คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 18 ตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การแจ้งประเมินสะดุดอายุความ แต่การแจ้งซ้ำขยายอายุความไม่ได้
การแจ้งการประเมินภาษีอากรมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เริ่มนับใหม่เมื่อพ้นระยะเวลาสามสิบวันที่กำหนดให้นำค่าภาษีไปชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรอันโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์หรือใช้สิทธิฟ้องร้องได้ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้โจทก์จะมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังจำเลยครั้งที่สองก็ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงแล้วสะดุดหยุดลงอีก เพราะจะมีผลเป็นการขยายอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ภาษี: การแจ้งประเมินสะดุดหยุดอายุความ แต่การแจ้งซ้ำอาจทำให้ขาดอายุความตามกฎหมาย
การแจ้งการประเมินภาษีอากรมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เริ่มนับใหม่เมื่อพ้นระยะเวลาสามสิบวันที่กำหนดให้นำค่าภาษีไปชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรอันโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์หรือใช้สิทธิฟ้องร้องได้แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 10 ปีแล้วจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้โจทก์จะมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังจำเลยครั้งที่สองก็ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงแล้วสะดุดหยุดลงอีก เพราะจะมีผลเป็นการขยายอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 191.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากรและการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งการประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้นการแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร, ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบหนี้บริษัท, อำนาจฟ้อง
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้น การแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิพากษาคดีในปัญหาข้อนี้ อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้