้องได้หากสุจริต คดีฟ้องแย้งไม่ตกไปตามฟ้องเดิม
การถอนฟ้องภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 เพียงแต่บัญญัติให้ศาลฟังจำเลยเท่านั้น มิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง การอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลซึ่งพิจารณาถึงความสุจริตและคำนึงถึงความได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงคดีด้วย โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเห็นของกรมบัญชีกลาง ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โจทก์ขอถอนฟ้องโดยอ้างว่าได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเอกสารที่โจทก์ไม่เคยทราบมาก่อนและโจทก์เข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับคำสั่งของจำเลยซึ่งถ้าทราบมาก่อนก็จะไม่ฟ้องคดีนี้ เห็นได้ว่าเมื่อโจทก์ถอนฟ้องคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ต้องรับผิดยังคงมีอยู่จึงไม่ทำให้โจทก์ได้เปรียบในเชิงคดีอันแสดงว่าโจทก์ขอถอนฟ้องโดยสุจริต
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 บัญญัติให้สิทธิจำเลยจะฟ้องแย้งโจทก์มาในคำให้การได้ถ้าคำฟ้องแย้งเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมเท่านั้น เมื่อจำเลยฟ้องแย้งโจทก์มาในคำให้การ โจทก์ก็คือจำเลยในฟ้องแย้ง คดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ การที่ศาลแรงงานภาค 1 อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเดิม ก็คงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยตกไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การฟ้องคดีใหม่ระหว่างที่คดีเดิมยังพิจารณาอยู่
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง มีความมุ่งหมายให้คดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันไปเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างให้รับผิดต่อโจทก์โดยอ้างเหตุว่ากรรมการจำเลยที่ 2 ซึ่งก็คือจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ มีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานในตำแหน่งใหม่อันเป็นการลดตำแหน่งโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดและไม่เป็นธรรม เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 จ่ายเงินภายหลังเลิกจ้าง คดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 มีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานในตำแหน่งใหม่เป็นการลดตำแหน่งและค่าตอบแทนในการว่าจ้างของโจทก์ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างและเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เรียกร้องค่าเสียหายจากการออกคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องโดยอาศัยเหตุแห่งการออกคำสั่งย้ายงานโจทก์ของจำเลยที่ 1 ในคราวเดียวกัน ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะนายจ้างเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการออกคำสั่งที่ไม่ถูกต้องในคราวเดียวหรือแก้ไขคำฟ้องในคดีเดิมภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
of 443