พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงฝากเงินเพื่อประกันหนี้ ไม่ใช่การจำนำ แม้มีการสลักหลังจำนำสมุดคู่ฝาก
ธนาคารผู้ร้องค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งซื้อเชื่อสินค้าจากโจทก์ในวงเงิน 50,000 บาท โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบสมุดคู่ฝากประจำจำนวนเงิน 50,000 บาท ที่ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้องและสลักหลังจำนำเงินฝากตามสมุดคู่ฝากดังกล่าวต่อผู้ร้องด้วย แม้ผู้ร้องได้ยินยอมให้นำเงินฝากดังกล่าวเป็นประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ร้องค้ำประกันจำเลยที่ 1 แต่เงินฝากดังกล่าวย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมาตั้งแต่มีการฝากเงิน จำเลยที่ 1 ผู้ฝากคงมีสิทธิที่จะถอนเงินที่ฝากไปได้ผู้ร้องมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้น จึงไม่ใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำแต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1 ตกลงนำเงินฝากในสมุดคู่ฝากประจำมาค้ำประกันต่อผู้ร้องเป็นเพียงแต่ตกลงว่าจะไม่ถอนเงินไปจากบัญชี และหากจำเลยที่ 1 มีหนี้ค้างชำระอยู่เท่าไร จำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารผู้ร้องหักเงินฝากมาชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้เสร็จสิ้นไปทันที ข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 คงเป็นการฝากเงินเพื่อประกันหนี้เท่านั้น ไม่ใช่การจำนำ ทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากเงินฝากที่ผู้ร้องได้นำส่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์ได้ขออายัดไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากสัญญาประนีประนอมยอมความ: การชำระหนี้ที่ซ้ำซ้อนและการเรียกร้องเงินคืน
ในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์จำเลย เงินของจำเลยมิได้ขาดบัญชีไป เพียงแต่โจทก์รับเงินมาแล้วนำเข้าฝากธนาคารในบัญชีของจำเลยโดยมิได้นำมาลงบัญชีสมุด เงินสดรับ เป็นเหตุให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเห็นว่าเงินขาดบัญชีไป จำเลยจึงได้ให้โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยได้ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากโจทก์ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์รับผิดชดใช้เงินนั้น และโจทก์ได้ชดใช้เงินให้แก่จำเลยแล้วทั้งที่ปรากฏว่าเงินจำนวนนี้ยังอยู่ในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลย เงินดังกล่าวแม้จะตก เป็นของธนาคารแต่จำเลยในฐานะเจ้าของบัญชีก็มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินนั้นให้แก่จำเลยเมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยได้รับเงินจำนวนเดียวกันกับเงินที่ฝากธนาคารไปจากโจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วเงินที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารจึงปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้หนี้ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และสิทธิในการเรียกคืนเงินที่นำฝากบัญชีในฐานลาภมิควรได้
ในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์จำเลย โจทก์รับเงินมาแล้วนำเข้าฝากธนาคารในบัญชีของจำเลยโดยมิได้นำมาลงบัญชีสมุดเงินสดรับเป็นเหตุให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเห็นว่าเงินขาดบัญชีไป จำเลยจึงได้ให้โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยได้ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากโจทก์ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์รับผิดชดใช้เงินนั้น แสดงว่าโจทก์ต้องชดใช้เงินให้แก่จำเลยทั้ง ๆ ที่ปรากฏว่าเงินจำนวนนี้ยังอยู่ในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลย เงินดังกล่าวแม้จะตกเป็นของธนาคารแต่จำเลยในฐานะเจ้าของบัญชีก็มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินนั้นให้แก่จำเลยเมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยได้รับเงินจำนวนเดียวกันกับเงินที่ฝากธนาคารไปจากโจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วเงินที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารจึงปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และความรับผิดของบริษัทต่อการกระทำของกรรมการ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จะกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกรอบกำหนดกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,27และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2528 ข้อ 2(2) ข้อ 3(1) การที่จำเลยที่ 2ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับฝากเงินจากโจทก์แล้วมิได้ออกเอกสารการกู้ยืมเงินหรือออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการพัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราของจำเลยที่ 1 ประทับไว้ จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ทั้งเป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามบทกฎหมายและประกาศดังกล่าวจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ตามพฤติการณ์ที่พนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์ณ สำนักงานของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่าการรับฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1ที่กระทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โดยรับฝากเงินแล้วออกเป็นเช็คให้เช่นนี้ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินและรู้เห็นเอง โดยจำเลยที่ 1เชิดจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการในการรับฝากเงินและออกเช็คให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ การกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 แล้วยกเสีย มิใช่กรณีที่ศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งซึ่งจะต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 แต่จะต้องบังคับตามมาตรา 161 ซึ่งศาลใช้ดุลพินิจไม่คืนค่าธรรมเนียมฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากเงินเมื่อเงินสูญหาย แม้เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 672
จำเลยรับฝากเงินจากโจทก์ จำเลยผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ ฉะนั้น แม้การรับฝากเงินจะไม่มีบำเหน็จค่าฝากและจำเลยจะได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของจำเลยเองก็ตาม เมื่อปรากฏว่าเงินซึ่งฝากนั้นสูญหายเพราะถูกคนร้ายลักไป แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งไม่อาจป้องกันได้ จำเลยก็ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนที่รับฝากไว้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากเงินกรณีเงินสูญหาย แม้ไม่มีบำเหน็จและใช้ความระมัดระวังแล้ว
จำเลยรับฝากเงินจากโจทก์ จำเลยผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ แม้ว่าการรับฝากเงินรายนี้จะไม่มีบำเหน็จค่าฝาก และจำเลยจะได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของจำเลยก็ตาม เมื่อปรากฏว่าเงินซึ่งฝากนั้นสูญหายเพราะถูกคนร้ายลักไปแม้จะเป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งจำเลยไม่อาจป้องกันได้ จำเลยก็ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนที่จำเลยรับฝากไว้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินและการรับผิดของผู้รับฝากเมื่อทรัพย์สินสูญหาย แม้เหตุสุดวิสัย
จำเลยรับฝากเงินจากโจทก์ จำเลยผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ แม้ว่าการรับฝากเงินรายนี้จะไม่มีบำเหน็จค่าฝาก และจำเลยจะได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของจำเลยก็ตาม เมื่อปรากฏว่าเงินซึ่งฝากนั้นสูญหายเพราะถูกคนร้ายลักไปแม้จะเป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งจำเลยไม่อาจป้องกันได้ จำเลยก็ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนที่จำเลยรับฝากไว้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากไม่ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบลายมือชื่อ แม้มีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์สั่งจ่ายเงิน 100,000 บาท แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ จำเลยที่ 1 ผู้ช่วยสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 2 ผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ตรวจลายมือชื่อลูกค้าอยู่เป็นประจำย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา ถ้าใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังจึงไม่ทราบและอนุมัติให้จ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้จะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ตามหนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวันก็ตาม จำเลยก็จะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373
หนี้ละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดได้
หนี้ละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากไม่ระมัดระวังตรวจลายมือชื่อ แม้ผู้เสียหายก็ต้องรับผิดด้วยหากประมาท
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์สั่งจ่ายเงิน100,000 บาท แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ จำเลยที่ 1 ผู้ช่วยสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 2ผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ตรวจลายมือชื่อลูกค้าอยู่ประจำย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา ถ้าใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอมแต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังจึงไม่ทราบและอนุมัติให้จ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้จะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ตามหนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวันก็ตาม จำเลยก็จะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 หนี้ละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากละเลยการตรวจสอบลายมือชื่ออย่างรอบคอบ แม้มีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์สั่งจ่ายเงิน100,000 บาท แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ จำเลยที่ 1 ผู้ช่วยสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 2ผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ตรวจลายมือชื่อลูกค้าอยู่เป็นประจำย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา ถ้าใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังจึงไม่ทราบและอนุมัติให้จ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้จะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ตามหนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวันก็ตาม จำเลยก็จะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 หนี้ละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดได้.