คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 87 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยมิชอบตามมาตรา 71(1) และ 87 ทวิ(7) แห่งประมวลรัษฎากร
บทบัญญัติตามมาตรา 87 ทวิ(7) เดิม แห่งประมวลรัษฎากรเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ประกอบการค้าชำระภาษีการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ยื่นแบบแสดงรายการค้าในเดือนที่ล่วงมาแล้วซึ่งหมายถึงในเดือนที่ถึงกำหนดชำระแล้ว เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบพบภายหลัง จึงมีอำนาจกำหนดรายรับโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 87 ทวิ(7) เพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้าในเดือนที่ล่วงมาแล้วหรือที่ถึงกำหนด ชำระแล้วนั้นได้ หาใช่เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าในเดือนที่ผู้ประกอบการค้ายังไม่ถึงเวลาที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการค้าไม่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่า เจ้าพนักงานได้กำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ในวันที่ 29 มีนาคม 2526 โดยให้จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้า แสดงรายรับไม่ต่ำกว่าเดือนละ 87,000 บาท ตั้งแต่เดือนเมษายน 2526 เป็นต้นไป จึงเป็นการกำหนดรายรับขั้นต่ำ ไว้ล่วงหน้าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าให้จำเลยชำระเป็นการขัดต่อมาตรา 87 ทวิ(7) ประกอบกับในขณะเกิดเหตุคดีนี้พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 25 ที่บัญญัติเพิ่มเติมมาตรา 86 เบญจ ยังไม่ใช้บังคับซึ่งตามมาตรา 86 เบญจเป็นเรื่องให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีการค้าของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้หาใช่เป็นเรื่องที่ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไม่ การที่ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ประกอบการค้ามา ตรวจสอบไต่สวนได้ตามมาตรา 87 ตรี(เดิม)แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อผู้ประกอบการค้าไม่ปฎิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมิน ตามมาตรา 87(3) แต่เจ้าพนักงานประเมินต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 87 ทวิ(7) เมื่อปรากฏว่า เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยอาศัยยอดรายรับขั้นต่ำที่กำหนดล่วงหน้า โดยมิชอบดังกล่าว เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าที่จำเลยจะต้องชำระ จึงมิใช่เป็นการปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 87 ทวิ(7) การประเมินของเจ้าพนักงานจึงไม่ชอบ ดังนั้น การที่จำเลยได้รับแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดไว้ว่าถูกต้องเนื่องจากการกำหนดรายรับขั้นต่ำของเจ้าพนักงานประเมินกระทำไปโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่จำต้อง โต้แย้งคัดค้าน และอุทธรณ์การประเมินแต่อย่างใด ประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) ซึ่งบัญญัติว่า "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ยื่นรายการ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้หรือมิได้ทำบัญชีหรือทำไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 และมาตรา 68 ทวิหรือไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ถ้ายอดรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายดังกล่าวไม่ปรากฎ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยอาศัยเทียบเคียงกับยอดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนนั้นขึ้นไป ถ้ายอดในรอบระยะบัญชีก่อนไม่ปรากฎ ให้ประเมินได้ตามที่เห็นสมควร" ซึ่งตามมาตราดังกล่าวหาได้กำหนดให้นำมาตรา 87 ทวิ(7) มาใช้บังคับด้วยไม่ ทั้งรายรับขั้นต่ำของจำเลยตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดไว้เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินให้ถือเอารายรับขั้นต่ำที่ได้กำหนดไว้สำหรับกิจการของจำเลยเพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้ามาเป็นยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ นั้น ไม่ต้องด้วย มาตรา 71(1) จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5817/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรายรับขั้นต่ำล่วงหน้าของเจ้าพนักงานประเมินก่อนยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นอำนาจที่มิชอบ การประเมินภาษีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่มาตรา 87 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากรให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินนั้น เป็นการให้อำนาจกำหนดสำหรับภาษีที่ถึงกำหนดชำระแล้วเท่านั้น มิใช่ให้อำนาจประเมินภาษีโดยกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้า การที่เจ้าพนักงานกำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์ครั้งแรกล่วงหน้าแล้ว แม้ต่อมาเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ เจ้าพนักงานได้กำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์ใหม่ ก็เป็นกรณีที่เกิดจากการโต้แย้งของโจทก์เกี่ยวกับจำนวนรายรับที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเดิมนั่นเอง อันเป็นเรื่องของการต่อรองสำหรับจำนวนที่กำหนดไว้เดิม ซึ่งในหนังสือแจ้งกำหนดรายรับขั้นต่ำใหม่ก็ได้อ้างถึงหนังสือที่แจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำที่กำหนดครั้งก่อน จึงมีผลเป็นการกำหนดรายรับขั้นต่ำล่วงหน้าเช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5817/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าล่วงหน้าขัดต่อกฎหมาย หากเจ้าพนักงานมิได้ตรวจสอบความถูกต้องของแบบแสดงรายการเสียภาษี
โจทก์ประกอบกิจการค้าประเภทการขายของชนิด 1(ก) ผลิตสังกะสีแท็งก์น้ำ ซึ่งไม่อยู่ในข่ายต้องกำหนดรายรับขั้นต่ำตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจแห่งประมวลรัษฎากร และภาษีการค้าในช่วงเวลาพิพาทส่วนใหญ่ (ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2527 ถึงเดือนเมษายน 2529) เป็นภาษีการค้าที่ถึงกำหนดก่อนที่มาตรา 86 เบญจ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 25ใช้บังคับ ตามบทบัญญัติมาตรา 87(ทวิ) ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าสำหรับภาษีที่ถึงกำหนดชำระแล้วเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 เดือนละไม่ต่ำกว่า 80,000 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2527เป็นต้นไป เป็นการกำหนดรายรับล่วงหน้าก่อนที่จะถึงกำหนดที่โจทก์จะต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้า โจทก์ยื่นคัดค้าน เจ้าพนักงานจึงกำหนดรายรับขั้นต่ำใหม่เมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2528 เป็นเดือนละไม่ต่ำกว่า 67,000 บาทโดยให้มีผลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไป และกำหนดใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2529 เป็นเดือนละไม่ต่ำกว่า 51,000บาท โดยให้มีผลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2528 เป็นต้นไป การกำหนดรายรับขั้นต่ำใหม่สองครั้งหลังนี้แม้จะเป็นการกำหนดหลังจากเวลาที่ต้องยื่นแบบสำหรับเดือนพฤศจิกายน 2527 ถึงเดือนธันวาคม 2528ได้ผ่านพ้นไปแล้วก็เป็นกรณีที่เกิดจากการโต้แย้งของโจทก์เกี่ยวกับจำนวนรายรับที่กำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง การกำหนดรายรับขั้นต่ำในแต่ละช่วงของเจ้าพนักงานจึงเป็นการกำหนดไว้เป็นการล่วงหน้าทั้งสิ้น อันเป็นการกำหนดที่ไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายการที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าของโจทก์เพราะโจทก์ยื่นแบบแสดงรายรับเพื่อเสียภาษีการค้าไว้ต่ำกว่ารายรับขั้นต่ำที่กำหนดไว้แต่ละช่วง มิใช่เกิดจากการตรวจสอบแล้วพบว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดอย่างอื่นซึ่งทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยชอบด้วยกฎหมาย การมีหนี้สินล้นพ้นตัว และการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ฟ้องโจทก์บรรยายว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยแสดงแบบยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง และยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ต่ำกว่ายอดรายรับขั้นต่ำซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้าได้กำหนดไว้ เจ้าพนักงานประเมินจึงได้หมายเรียกจำเลยให้นำบัญชีพร้อมเอกสารประกอบการลงบัญชีปี 2515 ถึง 2523มา ตรวจสอบภาษี จำเลยไม่มาพบและไม่นำบัญชีมาให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 87,87 ทวิแห่ง ป. รัษฎากร ทำการประเมินเรียกเก็บภาษีใหม่พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 5,469,805.71 บาทจำเลยไม่มีทรัพย์ใดที่จะยึดมาชำระหนี้ได้ โจทก์ได้ทวงถามจำเลยให้ชำระแล้วสองครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ส่วนรายละเอียดต่าง ๆตามฎีกาของจำเลยนั้น โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมายืนยันว่าจำเลยได้รับหมายเรียกจากเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์และโจทก์ได้แจ้งกำหนดรายรับขั้นต่ำให้จำเลยทราบแล้ว พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อ ส่วนจำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีจำเลยโดยชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 19,21 และจำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีโจทก์ตามการประเมินดังกล่าว การประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2519 เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งจำนวนเงินภาษีที่ประเมินไปยังจำเลยแล้ว อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 นับแต่วันที่แจ้งดังกล่าวจนถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปีสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ค่าภาษีอากรปี 2519 จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5511-5512/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลซ้ำซ้อนเกิน 5 ปี และการประเมินภาษีการค้าเกิน 10 ปี หลังการยื่นแบบแสดงรายการ
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกโจทก์ครั้งเดียวภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า และเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้ว โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์โจทก์ ถือว่าการเรียกตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียกดังกล่าวได้เสร็จสิ้นลงแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมาแจ้งประเมินครั้งที่สองโดยมิได้ออกหมายเรียกมาไต่สวนใหม่ภายในกำหนด 5 ปีนั้นจึงเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าเพิ่มไม่ถูกต้องเพราะโจทก์มิได้มีรายรับจากการค้าเพิ่มการที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าเพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าในฐานะผู้ผลิตตามคำสั่งของกรมสรรพากร ที่ ป.4/2527จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง อันมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 24 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 โจทก์ลงลายรับเฉพาะจำนวนที่ได้รับจากลูกช่วงทำไม้หลังจากหักค่าจ้างออกแล้วเป็นการลงรายรับเฉพาะส่วนที่เป็นกำไรเท่านั้นเจ้าพนักงานคิดคำนวณปริมาตรไม้แล้วปรับปรุงบัญชีรายรับของโจทก์ตามราคาที่ขายตามหลักฐานที่ตรวจสอบได้ไม่เป็นการคำนวณรายรับที่ไม่ถูกต้อง ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับของโจทก์ที่เจ้าพนักงานตรวจสอบได้ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดยื่นแบบแสดงรายการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 88 ทวิ(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย-การเลิกห้าง-ภาษีค้างชำระ: ศาลยืนฟ้องล้มละลายได้
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชี ซึ่งห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 1251 และมีอำนาจแก้ต่างว่าต่าง ในนามห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการให้รับผิดในหนี้ภาษีอากรได้
จำเลยที่ 3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ถึง วันที่ 7 กันยายน 2526 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2528 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3 ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดในหนี้ของห้างอยู่ ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10681080 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการการค้าต่ำกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดไว้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงมีหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้มาไต่สวนกับให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนินกิจการมาให้ตรวจสอบ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 กับประเมินภาษีในปี พ.ศ. 2522, 2523 แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ฉะนั้น ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ 88 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ มีหมายเรียกมาไต่สวนและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ ประเมินและแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) 21 เมื่อรวมเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกับภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,278,593.69 บาท จำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย-เลิกห้าง-อำนาจฟ้อง-ภาษีเด็ดขาด-หนี้ภาษี
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและต้อง มีการชำระบัญชี ซึ่ง ห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดย จำเลยที่ 2ในฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12491251 และมีอำนาจแก้ต่างว่าต่าง ในนามห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1โดย จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการให้รับผิดในหนี้ภาษีอากรได้ จำเลยที่ 3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ถึง วันที่ 7 กันยายน 2526 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2528 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3 ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 จึงยังคงต้อง รับผิดในหนี้ของห้างอยู่ ตาม นัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10681080 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการการค้าต่ำ กว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดไว้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงมีหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้มาไต่สวนกับให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนิน กิจการมาให้ตรวจสอบ แต่ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 กับประเมินภาษีในปี พ.ศ. 2522,2523 แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบฉะนั้น ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตาม นัยประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ 88 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ มีหมายเรียกมาไต่สวนและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบ แต่ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ ประเมินและแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตาม นัยประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1)21 เมื่อรวมเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกับภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,278,593.69 บาทจำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย, ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ, และการประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยยกขึ้นฎีกาโดยมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชี แต่ห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ชำระบัญชีและมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามของห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการให้จำเลยรับผิดในหนี้ภาษีอากรได้ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดในหนี้ของห้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068,1050 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการค้าต่ำกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดเจ้าหน้าที่ของโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1ให้มาพบกับมีหมายเรียกให้มาไต่สวนให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนินกิจการมาให้ตรวจสอบ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนทั้งไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลประเมินภาษีแล้วให้จำเลยที่ 1ทราบ จำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้อุทธรณ์แต่อย่างใด ฉะนั้นภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นภาษีเด็ดขาดตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 87 ทวิ,88,21 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินภาษีที่เจ้าพนักงานประเมิน ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ เจ้าหน้าที่ของโจทก์หมายเรียกมาสอบถามและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบแต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปไต่สวนและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ประเมินและแจ้งผลการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ทราบแล้วจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 71(1),21 จำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมเป็นเงิน8,278,593.69 บาท จำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า500,000 บาท โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีต้องอาศัยเอกสารหลักฐานที่ถูกต้อง หากเจ้าพนักงานไม่สามารถแสดงเอกสารต้นฉบับหรือเหตุผลที่สมควร ศาลไม่อาจรับฟังได้
ศาลมีคำสั่งเรียกเอกสารของโจทก์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 และเอกสารเหล่านั้นเป็นที่มาของรายการรายได้ที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 อ้างว่ามีจำนวนสูงกว่ารายได้ที่โจทก์แสดงไว้ในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี แต่จำเลยมิได้ส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาถึงความถูกต้องโอย อ้างว่าหาไม่พบโดยไม่มีเหตุผล ทั้ง ๆ ที่เอกสารเหล่านั้นไม่ใช่จำนวนเล็กน้อย ผู้ทำรายการรายได้ที่อ้างว่ารวบรวมจากเอกสารดังกล่าวก็ไม่ได้มาเบิกความรับรองว่าถูกต้องตรงกับต้นเรื่อง จึงไม่อาจรับฟังได้ว่ารายการรายได้ดังกล่าวเป็นความจริงและถูกต้อง และโจทก์ยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่ารายได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นตามที่แจ้งการประเมิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีต้องอาศัยเอกสารหลักฐานที่ถูกต้อง หากเจ้าพนักงานไม่สามารถแสดงเอกสารที่ใช้ในการประเมินได้ การประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลมีคำสั่งเรียกเอกสารของโจทก์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 และเอกสารเหล่านั้นเป็นที่มาของรายการรายได้ที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 อ้างว่ามีจำนวนสูงกว่ารายได้ที่โจทก์แสดงไว้ในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี แต่จำเลยมิได้ส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาถึงความถูกต้องโอย อ้างว่าหาไม่พบโดยไม่มีเหตุผล ทั้ง ๆ ที่เอกสารเหล่านั้นไม่ใช่จำนวนเล็กน้อยผู้ทำรายการรายได้ที่อ้างว่ารวบรวมจากเอกสารดังกล่าวก็ไม่ได้มาเบิกความรับรองว่าถูกต้องตรงกับต้นเรื่อง จึงไม่อาจรับฟังได้ว่ารายการรายได้ดังกล่าวเป็นความจริงและถูกต้อง และโจทก์ยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่ารายได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นตามที่แจ้งการประเมิน.
of 2