คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 149

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7470/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดในการซ่อมรถและข้อยกเว้นค่าขาดประโยชน์
ทนายจำเลยมุ่งแต่คำนึงถึงความสะดวกของตนฝ่ายเดียวโดยมิได้สนใจต่อพันธะที่ตนมีต่อศาลและคู่ความฝ่ายอื่น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีชอบแล้ว
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้กองมรดกของผู้ตายมีผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทอื่น ๆ ที่มิใช่ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหานี้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีการับวินิจฉัยให้
แม้กองมรดกของผู้ตายจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้วก็ไม่เป็นการตัดอำนาจของทายาทในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก
แม้สัญญาประกันภัยจะเป็นสัญญาสำเร็จรูปซึ่งออกแบบและควบคุมโดยกรมการประกันภัย แต่คู่สัญญาอาจทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม โดยทำเป็นหนังสือแนบท้ายไว้ได้เมื่อข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ชัดว่า ในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์แล้วได้รถยนต์คืนมาผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอรับรถคืน โดยคืนเงินที่ได้รับชดใช้ไปทั้งหมดแก่ผู้รับประกันภัย ถ้ารถยนต์นั้นเกิดความเสียหาย ผู้รับประกันภัยต้องจัดการซ่อมก่อนคืนโดยไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อค่าซ่อมรถยนต์คันพิพาทซึ่งเสียหายให้โจทก์
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานเป็นผู้ทำละเมิดชิงทรัพย์เอารถยนต์คันพิพาทไป หากแต่ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยทั้งตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ปรากฏข้อตกลงชัดแจ้งว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองถึงความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ ดังนี้จำเลยหาต้องรับผิดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7470/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องทายาท, สัญญาประกันภัย, และข้อยกเว้นความรับผิดชอบในการซ่อมรถยนต์
ทนายจำเลยมุ่งแต่คำนึงถึงความสะดวกของตนฝ่ายเดียวโดยมิได้สนใจต่อพันธะที่ตนมีต่อศาลและคู่ความฝ่ายอื่น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีชอบแล้ว
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้กองมรดกของผู้ตายมีผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทอื่น ๆ ที่มิใช่ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหานี้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีการับวินิจฉัยให้
แม้กองมรดกของผู้ตายจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้ว ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจของทายาทในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก
แม้สัญญาประกันภัยจะเป็นสัญญาสำเร็จรูปซึ่งออกแบบและควบคุมโดยกรมการประกันภัย แต่คู่สัญญาอาจทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม โดยทำเป็นหนังสือแนบท้ายไว้ได้ เมื่อข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ชัดว่า ในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ แล้วได้รถยนต์คืนมา ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอรับรถคืน โดยคืนเงินที่ได้รับชดใช้ไปทั้งหมดแก่ผู้รับประกันภัย ถ้ารถยนต์นั้นเกิดความเสียหาย ผู้รับประกันภัยต้องจัดการซ่อมก่อนคืนโดยไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดไว้จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อค่าซ่อมรถยนต์คันพิพาทซึ่งเสียหายให้โจทก์
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานเป็นผู้ทำละเมิดชิงทรัพย์เอารถยนต์คันพิพาทไป หากแต่ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาประกันภัย ทั้งตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ปรากฏข้อตกลงชัดแจ้งว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองถึงความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ ดังนี้ จำเลยหาต้องรับผิดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7251/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินสิทธิประโยชน์บางส่วนหลังได้รับการอนุมัติลาออก ย่อมเป็นการสนองรับข้อเสนอใหม่ของจำเลย มิใช่สิทธิเดิม
การที่โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดโดยมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่จำเลยกำหนด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการดังกล่าว แต่จำเลยยอมรับใบสมัครของโจทก์ไว้แล้วพิจารณาอนุมัติให้โจทก์ลาออก โดยให้โจทก์ได้รับเฉพาะเงินประกันบำเหน็จและเงินเพิ่มพิเศษเท่านั้นส่วนเงินบำเหน็จพิเศษไม่อนุมัติให้ จ่าย ตามที่โจทก์ขอ และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยพิจารณาคำขอของโจทก์อีกครั้งจำเลยยังคงยืนยันไม่จ่ายเงินส่วนนี้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แสดงเจตนาว่าจะไม่ลาออกแต่กลับรับเงินส่วนที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายไปเรียบร้อยแล้วโดยมิได้โต้แย้งสงวนสิทธิใด ๆ ไว้ ถือว่าโจทก์ยังคงตกลงลาออกตามเจตนาเดิมที่แสดงไว้ในใบสมัครและสนองรับข้อเสนอดังกล่าวของจำเลย โดย ไม่ ขอรับเงินบำเหน็จพิเศษตามที่ระบุขอไว้ในใบสมัครอีกต่อไป การที่ จำเลยรับใบสมัครที่มีคำขอให้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษแก่โจทก์ เช่นเดียวกับผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นการรับไว้พิจารณาเท่านั้น หาใช่จำเลยยอมรับข้อเสนอของโจทก์และตกลงจ่ายเงินตามที่โจทก์ขอแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7251/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับใบสมัครโครงการเกษียณก่อนกำหนดที่ไม่ครบคุณสมบัติ การตกลงเงื่อนไข และการสละสิทธิ
การที่โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดโดยมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่จำเลยกำหนด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการดังกล่าว แต่จำเลยยอมรับใบสมัครของโจทก์ไว้แล้วพิจารณาอนุมัติให้โจทก์ลาออก โดยให้โจทก์ได้รับเฉพาะเงินประกันบำเหน็จและเงินเพิ่มพิเศษเท่านั้นส่วนเงินบำเหน็จพิเศษไม่อนุมัติให้จ่ายตามที่โจทก์ขอ และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยพิจารณาคำขอของโจทก์อีกครั้ง จำเลยยังคงยืนยันไม่จ่ายเงินส่วนนี้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แสดงเจตนาว่าจะไม่ลาออก แต่กลับรับเงินส่วนที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายไปเรียบร้อยแล้วโดยมิได้โต้แย้งสงวนสิทธิใด ๆ ไว้ ถือว่าโจทก์ยังคงตกลงลาออกตามเจตนาเดิมที่แสดงไว้ในใบสมัครและสนองรับข้อเสนอดังกล่าวของจำเลย โดยไม่ขอรับเงินบำเหน็จพิเศษตามที่ระบุขอไว้ในใบสมัครอีกต่อไป การที่จำเลยรับใบสมัครที่มีคำขอให้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษแก่โจทก์เช่นเดียวกับผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นการรับไว้พิจารณาเท่านั้น หาใช่จำเลยยอมรับข้อเสนอของโจทก์และตกลงจ่ายเงินตามที่โจทก์ขอแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7010/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ถือบัตรหลักต่อหนี้บัตรเสริมของสมาชิกในครอบครัว
ในคู่มือการใช้บัตรเครดิต ผู้ถือบัตรหลักสามารถมอบเครดิตของตนให้ได้เฉพาะสมาชิกในครอบครัว ด้วยการสมัครให้เป็นสมาชิกบัตรเสริม นอกจากนี้การแจ้งยอดค่าใช้จ่ายของบัตรหลักและบัตรเสริมกำหนดให้แจ้งแก่ผู้ถือบัตรหลักเท่านั้น ดังนี้ แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่าผู้ถือบัตรหลักต้องร่วมรับผิดชอบในการใช้บัตรของผู้ถือบัตรเสริมซึ่งเป็นสมาชิกครอบครัวเดียวกันด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ออกบัตรเสริมแก่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นสามีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือบัตรหลักจึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ของบัตรเสริมเสมือนกับเป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรของตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5612/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: ค่าจ้างรายเดือน vs. เงินตอบแทนพิเศษตามเงื่อนไข
++ เรื่อง คดีแรงงาน ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า บันทึกเอกสารหมาย จ.1 ที่ได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ที่ช่วยบริหารงานและกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 50,000 บาท โดยแบ่งจ่ายทุกสิ้นเดือน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือ 30,000 บาท จะจ่ายคืนให้หลังจากครบ 3 ปี แล้ว และได้ระบุวันที่จ่ายเงินในบางเดือนกับยอดคงเหลือไว้นั้นข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานที่ตกลงจะจ่ายค่าจ้างส่วนที่เหลือให้โจทก์เดือนละ 30,000 บาท หรือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 บัญญัติว่า "อันว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้"
++ หมายความว่า นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างตอบแทนการทำงานของลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างยังทำงานให้แก่นายจ้าง และค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้น คือเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย
++ คดีนี้ ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน และเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่า จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ที่ช่วยบริหารงานและกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นเงินเดือนละ 50,000 บาท โดยแบ่งจ่ายทุกสิ้นเดือน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือ30,000 บาท จะจ่ายคืนให้หลังครบ 3 ปีแล้ว เห็นว่า ข้อตกลงตามบันทึกเอกสารหมาย จ.1 ดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานเนื่องจากเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ 20,000 บาท ทุกวันสิ้นเดือนนั้น เป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายเดือน จึงเป็นค่าจ้างประเภทเงินเดือน
++ แต่เงินที่เหลืออีกเดือนละ 30,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายให้หลังครบ 3 ปี แล้วนั้น แสดงให้เห็นว่าเงินจำนวนหลังนี้มิใช่เงินที่ตกลงจ่ายให้เพื่อตอบแทนการทำงานปกติของการทำงานเป็นรายเดือน จึงมิใช่ค่าจ้าง
++ แต่เป็นเงินค่าตอบแทนอื่นที่จ่ายตามเงื่อนไขในข้อตกลง เมื่อโจทก์ทำงานยังไม่ครบ3 ปี ตามเงื่อนไขในข้อตกลงนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข: กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าชำระราคาครบถ้วน, ข้อตกลงยินยอมให้ริบเงินและคืนทรัพย์สินได้ไม่ขัดกฎหมาย
สัญญาฉบับพิพาทมีข้อความระบุไว้ว่าหนังสือสัญญาขายมีเงื่อนไขโดยตกลงกันไว้ในข้อ 1 ว่า ผู้จะขายตกลงจะขายและผู้จะซื้อตกลงจะซื้อรถยนต์พิพาทในราคา 1,235,680 บาท ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินค่าสินค้า ให้แก่ผู้จะขายแล้วเป็นเงิน 70,000 บาท ส่วนที่ยังค้างอยู่อีก 1,165,680 บาท นั้น ผู้จะซื้อสัญญาว่าจะชำระให้แก่ผู้จะขายเป็นงวดทุก ๆ เดือน งวดละ 48,570 บาท ณ สำนักงานของผู้จะขายให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 24 เดือน และระบุไว้ในข้อ 5 อีกว่า สัญญาซื้อขายนี้ตามข้อความแห่งสัญญาจะมีผลสมบูรณ์ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้จะซื้อต่อเมื่อผู้จะซื้อได้ปฏิบัติตามข้อความในสัญญานี้ทั้งหมดแล้ว และผู้จะขายมีสิทธิจะบอกเลิกสัญญาและเรียกทรัพย์สินได้ เมื่อผู้จะซื้อ ไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดก็ตาม เห็นได้ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันยังเป็นของผู้ขายโดยไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าผู้ขายจะได้รับชำระราคาครบถ้วนตามสัญญาแล้ว จึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขคือได้ชำระราคาแก่ผู้ขายครบถ้วนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 ส่วนที่สัญญาระบุว่าหากผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาสินค้าตามงวดหนึ่งงวดใด ผู้จะซื้อยอมให้ถือว่า สัญญานี้เป็นอันเลิกกันทันทีตั้งแต่วาระนั้นโดยไม่จำต้องบอกกล่าวและมีสิทธิเอารถยนต์ที่จะซื้อคืนโดยไม่ต้องคืนเงินที่ผู้จะซื้อชำระแล้วนั้น เป็นข้อตกลงโดยความสมัครใจของคู่สัญญาและข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการรักษา ผลประโยชน์ของผู้ขายมิให้เสียหายเกินกว่าความจำเป็น เมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา ข้อตกลงยินยอมกันดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และหาทำให้อิสระในการแสดงเจตนาทำสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขกลับกลาย แปรเปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่
เจตนารมณ์ของคู่สัญญามุ่งที่จะซื้อขายรถยนต์คันพิพาทต่อกันโดยมีข้อตกลงป้องกันการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้า เมื่อเกิดผิดสัญญากันขึ้นก็ต้องบังคับไปตามกฎหมายและข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4121/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และต้องมีข้อตกลงเรื่องช่วงเวลา หากไม่มีข้อตกลง สั่งให้ทำงานล่วงเวลาถือไม่ชอบ
อุทธรณ์จำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน นอกจากนี้จำเลยยังได้อ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ในอุทธรณ์อีก จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สัญญาจ้างแรงงานนอกจากจะบังคับใช้ตามบรรพ 3 ลักษณะ 6 แห่ง ป.พ.พ. แล้ว ยังจะต้องบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะให้สอดคล้องกันด้วย ในเรื่องการทำงานล่วงเวลาได้มีการบัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ฉะนั้น นายจ้างจะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่ เพียงใด ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายฉบับนี้ คู่กรณีจะทำสัญญาให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหาได้ไม่
นายจ้างไม่มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานนอกจากจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานเว้นแต่ ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป หมายความว่า เมื่อนายจ้างประสงค์ให้มีการทำงานล่วงเวลาในช่วงระยะเวลาใด นายจ้างจะต้องทำความตกลงกับลูกจ้างโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้มีสาระสำคัญครบถ้วนถึงกำหนดช่วง ระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาไว้ก่อนล่วงหน้า หลังจากนั้นหากนายจ้างจะออกคำสั่ง ในเรื่องการทำงานล่วงเวลาอีกก็ต้องให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว ถ้าคำสั่งนั้นไม่สอดคล้องกับข้อตกลง ต้องถือว่าเป็นคำสั่งให้ทำงานล่วงเวลาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ลูกจ้างไม่จำต้องปฏิบัติตามก็ได้
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเรื่องกำหนดช่วงระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาระหว่างจำเลยกับลูกจ้างรวมทั้งโจทก์ คำสั่งของจำเลยให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะลงชื่อให้ความยินยอมว่าจะปฏิบัติตามก็ไม่ผูกพันโจทก์ให้ต้อง ทำงานล่วงเวลา การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานล่วงเวลาทุกวันตามคำสั่งของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขัดคำสั่ง ของจำเลยเรื่องการทำงานล่วงเวลา
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวหนึ่ง จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แสดงอยู่ในตัวว่าศาลแรงงานวินิจฉัยคดีโดยปรับใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 ศาลแรงงานพิพากษาชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4121/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และต้องมีข้อตกลงชัดเจน หากไม่มีข้อตกลง คำสั่งให้ทำงานล่วงเวลานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อุทธรณ์จำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานนอกจากนี้จำเลยยังได้อ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ในอุทธรณ์อีกจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สัญญาจ้างแรงงานนอกจากจะบังคับใช้ตามบรรพ 3 ลักษณะ 6แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ยังจะต้องบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะให้สอดคล้องกันด้วย
ในเรื่องการทำงานล่วงเวลาได้มีการบัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ฉะนั้น นายจ้างจะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่ เพียงใด ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายฉบับนี้ คู่กรณีจะทำสัญญาให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหาได้ไม่
นายจ้างไม่มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานนอกจากจะเข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไปหมายความว่า เมื่อนายจ้างประสงค์ให้มีการทำงานล่วงเวลาในช่วงระยะเวลาใดนายจ้างจะต้องทำความตกลงกับลูกจ้างโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้มีสาระสำคัญครบถ้วนถึงกำหนดช่วงระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาไว้ก่อนล่วงหน้า หลังจากนั้นหากนายจ้างจะออกคำสั่งในเรื่องการทำงานล่วงเวลาอีกก็ต้องให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว ถ้าคำสั่งนั้นไม่สอดคล้องกับข้อตกลงต้องถือว่าเป็นคำสั่งให้ทำงานล่วงเวลาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ลูกจ้างไม่จำต้องปฏิบัติตามก็ได้
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเรื่องกำหนดช่วงระยะเวลาเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาระหว่างจำเลยกับลูกจ้างรวมทั้งโจทก์คำสั่งของจำเลยให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะลงชื่อให้ความยินยอมว่าจะปฏิบัติตาม ก็ไม่ผูกพันโจทก์ให้ต้องทำงานล่วงเวลา การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานล่วงเวลาทุกวันตามคำสั่งของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขัดคำสั่งของจำเลยเรื่องการทำงานล่วงเวลา
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวหนึ่ง จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แสดงอยู่ในตัวว่าศาลแรงงานวินิจฉัยคดีโดยปรับใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเลิกสัญญาเช่าและการริบเงินประกัน หากมีข้อตกลงยินยอมให้ริบได้
โจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากจำเลยมีกำหนดเวลาการเช่า 1 ปี 6 เดือน โจทก์ได้วางเงินประกันไว้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบตึกแถวคืนจำเลยในสภาพเรียบร้อย โจทก์ขอบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดเวลาเช่าและจำเลยยินยอมให้โจทก์เลิกสัญญาได้ จึงเป็นการที่ต่างฝ่ายต่างสมัครใจตกลงเลิกสัญญาต่อกัน แต่โจทก์จำเลยมีข้อตกลงในการเลิกสัญญาเช่าว่าโจทก์ยอมให้จำเลยริบเงินประกันได้ จำเลยจึงมีสิทธิริบเอาเงินประกันดังกล่าว
of 14