คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 149

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากสัญญาซื้อขายและจ้างทำของ ไม่ขัดต่อข้อจำกัดอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
แม้จำนวนเงินตามเช็คที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดจะเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์คิดในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คที่จำเลยค้างชำระโจทก์แต่เงินจำนวนนี้ก็เป็นดอกเบี้ยที่คิดจากมูลหนี้เดิมที่เกิดจากการซื้อขายและค่าจ้างทำของที่ให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้ตามสัญญา มิใช่มูลหนี้เดิมมาจากการกู้ยืมเงินจึงไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้โจทก์เรียกหรือคิดดอกเบี้ยเกินกว่าในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้ตามที่จำเลยตกลงจะชำระให้แก่โจทก์ ดอกเบี้ยดังกล่าวหาตกเป็นโมฆะเพราะโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินสร้างอาคารและโอนกรรมสิทธิ์: สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าเช่าธรรมดา แม้ไม่ทำหนังสือก็มีผลบังคับ
การที่จำเลยให้โจทก์เช่าที่ดินสร้างอาคารโดยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยต้องให้โจทก์เช่าที่ดินตามกำหนดระยะเวลาหนึ่ง แล้วโจทก์จะให้อาคารพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยผู้ให้เช่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้เช่าเกินกว่า 3 ปีโดยไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานก็มีผลบังคับมิใช่ต้องลดเหลือ 3 ปี หรือถือว่าเช่าโดยไม่กำหนดระยะเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินสร้างอาคารและโอนกรรมสิทธิ์: เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้ไม่ทำหนังสือก็มีผลผูกพัน
การที่จำเลยให้โจทก์เช่าที่ดินสร้างอาคารโดยมีข้อตกลงกันว่า จำเลยต้องให้โจทก์เช่าที่ดินตามกำหนดระยะเวลาหนึ่ง แล้วโจทก์จะให้อาคารพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยผู้ให้เช่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้เช่าเกินกว่า 3 ปีโดยไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานก็มีผลบังคับ ไม่ใช่ต้องลดเหลือ 3 ปี หรือถือว่าเช่าโดยไม่กำหนดระยะเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8462/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าไฟฟ้า, สัญญาค้ำประกัน, วงเงินความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน
พ.ร.บ.การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มาตรา 6 บัญญัติว่า"ให้จัดตั้งการไฟฟ้าขึ้นเรียกว่า "การไฟฟ้านครหลวง" มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้...(2) จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและ (3) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวง" จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการไฟฟ้านครหลวงหรือโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ประกอบกับป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" ตามมาตรา 165 (1) เดิมเป็นคำว่า "ผู้ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น โจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 193/34 (1) การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปจากจำเลยจึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าการงานที่ได้ทำ ย่อมมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1)
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2531 ถึงเดือนมกราคม 2533 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ยังไม่ได้ออกมาใช้บังคับ หากโจทก์จะฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าได้ ซึ่งตามมาตรา 165 (1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165 (1) ดังกล่าว แต่โจทก์อาจฟ้องได้ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งในกรณีเช่นนี้มี พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า"บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์...ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535)หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" เมื่อกำหนดอายุความตามมาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตามมาตรา 193/34 (1) ที่ได้ตรวจชำระใหม่การฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลงคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
แม้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 บกพร่องโดยเดินช้าผิดปกติเนื่องจากความผิดพลาดของพนักงานของโจทก์ผู้ติดตั้งเองโดยฝ่ายจำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เป็นเหตุให้แสดงค่าน้อยกว่าจำนวนกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไปจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 สัญญาต่อโจทก์ว่าจะชำระค่าไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไป ซึ่งแปลความหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริงจำเลยที่ 1 จึงยังคงมีหน้าที่ตามที่ได้สัญญาไว้ดังกล่าวที่ต้องชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง
ธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำนวนรวม 290,000 บาท ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 และหนังสือเพิ่มวงเงินค้ำประกันและต่ออายุสัญญาเอกสารหมาย จ.2 หลังจากครบอายุหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว ได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ต่อมาตามลำดับ ข้อความในเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ได้อ้างถึงหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1ทุกฉบับ วงเงินค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ก็เป็นไปตามเอกสารหมายจ.1 และ จ.2 คือจำนวน 260,000 บาท และเพิ่มวงเงินค้ำประกันอีกจำนวน30,000 บาท รวมเป็นจำนวน 290,000 บาท ทุกฉบับ และเอกสารหมาย จ.3ถึง จ.5 ได้ระบุข้อความตรงกันทั้ง 3 ฉบับ ว่า ข้อความและเงื่อนไขอื่น ๆ ในหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ขอต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ทำเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 เป็นสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อให้ตนรับผิดเพิ่มเติมต่างหากจากสัญญาตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 ส่วนที่ปรากฏว่าการต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ต้องปิดอากรแสตมป์ทุกฉบับและมีการเก็บค่าธรรมเนียมทุกครั้งด้วย ก็เป็นเรื่องของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดให้กระทำ จะให้แปลความหมายเลยไปถึงว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในวงเงินทุกฉบับรวมกันอันขัดต่อข้อความในหนังสือสัญญาไม่ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ในวงเงินจำนวนเพียง 290,000 บาท เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8462/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าไฟฟ้า, สัญญาค้ำประกัน, วงเงินรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน, การต่ออายุสัญญา
พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มาตรา 6 บัญญัติว่า"ให้จัดตั้งการไฟฟ้าขึ้นเรียกว่า "การไฟฟ้านครหลวง" มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้(2) จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และ (3) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวง"จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการไฟฟ้านครหลวงหรือโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" ตามมาตรา 165(1) เดิมเป็นคำว่า "ผู้ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น โจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 193/34(1) การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปจากจำเลยจึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าการงานที่ได้ทำ ย่อมมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34(1)
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2531 ถึงเดือนมกราคม 2533 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ยังไม่ได้ออกมาใช้บังคับ หากโจทก์จะฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าได้ซึ่งตามมาตรา 165(1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(1) ดังกล่าว แต่โจทก์อาจฟ้องได้ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งในกรณีเช่นนี้มีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535)หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิมให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" เมื่อกำหนดอายุความตามมาตรา 164 เดิมแตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตามมาตรา 193/34(1)ที่ได้ตรวจชำระใหม่ การฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลง คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
แม้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 บกพร่องโดยเดินช้าผิดปกติเนื่องจากความผิดพลาดของพนักงานของโจทก์ผู้ติดตั้งโดยฝ่ายจำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เป็นเหตุให้แสดงค่าน้อยกว่าจำนวนกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไปจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 สัญญาต่อโจทก์ว่าจะชำระค่าไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไป ซึ่งแปลความหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง จำเลยที่ 1 จึงยังคงมีหน้าที่ตามที่ได้สัญญาไว้ดังกล่าวที่ต้องชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง
ธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำนวนรวม 290,000 บาท หลังจากครบอายุหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว ได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันต่อมาตามลำดับ โดยมีข้อความอ้างถึงหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับเดิมวงเงินค้ำประกันก็เป็นไปตามข้อความและเงื่อนไขอื่น ๆ ในหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2ขอต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันส่วนที่ปรากฏว่าการต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ต้องปิดอากรแสตมป์ทุกฉบับและมีการเก็บค่าธรรมเนียมทุกครั้งด้วย ก็เป็นเรื่องของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดให้กระทำ จะให้แปลงความหมายเลยไปถึงว่าจำเลยที่ 2ต้องรับผิดในวงเงินทุกฉบับรวมกันอันขัดต่อข้อความในหนังสือสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7713/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งผลประโยชน์จากโรงเรียนคอมพิวเตอร์ ไม่เป็นโมฆะจากการหลีกเลี่ยงภาษี หรือสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์ระหว่างโจทก์และจำเลย โดยคิดจากจำนวนนักเรียนที่เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 700 คน ต่อ 1 ภาคการศึกษา เก็บค่าเล่าเรียนคนละ 700 บาท ต่อ 1 ภาคการศึกษา ส่งแก่โจทก์ โดยจำเลยจะได้ผลตอบแทนเป็นเงินร้อยละ 15 ของค่าเล่าเรียนที่เก็บได้ โจทก์เป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งจัดสร้างห้องเรียนคอมพิวเตอร์ให้จำเลย 1 ห้อง เมื่อครบ 4 ปีแล้ว โจทก์จะมอบคอมพิวเตอร์ วัสดุอุปกรณ์ ห้องเรียนและหลักสูตรการเรียนการสอนให้จำเลยทั้งหมด ผลของสัญญามิได้กระทบต่อสิทธิหรือประโยชน์ของคนโดยทั่วไป สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนรูปแบบหนึ่งซึ่งใช้บังคับกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 และ 369 ไม่ใช่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีหรือเป็นสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายเงินผ่อน จึงเป็นธรรมและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7713/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งปันผลประโยชน์จากโรงเรียน: ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำกัดค่าเสียหาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างโจทก์และจำเลย โดยคิดจากจำนวนนักเรียนที่เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 700 คน ต่อ 1 ภาคการศึกษากรณีที่มีน้อยกว่า 700 คน ให้ถือว่าจำนวนนักเรียนเป็น 700 คน จำเลยเป็นผู้เก็บค่าเล่าเรียน คนละ 700 บาท ส่งแก่โจทก์ทุกภาคการศึกษา จำเลยจะได้ผลตอบแทนเป็นเงินร้อยละ 15 ของค่าเล่าเรียนที่เก็บได้ โดยโจทก์เป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งจัดสร้างห้องเรียนคอมพิวเตอร์ให้จำเลย 1 ห้อง เมื่อครบ 4 ปีแล้ว โจทก์จะมอบคอมพิวเตอร์ วัสดุอุปกรณ์ห้องเรียน และหลักสูตรการเรียนการสอนให้จำเลยทั้งหมด เมื่อผลของสัญญามิได้กระทบต่อสิทธิหรือประโยชน์ของคนโดยทั่วไป จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนรูปแบบหนึ่งซึ่งใช้บังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149 และ 369 ไม่ใช่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีหรือเป็นสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายเงินผ่อน จึงเป็นธรรมและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะตามมาตรา 150
การตีความสัญญาต้องเป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องจัดหานักเรียนเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ให้ได้ภาคการศึกษาละ 700 คน และกำหนดให้จำเลยจะต้องเก็บค่าเล่าเรียนจากเด็กนักเรียนคนละ 700 บาทต่อหนึ่งภาคการศึกษา โดยจำเลยจะต้องนำเงินค่าเล่าเรียนส่งแก่โจทก์ในภาคการศึกษาที่ 1 และที่ 2 ตามที่กำหนด ย่อมหมายถึงว่าจำเลยจะต้องเก็บเงินจากนักเรียนเหล่านั้นให้ได้ หากจำเลยเก็บไม่ได้จำเลยก็ต้องรับผิดในเงินส่วนนั้น ซึ่งตามความประสงค์ของคู่สัญญาย่อมจะเข้าใจตรงกันเช่นนั้น โจทก์มิได้มาลงทุนจัดสร้างห้องคอมพิวเตอร์เองและว่าจ้างให้จำเลยเป็นผู้หานักเรียนมาเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และว่าจ้างจำเลยให้เป็นตัวแทนเก็บค่าเล่าเรียนของนักเรียนแก่โจทก์แต่อย่างใด มิฉะนั้นโจทก์คงจะไม่ตอบแทนจำเลยเมื่อเก็บเงินครบ 4 ปีแล้ว โดยยกกรรมสิทธิ์เครื่องคอมพิวเตอร์วัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้แก่จำเลย ทั้งจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนในการศึกษาภาคที่ 1 ดังนั้น เมื่อภาคการศึกษาที่ 2 จำเลยหาเงินมาชำระแก่โจทก์ไม่ครบจึงต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญา
จำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ 3 ภาคการศึกษา โจทก์จึงยึดเครื่องคอมพิวเตอร์คืนไป เท่ากับโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาต่อกัน คู่กรณีย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนที่จำเลยค้างชำระในภาคการศึกษาที่ 2 ปี 2537ที่ขาดอยู่และในภาคการศึกษาที่ 1 ปี 2538 รวมเป็นเงิน 583,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่ากับเรียกค่าเสียหายส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม การที่ศาลกำหนดค่าเสียหายเป็นเงิน 250,000 บาทจึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงจำนองที่เกินวงเงิน: โมฆะเนื่องจากขัดมาตรา 708 และหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่กำหนดว่าจำนวนเงินต้นตามสัญญาไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองจะบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมีดอกเบี้ยหรือหนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้ เป็นข้อตกลง ที่ใช้ได้ เพราะผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้ ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตามสัญญาจำนองไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอนหรือไม่มีจำนวนขั้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกัน เป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบังคับบัญชาและการตักเตือนลูกจ้าง: หนังสือตักเตือนไม่เป็นนิติกรรม
ศ.เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลย มีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของโจทก์ เมื่อโจทก์ประพฤติตนบกพร่องโดยมาทำงานสายเป็นประจำอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ศ.ย่อมมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือได้ และในหนังสือตักเตือนก็ไม่จำต้องให้กรรมการจำเลยสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยเพราะมิใช่เป็นการกระทำนิติกรรมแทนจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตักเตือนของกรรมการผู้จัดการ: หนังสือตักเตือนโดยไม่ต้องลงลายมือชื่อกรรมการอื่น
ศ.เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ทั้งเป็นผู้บังคับบัญชา โดยตรงของโจทก์ เมื่อโจทก์ประพฤติตนบกพร่อง โดยมาทำงานสายเป็นประจำอันอาจก่อให้เกิด ความเสียหายแก่จำเลย ศ.ย่อมมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือได้ และในหนังสือตักเตือนก็ไม่จำต้องให้กรรมการจำเลยสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยเพราะมิใช่เป็นการกระทำนิติกรรมแทนจำเลย
of 14