คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 65 ตรี (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: การหักรายจ่ายสินค้าคงเหลือ, แผนกท่องเที่ยว, ดอกเบี้ยเงินกู้ และการจำแนกเงินได้ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินส่วนที่นำเข้าฝากในบัญชีสมทบทุนเป็นเงินที่หักจากเงินเดือนของพนักงานแต่ละคน อันบริษัทโจทก์ได้จ่ายให้พนักงานแล้วเพียงแต่ให้สิทธิโจทก์หักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามระเบียบที่กำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่พนักงานเมื่อออกจากงานเท่านั้นเงินเดือนที่โจทก์จ่ายให้พนักงานแต่ละคน รวมทั้งเงินที่ถูกหักเข้ากองทุนในบัญชีสมทบทุนนี้เป็นรายจ่ายในหมวดเงินเดือนของโจทก์อันนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ได้โดยโจทก์ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนทั้งหมดของพนักงานไว้ตามมาตรา 50 แล้วนำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอตามมาตรา 52 จึงเป็นเงินที่จ่ายขาดจากโจทก์แล้ว เงินส่วนที่หักจากเงินเดือนนำฝากเข้าบัญชีสมทบทุนนี้จึงเป็นเงินได้ของพนักงานนับแต่นั้น ดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินฝากนี้จึงเป็นเงินได้ของพนักงาน หาใช่เงินได้ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ การคำนวณราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดที่โจทก์นำสืบเป็นเพียงวิธีการในการคำนวณราคาสินค้าอย่างกว้าง ๆ โดยไม่มีรายละเอียดว่าเป็นสินค้าอะไรบ้างที่โจทก์ได้คำนวณตามราคาตลาดอันเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาทุน ทั้งโจทก์ได้วางแนวทางให้ปฏิบัติในการบันทึกรายการสินค้าคงเหลือโดยอาศัยระยะเวลาที่ได้รับสินค้ามาครอบครองไว้เป็นเกณฑ์ซึ่งปรากฏว่าตามหลักเกณฑ์การตัดค่าเสื่อมราคา และการตัดบัญชีดังกล่าวมีแนวปฏิบัติ เช่น สินค้าที่เสียง่ายหากคงเหลือถึง 18 เดือนจะตัดค่าเสื่อมราคาลงร้อยละ 50หากคงเหลือถึง 2 ปี จะตัดออกจากบัญชีหมดหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการตัดค่าเสื่อมราคาสินค้าคงเหลือ มิใช่เป็นการคำนวณราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดที่แท้จริงตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(6) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบไต่สวนพยานหลักฐานตามที่โจทก์นำมามอบให้แล้วแจ้งประเมินภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 ใช้บังคับแล้ว จึงเป็นการประเมินที่ชอบหากโจทก์มีข้อโต้แย้งในรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารอย่างไรชอบที่โจทก์จะชี้แจงให้เจ้าพนักงานประเมินทราบหรืออุทธรณ์การประเมินไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือนำสืบในชั้นศาลได้ เหตุดังกล่าวหาทำให้การประเมินเป็นไปโดยมิชอบไม่ โจทก์คำนวณราคาสินค้าคงเหลือโดยการกำหนดกฎเกณฑ์เอาเองตามหลักเกณฑ์การตัดค่าเสื่อมราคาและการตัดบัญชี อันมิใช่ราคาตลาดเพื่อให้ต่ำกว่าราคาทุน เป็นเหตุให้มีรายรับน้อยลงและทำให้เสียภาษีเงินได้น้อยลงไปด้วย มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีในตัวส่วนรายจ่ายในแผนกท่องเที่ยว โจทก์ทำใบสำคัญการจ่ายขึ้นเองแล้วเอาอากรแสตมป์มาปิด โดยไม่มีรายละเอียดถึงเหตุที่ต้องจ่ายเงินว่าเป็นการจ่ายเพื่อกิจการอย่างไร ชื่อที่อยู่ของผู้รับเงินก็ไม่ชัดแจ้ง มีพฤติการณ์ว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีไม่มีเหตุสมควรงดหรืองดเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินกองทุนสะสมพนักงานเป็นสิทธิของลูกจ้าง ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
ตามระเบียบเงินกองทุนสะสมกำหนดให้โจทก์จ่ายเงินเข้ากองทุนให้แก่พนักงานโดยฝากไว้ต่อธนาคาร ระบุรายชื่อพนักงานแต่ละคนมีสิทธิในเงินกองทุน ดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่ายให้แก่เงินฝากตาม กองทุนก็ตกเป็นของพนักงาน มิใช่ตกแก่โจทก์ อีกทั้งตามระเบียบ เงินกองทุนไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเบิกเงินจากกองทุน และไม่มีเงื่อนไขกำหนดให้เงินที่โจทก์จ่ายเข้ากองทุนแล้วกลับคืน เป็นของโจทก์อีกเงินกองทุนจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงาน ถือเป็น รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) แม้โจทก์จะเป็นผู้เบิกเงินกองทุนจากธนาคารมาจ่ายแก่พนักงาน และมีสิทธิหักเงิน ที่เบิกมาชำระหนี้ได้ก่อน อีกทั้งพนักงาน ยังไม่ได้รับเงินจากโจทก์จนกว่าจะพ้นสภาพลูกจ้างก็ตาม ก็หาใช่ ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในเงินกองทุนอยู่อีกไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินเข้ากองทุนสะสมพนักงานถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ หากจ่ายโดยเด็ดขาด
การที่โจทก์จ่ายเงินเข้ากองทุนให้แก่พนักงานในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี โดยฝากไว้ต่อธนาคารในนามของเงินกองทุนสะสมพนักงานบริษัทโจทก์และมีรายชื่อ พนักงานแต่ละคนเป็นผู้มีสิทธิในเงินกองทุนนั้น ทั้งโจทก์แจ้งยอด เงินสะสมให้พนักงานทราบทุกงวดที่จ่ายเงินสะสมและให้ธนาคารแจ้งยอด เงินสะสมทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้พนักงานทราบทุก 6 เดือน ดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่ายให้แก่เงินฝากตามกองทุนนั้นก็ตก ได้แก่พนักงานแต่ละคน โดยไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเบิกเงินจากกองทุนไปใช้เพื่อประโยชน์ของโจทก์และไม่มีเงื่อนไขกำหนดให้เงินดังกล่าวกลับคืนเป็นของโจทก์อีก ดังนั้นเมื่อโจทก์จ่ายเงินเข้ากองทุนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงาน โดยโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในเงินกองทุนนั้นแล้ว จึงเป็นการที่โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่พนักงานอันเป็นลูกจ้างของโจทก์ไปโดยเด็ด ขาด ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 140/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ไม่จ่ายโดยเด็ดขาด ไม่ถือเป็นรายจ่ายลดหย่อนภาษี
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) ที่ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2523,2524 นั้น ต้องเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายแก่ลูกจ้างหรือพนักงานโดยเด็ดขาดเท่านั้น ตามกฎข้อบังคับของกองทุนสะสมของพนักงานของโจทก์แม้จะกำหนดว่าโจทก์จ่ายโดยเด็ดขาดให้พนักงาน และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งได้มอบหมายให้บริษัท อ. เป็นผู้จัดหาผลประโยชน์ให้ให้สมาชิก โดยมีคณะกรรมการควบคุม แต่เงินจำนวนนี้พนักงานของโจทก์จะรับได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นสมาชิก ถ้า พ้นจากสมาชิกเพราะทุจริตประพฤติมิชอบหรือกระทำผิดอื่นใดสมาชิกก็จะไม่ขอรับเงินสมทบของบริษัทโจทก์และรายได้ส่วนนี้ทั้งหมดตก เป็นของกองทุน ถ้า สมาชิกเป็นหนี้หรือทุจริตต่อกองทุนหรือบริษัทคณะกรรมการมีอำนาจเด็ดขาดที่จะจัดการชำระหนี้รับคืนแก่กองทุนหรือบริษัทดังนี้พนักงานโจทก์ไม่มีสิทธินำเงินกองทุนไปใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงชีพในขณะที่โจทก์จ่ายให้ กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2)ต้องถือว่าเป็นเงินกองทุนที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 140/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ หากยังไม่จ่ายให้ลูกจ้างโดยเด็ดขาดตามเงื่อนไขกฎหมายภาษีอากร
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(2) ที่ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2523,2524 นั้นต้องเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายแก่ลูกจ้างหรือพนักงานโดยเด็ดขาดเท่านั้นตามกฎข้อบังคับของกองทุนสะสมของพนักงานของโจทก์ แม้จะกำหนดว่าโจทก์จ่ายโดยเด็ดขาดให้พนักงานและโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งได้มอบหมายให้บริษัท เอส. เป็นผู้จัดหาผลประโยชน์ให้สมาชิกโดยมีคณะกรรมการควบคุม แต่ตามข้อบังคับดังกล่าวพนักงานของโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำเงินกองทุนไปใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงชีพในขณะที่โจทก์จ่ายให้แต่ประการใด จะมีสิทธิโดยเด็ดขาดต่อเมื่อหมดจากสมาชิกภาพแห่งกองทุนของโจทก์เท่านั้น และในการหมดจากสมาชิกภาพถ้ามีการทุจริตหรือมีหนี้สินกับบริษัทโจทก์หรือกองทุน ก็จะไม่ได้รับเงินกองทุนสมทบ หรือถ้าเป็นสมาชิกภาพไม่ครบกำหนดระยะเวลาก็จะได้รับเพียงบางส่วนเท่านั้น รอบระยะเวลาบัญชีที่โจทก์จ่ายเงินกองทุนสมทบจึงมิใช่เป็นการจ่ายแก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาด กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) ต้องถือว่าเป็นเงินกองทุนที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 140/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: การหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ต้องจ่ายให้ลูกจ้างโดยเด็ดขาดในรอบระยะเวลาบัญชี
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(2)ได้ ต้องเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายแก่ลูกจ้างหรือพนักงานโดยเด็ดขาดเท่านั้นตามข้อบังคับของกองทุนสะสมทรัพย์ของพนักงานโจทก์ พนักงานของโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำเงินกองทุนไปใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงชีพในขณะที่โจทก์จ่ายให้ จะมีสิทธิโดยเด็ดขาดเมื่อหมดจากสมาชิกภาพแห่งกองทุนแล้วเท่านั้น ถ้าเป็นสมาชิกภาพไม่ครบกำหนดระยะเวลาก็จะได้รับเพียงบางส่วน และในการหมดจากสมาชิกภาพ ถ้ามีการทุจริตหรือมีหนี้สินกับโจทก์หรือกองทุนก็จะไม่ได้รับเงินกองทุนสมทบ ดังนั้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่โจทก์จ่ายเงินกองทุนสมทบ มิใช่เป็นการจ่ายแก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาด จึงถือว่าเป็นเงินกองทุนที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4059/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จพิเศษที่จ่ายให้พนักงานไม่มีสิทธิถอนจนกว่าออกจากงาน และอาจถูกหักเป็นค่าเสียหาย ไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
โจทก์จ่ายเงินเข้าบัญชีให้พนักงาน พนักงานมีหน้าที่จะต้องรำเงินที่จ่ายให้ส่งเป็นเงินประกันตัวและเมื่อส่งเป็นเงินประกันตัวแล้ว โจทก์จะนำเข้าฝากในบัญชีประจำของพนักงานพนักงานไม่มีสิทธิถอนเงินจำนวนนี้จนกว่าจะออกจากงานและถ้าออกโดยทำความเสียหายให้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะหักเป็นค่าเสียหาย จึงถือไม่ได้ว่าเงินดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงานโดยเด็ดขาด มีลักษณะเป็นการตั้งบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษไว้โดยมิได้มีการจ่ายจริง จึงเป็นเงินสำรองตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1) จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้