พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6010/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับให้จำเลยออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้เพื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดตาม พ.ร.บ.อาคารชุด
โจทก์ซื้ออาคารชุดเชียงใหม่ทาวเวอร์จากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี เมื่อจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ย่อมต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้คราวที่สุดจากจำเลยมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 วรรคสอง ซึ่งหากไม่มีหนังสือรับรองการปลอดหนี้จากจำเลยมาแสดงโจทก์ย่อมไม่อาจที่จะดำเนินการเพื่อการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดมาเป็นของโจทก์ได้ เช่นนี้การที่จำเลยจะต้องออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้แก่โจทก์ จึงถือเป็นการใด ๆ ซึ่งจำเลยต้องกระทำเพื่อให้มีผลที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิในการจดทะเบียนสิทธิในห้องชุด อันเป็นการทำนิติกรรมฝ่ายเดียวตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 แล้ว เมื่อจำเลยไม่ยอมออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้และโจทก์ได้ฟ้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้จำเลยออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้แก่โจทก์ หากจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการ จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20056/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันอิสระจากสัญญาหลัก: ศาลฎีกาวินิจฉัยการจำหน่ายคดีไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนเองโดยไม่มีเงื่อนไขที่จะค้ำประกันชนิดเพิกถอนไม่ได้เช่นเดียวกับลูกหนี้ชั้นต้นในการชำระเงินตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างในกรณีที่ผู้รับจ้างก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ หรือต้องชำระค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ หรือผู้รับจ้างมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใด ๆ ที่กำหนดในสัญญาจ้าง โดยจำเลยจะไม่อ้างสิทธิใด ๆ เพื่อโต้แย้งและโจทก์ไม่จำต้องเรียกร้องให้ผู้รับจ้างชำระหนี้นั้นก่อน ดังนั้น หากเป็นไปตามข้ออ้าง การค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันท้ายฟ้องย่อมไม่ใช่การผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระ แต่เป็นการค้ำประกันที่จำเลยมีความผูกพันจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยเคร่งครัดอย่างลูกหนี้ชั้นต้นเมื่อมีการทวงถามตามเงื่อนไขโดยไม่อาจอ้างเหตุใด ๆ ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับจ้างขึ้นปลดเปลื้องความรับผิดได้ และความรับผิดของจำเลยในกรณีนี้จะไม่ขึ้นอยู่กับความรับผิดของจำเลยร่วม สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของโจทก์และจำเลยตามหนังสือค้ำประกันที่พิพาทกันในคดีนี้เป็นเอกเทศและต้องพิจารณาแยกต่างหากจากสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง ส่วนผลแห่งการบังคับตามสัญญานี้จะกระทบถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของจำเลยและจำเลยร่วมตามคำขอให้ออกหนังสือค้ำประกันที่พิพาท หรือกระทบถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของโจทก์และจำเลยร่วมตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกันต่างหาก
การเรียกบุคคลมาเป็นจำเลยร่วมเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
การเรียกบุคคลมาเป็นจำเลยร่วมเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11407/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคืนเงินที่จ่ายเกินจากเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้แก่จำเลยโดยผิดหลง ทำให้จำเลยได้รับเงินเกินไปโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย และทำให้โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้แบ่งให้แก่เจ้าหนี้ และผู้มีส่วนได้เสียเสียเปรียบ โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายจึงมีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยเพื่อนำไปจ่ายแก่ผู้มีสิทธิต่อไป เป็นการเรียกเงินอันเนื่องมาจากการที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ตามคำพิพากษาของศาลตามกฎหมายในการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อเจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้เสียได้รับการชดใช้จากลูกหนี้ตามขั้นตอนของการบังคับคดีแพ่ง เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10256/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายฝากที่ดิน: ผลของการพิสูจน์ไม่ได้ว่าการซื้อขายเป็นการฉ้อฉล ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ และการละเมิดสิทธิเจ้าของ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทกับโจทก์ โดยไม่ไถ่ถอนคืนภายในกำหนด โจทก์ให้จำเลยทำนาในที่ดินพิพาทต่อมา ภายหลังโจทก์แจ้งให้จำเลยออกไปแต่จำเลยเพิกเฉย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินแก่ บ. จำเลยไม่รู้จักโจทก์และไม่มีเจตนาขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์ การขายฝากเป็นการกระทำโดยฉ้อฉลถึงขนาดต่อจำเลย ทำให้นิติกรรมการขายฝากเป็นโมฆะทั้งหมด โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมาย ดังนี้ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยขายฝากที่ดินแปลงพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ส่วนประเด็นที่ว่าการขายฝากเป็นการกระทำโดยการฉ้อฉลต่อจำเลย อันจะทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะทั้งหมด จำเลยมิได้ให้การว่า ใครเป็นคนทำการฉ้อฉลและจำเลยถูกกลฉ้อฉลอย่างไร จึงทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะ คำให้การของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง และไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าการขายฝากเป็นการกระทำโดยฉ้อฉลต่อจำเลยหรือไม่ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าการขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยกรณีไม่มีการฉ้อฉลต่อจำเลย การขายฝากจึงเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อจำเลยอยู่ในที่ดินแปลงพิพาทโดยไม่มีสิทธิจึงต้องเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8711/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง-หนังสือรับรองปลอดหนี้: ศาลสั่งถือเอาคำพิพากษาแทนเจตนาจำเลยได้หากไม่ปฏิบัติตาม
หลักเกณฑ์การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดนั้นกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการทั่วไปโดยไม่มีข้อยกเว้น จึงย่อมนำมาใช้บังคับแก่กรณีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดอันเนื่องมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลด้วย มิใช่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่เจ้าของห้องชุดเป็นผู้ขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด หนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายแม้เจ้าของร่วมผู้เป็นเจ้าของห้องชุดมีหน้าที่ต้องร่วมกันชำระตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 กฎหมายมิได้ห้ามบุคคลอื่นชำระหนี้ดังกล่าวแทนเจ้าของห้องชุด ทั้งโดยสภาพห้องชุดเป็นอาคารที่ใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยร่วมกันของคนจำนวนมาก บทกฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดเป็นข้อกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้อยู่อาศัยเพื่อประโยชน์แก่การอยู่อาศัยร่วมกันโดยปกติสุข เจ้าของร่วมจึงต้องมีส่วนรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายส่วนกลางและค่าปรับตามบทกฎหมายและข้อบังคับเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของร่วมเดิม และต้องถือว่าค่าปรับอันเกิดจากการผิดนัดชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่โจทก์ต้องรับผิดชอบด้วย
ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 คิดค่าปรับอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ค้างชำระนั้นมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 1 กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อเจ้าของร่วมไม่ชำระให้ถูกต้องสมควร เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ทั้งเป็นเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เมื่อพิเคราะห์ทางได้เสียของคู่ความ เห็นสมควรกำหนดให้อัตราร้อยละ 12 ต่อปี
หนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เจ้าของห้องชุดพิพาทคนเดิมค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาดได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 แล้ว หนี้เป็นอันระงับสิ้นไป แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตอบแทนเช่นกัน เพราะโจทก์ประสงค์จะนำหนังสือนี้ไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอจดทะเบียนโอนห้องชุดมาเป็นของตนตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 การที่จำเลยที่ 1 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้จึงก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะโอนห้องชุดได้ จึงเป็นการกระทำนิติกรรมฝ่ายเดียวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 ดังนั้น ในการบังคับชำระหนี้หากสภาพหนี้ไม่เปิดช่องศาลชอบที่จะสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้ตาม ป.พ.พ. 213 วรรคสอง
ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 คิดค่าปรับอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ค้างชำระนั้นมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 1 กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อเจ้าของร่วมไม่ชำระให้ถูกต้องสมควร เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ทั้งเป็นเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เมื่อพิเคราะห์ทางได้เสียของคู่ความ เห็นสมควรกำหนดให้อัตราร้อยละ 12 ต่อปี
หนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เจ้าของห้องชุดพิพาทคนเดิมค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาดได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 แล้ว หนี้เป็นอันระงับสิ้นไป แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตอบแทนเช่นกัน เพราะโจทก์ประสงค์จะนำหนังสือนี้ไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอจดทะเบียนโอนห้องชุดมาเป็นของตนตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 การที่จำเลยที่ 1 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้จึงก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะโอนห้องชุดได้ จึงเป็นการกระทำนิติกรรมฝ่ายเดียวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 ดังนั้น ในการบังคับชำระหนี้หากสภาพหนี้ไม่เปิดช่องศาลชอบที่จะสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้ตาม ป.พ.พ. 213 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4973/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนขายและการห้ามบอกเลิกสัญญา ข้อสัญญาต้องเป็นธรรมและไม่จำกัดสิทธิเกินควร
จำเลยมีความประสงค์จะขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ จึงตกลงกับโจทก์ให้โจทก์เป็นฝ่ายขายโดยได้รับบำเหน็จเป็นการตอบแทน การทำสัญญาดังกล่าวไม่ปรากฏว่ามีการบังคับขู่เข็ญ ต่างสมัครใจเข้าทำสัญญา ซึ่งข้อความในสัญญาสามารถอ่านเข้าใจได้ไม่ยาก เมื่อจำเลยสมัครใจเข้าทำสัญญา จึงต้องผูกพันตามข้อสัญญา แม้จะห้ามจำเลยบอกเลิกสัญญาก็ตาม แต่ช่วงระยะเวลาเพียง 10 เดือน ไม่เป็นการจำกัดสิทธิของจำเลยในการขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ตลอดไปหรือภายในระยะเวลายาวนานจนทำให้จำเลยเสียหาย ในทางตรงกันข้ามหากไม่กำหนดข้อสัญญาห้ามจำเลยเลิกสัญญาไว้ อาจเป็นช่องทางให้จำเลยเลิกสัญญาเอาเปรียบโจทก์ได้เนื่องจากโจทก์ได้ลงทุนประกาศขายโดยเขียนป้ายประกาศตามสถานที่ต่าง ๆ ประกาศโฆษณาในสิ่งพิมพ์และทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งปรากฏภาพทาวน์เฮาส์ของจำเลย ผู้พบเห็นทางโฆษณาสามารถเดินทางไปดูสภาพและทำเลได้ ซึ่งอาจพบและพูดคุยกับจำเลยจนตกลงซื้อขายกันโดยไม่ผ่านโจทก์ ก็จะทำให้โจทก์เสียหาย ด้วยเหตุนี้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นธรรมแก่ทั้งโจทก์และจำเลย หาใช่ไม่เป็นธรรมแก่จำเลยแต่อย่างใด
1/1
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้หลังล้มละลายมีผลผูกพันได้ แต่ดอกเบี้ยย้อนหลังในขณะล้มละลายเป็นโมฆะ
หนี้เงินต้นตามจำนวนในเช็คมีมูลหนี้มาจากเจ้าหนี้ซึ่งมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้ไปแล้วก่อนวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายเรื่องก่อนของศาลจังหวัดนนทบุรี และเจ้าหนี้มิได้นำหนี้ดังกล่าวไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จนกระทั่งศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ ซึ่งการประนอมหนี้ดังกล่าวผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ แต่ก็มีผลผูกพันหนี้เดิมของเจ้าหนี้ที่ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้นั้นและมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวเท่านั้น แต่ภายหลังลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้ทำหนังสือพิพาทให้แก่เจ้าหนี้โดยตกลงยอมชำระหนี้เงินต้นจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท ที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่จริงและลูกหนี้ยังมิได้ชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้หนังสือพิพาทดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์กับเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินคืนแก่เจ้าหนี้และมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย มิใช่เป็นเอกสารรับสภาพหนี้ตามเช็คธนาคาร ท. ที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ในระหว่างที่ลูกหนี้ยังอยู่ในภาวะล้มละลายอันเป็นการกระทำเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 24 ซึ่งตกเป็นโมฆะไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามหนังสือพิพาทเป็นเงินต้น 22,750,000 บาท
ส่วนข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะชำระให้แก่เจ้าหนี้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันที่ 24 เมษายน 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นข้อตกลงให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลาย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยส่วนนี้ จึงตกเป็นโมฆะเช่นกันและตามพฤติการณ์แห่งกรณี คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้จำนวน 22,750,000 บาท ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 22,750,000 บาท นับจากวันที่ 15 สิงหาคม 2542 อันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือพิพาทจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
ส่วนข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะชำระให้แก่เจ้าหนี้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันที่ 24 เมษายน 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นข้อตกลงให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลาย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยส่วนนี้ จึงตกเป็นโมฆะเช่นกันและตามพฤติการณ์แห่งกรณี คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้จำนวน 22,750,000 บาท ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 22,750,000 บาท นับจากวันที่ 15 สิงหาคม 2542 อันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือพิพาทจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นแชร์ผิดกฎหมาย, ความรับผิดของสมาชิก, สิทธิเรียกร้องของผู้เล่นแชร์, การประมูลและการรับผิด
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ฯ มาตรา 6 (3) ประกอบกฎกระทรวง (พ.ศ.2534) ที่ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าสามแสนบาท เป็นการห้ามนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันหาได้มีบทบัญญัติห้ามเล่นแชร์แต่อย่างใดไม่ ทั้งมาตรา 7 ยังระบุว่าบทบัญญัติมาตรา 6 ไม่กระทบกระเทือนถึงการที่สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์อีกด้วย การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งอันเกิดจากการตกลงระหว่างสมาชิกผู้เล่นซึ่งมีผลผูกพันและบังคับกันได้ตามกฎหมาย
เมื่อ ด. นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย มีผู้ที่ยังไม่ได้ประมูลแชร์ 3 ราย คือ โจทก์ ท. และ ส. ดังนั้นบุคคลทั้งสามเท่าที่ได้รับผลกระทบจากการที่ไม่มีผู้จัดให้มีการประมูลแชร์และผู้ที่จะเสนอคำประมูลแชร์ได้ก็มีเพียงสามคนนี้เท่านั้น ผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อไม่มีผู้จัดให้มีการประมูลแชร์ การที่โจทก์ ท. และ ส. ตกลงกันใช้วิธีจับสลากอันดับก่อนหลังแทนการให้ดอกเบี้ย นับเป็นวิธีการที่ทำให้การเล่นแชร์วงนี้สามารถดำเนินต่อไปได้จนจบโดยผู้เล่นแชร์ได้รับเงินจนครบทุกคน และผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ ไม่ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบแต่อย่างใดดังนั้น ความรับผิดของผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ จึงยังคงต้องมีอยู่อีกต่อไป
เมื่อ ด. นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย มีผู้ที่ยังไม่ได้ประมูลแชร์ 3 ราย คือ โจทก์ ท. และ ส. ดังนั้นบุคคลทั้งสามเท่าที่ได้รับผลกระทบจากการที่ไม่มีผู้จัดให้มีการประมูลแชร์และผู้ที่จะเสนอคำประมูลแชร์ได้ก็มีเพียงสามคนนี้เท่านั้น ผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อไม่มีผู้จัดให้มีการประมูลแชร์ การที่โจทก์ ท. และ ส. ตกลงกันใช้วิธีจับสลากอันดับก่อนหลังแทนการให้ดอกเบี้ย นับเป็นวิธีการที่ทำให้การเล่นแชร์วงนี้สามารถดำเนินต่อไปได้จนจบโดยผู้เล่นแชร์ได้รับเงินจนครบทุกคน และผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ ไม่ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบแต่อย่างใดดังนั้น ความรับผิดของผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ จึงยังคงต้องมีอยู่อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกเงินเกินบัญชีโดยไม่สมัครใจ: การกระทำของตัวแทนธนาคาร & เจตนาผู้รับเงิน
จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือมีหลักประกันใดๆ ให้ไว้ต่อโจทก์ และเบิกเงินเกินบัญชีหลังจากยื่นคำขอเปิดบัญชีเพียง 3 วัน การที่ธนาคารโจทก์ยอมให้จำเลยใช้เช็คถอนเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์ได้ ทั้งๆ ที่ไม่ปรากฏว่าเคยรู้จักกันเป็นอย่างดีหรือจำเลยเป็นบุคคลพิเศษ แสดงว่าจำเลยมีความผูกพันกับ ช. ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรง ที่เป็นคนเซ็นอนุมัติให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีได้ เจือสมกับข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำเลยทำสัญญารับเหมาก่อสร้างบ้านให้ ช. หลังจากเปิดบัญชีแล้วจำเลยสั่งจ่ายเช็ครับเงินไม่เกินจำนวนเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างบ้านให้ ช. หลังจากนั้นจำเลยก็หยุดใช้เช็คเบิกถอนเงินอีก และน่าเชื่อว่า ช. เป็นคนนำเงินเข้าบัญชีให้แก่จำเลยเป็นการชำระหนี้ค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างบ้าน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวก็เพื่อให้ ช. ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงนำเงินค่างวดในการจ้างเหมาก่อสร้างบ้านชำระหนี้แก่จำเลยโดยนำเงินเข้าบัญชีให้ และจำเลยจะใช้เช็คเบิกถอนเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างบ้านตามงวด จำเลยไม่มีเจตนาที่จะทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ ดังนั้น หาก ช. ไม่นำเงินเข้าบัญชีให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ แสดงว่า ช. ผิดนัดชำระหนี้จำเลยย่อมจะใช้เช็คถอนเงินไม่ได้โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยแทน ช. แต่อย่างใด แต่การที่ ช. ยอมอนุมัติจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลยจึงเป็นเรื่องที่จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นการรับเงินค่างวดที่ ช. นำเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านเข้าบัญชีให้เพื่อชำระหนี้ จำเลยไม่มีเจตนาที่จะเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ หาก ช. ไม่ใช่ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรง จำเลยก็ย่อมไม่สามารถจะใช้เช็คถอนเงินตามที่ปรากฏในคดีนี้ได้ และหากเงินในบัญชีไม่มี ธนาคารก็ต้องปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยจะได้รีบดำเนินการทวงถามหรือระงับการก่อสร้างบ้านตามสัญญาให้แก่ ช. ทันท่วงที หรือดำเนินการฟ้องร้องเรียกเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างจาก ช. โดยเร็ว ในขณะที่พยานหลักฐานยังอยู่ครบถ้วน การกระทำของ ช. ถือได้ว่าเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวแทนของตน การที่จำเลยรับเงินไปจากธนาคารโจทก์โดยสำคัญผิดว่าเป็นเงินค่างวดที่จำเลยมีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่มีเจตนาที่จะผูกนิติสัมพันธ์ทำนิติกรรมเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยในฐานะเป็นลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ข้อพิพาทเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าและการตรวจสอบอำนาจอนุญาโตตุลาการ
หนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุมอบอำนาจให้ ว. ยื่นฟ้อง ต่อสู้คดีดำเนินการไปจนสำเร็จในศาลทั้งปวงแทนผู้รับมอบอำนาจ ว. จึงมีอำนาจกระทำการแทนผู้รับมอบอำนาจในการยื่นฟ้องและดำเนินคดีในศาลได้ทุกคดีโดยไม่มีกำหนดเวลาจนกว่าผู้มอบอำนาจจะเพิกถอนการมอบอำนาจนั้น
สัญญาการเป็นหุ้นส่วน เป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับกลุ่มบุคคล กำหนดให้คู่สัญญาก่อตั้งบริษัทขึ้นภายใต้กฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าภายใต้สลากเครื่องหมายการค้าที่ตกลงกัน และในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัทผู้คัดค้าน โดยมีกลุ่มบุคคลลงลายมือชื่อในฐานะส่วนตัว และ อ. ลงลายมือชื่อในฐานะประธานบริษัทผู้คัดค้านซึ่งจะจัดตั้งขึ้นในอนาคต โดยผู้ร้องมีวัตถุประสงค์ในการแต่งตั้งผู้คัดค้านให้เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้ใบอนุญาตที่อนุมัติโดยผู้ร้องและภายใต้เครื่องหมายการค้าที่กำหนด สัญญาทั้งสองฉบับจึงเป็นสัญญาที่ผู้ริเริ่มก่อการบริษัทผู้คัดค้านได้กระทำไว้เพื่อก่อตั้งบริษัทผู้คัดค้านเพื่อถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เมื่อผู้คัดค้านได้จดทะเบียนเป็นบริษัทตามกฎหมายไทยแล้วก็ได้เข้าถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าว โดยผลิตและจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของผู้ร้อง และได้อ้างข้อตกลงที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการตามที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิขึ้นต่อสู้คดีในศาล กับนำเสนอข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่ออนุญาโตตุลการ ดังนี้ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงต้องผูกพันตามสัญญานั้น กรณีถือว่าผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่สัญญาโดยชอบและมิได้บกพร่องในเรื่องความสามารถแต่อย่างใด
สัญญาการเป็นหุ้นส่วน เป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับกลุ่มบุคคล กำหนดให้คู่สัญญาก่อตั้งบริษัทขึ้นภายใต้กฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าภายใต้สลากเครื่องหมายการค้าที่ตกลงกัน และในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัทผู้คัดค้าน โดยมีกลุ่มบุคคลลงลายมือชื่อในฐานะส่วนตัว และ อ. ลงลายมือชื่อในฐานะประธานบริษัทผู้คัดค้านซึ่งจะจัดตั้งขึ้นในอนาคต โดยผู้ร้องมีวัตถุประสงค์ในการแต่งตั้งผู้คัดค้านให้เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้ใบอนุญาตที่อนุมัติโดยผู้ร้องและภายใต้เครื่องหมายการค้าที่กำหนด สัญญาทั้งสองฉบับจึงเป็นสัญญาที่ผู้ริเริ่มก่อการบริษัทผู้คัดค้านได้กระทำไว้เพื่อก่อตั้งบริษัทผู้คัดค้านเพื่อถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เมื่อผู้คัดค้านได้จดทะเบียนเป็นบริษัทตามกฎหมายไทยแล้วก็ได้เข้าถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าว โดยผลิตและจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของผู้ร้อง และได้อ้างข้อตกลงที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการตามที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิขึ้นต่อสู้คดีในศาล กับนำเสนอข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่ออนุญาโตตุลการ ดังนี้ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงต้องผูกพันตามสัญญานั้น กรณีถือว่าผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่สัญญาโดยชอบและมิได้บกพร่องในเรื่องความสามารถแต่อย่างใด