คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 58 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4542/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังพ้นระยะห้ามโอน แม้การซื้อขายเดิมเป็นโมฆะ การครอบครองภายหลังด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ทำให้ได้สิทธิครอบครอง
บ.ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาก่อนแล้วต่อมาทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ โจทก์ผู้รับโอนที่ดินจาก บ. ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนจะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่เพียงใดเมื่อครบกำหนดห้ามโอนแล้วนั้น ต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ยึดถือ ที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือไม่ โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่ซื้อจาก บ. ตลอดมาแม้ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนโจทก์จะยังไม่ได้ สิทธิครอบครอง เนื่องจากถูกจำกัดโดยบทบัญญัติ มาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่เมื่อโจทก์ยังครอบครองที่ดินพิพาท ตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษและเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของโจทก์ตลอดมา โดยไม่มีผู้อื่นเข้าไปยุ่งเกี่ยวแย่งการครอบครอง การครอบครองที่ดินพิพาท ของโจทก์จึงเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนโจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1367

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินช่วงเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิแม้จะครอบครองภายหลัง
ก่อนยื่นคำแก้ฎีกาของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้แล้ว จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกย. ภริยาจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 และมีภูมิลำเนาแห่งเดียวกันกับจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะทนายจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทนายของย.แถลงรับว่าย.เป็นทายาทของจำเลยที่ 1 จริง และขอยื่นคำแก้ฎีกาต่อไปศาลชั้นต้นอนุญาตให้ย.เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1ผู้มรณะ ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้วคดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ย.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบแต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบทนายจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นทนายของย.แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าย. เป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ผู้มรณะ และจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้วทั้งโจทก์ก็เป็นฝ่ายที่ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียก ย.ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะเองโดยไม่คัดค้านการเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ดังกล่าว ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งตั้งย. เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะต่อไป ขณะที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินที่พิพาทให้แก่ค. ที่ดินดังกล่าวยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามกฎหมายแม้ตามสัญญาซื้อขายจะมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อในเมื่อผู้ซื้อเรียกร้องได้ทุกเวลา และมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)ให้แก่ผู้ซื้อแล้วก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่าง ค.กับจำเลยที่ 1ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะโอนสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินนั้น (น.ส.3 ก.)ให้แก่กัน ข้อความที่ระบุดังกล่าวระบุไว้เพื่อ หลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น นิติกรรมการซื้อขายที่ดินตามคำฟ้องระหว่างค.กับจำเลยที่ 1จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดย กฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 ย่อมไม่มีผลบังคับ จึงต้องถือว่า ค.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดเวลา แม้ค. จะครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานเพียงใด ก็ไม่ได้สิทธิครอบครองดังนั้น แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทจากค. และรับโอนการครอบครองที่ดินดังกล่าวมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 10 ปี ที่กฎหมายห้ามโอนแล้วก็ตาม แต่เมื่อค. ผู้โอนไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินนั้นโจทก์ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่า สิทธิที่ค.ผู้โอนมีอยู่ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตามคำฟ้อง และต้องฟังว่าโจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าว แทนจำเลยที่ 1 โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาและโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องให้ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองโดยบอกกล่าว ไปยังจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คำฟ้องของโจทก์จึง ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินช่วงห้ามโอน สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิครอบครอง
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่าง การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือ ไม่อนุญาตให้ ย. เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบข้อเท็จจริงแล้วฟังว่า ย. เป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ผู้มรณะ และจำเลยที่ 1ถึงแก่ความตายแล้วจริง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งตั้ง ย.เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะต่อไป จำเลยที่ 1 ขายที่ดินที่พิพาทให้แก่ ค. ในระยะเวลาห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามกฎหมาย แม้ตามสัญญาซื้อขายจะมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 1 พร้อมจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อในเมื่อผู้ซื้อ เรียกร้องได้ทุกเวลา และมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ให้แก่ผู้ซื้อแล้วก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่าง ค. กับจำเลยที่ 1 ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะโอนสิทธิครอบครอง ในที่ดินดังกล่าวพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดิน นั้น (น.ส.3 ก.) ให้แก่กัน ข้อความดังกล่าวระบุไว้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน นิติกรรมการซื้อขายที่ดินตามคำฟ้องระหว่าง ค. กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ย่อมไม่มี ผลบังคับ จึงต้องถือว่า ค. ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดเวลา แม้ ค. จะครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานเพียงใด ก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ดังนั้น แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาท จาก ค. และรับโอนการครอบครองที่ดินดังกล่าวมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 10 ปี ที่กฎหมายห้ามโอนแล้วก็ตาม แต่เมื่อ ค. ผู้โอนไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น โจทก์ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่าสิทธิที่ ค. ผู้โอนมีอยู่ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตามคำฟ้อง และต้องฟังว่าโจทก์ ครอบครองที่ดินดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาและโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องให้ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าว เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองโดยบอกกล่าวไปยัง จำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คำฟ้องของโจทก์จึงไม่มี ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดกก่อนมีโฉนด: สัญญาแบ่งมรดกมีผลผูกพัน แม้มีข้อจำกัดการโอนในโฉนด
สัญญาแบ่งมรดกที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทำขึ้นก่อนมีโฉนดที่ดิน ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสิทธิของโจทก์ก่อนมีโฉนดที่ดิน แม้ที่ดินโฉนดที่พิพาทมีข้อความระบุว่าห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิก็ตาม กรณีก็ไม่ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เพราะไม่ใช่กรณีที่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโอนที่ดินให้แก่ผู้อื่น แต่เป็นการฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินแก่เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่แท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้มีการส่งมอบการครอบครองก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิ
ขณะที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันนั้นยังอยู่ในระยะเวลาการห้ามโอนตามกฎหมาย นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และในกำหนดเวลาห้ามโอนนี้ย่อมไม่อาจส่งมอบการครอบครองแก่กันได้การส่งมอบการครอบครองในระยะเวลาการห้ามโอนตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ก็ถือเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเช่นกัน ดังนี้แม้จะฟังว่าจำเลยส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่ได้ครอบครองในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินห้ามโอนตามมาตรา 58 ทวิ: สิทธิครอบครองยังไม่เกิด การซื้อขายไม่มีผลผูกพัน
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดระยะเวลาห้ามโอนภายใน10 ปี เป็นที่ดินที่รัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่จำเลย จำเลยคงมีสิทธิเพียงทำประโยชน์ในที่ดินเท่านั้น เมื่อจำเลย ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินจึงไม่อาจสละหรือโอน สิทธิครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377 หรือ มาตรา 1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ การที่จำเลยขายที่ดินให้แก่บิดาโจทก์จึงไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์เป็นผู้สืบสิทธิจากบิดาจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินและไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7082/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออก น.ส.3ก. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่ใช่ประเด็นพิพาท และเพิกถอนได้
ปัญหาว่า น.ส.3 ก. ออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทหรือไม่มีคำขอของคู่ความให้วินิจฉัย ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ จำเลยเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ท. และครอบครองมาโดยตลอดส่วนโจทก์มีชื่อเป็นผู้ทรงสิทธิครอบครองตาม น.ส. 3 ก.ในที่ดินพิพาทเพราะโจทก์รับสมอ้างไปดำเนินการแทนจำเลยเท่านั้นแสดงว่ามีการออก น.ส.3 ก. ในนามโจทก์ ทั้งที่โจทก์มิได้เป็นผู้ซื้อและครอบครองที่ดินพิพาท เป็นการออกโดยฝ่าฝืนต่อ ประมวลกฎหมายที่ดิน จึงไม่มีผลเป็น น.ส.3 ก. โจทก์และจำเลยต่างไม่มีสิทธิจะใช้ประโยชน์จาก น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้ เมื่อ น.ส.3 ก.นั้นออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอนน.ส.3 ก. ฉบับนั้นเสียด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีข้อห้ามโอนเป็นโมฆะ
โจทก์เป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ 4 เมษายน 2522 ตามมาตรา 58 ทวิแห่งประมวลกฎหมายที่ดินได้ทำสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยตกลงจะชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือและส่งมอบที่ดินให้ในวันที่5 กันยายน 2531 ภายในกำหนดห้ามโอนตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113(มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยถือเสมือนหนึ่งว่าไม่มีการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกัน จำเลยต้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิริบเงินที่รับไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน กรณีไม่แจ้งการครอบครองตามกฎหมาย และการโต้แย้งสิทธิในที่ดินสาธารณสมบัติ
ที่ดินของโจทก์ทั้งห้าเป็นที่ดินมือเปล่า ซึ่งได้ครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมตลอดมาก่อน ประมวลกฎหมายที่ดินฯใช้บังคับ แต่โจทก์ทั้งห้ามิได้แจ้งการครอบครองไว้ แม้ภายหลังจะมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ออกมายกเลิกความใน มาตรา 5 วรรคสองแห่ง พระราชบัญญัติ ให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ก็ไม่มีผลบังคับย้อนหลัง โจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิครอบครองขึ้นมาใหม่เว้นแต่จะเข้าหลักเกณฑ์ตาม มาตรา 58 ทวิ,59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินฯ และระเบียบของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแห่งชาติฉบับที่ 2(พ.ศ. 2515) หมวด 2 ข้อ 4 ซึ่งเป็นกรณีมีเหตุสมควรและไม่มีเจตนาฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ทั้งห้าอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนซึ่งได้ครอบครองต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมตลอดมา แม้มิได้แจ้งการครอบครองไว้แต่ก็ยังมีสิทธิครอบครองอยู่ตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 58 ทวิและ 59 ทวิ และได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยเพื่อขอให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งห้า จำเลยทั้งสามโต้แย้งว่าที่ดินโจทก์ทั้งห้าครอบครองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและไม่ยอมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งห้าย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งห้าแล้วโจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน กรณีไม่แจ้งการครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน รัฐมีอำนาจจัดที่ดินได้ แต่สิทธิครอบครองไม่ระงับ
พระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่เพียงแต่กำหนดให้รัฐมีอำนาจจัดที่ดินของผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับซึ่งมีหน้าที่แจ้งการครอบครองที่ดินแต่ไม่แจ้งการครอบครองในกำหนดก็เพื่อให้รัฐเข้าไปจัดที่ดินตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดินได้โดยผู้ครอบครองและทำประโยชน์ไม่อาจยกการครอบครองและทำประโยชน์ขึ้นยันรัฐหรือยันบุคคลผู้ได้สิทธิมาจากรัฐในการจัดที่ดินเท่านั้นตราบใดที่รัฐยังมิได้เข้าจัดที่ดินนั้นผู้นั้นย่อมมีสิทธิครอบครองอยู่ ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ และมาตรา 59 ทวิ ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 บัญญัติให้ผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน แต่มิได้แจ้งการครอบครองไว้รวมทั้งผู้ครอบครองต่อเนื่องจากบุคคลดังกล่าวมีสิทธิขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้เมื่อมีการเดินสำรวจรังวัดในท้องที่นั้นหรือเมื่อมีความจำเป็นก็อาจขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะรายก็ได้ โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ซึ่งได้ครอบครองต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมตลอดมาแม้มิได้แจ้งการครอบครองไว้แต่ยังมีสิทธิครอบครองอยู่จึงได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยเพื่อให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยโต้แย้งว่าที่ดินที่โจทก์ครอบครองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและไม่ยอมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
of 3