พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3980/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้แบ่งสินสมรสเป็นธรรม
ในคดีฟ้องขอให้แยกสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายไว้พอเข้าใจได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างก็มีสินเดิม ดังนี้หากจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสินเดิมประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในข้อมีสินเดิมหรือไม่จึงไม่เกิดขึ้น จำเลยไม่มีสิทธินำพยานมาสืบได้ แม้ศาลชั้นต้นให้จำเลยสืบก็เป็นการสืบนอกประเด็น และหากศาลรับวินิจฉัยก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกประเด็นและยังมีประเด็นข้ออื่นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยต่อไป แต่ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยมาและข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์จำเลยเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาใหม่ โจทก์จำเลยที่ 1 สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5(เดิม) ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรส กฎหมายลักษณะผัวเมียไม่ได้บัญญัติไว้ว่าให้มีการแยกสินสมรสโดยไม่ได้ฟ้องหย่า แต่ก็ไม่มีบังคับไว้ว่าถ้ายังไม่หย่าจะต้องบริคณห์ทรัพย์สินกันเสมอไปจะแยกมิได้ ฉะนั้นการที่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1475 และ 1484 มาใช้แก่คู่สมรสซึ่งสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5(เดิม)จึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการสมรสหรือความสัมพันธ์ในครอบครัวตามความหมายที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4(1) และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4ได้ยกเว้นนั้นแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยเสน่หาโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งสินสมรสดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3980/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสกรณีคู่สมรสสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ และการโอนสินสมรสโดยเสน่หา
ในคดีฟ้องขอให้แยกสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายไว้พอเข้าใจได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างก็มีสินเดิม ดังนี้หากจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสินเดิมประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในข้อมีสินเดิมหรือไม่จึงไม่เกิดขึ้น จำเลยไม่มีสิทธินำพยานมาสืบได้ แม้ศาลชั้นต้นให้จำเลยสืบก็เป็นการสืบนอกประเด็น และหากศาลรับวินิจฉัยก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกประเด็นและยังมีประเด็นข้ออื่นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยต่อไป แต่ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยมาและข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์จำเลยเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาใหม่
โจทก์จำเลยที่ 1 สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 (เดิม) ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรส กฎหมายลักษณะผัวเมียไม่ได้บัญญัติไว้ว่าให้มีการแยกสินสมรสโดยไม่ได้ฟ้องหย่า แต่ก็ไม่มีบังคับไว้ว่าถ้ายังไม่หย่าจะต้องบริคณห์ทรัพย์สินกันเสมอไปจะแยกมิได้ ฉะนั้นการที่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1475 และ 1484 มาใช้แก่คู่สมรสซึ่งสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (เดิม)จึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการสมรสหรือความสัมพันธ์ในครอบครัวตามความหมายที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4(1) และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4ได้ยกเว้นนั้นแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยเสน่หาโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งสินสมรสดังกล่าวได้
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกประเด็นและยังมีประเด็นข้ออื่นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยต่อไป แต่ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยมาและข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์จำเลยเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาใหม่
โจทก์จำเลยที่ 1 สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 (เดิม) ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรส กฎหมายลักษณะผัวเมียไม่ได้บัญญัติไว้ว่าให้มีการแยกสินสมรสโดยไม่ได้ฟ้องหย่า แต่ก็ไม่มีบังคับไว้ว่าถ้ายังไม่หย่าจะต้องบริคณห์ทรัพย์สินกันเสมอไปจะแยกมิได้ ฉะนั้นการที่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1475 และ 1484 มาใช้แก่คู่สมรสซึ่งสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (เดิม)จึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการสมรสหรือความสัมพันธ์ในครอบครัวตามความหมายที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4(1) และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4ได้ยกเว้นนั้นแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยเสน่หาโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งสินสมรสดังกล่าวได้