พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: การแจ้งประเมินภาษีและผลกระทบต่ออายุความตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยจำเลยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี2519ถึง2523ต่อโจทก์แสดงรายรับไม่ถูกต้องซึ่งผลการตรวจสอบจำเลยจะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี2520ถึงปี2523รวม4ปีเพิ่มอีกเป็นเงิน237,842.08บาทการที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเมื่อวันที่20ธันวาคม2525และส่งแบบแจ้งภาษีเงินได้ที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม(ภ.ง.ด.11)ไปให้จำเลยณถิ่นที่อยู่ของจำเลยโดยวิธีปิดใบแจ้งเมื่อวันที่22พฤษภาคม2526จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฎิบัติตามประมวลรัษฎากรมาตรา8,18และ20ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ถือได้ว่าโจทก์ได้แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วหากไม่มีการอุทธรณ์การประเมินเจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจหน้าที่บังคับตามประมวลรัษฎากรมาตรา18ตรีต่อไปคือผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องชำระภาษีนั้นภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินถ้าไม่ชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดดังกล่าวก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา27และเมื่อถึงกำหนดชำระแล้วถ้ามิได้เสียภาษีหรือนำส่งให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้างซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดไว้มีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีหรือนำส่งภาษีโดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา12 การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่20ธันวาคม2525ว่าจำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใดๆทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่20ธันวาคม2525แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่22พฤษภาคม2526ซึ่งเป็นการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด10ปีนับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่20ธันวาคม2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(5)และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่22พฤษภาคม2526เช่นกันซึ่งครบกำหนด10ปีในวันที่22พฤษภาคม2536ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่24พฤษภาคม2536ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/31กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประเมินภาษีและการฟ้องล้มละลาย: อายุความและการสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจำเลยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี 2519 ถึง 2523 ต่อโจทก์ แสดงรายรับไม่ถูกต้องซึ่งผลการตรวจสอบจำเลยจะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2520 ถึงปี 2523 รวม 4 ปี เพิ่มอีก เป็นเงิน 237,842.08 บาท การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 และส่งแบบแจ้งภาษีเงินได้ที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม(ภ.ง.ด. 11) ไปให้จำเลย ณ ถิ่นที่อยู่ของจำเลย โดยวิธีปิดใบแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8, 18 และ 20 ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ถือได้ว่าโจทก์ได้แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว หากไม่มีการอุทธรณ์การประเมิน เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจหน้าที่บังคับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ตรี ต่อไป คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องชำระภาษีนั้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถ้าไม่ชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดดังกล่าวก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 และเมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียภาษีหรือนำส่งให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดไว้มีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีหรือนำส่งภาษีโดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา 12
การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร เป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ว่า จำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2525 แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2526 เช่นกัน ซึ่งครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2536 ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2536 ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่.
การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร เป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ว่า จำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2525 แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2526 เช่นกัน ซึ่งครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2536 ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2536 ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรและการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นในบริษัท
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งการประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้นการแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้