พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบียดบังเงินที่รับมอบหมายซื้อของ ยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
การที่จำเลยรับมอบเงินจากผู้เสียหายเพื่อซื้อข้าวเปลือกและปอฟอกให้ผู้เสียหายเช่นนี้. แม้จะไม่มีกำหนดเวลาว่าจำเลยจะต้องซื้อเมื่อใด. ก็ไม่มีลักษณะเป็นการฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 และ 672. เพราะไม่ใช่เป็นการมอบเงินให้เก็บรักษาไว้ในอารักขาของจำเลยแล้วจำเลยจะคืนให้. จริงอยู่จำเลยอาจนำธนบัตรฉบับอื่นหรือเหรียญกษาปณ์อันอื่นไปซื้อได้ แต่นั่นเป็นเพราะธนบัตรและเหรียญกษาปณ์เป็นเงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายด้วยกันตามพระราชบัญญัติเงินตราฯ. จะนำธนบัตรฉบับไหนไปซื้อ ก็สมประโยชน์ของผู้เสียหาย. และย่อมไม่ใช่การกระทำโดยทุจริต.ด้วยเหตุนี้เงินจำนวน 15,000 บาท ที่ผู้เสียหายมอบให้จำเลยครอบครอง จึงยังเป็นของผู้เสียหายอยู่จนกว่าจำเลยจะได้ซื้อข้าวเปลือกและปอฟอกให้ผู้เสียหายแล้ว. อีกประการหนึ่งการที่จำเลยไม่นำเงินของผู้เสียหายที่ตนครอบครองอยู่ไปซื้อข้าวเปลือกและปอฟอกตามที่ได้รับมอบหมาย. บางกรณีอาจเป็นเพียงผิดสัญญาในทางแพ่งได้ก็จริง แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่เป็นการเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต. หากเป็นการเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตแล้ว ย่อมเป็นความผิดฐานยักยอก. โดยเฉพาะคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวข้างต้นว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกเงินจำนวนนี้ไว้เป็นประโยชน์ของจำเลยเอง. จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2511 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากให้ทายาทเมื่อผู้ฝากเสียชีวิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 673 ผู้ฝากเงินจะถอนเงินคืนก่อนถึงเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้ และธนาคารผู้รับฝากจะส่งคืนเงินก่อนถึงเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกัน แต่เมื่อผู้ฝากเงินตาม ธนาคารมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 665 วรรค 2
ธนาคารมีหน้าที่จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการอาชีวะของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659
ผู้จัดการมรดกของผู้ฝากเงินตามคำพิพากษาของศาลขอถอนเงินของผู้ฝากคืนจากธนาคาร ธนาคารขอผัดคืนเงินนั้นใน 1 เดือน เพื่อให้คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกขาดอายุอุทธรณ์ โดยธนาคารมีเงินพร้อมที่จะคืนให้ ถือได้ว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 เป็นการใช้ความระมัดระวังตามหน้าที่ สมควรแก่กรณีโดยสุจริต ไม่ได้โต้แย้งสิทธิของผู้จัดการมรดก จึงไม่เป็นการผิดสัญญาหรือเป็นการกระทำละเมิดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาของศาลมีอำนาจจัดการมรดกได้ตามกฎหมาย คำพิพากษาตั้งผู้จัดการมรดกมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้น ไม่ใช่คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล ไม่เข้าอยู่ในข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 (1) (2) และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (1), 245, 274 จึงไม่ผูกพันธนาคารผู้รับฝากเงินของเจ้ามรดกซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
ธนาคารมีหน้าที่จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการอาชีวะของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659
ผู้จัดการมรดกของผู้ฝากเงินตามคำพิพากษาของศาลขอถอนเงินของผู้ฝากคืนจากธนาคาร ธนาคารขอผัดคืนเงินนั้นใน 1 เดือน เพื่อให้คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกขาดอายุอุทธรณ์ โดยธนาคารมีเงินพร้อมที่จะคืนให้ ถือได้ว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 เป็นการใช้ความระมัดระวังตามหน้าที่ สมควรแก่กรณีโดยสุจริต ไม่ได้โต้แย้งสิทธิของผู้จัดการมรดก จึงไม่เป็นการผิดสัญญาหรือเป็นการกระทำละเมิดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาของศาลมีอำนาจจัดการมรดกได้ตามกฎหมาย คำพิพากษาตั้งผู้จัดการมรดกมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้น ไม่ใช่คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล ไม่เข้าอยู่ในข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 (1) (2) และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (1), 245, 274 จึงไม่ผูกพันธนาคารผู้รับฝากเงินของเจ้ามรดกซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากสัญญาฝากทรัพย์ ตัวการตัวแทน ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินเลยถึงตัวการที่ไม่เคยอุทธรณ์
ฟ้องโจทก์กล่าวไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในกรมสรรพสามิตต์ จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกการเงิน จำเลยที่ 2 ได้รับฝากเงินของโจทก์ไว้ในหน้าที่ราชการ แล้วไม่คืนให้โจทก์ จึงขอให้จำเลยทั้ง 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวนนี้ ดังนี้ เป็นการหาเรื่องผิดสัญญา ไม่ใช่ละเมิด และเป็นการฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นตัวการ จำเลยที่ 2 ในฐานเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 จึงต้องนำ ป.ม.แพ่งฯมาตรา 820 มาใช้บังคับ คือจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยถือว่าเป็นเรื่องละเมิด ซึ่งไม่ตรงกับท้องเรื่องจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าพอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ผู้เดียวศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง เลยไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ เป็นการขัดกับ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 245 เพราะการชำระหนี้เช่นนี้ไม่ใช่ว่าไม่อาจแบ่งแยกได้อันจะเป็นกรณีเข้าอนุมาตรา 1 แห่งมาตรา 245
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยถือว่าเป็นเรื่องละเมิด ซึ่งไม่ตรงกับท้องเรื่องจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าพอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ผู้เดียวศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง เลยไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ เป็นการขัดกับ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 245 เพราะการชำระหนี้เช่นนี้ไม่ใช่ว่าไม่อาจแบ่งแยกได้อันจะเป็นกรณีเข้าอนุมาตรา 1 แห่งมาตรา 245
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของข้าราชการฐานรับฝากเงินและละเมิดสัญญา การแบ่งแยกความรับผิดระหว่างตัวการและตัวแทน
ฟ้องโจทก์กล่าวไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกการเงิน จำเลยที่ 2 ได้รับฝากเงินของโจทก์ไว้ในหน้าที่ราชการ แล้วไม่คืนให้โจทก์ จึงขอให้จำเลยทั้ง2ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวนนี้ ดังนี้ เป็นการหาเรื่องผิดสัญญา ไม่ใช่ละเมิดและเป็นการฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นตัวการ จำเลยที่ 2 ในฐานเป็นตัวแทนจำเลยที่1 จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 มาใช้บังคับ คือจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยถือว่าเป็นเรื่องละเมิด ซึ่งไม่ตรงกับท้องเรื่องจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าพอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ผู้เดียวศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง เลยไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ เป็นการขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 เพราะการชำระหนี้เช่นนี้ไม่ใช่ว่าไม่อาจแบ่งแยกได้อันจะเป็นกรณีเข้าอนุมาตรา 1 แห่งมาตรา245
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยถือว่าเป็นเรื่องละเมิด ซึ่งไม่ตรงกับท้องเรื่องจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าพอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ผู้เดียวศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง เลยไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ เป็นการขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 เพราะการชำระหนี้เช่นนี้ไม่ใช่ว่าไม่อาจแบ่งแยกได้อันจะเป็นกรณีเข้าอนุมาตรา 1 แห่งมาตรา245
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกผสม: สิทธิทายาท, การจัดการทรัพย์สิน, เงินกู้, และการแบ่งมรดก
พ่อตาได้ยกครัวมาอยู่ร่วมเป็นครอบครัวกับลูกสาวลูกเขย จนลูกสาวตายลงแล้วได้ยกลูกสาวคนเล็กให้เป็นภริยาลูกเขยอีก ส่วนตนก็ยังคงอยู่ร่วมเป็นครัวเดียวกับลูกเขยต่อมาโดยไม่ขอแบ่งหรือฟ้องขอแบ่งมฤดกของลูกสาวคนแรกเกิน 1 ปี ก็ยังถือไม่ได้ว่าพ่อตาได้ทอดทิ้งไม่ฟ้องร้องว่ากล่าวขอแบ่งมรดกของลูกสาวคนแรกในอายุความล่วงเลยเกิน 1 ปี เพราะพฤตติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าพ่อตาได้เป็นเจ้าของในทรัพย์สินร่วมกับลูกเขยอยู่ด้วย
ทายาทด้วยกันบางคนขอให้ทนายความเข้ามาจัดการเกี่ยวข้องในเรื่องทรัพย์มรดกโดยลำพัง ถือว่าทนายนั้นไม่ใช่ผู้จัดการมรดกอันจะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีจัดการและปันมรดกแต่มีฐานะเพียงแต่เป็นผู้เข้ามาจัดการทรัพย์สิน แทนทายาทผู้ที่ขอให้เข้ามาจัดการเท่านั้น
ทายาทด้วยกันทำความตกลงกนเองให้ทายาทคนหนึ่งเอาที่ดินของกองมรดกเป็นของตนโดยเอาเงินเข้ากองมรดก จำนวนหนึ่ง ดังนี้เรียกว่าเป็นการประมูลระหว่างทายาท มิใช่เป็นการขายทรัพย์มรดกให้พ้นจากการเป็นทรัพย์มรดำไปได้ หากเป็นการแบ่งมรดกกันเองฉะนั้นที่ดินนั้นยังคงเป็นทรัพย์สินในกองมรดกอยู่ ส่วนเงินจำนวนหนึ่งที่ทายาทผู้นั้นชำระในการประมูลไม่กลายเป็นทรัพย์สินกองมรดกฉะนั้นถ้าในภายหลังเกิดมี การแบ่งที่ดินแปลงนี้กันใหม่ ทายาทผู้ชำระราคาในการประมูลไปแล้วย่อมมีสิทธิหักเงินจำนวนที่ชำระไปแล้วคืนได้
ถ้าได้มีการขายทรัพย์สินกองมรดกให้แก่บุคคลภายนอกแล้วและไม่ปรากฎว่ามีเหตุไม่สุจริตในการขาย ก็ควรต้องถือเอาจำนวนเงินที่ขายได้นั้นเป็นกองมรดกโดยหักค่าใช้จ่ายในการนั้น ๆ ออกได้
ชายหญิงอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภริยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หญิงมอบเงินให้กับชายเพื่อให้หาผลประโยชน์ให้ชายจึงเอาเงินนั้นไปให้คนอื่นกู้ ดังนี้หาใช่เป็นการตั้งชายเป็นตัวแทนไม่ กรณีดังนี้ชายต้องรับผิดคืนเงินนั้นให้หญิงโดยต้องถือว่า ชายเป็นผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิและความรับผิดต่อผู้กู้โดยตรง
เงินทีหญิงมอบให้ชายไว้นั้น ก็เท่ากับเงินฝากซึ่งผู้รับฝากจำต้องคืนให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 672
จำเลยให้การว่าสินสมรสไม่มีตามบัญชีท้ายฟ้องโจทก์ บางสิ่งก็ได้มาภายหลังที่ภรรยาตายแล้ว ซึ่งจำเลยนำสืบเวลาพิจารณาดังนี้ไม่เป็นการแสดงให้ชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ในราย การใดจำเลยจะกล่าวเอาเองว่าจะนำสืบในเวลาพิจารณานั้นย่อมไม่ได้
ทายาทด้วยกันบางคนขอให้ทนายความเข้ามาจัดการเกี่ยวข้องในเรื่องทรัพย์มรดกโดยลำพัง ถือว่าทนายนั้นไม่ใช่ผู้จัดการมรดกอันจะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีจัดการและปันมรดกแต่มีฐานะเพียงแต่เป็นผู้เข้ามาจัดการทรัพย์สิน แทนทายาทผู้ที่ขอให้เข้ามาจัดการเท่านั้น
ทายาทด้วยกันทำความตกลงกนเองให้ทายาทคนหนึ่งเอาที่ดินของกองมรดกเป็นของตนโดยเอาเงินเข้ากองมรดก จำนวนหนึ่ง ดังนี้เรียกว่าเป็นการประมูลระหว่างทายาท มิใช่เป็นการขายทรัพย์มรดกให้พ้นจากการเป็นทรัพย์มรดำไปได้ หากเป็นการแบ่งมรดกกันเองฉะนั้นที่ดินนั้นยังคงเป็นทรัพย์สินในกองมรดกอยู่ ส่วนเงินจำนวนหนึ่งที่ทายาทผู้นั้นชำระในการประมูลไม่กลายเป็นทรัพย์สินกองมรดกฉะนั้นถ้าในภายหลังเกิดมี การแบ่งที่ดินแปลงนี้กันใหม่ ทายาทผู้ชำระราคาในการประมูลไปแล้วย่อมมีสิทธิหักเงินจำนวนที่ชำระไปแล้วคืนได้
ถ้าได้มีการขายทรัพย์สินกองมรดกให้แก่บุคคลภายนอกแล้วและไม่ปรากฎว่ามีเหตุไม่สุจริตในการขาย ก็ควรต้องถือเอาจำนวนเงินที่ขายได้นั้นเป็นกองมรดกโดยหักค่าใช้จ่ายในการนั้น ๆ ออกได้
ชายหญิงอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภริยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หญิงมอบเงินให้กับชายเพื่อให้หาผลประโยชน์ให้ชายจึงเอาเงินนั้นไปให้คนอื่นกู้ ดังนี้หาใช่เป็นการตั้งชายเป็นตัวแทนไม่ กรณีดังนี้ชายต้องรับผิดคืนเงินนั้นให้หญิงโดยต้องถือว่า ชายเป็นผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิและความรับผิดต่อผู้กู้โดยตรง
เงินทีหญิงมอบให้ชายไว้นั้น ก็เท่ากับเงินฝากซึ่งผู้รับฝากจำต้องคืนให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 672
จำเลยให้การว่าสินสมรสไม่มีตามบัญชีท้ายฟ้องโจทก์ บางสิ่งก็ได้มาภายหลังที่ภรรยาตายแล้ว ซึ่งจำเลยนำสืบเวลาพิจารณาดังนี้ไม่เป็นการแสดงให้ชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ในราย การใดจำเลยจะกล่าวเอาเองว่าจะนำสืบในเวลาพิจารณานั้นย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดก, การแบ่งทรัพย์สิน, สิทธิในกองมรดก, การให้กู้, สัญญาประมูล
พ่อตาได้ยกครัวมาอยู่ร่วมเป็นครอบครัวกับลูกสาวลูกเขย จนลูกสาวตายลงแล้วได้ยกลูกสาวคนเล็กให้เป็นภริยาลูกเขยอีก ส่วนตนก็ยังคงอยู่ร่วม เป็นครัวเดียวกับลูกเขยต่อมา โดยไม่ขอแบ่ง หรือฟ้องขอแบ่งมรดกของลูกสาวคนแรกเกิน 1 ปี ก็ยังถือไม่ได้ว่า พ่อตาได้ทอดทิ้งไม่ฟ้องร้องว่ากล่าวขอแบ่งมรดก ของลูกสาวคนแรกในอายุความล่วงเลยเกิน 1 ปี เพราะพฤติการณ์ดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าพ่อตาได้เป็นเจ้าของในทรัพย์สินร่วมกับลูกเขยอยู่ด้วย
ทายาทด้วยกันบางคนขอให้ทนายความเข้ามาจัดการเกี่ยวข้องในเรื่องทรัพย์มรดกโดยลำพัง ถือว่าทนายนั้นไม่ใช่ผู้จัดการมรดกอันจะมีอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีจัดการและปันมรดกแต่มีฐานะเพียงแต่เป็นผู้เข้ามาจัดการทรัพย์สิน แทนทายาทผู้ที่ขอให้เข้ามาจัดการเท่านั้น
ทายาทด้วยกันทำความตกลงกันเองให้ทายาทคนหนึ่งเอาที่ดินของกองมรดกเป็นของตนโดยให้เอาเงินเข้ากองมรดกจำนวนหนึ่ง ดังนี้เรียกว่าเป็นการประมูลระหว่างทายาท มิใช่เป็นการขายทรัพย์มรดกให้พ้นจากการเป็นทรัพย์มรดกไปได้ หากเป็นการแบ่งมรดกกันเอง ฉะนั้นที่ดินนั้นยังคงเป็นทรัพย์สินในกองมรดกอยู่ ส่วนเงินจำนวนหนึ่งที่ทายาทผู้นั้นชำระในการประมูล ไม่กลายเป็นทรัพย์สินกองมรดกฉะนั้นถ้าในภายหลังเกิดมีการแบ่งที่ดินแปลงนี้กันใหม่ ทายาทผู้ชำระราคาในการประมูลไปแล้ว ย่อมมีสิทธิหักเงินจำนวน ที่ชำระไปแล้วคืนได้
ถ้าได้มีการขายทรัพย์สินกองมรดกให้แก่บุคคลภายนอกแล้วและไม่ปรากฏว่ามีเหตุไม่สุจริตในการขาย ก็ควรต้องถือเอาจำนวนเงินที่ขายได้นั้นเป็นกองมรดกโดยหักค่าใช้จ่ายในการนั้นๆออกได้
ชายหญิงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หญิงมอบเงินให้กับชาย เพื่อให้หาผลประโยชน์ให้ ชายจึงเอาเงินนั้นไปให้คนอื่นกู้ดังนี้ หาใช่เป็นการตั้งชายเป็นตัวแทนไม่ กรณีดังนี้ชายต้องรับผิดคืนเงินนั้นให้หญิงโดยต้องถือว่า ชายเป็นผู้ให้กู้ ย่อมมีสิทธิและความรับผิดต่อผู้กู้โดยตรง
เงินที่หญิงมอบให้ชายไว้นั้น ก็เท่ากับเงินฝากซึ่งผู้รับฝาก จำต้องคืนให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672
จำเลยให้การว่า สินสมรสไม่มีตามบัญชีท้ายฟ้องโจทก์ บางสิ่งก็ได้มาภายหลังที่ภรรยาตายแล้ว ซึ่งจำเลยนำสืบเวลาพิจารณา ดังนี้ ไม่เป็นการแสดงให้ชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ในรายการใด จำเลยจะกล่าวเอาเองว่าจะนำสืบในเวลาพิจารณานั้นย่อมไม่ได้
ทายาทด้วยกันบางคนขอให้ทนายความเข้ามาจัดการเกี่ยวข้องในเรื่องทรัพย์มรดกโดยลำพัง ถือว่าทนายนั้นไม่ใช่ผู้จัดการมรดกอันจะมีอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีจัดการและปันมรดกแต่มีฐานะเพียงแต่เป็นผู้เข้ามาจัดการทรัพย์สิน แทนทายาทผู้ที่ขอให้เข้ามาจัดการเท่านั้น
ทายาทด้วยกันทำความตกลงกันเองให้ทายาทคนหนึ่งเอาที่ดินของกองมรดกเป็นของตนโดยให้เอาเงินเข้ากองมรดกจำนวนหนึ่ง ดังนี้เรียกว่าเป็นการประมูลระหว่างทายาท มิใช่เป็นการขายทรัพย์มรดกให้พ้นจากการเป็นทรัพย์มรดกไปได้ หากเป็นการแบ่งมรดกกันเอง ฉะนั้นที่ดินนั้นยังคงเป็นทรัพย์สินในกองมรดกอยู่ ส่วนเงินจำนวนหนึ่งที่ทายาทผู้นั้นชำระในการประมูล ไม่กลายเป็นทรัพย์สินกองมรดกฉะนั้นถ้าในภายหลังเกิดมีการแบ่งที่ดินแปลงนี้กันใหม่ ทายาทผู้ชำระราคาในการประมูลไปแล้ว ย่อมมีสิทธิหักเงินจำนวน ที่ชำระไปแล้วคืนได้
ถ้าได้มีการขายทรัพย์สินกองมรดกให้แก่บุคคลภายนอกแล้วและไม่ปรากฏว่ามีเหตุไม่สุจริตในการขาย ก็ควรต้องถือเอาจำนวนเงินที่ขายได้นั้นเป็นกองมรดกโดยหักค่าใช้จ่ายในการนั้นๆออกได้
ชายหญิงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หญิงมอบเงินให้กับชาย เพื่อให้หาผลประโยชน์ให้ ชายจึงเอาเงินนั้นไปให้คนอื่นกู้ดังนี้ หาใช่เป็นการตั้งชายเป็นตัวแทนไม่ กรณีดังนี้ชายต้องรับผิดคืนเงินนั้นให้หญิงโดยต้องถือว่า ชายเป็นผู้ให้กู้ ย่อมมีสิทธิและความรับผิดต่อผู้กู้โดยตรง
เงินที่หญิงมอบให้ชายไว้นั้น ก็เท่ากับเงินฝากซึ่งผู้รับฝาก จำต้องคืนให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672
จำเลยให้การว่า สินสมรสไม่มีตามบัญชีท้ายฟ้องโจทก์ บางสิ่งก็ได้มาภายหลังที่ภรรยาตายแล้ว ซึ่งจำเลยนำสืบเวลาพิจารณา ดังนี้ ไม่เป็นการแสดงให้ชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ในรายการใด จำเลยจะกล่าวเอาเองว่าจะนำสืบในเวลาพิจารณานั้นย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์: การรับฝากแล้วนำไปจำนำมีมูลอาญา แม้มีการคืนทรัพย์บางส่วน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับฝากของแล้วเอาไปจำนำเสียโจทก์จะเอาคืนจำเลยไม่มีคืนให้ และโจทก์ได้อ้างตัวเองเบิกความเป็นพะยานรับรองฟ้องนั้นแล้ว เพียงเท่านั้นเรียกได้ว่าคดีมีมูลทางอาญา พอที่จะประทับฟ้องดำเนินการพิจารณาต่อไปได้