คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 149

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเสนอผ่อนชำระหนี้และการผูกพันตามสัญญา แม้เจ้าหนี้ไม่ตกลง
จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์มีข้อความที่สำคัญว่า ตามที่ทางราชการได้ทวงหนี้ค่าใช้จ่ายในการรับตัวลูกเรือจำนวน 13 คน ซึ่งพ้นโทษจำคุกที่ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามกลับประเทศไทยนั้น จำเลยยินดีชดใช้แต่เนื่องจากเรือของจำเลยถูกประเทศดังกล่าวจับทำให้มีฐานะยากจนมีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงขอผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์ แม้จะไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เพราะไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของลูกเรือทั้ง 13 คน ระงับไป แต่ก็เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่กระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยหนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์เป็นหลักศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดตามหนังสือดังกล่าว ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยผ่อนชำระตามหนังสือดังกล่าวเท่ากับข้อเสนอของจำเลยตกไปโจทก์ฎีกาว่าข้อเสนอของจำเลยหาตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้
ข้อความเฉพาะส่วนที่ขอผ่อนชำระในหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอขึ้นใหม่ของจำเลยดังข้อความในเอกสารที่ว่า จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุเคราะห์ตามควรแก่กรณีต่อไปด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง จึงมิใช่เงื่อนไขอันบังคับไว้ในสัญญาที่จำเลยยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แก่โจทก์เป็นผลเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน เมื่อโจทก์ไม่ตกลงในส่วนที่จำเลยขอผ่อนชำระดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้ผูกพันจำเลยโดยตรง แม้จะอ้างทำแทนบริษัทอื่น การผิดนัดชำระหนี้ตามข้อตกลงจำเลยต้องรับผิด
หนังสือตกลงชำระหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญา-ประนีประนอมยอมความผ่อนผันการชำระค่าเสียหายซึ่งเกิดขึ้นจากการที่จำเลยผิดสัญญาส่งข้าวโพดทำให้โจทก์ต้องไปซื้อข้าวโพดราคาสูงขึ้น แต่ตกลงผ่อนผันกันตามข้อตกลงชำระหนี้ระหว่างคู่กรณีโดยคิดค่าเสียหายจากราคาหาบละ 177 บาท ซึ่งคิดคำนวณค่าเสียหายได้เพียง 240,000 บาท และให้ฝ่ายจำเลยผ่อนชำระค่าเสียหายเช่นนี้หนี้ตามสัญญาเดิมจึงระงับและมาบังคับกันตามข้อตกลงยอมชำระหนี้ดังกล่าวนี้ต่อไป
การที่จำเลยนำสืบว่าบริษัท ส. คือบริษัท ต. และจำเลยมาทำการแทนบริษัท ส.ในการทำข้อตกลงยอมชำระหนี้กับโจทก์เป็นการนำสืบนอกคำให้การ รับฟังไม่ได้
จำเลยเข้าทำข้อตกลงยอมชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อตกลงชำระหนี้ในนามตนเอง การที่จำเลยอ้างว่าทำแทนบริษัท ส.ซึ่งไม่มีตัวตน จำเลยจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัว และจำเลยผิดนัดต่อโจทก์โดยไม่ยอมผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงจึงต้องรับผิดพร้อมทั้งดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผ่อนผันหนี้ การรับผิดส่วนตัวของตัวแทนที่ไม่มีอำนาจ และดอกเบี้ยผิดนัด
หนังสือตกลงชำระหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความผ่อนผันการชำระค่าเสียหายซึ่งเกิดขึ้นจากการที่จำเลยผิดสัญญาส่งข้าวโพดทำให้โจทก์ต้องไปซื้อข้าวโพดราคาสูงขึ้น แต่ตกลงผ่อนผันกันตามข้อตกลงชำระหนี้ระหว่างคู่กรณีโดยคิดค่าเสียหายจากราคาหาบละ 177บาท ซึ่งคิดคำนวณค่าเสียหายได้เพียง 240,000 บาท และให้ฝ่ายจำเลยผ่อนชำระค่าเสียหายเช่นนี้หนี้ตามสัญญาเดิมจึงระงับและมาบังคับกันตามข้อตกลงยอมชำระหนี้ดังกล่าวนี้ต่อไป การที่จำเลยนำสืบว่าบริษัท ส.คือบริษัทต. และจำเลยมาทำการแทนบริษัท ส. ในการทำข้อตกลงยอมชำระหนี้กับโจทก์เป็นการนำสืบนอกคำให้การ รับฟังไม่ได้ จำเลยเข้าทำข้อตกลงยอมชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อตกลง ชำระหนี้ในนามตนเอง การที่จำเลยอ้างว่าทำแทนบริษัท ส. ซึ่งไม่มีตัวตน จำเลยจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัว และจำเลย ผิดนัดต่อโจทก์โดยไม่ยอมผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงจึงต้อง รับผิดพร้อมทั้งดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์: บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันมีมูลเหตุจากการละเมิดที่จำเลยขับรถยนต์ชนเด็กชาย ส. ผู้เยาว์ เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่แม้ผู้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็จะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตาม ป.พ.พ. มาตรา1574 (12) โจทก์ฟ้องจำเลยในนามของตนเอง ทั้งโจทก์เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ส. จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะกระทำการแทนเด็กชาย ส. แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้เยาว์: บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันมีมูลเหตุจากการละเมิดที่จำเลยขับรถยนต์ชนเด็กชาย ส. ผู้เยาว์ เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่แม้ผู้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็จะกระทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(12)โจทก์ฟ้องจำเลยในนามของตนเอง ทั้งโจทก์เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ส. จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะกระทำการแทนเด็กชาย ส. แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4826/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การท้าคดีไม่ใช่การทำนิติกรรมที่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574
การท้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะ มิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 112(เดิม) จึงไม่เป็นนิติกรรมที่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองฟ้องคดีต่อศาลแทนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมที่เกิดจากใบมอบอำนาจปลอมเป็นโมฆะ เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมไม่ต้องผูกพัน
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินกับบ้านพิพาทตบนที่ดินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะฟังว่าที่ดินกับบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ส.การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้าของรวมจะมีผลผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนใดโดยไม่ผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นนั้น จะต้องเป็นการทำนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นเท่านั้นนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของผู้ทำนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361วรรคแรก แต่คดีนี้ ส. ใช้ใบมอบอำนาจปลอมดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังนั้น จึงถือได้ว่านิติกรรมทั้งหมดไม่มีผลผูกพันโจทก์ และตย้องถือว่านิติกรรมซื้อขายกับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทมิได้เกิดขึ้น โจทก์จึงมีอำนาจขอให้เพิกถอนการโอนทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย-จำนองที่ดินจากใบมอบอำนาจปลอม แม้เป็นกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินกับบ้านพิพาทบนที่ดินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะฟังว่าที่ดินกับบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ส. การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้าของรวมจะมีผลผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนใดโดยไม่ผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นนั้น จะต้องเป็นการทำนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นเท่านั้นนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของผู้ทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคแรก แต่คดีนี้ส. ใช้ใบมอบอำนาจปลอมดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังนั้น จึงถือได้ว่านิติกรรมทั้งหมดไม่มีผลผูกพันโจทก์ และต้องถือว่านิติกรรมซื้อขายกับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทมิได้เกิดขึ้นโจทก์จึงมีอำนาจขอให้เพิกถอนการโอนทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาค้ำประกันและสัญญาใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญา รวมถึงการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
แม้สัญญารับทุนจะใช้แบบตามที่กระทรวงการคลังกำหนดให้ใช้กับข้าราชการผู้รับทุน โดยที่จำเลยที่ 1 มิได้เป็นข้าราชการหรือได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างชั่วคราวแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 สมัครใจทำสัญญาที่มีข้อความตามแบบดังกล่าว อันเป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1เพื่อจะก่อให้เกิดสิทธิตามข้อความในสัญญาซึ่งชอบด้วยกฎหมาย และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว สัญญาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 จึงผูกพันจำเลยที่ 2 ที่ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย ศูนย์เอกสารทางหลวงเอเชียอยู่ในสังกัดของโจทก์ น.เป็นข้าราชการของโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ดังกล่าว น.ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ตามที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง องค์การสหประชาชาติเป็นผู้ออกค่าเดินทางระหว่างประเทศรัฐบาลอังกฤษภายใต้แผนโคลัมโบออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ระหว่างการฝึกอบรม ณ ประเทศอังกฤษ และต่อมารัฐบาลอังกฤษยินยอมขยายเวลาให้จำเลยที่ 1 ศึกษาขั้นปริญญาโททางบรรณารักษศาสตร์อีก 1 ปีด้วยทุนภายใต้แผนโคลัมโบ ผ่านกรมวิเทศสหการ จึงถือได้ว่าเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยและรัฐบาลไทยตกลงรับทุนนั้น โจทก์เป็นกรมในรัฐบาลไทยที่จะได้รับประโยชน์จากทุนดังกล่าว และได้ให้ตัวแทนทำสัญญากับจำเลยทั้งสองจึงถือได้ว่าเป็นทุนของโจทก์ แม้ทุนที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปฝึกอบรมกับทุนศึกษาต่อขั้นปริญญาโท จะเป็นวิชาบรรณารักษศาสตร์เช่นเดียวกันก็ตาม แต่การศึกษาต่อขั้นปริญญาโทแตกต่างจากการฝึกอบรม มิใช่เรื่องที่ต่อเนื่องจากการฝึกอบรม ถือไม่ได้ว่าการศึกษาต่อขั้นปริญญาโทอยู่ภายในขอบของสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้แก่โจทก์จะมิได้กำหนดอายุของสัญญาไว้ก็ดี แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ใหม่ในการที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนไปศึกษาต่อขั้นปริญญาโทจำเลยที่ 2 จึงหาต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญารับทุนไปศึกษาต่อขั้นปริญญาโทไม่ คงรับผิดเพียงเฉพาะการไปฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 ก่อนศึกษาต่อขั้นปริญญาโท ตามสัญญารับทุนถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะต้องชดใช้ทุนและค่าเดินทางให้แก่โจทก์ตามส่วนเฉลี่ยที่ทำงานชดใช้ทุนคืนไม่ครบและเบี้ยปรับอีก 1 เท่า ตลอดทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของจำนวนที่ต้องชดใช้คืนภายในกำหนดตามสัญญาด้วย เงินที่จะต้องชดใช้คืนทั้ง 3 ประเภทและดอกเบี้ยดังกล่าวมานี้เป็นเบี้ยปรับที่ลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะชดใช้ให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้เจ้าหนี้ริบและเรียกเอาเบี้ยปรับได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 แต่แม้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ก็ตาม ลูกหนี้จะต้องชำระเบี้ยปรับก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้เรียกเอาเบี้ยปรับนั้นก่อนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคแรก,381 วรรคแรก เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ทำงานชดใช้ทุนคืนให้ถูกต้องตามสัญญา แม้โจทก์จะมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ให้ชดใช้เงินทุนคืนและเบี้ยปรับอีก 1 เท่าเป็นเงินจำนวนหนึ่งต่ำกว่าเงินทุนและเบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนตามจำนวนที่ถูกต้องเพราะการคำนวณผิดพลาด ทั้งมิได้ทวงถามค่าเดินทางและเบี้ยปรับ 1 เท่าด้วยก็ตามก็ต้องถือว่าเบี้ยปรับในส่วนของเงินทุนนี้โจทก์ได้ทวงถามให้ชดใช้ทั้งหมดตามจำนวนที่ถูกต้องแล้ว หาใช่เพียงเรียกให้ชดใช้ตามจำนวนที่ผิดพลาดดังกล่าวไม่ สำหรับเบี้ยปรับในส่วนของค่าเดินทางแม้โจทก์จะมิได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระด้วย แต่การฟ้องเรียกเอาเบี้ยปรับในส่วนนี้ก็คือการทวงถามหรือการเรียกเอาเบี้ยปรับนั่นเองจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับในส่วนของเงินทุนจำนวนที่ถูกต้องพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ครบกำหนดตามหนังสือทวงถามเป็นต้นไป และเบี้ยปรับในส่วนของค่าเดินทางพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ สำหรับความรับผิดของจำเลยที่ 2 เฉพาะในการค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมนั้น ทางพิจารณาไม่ปรากฏชัดว่ารัฐบาลอังกฤษได้ออกทุนให้เฉพาะการฝึกอบรมเป็นเงินจำนวนเท่าใด คงได้ความว่าทุนที่ให้ทั้งการฝึกอบรมและการศึกษาต่อขั้นปริญญาโทรวมเป็นเงินจำนวนหนึ่งสำหรับการไปฝึกอบรมและศึกษาต่อนาน 2 ปี 45 วัน หรือเท่ากับ 775 วัน จำเลยที่ 1 จะต้องทำงานใช้ทุนอีก 424 วัน ตามคำของจำเลยที่ 2 ก็คงอ้างลอย ๆ มาว่า เท่าที่ทราบมาค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 9 เดือน เป็นเงินจำนวนที่น้อยกว่าเท่านั้น ศาลฎีกากำหนดให้คิดเงินทุนในการฝึกอบรมโดยเฉลี่ยตามระยะเวลา โดยคำนวณจากเงินทุนในการฝึกอบรมและการศึกษาต่อขั้นปริญญาโท คูณด้วยระยะเวลาในการไปฝึกอบรม หารด้วยระยะเวลาในการไปฝึกอบรมและศึกษาต่อ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติว่า "การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน" อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้จึงหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารพาณิชย์ในวันที่อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันมีคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้แทนบุคคลอื่น: ลักษณะสัญญา, อายุความ, และการวินิจฉัยประเภทสัญญา
การรับสภาพหนี้ เป็นการที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก มิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์ จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้และแม้จำเลยทำสัญญาไว้ต่อโจทก์ว่าจะชำระหนี้ ซึ่งค. เป็นหนี้โจทก์ให้โจทก์ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของ ค. ระงับไป จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่แต่การที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผูกพันตนเข้าชำระหนี้ที่ ค. ค้างชำระให้โจทก์ จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ10 ปี
of 14