พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล vs. ประกันชีวิต: สิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายและการเข้ารับช่วงสิทธิ
สัญญาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตของ ส. เป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่ง การใช้เงินตามความหมายในมาตรา 889 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่ได้ให้สิทธิผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิแทนกันได้เหมือนอย่างการประกันวินาศภัย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายในส่วนนี้ที่โจทก์จ่ายไปจำนวน 100,000 บาท ส่วน ค่าเสียหายเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยกรณีบาดเจ็บของ ก. และค่ารักษาพยาบาลก่อนตายของ ส. ที่โจทก์จ่ายไปรายละ50,000 บาท เป็นการจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ตกลง คุ้มครองหาใช่เป็นการประกันชีวิตไม่ถือเป็นค่าเสียหายที่ ก. และ ส. ได้รับจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์จ่ายให้แก่ ก. และ ส.แล้วจึงเข้ารับช่วงสิทธิจากก.และส. มาฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยทั้งสามได้ เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ คำพิพากษานี้จึงมีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินจำนวน180,300 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินจำนวน 380,300 บาท แก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยขอให้ชำระเงินตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้นทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงมีเพียง 200,000 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียง5,000 บาท การที่จำเลยที่ 3 เสียค่าขึ้นศาลจากทุนทรัพย์429,617.51 บาท เป็นเงิน 10,640 บาท จึงไม่ถูกต้องต้องคืนค่าขึ้นศาล ส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
แม้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง และวรรคสามจะกำหนดให้การร้องคัดค้านหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านให้ทำเป็นคำร้องก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้คัดค้าน ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นโดยขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่มีหนังสือแจ้งยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้และให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแม้ผู้ร้องจะอ้างว่าหนี้จะระงับสิ้นไปแล้วโดยการหักกลบลบหนี้ก็ตาม แต่ผลก็คือขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งยืนยันไป และหากศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระ คดีของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 ข้อ (1) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179 วรรคท้าย ซึ่งกำหนดให้ค่าธรรมเนียมนอกจากที่บัญญัติไว้ให้คิดอัตราเดียวกันกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้อง ซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำสั่งนั้นแล้ว ผู้ร้องเพิกเฉยจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),246 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ต้องจำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้ผู้ร้องจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นเพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเท่านั้น หามีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่ การที่ผู้ร้องฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลเมื่อยื่นคำร้องปล่อยทรัพย์สินที่ยึด: ผู้ร้องต้องรับผิดชอบค่าขึ้นศาลทั้งหมดของทรัพย์สินที่ถูกยึด แม้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมเพียงส่วนหนึ่ง
แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ยึดเพียง1 ใน 5 ก็ตาม แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอปล่อยทรัพย์สินที่ยึดทั้งหมดผู้ร้องจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลตามมูลค่าแห่งตัวทรัพย์ทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3641/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีซื้อขาย และการนำสืบพยานเกี่ยวกับสัญญาเช่าเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์ราคาที่ดินย่อมเป็นทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณราคาเป็นเงินได้โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท โจทก์จำเลยมิได้พิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องค่าเช่าตามสัญญาเช่าจำเลยนำสืบสัญญาเช่าเพื่อเป็นการสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้นดังนั้น การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าเกี่ยวกับค่าเช่า จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 94 สัญญาเช่าระบุว่าหลังจาก 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาผู้ให้เช่าสัญญาว่าจะขายที่ดินพร้อมอาคารและทรัพย์ตามสัญญานี้แก่ผู้เช่าเว้นแต่ผู้เช่าจะไม่รับซื้อ เมื่อการเช่าครบ 1 ปี และผู้ให้เช่าถามผู้เช่าแล้ว ผู้เช่าปฏิเสธไม่รับซื้อ ผู้ให้เช่าจึงสิ้นความผูกพันที่จะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เช่าให้ผู้เช่าตามคำเสนอ.