คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 149

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการผู้จัดการออกหนังสือตักเตือน และการเลิกจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย
ศ. เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลย มีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์และเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของโจทก์เมื่อโจทก์ประพฤติตนบกพร่องโดยมาทำงานสายเป็นประจำ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ศ. ย่อมมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือได้ และในหนังสือ ตักเตือนไม่จำต้องให้กรรมการจำเลยสองคนลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของจำเลยเพราะมิใช่เป็นการ กระทำนิติกรรมแทนจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงทรัพย์สินก่อนอยู่กินเป็นสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสมีผลผูกพันทางกฎหมาย
ผู้ตายกับจำเลยทำข้อตกลงก่อนอยู่กินร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสว่าทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินร่วมกัน ผู้ตายยินยอมยกให้จำเลยทั้งหมด แต่จำเลยต้องกันเงินส่วนหนึ่งเพื่อส่งเสียเลี้ยงดูภรรยาเก่าและบุตรทั้งหกที่เกิดจากภรรยาเก่าของผู้ตายด้วย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลบังคับตามกฎหมาย ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างที่ผู้ตายอยู่กินกับจำเลยจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียว หาได้เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทรัพย์สินโดยมีการหลอกลวง ทำให้สัญญาไม่ผูกพันและเกิดความรับผิดในฐานะผู้ยึดครอง
ส.หลอกลวงให้โจทก์เข้าใจว่า ส.เป็นตัวแทนของฝ่ายจำเลยมาสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศ 2 เครื่อง จากโจทก์ให้นำไปติดตั้งที่บ้านจำเลย ในขณะเดียวกัน ส.ก็ทำให้จำเลยเข้าใจว่า ส.เป็นเจ้าของเครื่องปรับอากาศดังกล่าวและนำพนักงานมาติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่บ้านจำเลยตามที่ได้เสนอขายให้จำเลยไว้กรณีจึงเป็นเรื่องที่ทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็ถูก ส.หลอกลวง การกระทำทั้งหลายของส.ที่มีต่อโจทก์ย่อมไม่เกิดเป็นสัญญาผูกพันโจทก์ แม้การกระทำของ ส.ดังกล่าวที่มีต่อโจทก์จะเข้าลักษณะซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง ก็ไม่ทำให้ ส.ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในเครื่องปรับอากาศของโจทก์ อันเกิดจากการกระทำเพื่อหลอกลวงใช้โจทก์เป็นเครื่องมือดังกล่าว ส.จึงไม่มีสิทธิขายเครื่องปรับอากาศของโจทก์ให้แก่จำเลยในขณะที่เครื่องปรับอากาศทั้งสองเครื่องดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครองของพนักงานโจทก์ ซึ่งถือได้ว่ายังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ จำเลยจะอ้างเอาการซื้อเครื่องปรับอากาศ ดังกล่าวจาก ส.ขึ้นยันต่อโจทก์มิได้ เมื่อโจทก์ขอถอดเอาเครื่องปรับอากาศคืนไป แต่จำเลยกลับปฏิเสธและยึดเอาเครื่องปรับอากาศของโจทก์ไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคาเครื่องปรับอากาศแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังรับเงินชดเชยทำให้ขาดสิทธิฟ้อง
ประเด็นต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่าหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินต่าง ๆจากจำเลยและโจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงิน หรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยเมื่อเป็นข้อที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้ศาลแรงงานมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นโดยตรงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ หรือการที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามบันทึกดังกล่าวแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีกหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่หากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สมควรที่จะให้จำเลย รับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น ประเด็นที่ว่าให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใดจึงเป็นประเด็น ซึ่งครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยไว้ด้วยแล้ว จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัย แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่ การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาเป็นยุติว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 7 เดือนเป็นเงิน 560,000 บาท เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาทและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชย ค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิ์ในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังได้รับค่าชดเชย
ประเด็นต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า หลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินต่าง ๆ จากจำเลยและโจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลย เมื่อเป็นข้อที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้ศาลแรงงานกลางมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นโดยตรงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ หรือการที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามบันทึกดังกล่าวแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีกหรือไม่ก็ตาม แต่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สมควรที่จะให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น ประเด็นที่ว่าให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใดจึงเป็นประเด็นซึ่งครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยไว้ด้วยแล้ว
จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัยแต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานกลางฟังเป็นยุติว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง7 เดือน เป็นเงิน เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาท และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชยค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเงินตามกฎหมายอย่างหนึ่ง แต่มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้ การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดผลผูกพันตามสัญญาค้ำประกันหลังเปลี่ยนแปลงกรรมการและทำสัญญาใหม่ ย่อมทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิด
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาฉบับพิพาทค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้ขายหุ้นทั้งหมดและลาออกจากการเป็นกรรมการ ซึ่งที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติให้จำเลยที่ 4 ลาออกและให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นกรรมการแทน โดยมีการนำมติดังกล่าว ไปจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้ว นับแต่นั้นจำเลยที่ 4 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการ จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทราบแล้ว การที่ต่อมาโจทก์ให้จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ใหม่ภายหลังจากโจทก์ ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 4 ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของ จำเลยที่ 1 และจำนวนผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดิม ลดน้อยลงโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่มวงเงินที่ ค้ำประกันสูงขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวในหนังสือค้ำประกันฉบับใหม่ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกัน จำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม เห็นได้ชัดว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 4 ต้องผูกพัน ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทต่อไปอีก ดังนั้น สัญญาค้ำประกันเดิมจึงเป็นอันดับยกเลิกเพิกถอนไปในตัวโดยปริยาย โดยโจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือเพิกถอนสัญญาค้ำประกันในส่วนของจำเลยที่ 4 อีก หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สัญญาค้ำประกันเดิมเพิกถอนแล้วจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ทำบันทึกข้อตกลงถึงโจทก์ เสนอขอชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท เพื่อให้โจทก์ปลดเปลื้องภาระผูกพันของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาท เพราะเข้าใจว่ากรรมการบริหารใหม่ ของจำเลยที่ 1 มิได้ปลดภาระผูกพันให้แก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ การทำบันทึกดังกล่าว จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกรรมการและผลกระทบต่อสัญญาค้ำประกัน: การยกเลิกสัญญาค้ำประกันโดยปริยาย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาฉบับพิพาทค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้ขายหุ้นทั้งหมดและลาออกจากการเป็นกรรมการ ซึ่งที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติให้จำเลยที่ 4 ลาออก และให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นกรรมการแทน โดยมีการนำมติดังกล่าวไปจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้ว นับแต่นั้นจำเลยที่ 4 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการจำเลยที่ 1ให้โจทก์ทราบแล้ว การที่ต่อมาโจทก์ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ใหม่ภายหลังจากโจทก์ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 4 ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 และจำนวนผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดิมลดน้อยลงโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่มวงเงินที่ค้ำประกันสูงขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวในหนังสือค้ำประกันฉบับใหม่ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม เห็นได้ชัดว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 4 ต้องผูกพันตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทต่อไปอีก ดังนั้นสัญญาค้ำประกันเดิมจึงเป็นอันยกเลิกเพิกถอนไปในตัวโดยปริยาย โดยโจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือเพิกถอนสัญญาค้ำประกันในส่วนของจำเลยที่ 4 อีก
หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สัญญาค้ำประกันเดิมเพิกถอนแล้ว จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ทำบันทึกข้อตกลงถึงโจทก์ เสนอขอชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท เพื่อให้โจทก์ปลดเปลื้องภาระผูกพันของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาท เพราะเข้าใจว่ากรรมการบริหารใหม่ของจำเลยที่ 1 มิได้ปลดภาระผูกพันให้แก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ การทำบันทึกดังกล่าวจึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3652/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสถานบริการและใบอนุญาตเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายเป็นโมฆะ ผู้เช่าไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายหรือเงินลงทุนคืนได้
ตามสัญญาเช่าฉบับพิพาทมีข้อความระบุว่า ผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (1) แห่ง พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 ตกลงให้เช่าและผู้เช่าตกลงกันเช่าสถานที่บริการและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่ามีกำหนดเวลา 3 ปี โดยผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าสถานที่และใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในปีแรกเดือนละ 45,000 บาท และในปีต่อ ๆ ไปในอัตราค่าเช่าเดือนละ 50,000 บาท ตลอดไป ... ในวันทำสัญญานี้ผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าล่วงหน้าแก่ผู้ให้เช่าไว้ และผู้ให้เช่าคิดเงินพิเศษค่าเช่าดำเนินกิจการเป็นเงินจำนวน1,000,000 บาท โดยผู้ให้เช่าตกลงยกอุปกรณ์ในการประกอบกิจการที่มีอยู่ในสถานที่เช่าทั้งหมดแก่ผู้เช่า และตกลงให้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าเป็นสาระสำคัญยิ่งของสัญญาเช่านี้ และผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องดำเนินการขอต่ออายุใบอนุญาตต่อทางราชการให้ใบอนุญาตมีผลใช้ได้ตามกฎหมายอยู่เสมอตลอดระยะเวลาเช่าในสัญญาและคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปีด้วย และผู้ให้เช่าต้องไม่นำใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการนี้ไปดำเนินกิจการเอง หรือยินยอมอนุญาตให้ผู้อื่นดำเนินกิจการนี้ด้วยวิธีการใด ๆ อีกเป็นอันขาด ถ้าสถานบริการถูกรื้อถอนหรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการในสถานที่ดังกล่าวได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใด เป็นเหตุให้ผู้เช่าต้องย้ายสถานที่บริการจากสถานที่ไปอยู่อีกแห่งหนึ่ง ผู้ให้เช่าจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอย้ายสถานบริการจากสถานที่เช่า ไปอยู่ยังสถานที่แห่งอื่นที่ผู้เช่าประสงค์โดยปราศจากข้อโต้แย้งทั้งสิ้น โดยผู้ให้เช่าตกลงคิดค่าเช่าในการให้ผู้เช่าใช้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในสถานที่แห่งใหม่เพียงอย่างเดียวในอัตราค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาทไปจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเช่านี้ และคำมั่นจะให้เช่าจนครบ10 ปี และให้ยกเลิกอัตราค่าเช่าไปโดยปริยาย หากสถานที่เช่าและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าตกทอดไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นในระหว่างอายุสัญญาเช่านี้หรือตามคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปี สัญญาเช่านี้คงมีผลผูกพันไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่าต้องแจ้งให้ทายาทหรือบุคคลอื่นทราบถึงสัญญา เห็นได้ว่าคู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะให้โจทก์เข้าไปดำเนินกิจการแทนในฐานะผู้จัดการเท่านั้นแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิการได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานบริการให้แก่กัน โดยมีการตกลงซื้อขายอุปกรณ์ในการประกอบกิจการให้แก่กัน และคู่กรณีมีเจตนาโดยชัดแจ้งที่จะให้โจทก์ดำเนินกิจการตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการโดยทำเป็นสัญญาเช่า การที่โจทก์ชำระค่าเช่าล่วงหน้าก็ดี ชำระค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบกิจการสถานบริการตลอดจนค่าตกแต่งสถานบริการก็ดี ก็เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการสถานบริการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าตามฎีกาของโจทก์แต่อย่างใดไม่ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา113 เดิม (มาตรา 150 ที่ตรวจชำระใหม่) โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างข้อสัญญาเพื่อเรียกค่าเสียหายจากจำเลย กรณีจำเลยปฏิบัติผิดสัญญา
ส่วนเงินค่าตอบแทนการได้เข้าดำเนินกิจการและการยกอุปกรณ์และทรัพย์สินในการประกอบกิจการให้แก่กัน และได้มีโอนส่งมอบสถานที่ อุปกรณ์ และทรัพย์สินให้แก่กันไปแล้ว จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้ชำระไปเพื่อให้การดำเนินกิจการที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายบรรลุผล โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องคืนจากจำเลยได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 411
สำหรับเงินลงทุนของโจทก์ เมื่อไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาบำรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 416 จำเลยผู้เป็นเจ้าของทรัพย์จึงไม่ต้องรับผิดใช้คืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3652/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสถานบริการที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายเป็นโมฆะ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่มีผลผูกพัน
ตามสัญญาเช่าฉบับพิพาทมีข้อความระบุว่า ผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(1) แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ตกลงให้เช่าและผู้เช่าตกลงกันเช่าสถานที่บริการและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่ามีกำหนดเวลา 3 ปี โดยผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าสถานที่และใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในปีแรกเดือนละ 45,000 บาท และในปีต่อ ๆ ไปในอัตราค่าเช่าเดือนละ 50,000 บาท ตลอดไป ในวันทำสัญญานี้ผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าล่วงหน้าแก่ผู้ให้เช่าไว้ และผู้ให้เช่าคิดเงินพิเศษค่าเช่าดำเนินกิจการเป็นเงินจำนวน1,000,000 บาท โดยผู้ให้เช่าตกลงยกอุปกรณ์ในการประกอบกิจการที่มีอยู่ในสถานที่เช่าทั้งหมดแก่ผู้เช่า และตกลงให้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าเป็นสาระสำคัญยิ่งของสัญญาเช่านี้ และผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องดำเนินการขอต่ออายุใบอนุญาตต่อทางราชการให้ใบอนุญาตมีผลใช้ได้ตาม กฎหมายอยู่เสมอตลอดระยะเวลาเช่าในสัญญาและคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปีด้วย และผู้ให้เช่าต้องไม่นำใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการนี้ไปดำเนินกิจการเอง หรือยินยอมอนุญาตให้ผู้อื่นดำเนินกิจการนี้ด้วยวิธีการใด ๆ อีกเป็นอันขาดถ้าสถานบริการถูกรื้อถอนหรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการในสถานที่ดังกล่าวได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดเป็นเหตุให้ผู้เช่าต้องย้ายสถานที่บริการจากสถานที่ไปอยู่อีกแห่งหนึ่ง ผู้ให้เช่าจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอย้ายสถานบริการจากสถานที่เช่า ไปอยู่ยังสถานที่แห่งอื่นที่ผู้เช่าประสงค์โดยปราศจากข้อโต้แย้งทั้งสิ้น โดยผู้ให้เช่าตกลงคิดค่าเช่าในการให้ผู้เช่าใช้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในสถานที่แห่งใหม่เพียงอย่างเดียวในอัตราค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท ไปจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเช่านี้ และคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปี และให้ยกเลิกอัตราค่าเช่าไปโดยปริยายหากสถานที่เช่าและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าตกทอดไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นในระหว่างอายุสัญญา เช่านี้หรือตามคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปี สัญญาเช่านี้คงมีผลผูกพันไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่าต้องแจ้งให้ทายาทหรือบุคคลอื่นทราบถึงสัญญา เห็นได้ว่าคู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะให้โจทก์เข้าไปดำเนินกิจการแทนในฐานะผู้จัดการเท่านั้นแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิการได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานบริการให้แก่กัน โดยมีการตกลงซื้อขายอุปกรณ์ในการประกอบกิจการให้แก่กันและคู่กรณีมีเจตนาโดยชัดแจ้งที่จะให้โจทก์ดำเนินกิจการตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการโดยทำเป็นสัญญาเช่าการที่โจทก์ชำระค่าเช่าล่วงหน้าก็ดี ชำระค่าอุปกรณ์ที่ใช้ ในการประกอบกิจการสถานบริการตลอดจนค่าตกแต่งสถานบริการก็ดี ก็เพื่อประโยชน์ในการประกอบ กิจการสถานบริการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าตามฎีกาของโจทก์แต่อย่างใดไม่ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลย เมื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและฝ่าฝืนต่อ พระราชบัญญัติสถานบริการพ.ศ. 2509 จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม(มาตรา 150 ที่ตรวจชำระใหม่) โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างข้อสัญญาเพื่อเรียกค่าเสียหายจากจำเลย กรณีจำเลยปฏิบัติผิดสัญญา ส่วนเงินค่าตอบแทนการได้เข้าดำเนินกิจการและการยกอุปกรณ์ และทรัพย์สินในการประกอบกิจการให้แก่กัน และได้มี โอนส่งมอบสถานที่ อุปกรณ์ และทรัพย์สินให้แก่กันไปแล้ว จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้ชำระไปเพื่อให้การดำเนินกิจการ ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายบรรลุผล โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้อง คืนจากจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 สำหรับเงินลงทุนของโจทก์ เมื่อไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาบำรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 416 จำเลยผู้เป็นเจ้าของทรัพย์จึงไม่ต้องรับผิดใช้คืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยปรับปรุงได้ตามสัญญา และภริยาสามีเป็นลูกหนี้ร่วมกันในหนี้ที่เกิดจากสินสมรส
หนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาจำนองได้ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี หรือดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่โจทก์กำหนดและระบุด้วยว่าจำเลยผู้กู้และผู้จำนองตกลงให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุง อัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสม โดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาต ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ และถือว่าจำเลยได้ยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าแล้ว และตามสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เงินระบุว่าหากภายหลังวันทำสัญญาธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้จำเลยยินยอมให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ดังนั้นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 18 ต่อปีเป็นร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองที่กำหนดให้โจทก์มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยจะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ที่ศาลจะลดลงได้ตามมาตรา 383 การที่โจทก์ปรับดอกเบี้ยตามข้อตกลงขณะจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เป็นแต่เพียงวิธีการหนึ่งในการเรียกเอาชำระหนี้ทั้งหมดจากจำเลยเท่านั้นไม่ทำให้สภาพของดอกเบี้ยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีอยู่แต่เดิมต้องแปรเปลี่ยนเป็นเบี้ยปรับไปไม่ จำเลยที่ 1 ได้ที่ดินที่จำนองมาในระหว่างที่จำเลยที่ 1สมรสกับจำเลยที่ 3 ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) และเมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นสินสมรสไปจดทะเบียนจำนองแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 3 ให้ความยินยอม หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาสามีเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490(2) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
of 14