พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,425 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคดีผูกพันตามคำพิพากษาเดิม, ละเมิดสัญญาจ้าง, และการกำหนดค่าเสียหายจากความผิดวินัย
แม้คดีก่อนมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยฟ้องเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้าง และเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากโจทก์ได้ดังฟ้องของจำเลยเพียงใดหรือไม่ แต่จำเลยอ้างในคดีก่อนว่าเหตุที่โจทก์เลิกจ้างเนื่องจากจำเลยกระทำผิดวินัยโดยจำเลยเอื้อประโยชน์ให้ น. ใช้ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านของจำเลยในการอนุมัติสินเชื่อ และจำเลยเบิกค่าล่วงเวลาทั้งที่ไม่ได้ปฏิบัติงานจริง ซึ่งไม่เป็นความจริง โจทก์ให้การต่อสู้ว่าจำเลยกระทำผิดวินัยจริง ในคดีก่อนศาลแรงงานกลางจึงต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าจำเลยกระทำความผิดวินัยดังที่จำเลยฟ้องและโจทก์ให้การในคดีก่อนหรือไม่ คดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อน จำเลยจึงต้องผูกพันในผลแห่งคดีและข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางในคดีก่อนวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ว่า จำเลยยินยอมให้ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านของจำเลยแก่พนักงานอื่นเพื่อทำการวิเคราะห์และอนุมัติสินเชื่อลูกค้า 5 ราย แทน อันเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรงและทุจริตต่อหน้าที่
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญา อ้างว่าเนื่องจากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อให้ลูกหนี้ 5 ราย ที่จำเลยมีส่วนกระทำความผิดและโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ดังกล่าว ถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยแล้ว ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยคดีนี้มีมูลเหตุจากสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งเป็นคนละส่วนกับหนี้ของลูกค้าซึ่งเป็นลูกหนี้ทั้ง 5 ราย การที่โจทก์โอนหนี้ของลูกหนี้ดังกล่าวให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ธนาคาร อ. เป็นเพียงการบรรเทาความเสียหายในหนี้ส่วนลูกหนี้ดังกล่าวเท่านั้น อีกทั้งการโอนหนี้ของลูกหนี้ดังกล่าวนั้นก็ไม่เกี่ยวกับมูลหนี้อันสืบเนื่องจากการจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงไม่มีผลทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยตามมูลหนี้ดังกล่าวระงับสิ้นไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญา อ้างว่าเนื่องจากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อให้ลูกหนี้ 5 ราย ที่จำเลยมีส่วนกระทำความผิดและโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ดังกล่าว ถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยแล้ว ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยคดีนี้มีมูลเหตุจากสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งเป็นคนละส่วนกับหนี้ของลูกค้าซึ่งเป็นลูกหนี้ทั้ง 5 ราย การที่โจทก์โอนหนี้ของลูกหนี้ดังกล่าวให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ธนาคาร อ. เป็นเพียงการบรรเทาความเสียหายในหนี้ส่วนลูกหนี้ดังกล่าวเท่านั้น อีกทั้งการโอนหนี้ของลูกหนี้ดังกล่าวนั้นก็ไม่เกี่ยวกับมูลหนี้อันสืบเนื่องจากการจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงไม่มีผลทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยตามมูลหนี้ดังกล่าวระงับสิ้นไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ศาลฎีกาอนุญาตให้เฉลี่ยทรัพย์ได้เมื่อจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอชดใช้หนี้
เมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัตินิยามความหมายคำว่า "การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์" ไว้เป็นการเฉพาะ การตีความความหมายของคำดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/12 (5) ที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้ศาลไม่จำต้องงดการบังคับคดีไว้ในกรณีที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น คงต้องพิจารณาเทียบเคียงกับกรณีกิจการที่ได้กระทำไปแล้วหากมีกรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย เนื่องจากผลของการล้มละลายหรือการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมไม่อาจกระทบกระเทือนต่อกิจการที่ได้กระทำไปจนเสร็จสิ้นก่อนแล้วเช่นเดียวกัน การที่มาตรา 110 วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีของผลของการล้มละลายเกี่ยวกับกิจการที่ได้กระทำไปแล้ว ได้ให้ความหมายของคำว่า การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 326 วรรคห้า ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การขอเฉลี่ยทรัพย์ ในกรณีอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงิน ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามเช็คที่ผู้ร้องนำส่งตามหนังสือแจ้งอายัดที่พิพาทนี้ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 กำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังกล่าว คือวันที่ 5 มิถุนายน 2563 จำเลยยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงิน ถือว่าการบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลแรงงานกลางไม่จำเป็นต้องงดการบังคับคดีไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (5)
ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า หากผู้คัดค้านสละสิทธิในการบังคับคดีหรือไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่กำหนดให้ผู้ร้องบังคับคดีต่อไปนั้น เนื่องจากตาม ป.วิ.พ. มาตรา 327 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวถอนการบังคับคดีให้ผู้ยื่นคำร้องขอซึ่งได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา 324 หรือเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา 326 ทราบโดยไม่ชักช้า...." ดังนั้น หากมีการถอนการบังคับคดีจึงต้องดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในส่วนนี้มาจึงไม่ชอบ
ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า หากผู้คัดค้านสละสิทธิในการบังคับคดีหรือไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่กำหนดให้ผู้ร้องบังคับคดีต่อไปนั้น เนื่องจากตาม ป.วิ.พ. มาตรา 327 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวถอนการบังคับคดีให้ผู้ยื่นคำร้องขอซึ่งได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา 324 หรือเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา 326 ทราบโดยไม่ชักช้า...." ดังนั้น หากมีการถอนการบังคับคดีจึงต้องดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในส่วนนี้มาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเฉลี่ยทรัพย์หลังศาลรับฟังว่าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอ ชี้ว่าการฟื้นฟูกิจการเกิดขึ้นหลังพ้นกำหนดเวลาเฉลี่ยทรัพย์
เมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัตินิยามความหมายของคำว่า "การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์" ไว้เป็นการเฉพาะ การตีความความหมายของคำดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/12 (5) ที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้ศาลไม่จำต้องงดการบังคับคดีไว้ในกรณีที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น คงต้องพิจารณาเทียบเคียงกับกรณีกิจการที่ได้กระทำไปแล้วหากมีกรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย เนื่องจากผลของการล้มละลายหรือการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมไม่อาจกระทบกระเทือนต่อกิจการที่ได้กระทำไปจนเสร็จสิ้นแล้วเช่นเดียวกัน การที่มาตรา 110 วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีของผลของการล้มละลายเกี่ยวกับกิจการที่ได้กระทำไปแล้ว ได้ให้ความหมายของคำว่า การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตาม ป.วิ.พ. โดยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 326 วรรคห้า ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การขอเฉลี่ยทรัพย์ ในกรณีอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงิน ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามเช็คที่ผู้ร้องนำส่งตามหนังสือแจ้งอายัดที่พิพาทนี้ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 กำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตาม ป.วิ.พ. ดังกล่าวคือวันที่ 5 มิถุนายน 2563 จำเลยยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงินถือว่าการบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องงดการบังคับคดีไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติสินเชื่อเกินอำนาจและขัดต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ถือเป็นละเมิดและผิดสัญญาจ้าง
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคาร ม. ให้แก่ธนาคาร ก. กำหนดการโอนกิจการ ให้โอนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดของโจทก์โดยให้ดูแลลูกหนี้เจ้าหนี้นั้น ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่พึงได้โดยครบถ้วนและให้ทำหนังสือสัญญาก่อนดำเนินการโอน หนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ก. ก็ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงรับโอนสินทรัพย์และหนี้สิน ส่วนในเรื่องพนักงานของโจทก์นั้นตามข้อ 4 ก็เพียงแต่ระบุว่า "ก." ยินดีรับพนักงานของโจทก์ทุกคนที่สมัครใจทำงานกับ "ก." หรือบริษัทในเครือ หลักเกณฑ์ และหรือเงื่อนไขในการจ้าง "ก." จะพิจารณาตามความเหมาะสม ย่อมแสดงให้เห็นว่าโครงการโอนกิจการดังกล่าวโจทก์โอนเฉพาะสินทรัพย์และหนี้สินแก่ธนาคาร ก. เท่านั้น ส่วนในเรื่องพนักงานของโจทก์ เป็นกรณีที่พนักงานโจทก์แต่ละรายจะต้องดำเนินการต่อไปและสมัครใจที่จะเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ภายใต้เงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่ธนาคารผู้รับโอนพิจารณาก่อน จึงจะถือว่าเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ดังนั้น สิทธิความเป็นนายจ้างของโจทก์กับพนักงานโจทก์จึงหาได้โอนไปยังธนาคารผู้รับโอนด้วยไม่ ยิ่งพิจารณาจากตำแหน่งของจำเลยที่ดำรงตำแหน่งเป็นรองกรรมการผู้จัดการโจทก์ด้วยแล้ว ถือว่าเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง จึงเป็นที่ชี้ชัดว่าจำเลยไม่ได้โอนไปเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ดังนั้น สิทธิหน้าที่ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยมีอยู่ต่อกันเช่นใดก็ยังคงเป็นไปตามนั้น หากจำเลยกระทำการไม่ถูกต้องในระหว่างที่เป็นลูกจ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้ การที่โจทก์ฟ้องว่าระหว่างทำงานจำเลยทุจริต ปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้าง ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคำฟ้องของโจทก์บรรยายให้เห็นชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยเป็นคณะกรรมการพิจารณาให้สินเชื่อชุดบริหาร มีอำนาจพิจารณาอนุมัติสินเชื่อและต่ออายุสัญญาให้สินเชื่อแก่ลูกค้าภายในวงเงินที่จำกัด แต่จำเลยอนุมัติสินเชื่อแก่ลูกค้าของโจทก์เกินกว่าอำนาจของตน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นสภาพแห่งข้อหา โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศและคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทย และคำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับของโจทก์ ในส่วนเรื่องการอนุมัติสินเชื่อของจำเลยเป็นการอนุมัติเร่งด่วนหรือไม่ ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในเอกสารท้ายคำฟ้องหรือไม่ อำนาจหน้าที่ระหว่างผู้บริหารระดับสูงของโจทก์กับจำเลยมีขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร จำเลยทำละเมิดหรือผิดสัญญาจ้างอย่างไร ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพียงใด เป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลแรงงานกลางอาจหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้จากพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม คดีนี้ เมื่อคดีที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และคดีอาญาที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งการกระทำเดียวกัน ประกอบกับคำฟ้องโจทก์ที่ว่าระหว่างทำงานจำเลยทุจริตปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมายและคำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6607/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ศาลรับฟังพยานบุคคลได้
ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี..." การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นกรณีนายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้างหรือลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้แสดงเจตนาจะต้องทำตามแบบหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 94 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกโดยสมัครใจ สิทธิในการถอนการลาออก และผลของการยึดทรัพย์สินของนายจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ยื่นหนังสือลาออกต่อจำเลย ซึ่งจำเลยก็ให้การยอมรับว่าจำเลยได้รับหนังสือลาออกจากโจทก์ การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ยื่นหนังสือลาออกต่อ ร. กรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลย ซึ่งหมายถึงโจทก์ยื่นหนังสือลาออกต่อจำเลย จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงตามที่ยุติจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกสำนวน และเมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังพยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์ลาออกโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากจำเลย อันมีความหมายว่าโจทก์ลาออกโดยสมัครใจ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์ลาออกโดยไม่สมัครใจ จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง (เดิม) ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ขอลาออกเพราะถูก ร. ข่มขู่นั้น โจทก์ไม่ได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ป.พ.พ. มาตรา 386 ไม่ได้กำหนดให้ใช้บังคับแก่สัญญาประเภทใดประเภทหนึ่ง จึงใช้บังคับแก่สัญญาทุกประเภทรวมทั้งสัญญาจ้างแรงงานด้วย การที่ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยการแสดงเจตนาแก่นายจ้าง ลูกจ้างไม่อาจถอนหรือยกเลิกการแสดงเจตนาเลิกสัญญานั้นได้ แต่ไม่รวมถึงการตกลงหรือยินยอมของนายจ้างและลูกจ้างในการถอนหรือยกเลิกการแสดงเจตนาเลิกสัญญาของลูกจ้างด้วย โจทก์มีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แสดงเจตนาถอนการลาออก แต่จำเลยมีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แจ้งให้โจทก์ส่งใบลามาใหม่ พฤติการณ์ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องโจทก์และจำเลยตกลงให้โจทก์ถอนการลาออกหรือยับยั้งการลาออกของโจทก์ แต่เป็นเพียงเรื่องที่จำเลยให้โจทก์ปฏิบัติตามขั้นตอนและระเบียบภายในของจำเลยเพื่ออนุมัติการลาออกของโจทก์ หนังสือลาออกจึงยังมีผลบังคับอยู่ และการที่จำเลยยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จำเลยให้โจทก์ไว้ใช้ในการทำงานคืนจากโจทก์นั้น ก็เป็นเพราะใกล้วันที่หนังสือลาออกของโจทก์จะมีผลแล้ว จึงมิใช่กรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์
ป.พ.พ. มาตรา 386 ไม่ได้กำหนดให้ใช้บังคับแก่สัญญาประเภทใดประเภทหนึ่ง จึงใช้บังคับแก่สัญญาทุกประเภทรวมทั้งสัญญาจ้างแรงงานด้วย การที่ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยการแสดงเจตนาแก่นายจ้าง ลูกจ้างไม่อาจถอนหรือยกเลิกการแสดงเจตนาเลิกสัญญานั้นได้ แต่ไม่รวมถึงการตกลงหรือยินยอมของนายจ้างและลูกจ้างในการถอนหรือยกเลิกการแสดงเจตนาเลิกสัญญาของลูกจ้างด้วย โจทก์มีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แสดงเจตนาถอนการลาออก แต่จำเลยมีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แจ้งให้โจทก์ส่งใบลามาใหม่ พฤติการณ์ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องโจทก์และจำเลยตกลงให้โจทก์ถอนการลาออกหรือยับยั้งการลาออกของโจทก์ แต่เป็นเพียงเรื่องที่จำเลยให้โจทก์ปฏิบัติตามขั้นตอนและระเบียบภายในของจำเลยเพื่ออนุมัติการลาออกของโจทก์ หนังสือลาออกจึงยังมีผลบังคับอยู่ และการที่จำเลยยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จำเลยให้โจทก์ไว้ใช้ในการทำงานคืนจากโจทก์นั้น ก็เป็นเพราะใกล้วันที่หนังสือลาออกของโจทก์จะมีผลแล้ว จึงมิใช่กรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4009/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกที่ไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงผลจากการทุจริตทางการเงิน ทำให้ขาดอำนาจฟ้องร้องเรียกประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
แม้การที่โจทก์แสดงความประสงค์ลาออกจากงานต่อจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2557 โดยให้มีผลวันที่ 16 พฤษภาคม 2557 เป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งการเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้นลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาได้แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติก็ตาม แต่ในระหว่างระยะเวลาที่สัญญาจ้างแรงงานยังมีผลบังคับอยู่นั้น นายจ้างและลูกจ้างยังคงมีนิติสัมพันธ์ต่อกันจนกว่าสัญญาจ้างแรงงานจะสิ้นผล คดีนี้ในระหว่างระยะเวลาที่สัญญาจ้างแรงงานยังมีผลบังคับอยู่นั้น จำเลยที่ 1 ตรวจพบการกระทำความผิดของโจทก์และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ในที่สุดจำเลยที่ 1 มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหรือผลประโยชน์อื่นใดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2557 ซึ่งตรงกับข้อเท็จจริงดังที่ศาลแรงงานกลางฟังยุติมาว่าโจทก์ได้รับเงินจากผู้เอาประกันภัยแล้วไม่นำเงินเข้าฝากบัญชีของจำเลยที่ 1 และไม่ได้นำเงินมามอบให้แก่จำเลยที่ 1 ตามระเบียบคู่มือการปฏิบัติงานของฝ่ายการเงินของจำเลยที่ 1 ทำให้เงินของจำเลยที่ 1 ขาดหายไป เป็นการประพฤติผิดอย่างร้ายแรงขัดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ลาออกโดยให้มีผลเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2557 แสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์คาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 อาจตรวจพบการกระทำความผิดของโจทก์และหากคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงได้สอบสวนเสร็จจำเลยที่ 1 อาจมีคำสั่งลงโทษโจทก์ด้วยการไล่ออกหรือเลิกจ้างได้ แต่โจทก์ยังคงชิงลาออกเสียก่อนตามที่ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 30 มกราคม 2558 ขอให้โจทก์ชำระค่าเสียหาย หลังจากนั้นโจทก์จึงได้นำคดีมาฟ้องอ้างว่าตนได้ลาออกจากการทำงานกับจำเลยที่ 1 ทั้งนี้เท่ากับอ้างเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเห็นว่าการเลิกจ้างของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบเพื่อมาเรียกร้องสิทธิในเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พฤติการณ์ทั้งหลายของโจทก์ส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการลาออกเพื่อที่จะแสวงหาประโยชน์จากการลาออกเนื่องจากหากโจทก์ถูกเลิกจ้างหรือไล่ออกเพราะเหตุทุจริตย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะได้รับเงินสมทบจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือสิทธิประโยชน์อื่นที่อาจจะได้รับตามกฎหมาย จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย แม้จำเลยที่ 1 จะมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์หลังจากโจทก์ลาออก แต่โจทก์อาศัยเหตุลาออกดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องร้องคดีนี้เพื่อให้ตนได้รับสิทธิประโยชน์ตามฟ้องอันเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเช่นนี้ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุจากการลาออกโดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากการลาออกและให้จำเลยที่ 2 ใช้เงินตามฟ้องแก่โจทก์ได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเกี่ยวกับการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาตศาลแรงงาน การพิพากษาเกินเลยประเด็นคดี
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ขออนุญาตศาลแรงงานก่อนตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 เป็นการขัดต่อกฎหมาย ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และให้จ่ายค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า สหภาพแรงงานแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างโดยไม่มีอำนาจ โจทก์จึงไม่ใช่กรรมการลูกจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าว จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดกรณีร้ายแรง ดังนั้นประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า โจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 หรือไม่ เพื่อนำไปสู่การพิจารณาต่อไปว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายและทำให้โจทก์เสียหายหรือไม่ เพียงใด เมื่อศาลแรงงานภาค 1 รับฟังพยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ใช่กรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลแรงงานภาค 1 ชอบที่จะยกฟ้องเพื่อให้โจทก์กับจำเลยไปดำเนินการต่อไปดังเช่นลูกจ้างทั่วไป การที่ศาลแรงงานภาค 1 ได้วินิจฉัยถึงการกระทำของโจทก์ต่อไปว่า โจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายตามฟ้องก็เป็นการพิจารณาพิพากษาเกินเลยไปกว่าประเด็นแห่งคดี แม้ศาลแรงงานภาค 1 จะวินิจฉัยก็เป็นการไม่ชอบ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของโจทก์มิใช่ความผิดกรณีที่ร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 และเมื่อโจทก์ไม่ใช่กรรมการลูกจ้าง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลแรงงานก่อนตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ส่วนโจทก์จะมีสิทธิได้รับเงินภายหลังเลิกจ้างหรือไม่เพียงใด เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปดำเนินการว่ากล่าวกันต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด/สัญญาจ้างแรงงาน และผลกระทบต่อการบังคับชำระหนี้และหักเงินโบนัส
ความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นจากการที่ลูกค้าของโจทก์แต่ละรายไม่ชำระหนี้ หนี้ของลูกค้าแต่ละรายเป็นหนี้ที่จำเลยแต่ละคนมีหน้าที่สรุปวิเคราะห์ มีหน้าที่ตรวจผ่านงานและกลั่นกรองงานและมีหน้าที่อนุมัติ ซึ่งต้องร่วมรับผิดชอบด้วยกันมิอาจแบ่งแยกจากกันได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยทุกคนที่มีหน้าที่อำนวยสินเชื่อแก่ลูกค้าในรายเดียวกันนั้นย่อมเป็นสิทธิอันเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ที่ 9 ที่ 10 ที่ 12 ถึงที่ 15 และที่ 17 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 8 ที่ 11 และที่ 16 ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
แม้โจทก์มีระเบียบให้กันเงินโบนัสของพนักงานไว้เพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทางละเมิด แต่เมื่อค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 7 ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ขาดอายุความ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิกันเงินโบนัสของจำเลยที่ 7 ไว้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอีกต่อไป
แม้โจทก์มีระเบียบให้กันเงินโบนัสของพนักงานไว้เพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทางละเมิด แต่เมื่อค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 7 ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ขาดอายุความ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิกันเงินโบนัสของจำเลยที่ 7 ไว้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนการยึดทรัพย์เมื่อหนี้ระงับ แม้ทรัพย์สินเป็นสินสมรส ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอได้
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินของผู้ร้องเนื่องจากหนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์มีต่อจำเลยระงับไปแล้ว เป็นการกล่าวอ้างว่า จำเลยไม่มีสิทธิบังคับคดีต่อโจทก์อีกต่อไปและการบังคับคดีโดยการยึดที่ดินของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะอุทธรณ์ว่าทรัพย์สินที่ยึดเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างผู้ร้องและโจทก์ก็ตาม แต่หากหนี้ที่โจทก์มีต่อจำเลยเป็นหนี้ที่ระงับไปแล้ว การยึดที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิของผู้ร้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายจากเหตุดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง กรณีไม่ใช่การร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดโดยอ้างว่าทรัพย์สินที่ยึดไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้