พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา มาตรา 350 กรณีจำเลยโอนทรัพย์สินก่อนฟ้อง และโจทก์รู้หรือควรทราบถึงการโอน
ที่ดินแปลงที่จำเลยโอนขายให้ ด. เป็นแปลงเดียวกับที่โจทก์ขอซื้อจากจำเลยแต่จำเลยโอนให้ไม่ได้เพราะชื่อเจ้าของที่ดินยังเป็นของผู้อื่น ซึ่งโจทก์ก็ไม่ได้ละทิ้ง หากยังติดตามที่ดินแปลงพิพาทอยู่ การที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ไปยื่นคำขอให้ยึดทรัพย์จำเลยโดยหนังสือมอบอำนาจมีข้อความชัดเจนว่าให้ยึดบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินแปลงนี้กับทรัพย์สินภายในบ้าน ดังนั้นการที่จำเลยโอนขายบ้านให้ ด. ก่อนที่โจทก์จะดำเนินการขอยึดนั้น โจทก์ก็ควรจะรู้หรือน่าจะรู้ว่าจำเลยขายที่ดินดังกล่าวไปแล้วตั้งแต่วันที่การไปขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย ซึ่งเมื่อนับถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้วเกินกว่า 3 เดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 44 ที่กำหนดให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ได้รับสิทธิในที่ดินจะโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้โอนสิทธิในที่ดินที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 1) ฯ ข้อ 7 และข้อ 8 เป็นกรณีอนุญาตให้มีการซื้อขายที่ดินได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด หาใช่ไม่อาจทำการซื้อขายโดยเด็ดขาดไม่
ตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 44 ที่กำหนดให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ได้รับสิทธิในที่ดินจะโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้โอนสิทธิในที่ดินที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 1) ฯ ข้อ 7 และข้อ 8 เป็นกรณีอนุญาตให้มีการซื้อขายที่ดินได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด หาใช่ไม่อาจทำการซื้อขายโดยเด็ดขาดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินในเขตจัดรูปที่ดินไม่ขัดกฎหมาย หากมีเงื่อนไขรอการอนุญาตจากราชการ
พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมพ.ศ.2517มาตรา44มิได้ห้ามเด็ดขาดไม่ให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินโอนสิทธิในที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นเจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในที่ดินยังอยู่ในวิสัยที่จะโอนสิทธิในที่ดินภายในกำหนดเวลาห้ามโอนให้แก่ผู้อื่นได้หากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางดังนั้นสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยว่าโจทก์จะโอนที่ดินให้แก่จำเลยเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการจึงไม่ใช่สัญญาที่กระทำลงโดยมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมายสัญญาดังกล่าวมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินภายใต้กฎหมายจัดรูปที่ดิน: สัญญาไม่ขัดกฎหมายหากรอรับอนุญาตโอนได้
เมื่อพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมพ.ศ.2517มาตรา44มิได้ห้ามเด็ดขาดไม่ให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินโอนสิทธิในที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นเจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในที่ดินยังอยู่ในวิสัยที่จะโอนสิทธิในที่ดินภายในกำหนดเวลาห้ามโอนให้แก่ผู้อื่นได้หากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางดังนั้นสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยว่าโจทก์จะโอนที่ดินให้แก่จำเลยเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการจึงไม่ใช่สัญญาที่กระทำลงโดยมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมายสัญญาดังกล่าวมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิที่ดินในโครงการจัดรูปที่ดิน: สัญญาจะซื้อขายที่มีเงื่อนไขการอนุญาตจากราชการมีผลสมบูรณ์
พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2517 มาตรา 44มิได้ห้ามเด็ดขาดไม่ให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินโอนสิทธิในที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น เจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในที่ดินยังอยู่ในวิสัยที่จะโอนสิทธิในที่ดินภายในกำหนดเวลาห้ามโอนให้แก่ผู้อื่นได้หากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ดังนั้น สัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยว่า โจทก์จะโอนที่ดินให้แก่จำเลยเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการจึงไม่ใช่สัญญาที่กระทำลงโดยมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมาย สัญญาดังกล่าวมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินขัดต่อข้อห้ามโอนตามพ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นโมฆะ
โจทก์จำเลยทำ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทภายในระยะเวลาตามข้อกำหนดห้ามโอนเป็นการหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอนย่อมตกเป็น โมฆะและเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลชั้นต้นมีอำนาจ งดสืบพยานแล้วยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินในช่วงระยะเวลาห้ามโอนตาม พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นโมฆะ
พระราชบัญญัติ จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2517มาตรา26,44ห้ามมิให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินซึ่งได้มีพ.ร.ฎ.ออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา24,25แล้วจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในที่ดินนับตั้งแต่วันที่ได้มีประกาศของรัฐมนตรีจนถึงวันครบกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่กันในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงเป็นโมฆะโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยทั้งสองไม่มีหน้าที่จะต้องไปยื่นคำร้องขออนุญาตโอนที่ดินเป็นหนังสือจาก คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางการที่จำเลยทั้งสองไม่ไปยื่นคำร้องขออนุญาตดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7400/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินฯ ที่มีข้อจำกัดเรื่องการโอนสิทธิ และอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ชำระขอให้ยึดที่ดินจำนองของจำเลยซึ่งมีข้อความบันทึกไว้ในสารบัญจดทะเบียนหลังโฉนดห้ามโอนภายในห้าปีตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 มาตรา 44 วรรคหนึ่งออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวเป็นการฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ก่อน หากจำเลยไม่ชำระจึงจะขอให้บังคับจำนองที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ในภายหลังต่อไป ฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินกู้แก่โจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดเกี่ยวกับที่ดินจึงไม่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ส่วนฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำนองที่ดิน เป็นการฟ้องบังคับจำนองที่ดินของจำเลยซึ่งได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน เมื่อขณะโจทก์ยื่นฟ้องยังไม่พ้นกำหนดห้ามโอนภายในห้าปี นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ที่ดินจำนองของจำเลยดังกล่าวจึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 มาตรา 44 วรรคสองฟ้องโจทก์ส่วนนี้จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนองที่ดินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินระหว่างการจัดรูปที่ดิน: สิทธิยังเป็นของผู้ถือเดิมจนกว่าจะออกหนังสือแสดงสิทธิใหม่
การจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2517 นั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินสำหรับแปลงที่ดินในโครงการที่จัดรูปที่ดินตามมาตรา 41 ใหม่แล้ว สิทธิในที่ดินยังคงเป็นของผู้ถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมอยู่ ผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ได้รับสิทธิในที่ดินตามโครงการจัดรูปที่ดินบริเวณที่นาพิพาทซึ่งยังไม่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิสำหรับที่ดินที่จัดรูปแล้ว สิทธิในที่นาพิพาทจึงยังคงเป็นของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิม จำเลยทั้งสองยังไม่ได้มอบการครอบครองที่นาพิพาทให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองเอารถไถเข้าไปไถนาพิพาทจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินยังเป็นของผู้ถือเดิมจนกว่าจะออกหนังสือแสดงสิทธิใหม่ หลังการจัดรูปที่ดิน การไถนาจึงไม่เป็นบุกรุก
การจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2517 นั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินสำหรับแปลงที่ดินในโครงการที่จัดรูปที่ดินตามมาตรา 41 ใหม่แล้ว สิทธิในที่ดินยังคงเป็นของผู้ถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมอยู่ ผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ได้รับสิทธิในที่ดินตามโครงการจัดรูปที่ดินบริเวณที่นาพิพาทซึ่งยังไม่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิสำหรับที่ดินที่จัดรูปแล้ว สิทธิในที่นาพิพาทจึงยังคงเป็นของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิม จำเลยทั้งสองยังไม่ได้มอบการครอบครองที่นาพิพาทให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองเอารถไถเข้าไปไถนาพิพาทจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก