คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 672

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อตรวจลายมือชื่อปลอมจ่ายเช็ค ทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์2ฉบับสั่งจ่ายเงิน54,000บาทและ240,000บาทตามลำดับแล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยสาขา กาญจนบุรี ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ ช. เป็นผู้ช่วยผู้จัดการสาขาและ ป. เป็นสมุห์บัญชีของธนาคารจำเลยมีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจลายมือชื่อของลูกค้าโดยตรงอยู่ตลอดเวลาย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดาหากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือปลอมแต่ ช. และ ป. ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันไว้ตามข้อความในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันในข้อ20ว่าหากผู้ฝากละเลยหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปปลอมลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายและธนาคารหลงเชื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอมนั้นๆไปธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ฝากสำหรับเงินจำนวนที่จ่ายไปนั้นก็ตามแต่ข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจะยกขึ้นอ้างได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือของผู้สั่งจ่ายโดยสุจริตและใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้วจำเลยจะอ้างเอาข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1008วรรคแรกตอนท้ายหาได้ไม่ หนี้อันเกิดจากการละเมิดที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยถือความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกันศาลย่อมกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบลายมือชื่อ แม้มีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์ 2 ฉบับ สั่งจ่ายเงิน 54,000 บาท และ 240,000 บาท ตามลำดับ แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลย สาขากาญจนบุรี ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ช. เป็นผู้ช่วยผู้จัดการสาขา และ ป. เป็นสมุห์บัญชีของธนาคารจำเลย มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจลายมือชื่อของลูกค้าโดยตรงอยู่ตลอดเวลา ย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา หากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยละเอียดรอบคอบ จะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือปลอม แต่ ช. และ ป. ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันไว้ตามข้อความในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวัน ในข้อ 20 ว่า หากผู้ฝากละเลยหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปปลอมลายมือชื่อของผู้สั่งจ่าย และธนาคารหลงเชื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอมนั้น ๆ ไป ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ฝากสำหรับเงินจำนวนที่จ่ายไปนั้นก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจะยกขึ้นอ้างได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือของผู้สั่งจ่ายโดยสุจริตและใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว จำเลยจะอ้างเอาข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008วรรคแรก ตอนท้าย หาได้ไม่ หนี้อันเกิดจากการละเมิดที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยถือความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลย่อมกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อเช็คปลอมหากประมาทเลินเล่อ แม้มีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์ 2 ฉบับ สั่งจ่ายเงิน 54,000 บาท และ 240,000 บาท ตามลำดับ แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลย สาขากาญจนบุรี ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ ช. เป็นผู้ช่วย-ผู้จัดการสาขา และ ป. เป็นสมุห์บัญชีของธนาคารจำเลย มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจลายมือชื่อของลูกค้าโดยตรงอยู่ตลอดเวลา ย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา หากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยละเอียดรอบคอบ จะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือปลอม แต่ ช. และ ป. ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
แม้โจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันไว้ตามข้อความในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวัน ในข้อ 20 ว่า หากผู้ฝากละเลยหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปปลอมลายมือชื่อของผู้สั่งจ่าย และธนาคารหลงเชื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอมนั้น ๆ ไป ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ฝากสำหรับเงินจำนวนที่จ่ายไปนั้นก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจะยกขึ้นอ้างได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือของผู้สั่งจ่ายโดยสุจริตและใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว จำเลยจะอ้างเอาข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 วรรคแรก ตอนท้าย หาได้ไม่
หนี้อันเกิดจากการละเมิดที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ โดยถือความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลย่อมกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อในการตรวจลายมือชื่อเช็คปลอม ต้องรับผิดชอบความเสียหายต่อผู้ฝาก
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์2ฉบับสั่งจ่ายเงิน54,000บาทและ240,000บาทตามลำดับแล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยสาขา กาญจนบุรี ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ ช. เป็นผู้ช่วยผู้จัดการสาขาและ ป. เป็นสมุห์บัญชีของธนาคารจำเลยมีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจลายมือชื่อของลูกค้าโดยตรงอยู่ตลอดเวลาย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดาหากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือปลอมแต่ ช. และ ป. ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันไว้ตามข้อความในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันในข้อ20ว่าหากผู้ฝากละเลยหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปปลอมลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายและธนาคารหลงเชื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอมนั้นๆไปธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ฝากสำหรับเงินจำนวนที่จ่ายไปนั้นก็ตามแต่ข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจะยกขึ้นอ้างได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือของผู้สั่งจ่ายโดยสุจริตและใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้วจำเลยจะอ้างเอาข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1008วรรคแรกตอนท้ายหาได้ไม่ หนี้อันเกิดจากการละเมิดที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยถือความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกันศาลย่อมกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดชอบการจ่ายเช็คปลอม แม้จะอ้างว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาเช็ค
เช็คที่โจทก์เก็บรักษาไว้ที่บ้านก็ดี ที่นำติดตัวไปด้วยโดยเก็บไว้ในกระเป๋าในรถยนต์ก็ดี เป็นการเก็บเช็คและนำเช็คติดตัวไปเพื่อใช้ดังเช่นที่วิญญูชนจะพึงปฏิบัติตามปกติธรรมดา มิได้มีความบกพร่องไม่เก็บเช็คไว้ในที่มั่นคงและปลอดภัยแต่อย่างใด ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อ การที่เจ้าหน้าที่ของธนาคารจำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทไป แม้จะอ้างว่าปราศจากความประมาทเลินเล่อ แต่เมื่อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม ไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ทั้งรูปลักษณะตัวอักษรแตกต่างจากตัวอย่างลายมือชื่อ สามารถเห็นได้โดยไม่ต้องอาศัยคำวินิจฉัยของผู้เชี่ยวชาญ จำเลยจึงหาหลุดพ้นจากความรับผิดไปไม่ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1008 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาฝากเงินประเภทเงินฝากกระแสรายวันซึ่งมีข้อตกลงว่าในการใช้เช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์จะต้องลงลายมือชื่อโจทก์เป็นผู้สั่งจ่าย แต่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ จึงขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยหักไปจากบัญชีของโจทก์เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบเงินฝากไม่ใช่การจำนำ แม้จะยินยอมให้ใช้เป็นประกันหนี้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 747 ในการจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ แม้จำเลยจะสลักหลังจำนำใบรับฝากเงินประจำและยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจำนวน 1,396,774.06 บาท ที่ฝากไว้ตามใบรับฝากเงินประจำของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่ค้างชำระต่อผู้ร้อง แต่เงินฝากประจำจำนวนดังกล่าวที่จำเลยฝากไว้กับผู้ร้องนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมาตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว จำเลยผู้ฝากคงมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินที่ฝากไปได้และผู้ร้องคงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้น จึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงหามีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนำหรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำไม่ ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝาก vs. เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: สิทธิการหักกลบลบหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 ในการจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แม้จำเลยจะสลักหลังจำนำใบรับฝากเงินประจำและยินยอมให้ผู้ร้อง นำเงินจำนวน 1,396,774.06 บาท ที่ฝากไว้ตามใบรับฝากเงินประจำของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่ค้างชำระต่อผู้ร้อง แต่เงินฝากประจำจำนวนดังกล่าวที่จำเลยฝากไว้กับผู้ร้องนั้น ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมาตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว จำเลยผู้ฝากคงมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินที่ฝากไปได้และผู้ร้อง คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้นจึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงหามีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ของจำเลยในทางจำนำหรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำไม่ ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝาก vs. เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: สิทธิหักกลบลบหนี้
แม้จำเลยจะสลักหลังจำนำใบรับฝากเงินประจำให้ผู้ร้องไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีขึ้นในอนาคตและตกลงยอมให้ผู้ร้องหักเงินฝากดังกล่าวชำระหนี้ของจำเลยที่ค้างชำระต่อผู้ร้องได้ แต่เงินฝากประจำที่จำเลยฝากไว้กับผู้ร้องนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว จำเลยผู้ฝากคงมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินฝากไปได้ และผู้ร้องคงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้น จึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6 ผู้ร้องมีสิทธิขอนำเงินฝากประจำของจำเลยมาหักกลบลบหนี้กับจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102แต่ดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ผู้ร้องนำเข้าฝากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยเรื่อยมาจนถึงเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดอกเบี้ยและเงินฝากตามบัญชีกระแสรายวันที่ผู้ร้องนำมาขอหักกลบลบหนี้ จึงมิใช่เป็นเงินที่ผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากเงินเป็นประกันหนี้และการบังคับคดี: สิทธิของผู้ฝากและผู้รับฝากเมื่อมีคำสั่งอายัดทรัพย์
ป.พ.พ. มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินอันเดียวกันกับที่รับฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ เงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้รับฝากซึ่งคงมีแต่หน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวน เมื่อผู้ฝากฝากเงินไว้กับผู้รับฝากและตกลงมอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ที่จะพึงมีต่อผู้รับฝาก แล้วยินยอมให้นำเงินจากบัญชีไปชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกัน หาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของผู้ฝาก อันผู้รับฝากได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่จึงไม่เป็นการจำนำเงินฝาก ส่วนใบรับฝากประจำเป็นเพียงหลักฐานการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากออกให้ผู้ฝากยึดถือไว้ เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝากไม่อยู่ในลักษณะของสิทธิซึ่งมีตราสาร การมอบใบรับฝากประจำให้ผู้รับฝากยึดถือไว้เป็นประกันหนี้จึงมิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 750
เมื่อผู้รับฝากเงินมิใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ (จำนำ) ใช้สิทธิหักเงินของผู้ฝากไปชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างผู้ฝาก หลังจากที่ได้รับหมายอายัดของศาล จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดทรัพย์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคสาม ผู้รับฝากจะอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 287และการกระทำไปโดยสุจริตตามประเพณีปฏิบัติของธนาคาร หรือเป็นการอายัดซ้ำกัน มาเป็นเหตุไม่ต้องนำเงินตามจำนวนที่อายัดไปชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินฝากเพื่อเป็นประกันหนี้ ไม่ใช่การจำนำสิทธิ และการหักเงินหลังมีหมายอายัดเป็นข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินอันเดียวกันกับที่รับฝากผู้รับฝากมีสิทธิจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ เงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้รับฝากซึ่งคงมีแต่หน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวน เมื่อผู้ฝากฝากเงินไว้กับผู้รับฝากและตกลงมอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ที่จะพึงมีต่อผู้รับฝาก แล้วยินยอมให้นำเงินจากบัญชีไปชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกัน หาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของผู้ฝาก อันผู้รับฝากได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่ จึงไม่เป็นการจำนำเงินฝาก ส่วนใบรับฝากประจำเป็นเพียงหลักฐานการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากออกให้ผู้ฝากยึดถือไว้ เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝากไม่อยู่ในลักษณะของสิทธิซึ่งมีตราสารการมอบใบฝากประจำให้ผู้รับฝากยึดถือไว้เป็นประกันหนี้จึงมิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 750 เมื่อผู้รับฝากเงินมิใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ (จำนำ) ใช้สิทธิหักเงินของผู้ฝากไปชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างผู้ฝาก หลังจากที่ได้รับหมายอายัดของศาล จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 วรรคสาม ผู้รับฝากจะอ้าง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 และการกระทำไปโดยสุจริตตามประเพณีปฏิบัติของธนาคาร หรือเป็นการอายัดซ้ำกันมาเป็นเหตุไม่ต้องนำเงินตามจำนวนที่อายัดไปชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่
of 9