พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3126/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด หากไม่ถูกต้อง ผู้ถือหุ้นยังมีสิทธิเรียกร้องได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยเหตุว่าการบังคับตามคําพิพากษาไม่อาจบังคับจำเลยที่ 2 ได้เพราะจำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จึงไม่มีอำนาจแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1139 วรรคสอง และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 แต่เมื่อโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 จัดทำสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์แล้วนําหุ้นของโจทก์ที่ลดลงไปเพิ่มในสัดส่วนการถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบ แล้วศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 โอนหุ้นของโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อโดยไม่ชอบขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง และข้อบังคับของจำเลยที่ 1 การโอนหุ้นตกเป็นโมฆะ ให้จำเลยที่ 1 แก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้โจทก์กลับมาถือหุ้นของโจทก์ตามเดิม ซึ่งเลขหมายใบหุ้นบางส่วนเป็นหุ้นที่จำเลยที่ 2 ถือครองอยู่ และบางส่วนเป็นหุ้นที่จำเลยที่ 2 โอนไปให้บุคคลอื่นแล้ว ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในเวลาต่อมาจึงเป็นการกระทบสิทธิของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวโดยตรง จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคําพิพากษาศาลชั้นต้นและฎีกาโต้แย้งคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้
ที่จำเลยที่ 2 ให้การตอนแรกว่า จำเลยที่ 2 มอบหุ้นให้โจทก์เพื่อตอบแทนการที่โจทก์จะช่วยเหลือทำงานจนกว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับประทานบัตรและประกอบธุรกิจเหมืองแร่ เป็นเพียงการบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ชําระค่าหุ้นด้วยแรงงานซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถชําระค่าหุ้นด้วยอย่างอื่นนอกจากตัวเงินได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1108 (5) ส่วนที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อมาว่า โจทก์ไม่ได้ชําระค่าหุ้นหากฟังว่าโจทก์ชําระค่าหุ้น โจทก์ก็ได้รับค่าหุ้นคืนจากจำเลยที่ 2 แล้ว และบรรยายต่อมาว่า โจทก์ได้รับหุ้น ต่อมาจำเลยที่ 2 ชําระค่าหุ้นดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์แล้ว ถือเป็นเพียงการบรรยายรายละเอียดเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ให้ชัดแจ้งเท่านั้น คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้ขัดแย้งกันดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การและนําสืบในทำนองว่า โจทก์ไม่ได้ชําระค่าหุ้นจึงไม่ใช่ผู้ถือหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 ตกลงมอบหุ้นให้โจทก์เพื่อเป็นการตอบแทนการที่โจทก์จะทำงาน แต่โจทก์ทำไม่ได้ตามที่ตกลงและจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมาโดยตลอด จึงได้มีการพูดคุยปรับสัดส่วนในการถือหุ้นของโจทก์ ซึ่งโจทก์ให้ความยินยอมในการปรับลดหุ้นทุกครั้ง หลังจากจำเลยที่ 2 ปรับลดหุ้นของโจทก์ไปเป็นของตนเองแล้วได้ขายหุ้นให้ พ. ซึ่งชําระค่าหุ้นให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ครบถ้วนและยังพยายามหาทางเอากิจการของจำเลยที่ 1 ไปเป็นของตนเอง โดยมีพฤติการณ์ร่วมกันกับโจทก์ในการถอดถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นกรรมการจำเลยที่ 1 เมื่อพิจารณาคำให้การของจำเลยที่ 2 โดยรวมพอถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ให้การและต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อนี้ของจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ
เมื่อเริ่มจัดตั้งจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นผู้นําส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องไว้ตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ทั้งโจทก์มีใบสำคัญรับชําระเงินลงหุ้นซึ่งจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับเงินไว้มาแสดง ข้ออ้างที่ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าหุ้นคืนแล้วก็ไม่ปรากฏการบันทึกเป็นหลักฐาน ทั้งไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 2 มอบหุ้นให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานจนเสร็จแต่โจทก์ทำไม่ได้ตามที่ตกลงกัน นอกจากนี้จำเลยที่ 2 นําสืบว่า จำเลยที่ 2 ได้รับความยินยอมจากโจทก์ในการปรับลดหุ้นของโจทก์ทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 เคารพสิทธิของโจทก์ในการเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง พยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบมีน้ำหนักเชื่อได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งอ้างว่ากระทำโดยไม่ชอบ ทั้งไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตดังที่จำเลยที่ 2 อ้าง
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นคนใดรวมถึงโจทก์ แต่เมื่อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 มีการออกเลขหมายใบหุ้นแล้ว จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการจำเลยที่ 1 แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์หลายครั้งจนเหลือเพียง 500 หุ้น โดยข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์โอนหุ้นของตนให้แก่จำเลยที่ 2 และปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ โจทก์จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 จำนวน 3,000 หุ้น ตามที่มีอยู่เดิม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 โอนหุ้นของโจทก์จำนวน 2,500 หุ้น ไปเป็นของตนเองโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 2 ยังถือหุ้นจำเลยที่ 1 อยู่จำนวน 4,000 หุ้น ซึ่งสามารถโอนให้แก่โจทก์ได้ จึงชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ได้รับโอนหุ้นของจำเลยที่ 2 จำนวน 2,500 หุ้น
ที่จำเลยที่ 2 ให้การตอนแรกว่า จำเลยที่ 2 มอบหุ้นให้โจทก์เพื่อตอบแทนการที่โจทก์จะช่วยเหลือทำงานจนกว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับประทานบัตรและประกอบธุรกิจเหมืองแร่ เป็นเพียงการบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ชําระค่าหุ้นด้วยแรงงานซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถชําระค่าหุ้นด้วยอย่างอื่นนอกจากตัวเงินได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1108 (5) ส่วนที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อมาว่า โจทก์ไม่ได้ชําระค่าหุ้นหากฟังว่าโจทก์ชําระค่าหุ้น โจทก์ก็ได้รับค่าหุ้นคืนจากจำเลยที่ 2 แล้ว และบรรยายต่อมาว่า โจทก์ได้รับหุ้น ต่อมาจำเลยที่ 2 ชําระค่าหุ้นดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์แล้ว ถือเป็นเพียงการบรรยายรายละเอียดเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ให้ชัดแจ้งเท่านั้น คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้ขัดแย้งกันดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การและนําสืบในทำนองว่า โจทก์ไม่ได้ชําระค่าหุ้นจึงไม่ใช่ผู้ถือหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 ตกลงมอบหุ้นให้โจทก์เพื่อเป็นการตอบแทนการที่โจทก์จะทำงาน แต่โจทก์ทำไม่ได้ตามที่ตกลงและจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมาโดยตลอด จึงได้มีการพูดคุยปรับสัดส่วนในการถือหุ้นของโจทก์ ซึ่งโจทก์ให้ความยินยอมในการปรับลดหุ้นทุกครั้ง หลังจากจำเลยที่ 2 ปรับลดหุ้นของโจทก์ไปเป็นของตนเองแล้วได้ขายหุ้นให้ พ. ซึ่งชําระค่าหุ้นให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ครบถ้วนและยังพยายามหาทางเอากิจการของจำเลยที่ 1 ไปเป็นของตนเอง โดยมีพฤติการณ์ร่วมกันกับโจทก์ในการถอดถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นกรรมการจำเลยที่ 1 เมื่อพิจารณาคำให้การของจำเลยที่ 2 โดยรวมพอถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ให้การและต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อนี้ของจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ
เมื่อเริ่มจัดตั้งจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นผู้นําส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องไว้ตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ทั้งโจทก์มีใบสำคัญรับชําระเงินลงหุ้นซึ่งจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับเงินไว้มาแสดง ข้ออ้างที่ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าหุ้นคืนแล้วก็ไม่ปรากฏการบันทึกเป็นหลักฐาน ทั้งไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 2 มอบหุ้นให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานจนเสร็จแต่โจทก์ทำไม่ได้ตามที่ตกลงกัน นอกจากนี้จำเลยที่ 2 นําสืบว่า จำเลยที่ 2 ได้รับความยินยอมจากโจทก์ในการปรับลดหุ้นของโจทก์ทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 เคารพสิทธิของโจทก์ในการเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง พยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบมีน้ำหนักเชื่อได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งอ้างว่ากระทำโดยไม่ชอบ ทั้งไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตดังที่จำเลยที่ 2 อ้าง
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นคนใดรวมถึงโจทก์ แต่เมื่อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 มีการออกเลขหมายใบหุ้นแล้ว จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการจำเลยที่ 1 แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์หลายครั้งจนเหลือเพียง 500 หุ้น โดยข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์โอนหุ้นของตนให้แก่จำเลยที่ 2 และปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ โจทก์จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 จำนวน 3,000 หุ้น ตามที่มีอยู่เดิม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 โอนหุ้นของโจทก์จำนวน 2,500 หุ้น ไปเป็นของตนเองโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 2 ยังถือหุ้นจำเลยที่ 1 อยู่จำนวน 4,000 หุ้น ซึ่งสามารถโอนให้แก่โจทก์ได้ จึงชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ได้รับโอนหุ้นของจำเลยที่ 2 จำนวน 2,500 หุ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเหมาช่วงและแปลงหนี้: สิทธิเรียกร้องหนี้ที่ค้างชำระ และขอบเขตการพิพากษาของศาล
ตามสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล แต่อยู่ระหว่างการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ซึ่งผู้เริ่มก่อการสามารถดำเนินการก่อหนี้หรือทำสัญญาใด ๆ ได้ยกเว้นกรณีตาม มาตรา 1102 และเมื่อจดทะเบียนบริษัทเสร็จจนมีสภาพเป็นนิติบุคคลแล้ว โจทก์ก็ยอมรับผลแห่งสัญญาโดยเข้าทำงานจนเสร็จ จึงเป็นการให้สัตยาบันแก่สัญญาที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ตามมาตรา 1108 (2) สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ ขณะเดียวกันสัญญาที่ทำขึ้นก็ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง เพราะสัญญาทำขึ้นตรงกับเจตนาของคู่กรณี แม้ตอนแรกโจทก์จะใช้ชื่อจำเลยเป็นตัวแทนในการประมูลงานและทำสัญญาดังกล่าวต่อกรมทรัพยากรธรณี แต่ต่อมาโจทก์จำเลยประสงค์จะแปลงหนี้ใหม่เปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญจากการใช้ชื่อแทนหรือจากตัวการตัวแทนมาเป็นผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง โดยโจทก์และจำเลยต่างยอมรับเอาข้อกำหนดตามสัญญารับจ้างดังกล่าวปฏิบัติต่อกันตลอดมา เป็นต้นว่า การทวงถามให้ชำระหนี้และปฏิบัติการชำระหนี้อันมีลักษณะทำนองเดียวกันกับข้อกำหนดในแบบสัญญาจ้างระหว่างกรมทรัพยากรธรณีกับจำเลย สัญญารับจ้างดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ในรูปของการที่ได้แปลงหนี้มาใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง และมาตรา 351 โดยอนุโลม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) บัญญัติว่า "ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้" อันถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ที่ว่าศาลต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ซึ่งลูกหนี้หรือจำเลยอาจจะยังคงค้างชำระอยู่บางส่วน เจ้าหนี้หรือโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามมูลหนี้ที่ยังค้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 ได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัย และพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) บัญญัติว่า "ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้" อันถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ที่ว่าศาลต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ซึ่งลูกหนี้หรือจำเลยอาจจะยังคงค้างชำระอยู่บางส่วน เจ้าหนี้หรือโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามมูลหนี้ที่ยังค้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 ได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัย และพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5585/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดร่วมกันในสัญญาเหมาอาคาร แม้ผู้ทำสัญญาไม่ได้เป็นนิติบุคคล แต่ผู้ร่วมก่อการและผู้บริหารมีส่วนรู้เห็นและใช้ประโยชน์
แม้ในขณะที่โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับจำเลยที่ 2 ตามเอกสารที่พิพาท จำเลยที่ 1ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3ก็เป็นผู้ร่วมก่อการและกรรมการของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์หลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาแล้ว ประกอบกับจำเลยที่ 3เป็นผู้บริหารโรงแรมร่วมกับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3มีส่วนรู้เห็นร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ด้วยและเมื่อโจทก์ส่งมอบอาคารให้แก่จำเลยทั้งสามในวันรุ่งขึ้นจำเลยทั้งสามก็ได้เปิดดำเนินกิจการโรงแรมในอาคารดังกล่าว จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 ยอมรับเอาสัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของตน จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย สำหรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวอาคาร จำเลยที่ 2เป็นผู้ตกลงกับโจทก์ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนเป็นอาคารโรงแรมเอง เมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารเสร็จจำเลยทั้งสามก็ได้ยอมรับมอบอาคารจากโจทก์ โดยดีและเปิดดำเนินกิจการเป็นโรงแรมเช่นนี้ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาแก้ไข แบบแปลนอาคารดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีซื้อขายไม้, หน้าที่ส่งมอบไม้, การหักหนี้, และสัญญาซื้อขายที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าไม้ที่จำเลยซื้อไปในระหว่างที่โจทก์ร่วมกันออกทุนเข้าหุ้นค้าไม้ไปหลาง ระหว่างเริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำกัด จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญากับโจทก์จริง แต่อ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาส่งไม้ไม่ครบ มิได้ต่อสู้ว่าบริษัทเป็นคู่สัญญา ไม่มีประเด็นว่าหนี้สินตามฟ้องเป็นของบริษัทหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีได้ แม้จะปรากฏต่อมาว่าบริษัทนั้นได้จดทะเบียนแล้วก็ตาม
ผู้ซื้อกับผู้ขายทำสัญญากันให้ผู้ขายส่งไม้ที่ซื้อขายจากจังหวัดกาญจนบุรีถึงร้านค้าของผู้ซื้อที่จังหวัดพระนคร กรณีไม่ต้องด้วยลักษณะขนส่งทรัพย์สินซึ่งได้ซื้อขายกันไปยังที่แห่งอื่นนอกจากสถานที่อันพึงชำระหนี้ ซึ่งผู้ซื้อจะต้องออกค่าขนส่ง
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายไม้กัน 2 ฉบับ ต่างวาระกัน โจทก์ฟ้องเรียกราคาค่าไม้ ซึ่งจำเลยค้างชำระตามสัญญาฉบับแรก จำเลยจะฟ้องแย้งว่าโจทก์ได้รับเงินค่าไม้ล่วงหน้าตามสัญญาฉบับหลังจากจำเลยและผิดสัญญาเป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย ขอหักหนี้กับโจทก์หาได้ไม่ เพราะไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ทั้งโจทก์ก็ยังมีข้อต่อสู้อยู่ (ว่าโจทก์มิได้ผิดสัญญาและจำเลยไม่เสียหาย) จำเลยจึงขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีที่โจทก์ฟ้องมิได้
ผู้ซื้อกับผู้ขายทำสัญญากันให้ผู้ขายส่งไม้ที่ซื้อขายจากจังหวัดกาญจนบุรีถึงร้านค้าของผู้ซื้อที่จังหวัดพระนคร กรณีไม่ต้องด้วยลักษณะขนส่งทรัพย์สินซึ่งได้ซื้อขายกันไปยังที่แห่งอื่นนอกจากสถานที่อันพึงชำระหนี้ ซึ่งผู้ซื้อจะต้องออกค่าขนส่ง
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายไม้กัน 2 ฉบับ ต่างวาระกัน โจทก์ฟ้องเรียกราคาค่าไม้ ซึ่งจำเลยค้างชำระตามสัญญาฉบับแรก จำเลยจะฟ้องแย้งว่าโจทก์ได้รับเงินค่าไม้ล่วงหน้าตามสัญญาฉบับหลังจากจำเลยและผิดสัญญาเป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย ขอหักหนี้กับโจทก์หาได้ไม่ เพราะไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ทั้งโจทก์ก็ยังมีข้อต่อสู้อยู่ (ว่าโจทก์มิได้ผิดสัญญาและจำเลยไม่เสียหาย) จำเลยจึงขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีที่โจทก์ฟ้องมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการ, การเชิดตัวแทน, และอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา แม้ไม่มีการประชุมสามัญประจำปี กรรมการชุดเดิมยังคงมีอำนาจ
ข้อบังคับของบริษัทโจทก์ ข้อ 4 มีความว่า 'เมื่อมีการประชุมสามัญประจำปี'ภายหลังแต่การจดทะเบียนบริษัท ในทุก ๆ ปีต่อไปของบริษัทก็ดี ผู้ที่เป็นกรรมการต้องออกจากตำแหน่งทั้งสิ้น ...' ดังนี้ กรรมการชุดเดิมต้องออกจากตำแหน่งต่อเมื่อมีการประชุมสามัญประจำปีในทุก ๆ ปี ถ้าไม่มีการประชุมสามัญประจำปี กรรมการก็ยังคงเป็นกรรมการของบริษัทอยู่ต่อไป หลังจากตั้งกรรมการชุดเดิมแล้ว บริษัทโจทก์ไม่มีการประชุมสามัญประจำปีกรรมการบริษัทโจทก์ชุดเดิมจึงมีอำนาจลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายฟ้องจำเลยได้
ข้อที่ว่า บริษัทจำเลยเชิด ช. และ ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของบริษัทจำเลย ทำการกู้เงินจากบริษัทโจทก์และบริษัทจำเลยได้รับและถือเอาประโยชน์จากการกู้ยืมรายนี้ย่อมอยู่ในประเด็นว่าบริษัทจำเลยได้กู้เงินโจทก์โดย ช. และส. เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยในสัญญากู้ยืมหรือไม่
การตั้งตัวแทนที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือต้องทำเป็นหนังสือนั้นใช้แก่กรณีที่มีสัญญาตั้งตัวแทนไม่ใช้แก่กรณีเชิดบุคคลเป็นตัวแทน
พยานโจทก์เบิกความว่า การกู้ยืมเงินรายนี้จำเลยให้ดอกเบี้ยร้อยละ2 บาทต่อเดือน ดังนี้ เป็นเพียงเสนอด้วยวาจาเบื้องต้นเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันแน่นอน ก็คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน จึงไม่ฝ่าฝืนอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ข้อที่ว่า บริษัทจำเลยเชิด ช. และ ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของบริษัทจำเลย ทำการกู้เงินจากบริษัทโจทก์และบริษัทจำเลยได้รับและถือเอาประโยชน์จากการกู้ยืมรายนี้ย่อมอยู่ในประเด็นว่าบริษัทจำเลยได้กู้เงินโจทก์โดย ช. และส. เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยในสัญญากู้ยืมหรือไม่
การตั้งตัวแทนที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือต้องทำเป็นหนังสือนั้นใช้แก่กรณีที่มีสัญญาตั้งตัวแทนไม่ใช้แก่กรณีเชิดบุคคลเป็นตัวแทน
พยานโจทก์เบิกความว่า การกู้ยืมเงินรายนี้จำเลยให้ดอกเบี้ยร้อยละ2 บาทต่อเดือน ดังนี้ เป็นเพียงเสนอด้วยวาจาเบื้องต้นเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันแน่นอน ก็คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน จึงไม่ฝ่าฝืนอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการ, การเชิดตัวแทน, และอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา แม้ไม่มีการประชุมสามัญประจำปี กรรมการชุดเดิมยังมีอำนาจ
ข้อบังคับของบริษัทโจทก์ ข้อ 4 มีความว่า "เมื่อมีการประชุมสามัญประจำปีภายหลังแต่การจดทะเบียนบริษัท ในทุก ๆ ปีต่อไปของบริษัทก็ดี ผู้ที่เป็นกรรมการต้องออกจากตำแหน่งทั้งสิ้น ..." ดังนี้ กรรมการชุดเดิมต้องออกจากตำแหน่งต่อเมื่อมีการประชุมสามัญประจำปีในทุก ๆ ปี ถ้าไม่มีการประชุมสามัญประจำปี กรรมการก็ยังคงเป็นกรรมการของบริษัทอยู่ต่อไปหลังจากตั้งกรรมการชุดเดิมแล้ว บริษัทโจทก์ไม่มีการประชุมสามัญประจำปีกรรมการบริษัทโจทก์ชุดเดิมจึงมีอำนาจลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายฟ้องจำเลยได้
ข้อที่ว่า บริษัทจำเลยเชิด ช. และ ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของบริษัทจำเลย ทำการกู้เงินจากบริษัทโจทก์ และบริษัทจำเลยได้รับและถือเอาประโยชน์จากการกู้ยืมรายนี้ ย่อมอยู่ในประเด็นว่าบริษัทจำเลยได้กู้เงินโจทก์โดย ช. และส. เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยในสัญญากู้ยืมหรือไม่
การตั้งตัวแทนที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือต้องทำเป็นหนังสือนั้นใช้แก่กรณีที่มีสัญญาตั้งตัวแทน ไม่ใช้แก่กรณีเชิดบุคคลเป็นตัวแทน
พยานโจทก์เบิกความว่า การกู้ยืมเงินรายนี้จำเลยให้ดอกเบี้ยร้อยละ2 บาทต่อเดือน ดังนี้ เป็นเพียงเสนอด้วยวาจาเบื้องต้นเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันแน่นอน ก็คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน จึงไม่ฝ่าฝืนอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ข้อที่ว่า บริษัทจำเลยเชิด ช. และ ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของบริษัทจำเลย ทำการกู้เงินจากบริษัทโจทก์ และบริษัทจำเลยได้รับและถือเอาประโยชน์จากการกู้ยืมรายนี้ ย่อมอยู่ในประเด็นว่าบริษัทจำเลยได้กู้เงินโจทก์โดย ช. และส. เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยในสัญญากู้ยืมหรือไม่
การตั้งตัวแทนที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือต้องทำเป็นหนังสือนั้นใช้แก่กรณีที่มีสัญญาตั้งตัวแทน ไม่ใช้แก่กรณีเชิดบุคคลเป็นตัวแทน
พยานโจทก์เบิกความว่า การกู้ยืมเงินรายนี้จำเลยให้ดอกเบี้ยร้อยละ2 บาทต่อเดือน ดังนี้ เป็นเพียงเสนอด้วยวาจาเบื้องต้นเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันแน่นอน ก็คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน จึงไม่ฝ่าฝืนอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย