คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 58 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3792/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมีข้อห้ามโอน การจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้นกับโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอน และจำเลยได้มอบการครอบครองที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันทำสัญญา แม้จะมีข้อตกลงให้โอนกันเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน จึงเป็นการอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม(มาตรา 150)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.3ก. ในช่วงเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้จะอ้างการครอบครองก่อนทำสัญญา
ที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคห้า ห้ามมิให้ผู้ได้สิทธิในที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เว้นแต่การตกทอดทางมรดกโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจาก ส. บิดาจำเลยเมื่อวันที่19 ตุลาคม 2529 โดยระบุว่า ส. ได้รับเงินค่าซื้อขายที่พิพาทจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว และยินยอมมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้ ทั้งให้สิทธิโจทก์ทุกอย่างในการเข้าครอบครองปลูกสร้างอาคารในที่พิพาทนับแต่วันที่ทำสัญญา ซึ่งอยู่ในระยะเวลาห้ามโอน ถือว่าสัญญาซื้อขายมุ่งประสงค์โอนสิทธิครอบครองทันที แม้ว่า ส. บิดาจำเลยได้ น.ส. 3 มาเมื่อวันที่ 25 และ 26 พฤษภาคม 2520 แล้ว ส. ทำสัญญาขายที่พิพาทให้โจทก์ในวันที่ 19 ตุลาคม 2529 เมื่อครอบครองที่พิพาทมา9 ปี 5 เดือนแล้ว และกำหนดโอนกันวันที่ 19 กรกฎาคม 2531 ซึ่งเป็นเวลา 11 ปี 5 เดือน นับแต่ได้รับ น.ส. 3ก. มา การทำสัญญาซื้อขายในลักษณะดังกล่าวก็เพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน ย่อมเป็นการอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะนับแต่วันทำสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.3ก. ที่มีข้อจำกัดการโอน ย่อมตกเป็นโมฆะหากเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย
ที่พิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.)ซึ่งทางราชการห้ามโอนภายในสิบปีตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58ทวิ โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทจาก ส. ซึ่งเป็นบิดาจำเลยโดยระบุว่า ส. ได้รับเงินค่าซื้อขายที่พิพาทจากโจทก์ครบถ้วนแล้วและยินยอมมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้ ทั้งให้สิทธิโจทก์ทุกอย่างในการเข้าครอบครองปลูกสร้างอาคารในที่พิพาทนับแต่วันทำสัญญาซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนที่พิพาทตามกฎหมายดังกล่าว สัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์และ ส.มุ่งประสงค์โอนสิทธิครอบครองทันที การทำสัญญาซื้อขายลักษณะดังกล่าวก็เพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ ดังกล่าว ย่อมเป็นการอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะราย ต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ รวมถึงต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ว่าฯ
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายนอกจากจะต้องเข้า หลักเกณฑ์ตามที่ ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ และมาตรา 59 แล้วยังจะต้องเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์เข้าจับจองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากประกาศใช้ ป.ที่ดินพ.ศ. 2497 แม้จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 ทวิ (2) แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ยังไม่ได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น การเฉพาะรายตามระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2525) ข้อ 9ที่ดินพิพาทจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออก หนังสือรับรองประโยชน์ให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ต้องได้รับอนุมัติผู้ว่าฯ ตามระเบียบ
โจทก์เข้าจับจองครอบครองที่ดินซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเนื้อที่ 12 ไร่เศษ หลังจากที่ประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินแล้วจึงเป็นที่ดินที่ไม่อาจจะแจ้งการครอบครองได้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ถึงแม้จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ(3) ก็ตามแต่ก็ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2515) หมวด 4ข้อ 9(2)(ค) กำหนดไว้ด้วย จึงจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้ ดังนั้น เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีหนังสือให้โจทก์ออกจากที่พิพาทอันเป็นข้อแสดงให้เห็นว่า ไม่มีการอนุมัติให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายสำหรับที่ดินที่พิพาทแล้วที่ดินที่พิพาทจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนดไว้ในอันที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ หากไม่มีอนุมัติจากผู้ว่าฯ ก็ไม่ออกได้
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะราย นอกจากจะเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ(3) แล้ว ยังต้องเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนดด้วย ซึ่งระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2515) หมวด 4การขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะราย โดยมิได้แจ้งการครอบครอง กำหนดไว้ในข้อ 9 ว่า "การออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ครอบครองและการทำประโยชน์ ในที่ดินเฉพาะรายโดยมิได้แจ้งการครอบครองที่ดินตาม มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ต้องอยู่ใน หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขดังนี้...(2) ความจำเป็นในกรณีที่ จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้คือ...(ค) ในกรณีที่มี ความจำเป็นอย่างอื่น แต่ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นการเฉพาะราย"ที่ดินพิพาทโจทก์เข้าจับจองครอบครองหลังจากที่ ประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว จึงเป็นที่ดินที่ไม่อาจจะแจ้ง การครอบครองได้ตาม มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497ถึงแม้จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 58 ทวิ(3) ก็ตาม เมื่อได้ความว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือให้ โจทก์ออกจากที่พิพาท แสดงให้เห็นว่าไม่มีการอนุมัติให้ออกหนังสือ รับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายสำหรับที่ดินพิพาท ดังนั้น ที่ดินพิพาท จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนด ไว้ในวันที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรังวัดที่ดิน, สิทธิครอบครอง, การรุกล้ำที่ดิน, และขอบเขตอำนาจฟ้องแย้ง
ที่ดินเดิม มีเพียง ส.ค.1 หากต่อมาเจ้าพนักงานออก น.ส.3 ให้แต่มีจำนวนเนื้อที่ไม่ตรงกัน ถือว่าจำนวนเนื้อที่ตามที่ปรากฏใน น.ส.3 ถูกต้องกว่า เพราะการออก น.ส.3 นั้น จะต้องมีการรังวัดเนื้อที่ดิน และมีเจ้าของที่ดินข้างเคียงรับรองแนวเขตว่าถูกต้อง แม้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์เมื่อยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ไม่ขาดสิทธิฟ้องแย้งเพื่อเอาคืนการครอบครอง แต่เมื่อ โจทก์ปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำในที่ดินของจำเลยโดยสุจริต จำเลย จึงไม่อาจบังคับให้โจทก์รื้อถอนโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำได้ ฟ้องแย้งของจำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าที่ดินที่โจทก์รุกล้ำ ดังนั้น การที่ศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าที่ดินแก่จำเลยจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอฟ้องแย้ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5709/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีพิพาทที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิเดิม และการเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันแจ้งการครอบครองเพื่อขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อที่ดินอำเภอในที่พิพาทต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ที่ดินอำเภอ และปลัดอำเภอตามลำดับเป็นผู้รับผิดชอบและมีอำนาจออกเอกสารใบจอง หนังสือรับรองการทำประโยชน์และทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินในเขตอำนาจ ย่อมทราบดีว่าที่ดินแปลงใดเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือไม่ ได้ร่วมกันดำเนินการจัดสรรออกใบจอง และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่พิพาทให้จำเลยที่ 4 กับทำนิติกรรมโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 4 กับที่ 6ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องฟังผลคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งว่าใครเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ศาลได้มีคำพิพากษาในประเด็นข้อนี้แล้วว่าไม่เป็นฟ้องซ้อน ปัญหาข้อนี้จึงยุติ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 4 บางส่วนได้ออกทับที่ดินของโจทก์ เป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์คลาดเคลื่อนอันกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ในส่วนที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ โจทก์จะขอให้เพิกถอนทั้งหมดหาได้ไม่
ปัญหาว่า ที่พิพาทคดีนี้เป็นคนละแปลงกับที่ดินซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นที่ของโจทก์ในอีกคดีหนึ่งนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5709/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีครอบครองที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิเดิมและการออกเอกสารสิทธิคลาดเคลื่อน
ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันแจ้งการครอบครองเพื่อขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อที่ดินอำเภอในที่พิพาทต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ที่ดินอำเภอ และปลัดอำเภอตามลำดับเป็นผู้รับผิดชอบและมีอำนาจออกเอกสารใบจอง หนังสือรับรองการทำประโยชน์และทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินในเขตอำนาจ ย่อมทราบดีว่าที่ดินแปลงใดเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือไม่ ได้ร่วมกันดำเนินการจัดสรรออกใบจอง และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่พิพาทให้จำเลยที่ 4 กับทำนิติกรรมโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 4 กับที่ 6ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องฟังผลคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งว่าใครเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ศาลได้มีคำพิพากษาในประเด็นข้อนี้แล้วว่าไม่เป็นฟ้องซ้อน ปัญหาข้อนี้จึงยุติ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 4 บางส่วนได้ออกทับที่ดินของโจทก์ เป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์คลาดเคลื่อนอันกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ในส่วนที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ โจทก์จะขอให้เพิกถอนทั้งหมดหาได้ไม่ ปัญหาว่า ที่พิพาทคดีนี้เป็นคนละแปลงกับที่ดินซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นที่ของโจทก์ในอีกคดีหนึ่งนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษาแล้วถึงที่สุด คดีใหม่มีมูลคดีและคำขอบังคับอย่างเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งเป็นที่ดินต้องห้ามขายภายใน 10 ปี โจทก์บอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำและเรียกเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลย พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยคืนมัดจำเนื่องจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ มูลคดีทั้งสองเรื่องและคำขอบังคับเป็นอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148.
of 3