คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิศณุ เลื่อมสำราญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญา กู้ยืมเงินเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ศาลแก้ไขคำพิพากษาดอกเบี้ย
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14ขณะจำเลยทั้งสองทำสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับดอกเบี้ยและส่วนลดให้สินเชื่อโจทก์จึงมีคำสั่งและประกาศอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับลูกค้ารายใหญ่และรายย่อยชั้นดีโดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดีทั้งประเภทเบิกเงินเกินบัญชีและเงินกู้แบบมีระยะเวลาอัตราร้อยละ 14.75 ต่อปี การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้ารายย่อยชั้นดีในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จึงเกินกว่าอัตราตามคำสั่งและประกาศของโจทก์เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 อันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3(ก) การกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี จึงตกเป็นโมฆะ แม้ตามความจริงโจทก์จะคิดดอกเบี้ยไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ก็ไม่อาจทำให้ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ตกเป็นโมฆะกลายเป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้ เมื่อข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นโมฆะแล้วเท่ากับสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีกแต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยความสมัครใจของลูกหนี้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ จึงไม่อาจนำมาหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินตามลำดับได้อีก ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิพากษาตามพยานเอกสาร แม้ไม่เต็มตามคำขอ หากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
โจทก์มีคำขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ศาลย่อมมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) แล้วพิพากษากำหนดจำนวนเงินไปตามที่ได้ความจากพยานเอกสารนั้นได้ แม้ไม่เต็มจำนวนตามคำขอของโจทก์ โดยถือว่าคดีในส่วนที่ศาลไม่พิพากษาให้เป็นเพราะโจทก์ไม่มีพยานเอกสารแสดงให้ศาลเห็นว่าคดีส่วนนั้นมีมูล ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บังคับศาลว่าต้องพิพากษากำหนดจำนวนเงินเต็มตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการงดสืบพยานและพิพากษาไม่เต็มตามฟ้องเมื่อพยานเอกสารไม่เพียงพอ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ที่กำหนดให้ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและให้ส่งพยานเอกสารแทนนั้นเป็นเพียงเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาคดีเท่านั้น เพราะแม้ว่าศาลจะสั่งให้สืบพยานต่อไปฝ่ายเดียวศาลก็อาจพิพากษาให้ไม่เต็มจำนวนเงินตามคำขอก็ได้ หากพยานเอกสารไม่เพียงพอซึ่งถือได้ว่าคดีไม่มีมูลในส่วนที่ไม่มีพยานหลักฐานมาแสดง ดังนั้น เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่มีพยานเอกสารมาแสดงประกอบให้ศาลเห็นว่าคดีมีมูลจริง ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่พิพากษาให้จำนวนเงินในส่วนที่ไม่มีพยานเอกสารมาแสดง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์หลังผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ: โจทก์ผิดสัญญาเมื่อไม่บอกกล่าวให้ชำระหนี้ก่อนยึดรถ
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะระบุว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อไม่ว่างวดหนึ่งงวดใด ให้เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้โดยทันที และยินยอมให้เจ้าของทำการยึด และเข้าครอบครองรถยนต์นั้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลาตั้งแต่งวดที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งโจทก์ก็ยินยอมรับไว้ แม้โจทก์จะคิดค่าปรับแก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ล่าช้าก็ตาม แต่หลังจากโจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาแล้ว โจทก์ยังยินยอมรับเงินค่าเช่าซื้องวดที่ 7 และ ที่ 8 พร้อมค่าปรับ พฤติการณ์ดังกล่าวของโจทก์แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าซื้อในสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ทั้งก่อนที่โจทก์จะไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ จากนั้นจำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอรับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน แสดงว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งการยึดนั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกัน เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระงวดที่ 9 ภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควรดังบทบัญญัติดังกล่าว การที่โจทก์ไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาเพราะเหตุดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ก็โต้แย้งการยึด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อแทนค่าปรับที่ได้รับไว้แก่จำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม - แก้ไขโทษเล็กน้อย - ปัญหาข้อเท็จจริง - การกระทำชำเราเด็ก
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน15 ปี มีกำหนดกระทงละ 2 ปี จำนวน 2 กระทง ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจารมีกำหนด 2 ปี 6 เดือน และฐานพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีไปเพื่อการอนาจารมีกำหนด 2 เดือน รวม 4 กระทง จำคุก 6 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารกับกระทำอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดกฎหมายหลายบทให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 โดยไม่ลงโทษฐานพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีไปเพื่อการอนาจารแก่จำเลยอีก เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า บิดาของผู้เสียหายโทรศัพท์เข้าเครื่องโทรศัพท์ติดตามตัวจำเลยฝากข้อความให้ผู้เสียหายรีบติดต่อกลับไปหาบิดาด่วน จำเลยได้แจ้งข้อความให้ผู้เสียหายทราบแล้ว และผู้เสียหายได้โทรศัพท์ติดต่อไปยังบิดาของผู้เสียหาย ซึ่งจำเลยสามารถกีดกันไม่ให้ผู้เสียหายติดต่อกลับไปยังบิดาของผู้เสียหายก็ย่อมทำได้ และขณะที่ผู้เสียหายรอบิดาของผู้เสียหายมารับก็รออยู่กับจำเลย ย่อมแสดงให้เห็นว่าขณะนั้นจำเลยมีความประสงค์จะส่งตัวผู้เสียหายให้แก่บิดาของผู้เสียหายโดยไม่ประสงค์ให้ผู้เสียหายหลบหนีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร จึงขอให้ศาลฎีกาได้โปรดพิจารณาและวินิจฉัยถึงคำร้องประกอบคำรับสารภาพของจำเลยด้วยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่ขอให้รอการลงโทษแก่จำเลยนั้น ก็เป็นฎีกาที่โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลควบคุมการพิจารณาคดีเพื่อความเป็นธรรมและความรวดเร็ว การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเป็นเหตุให้การสืบพยานไม่ชอบ
อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอำนาจของศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 271 ศาลย่อมมีสิทธิควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำพยานเข้าสืบเพียง 1 ปาก จนจบคำซักถามแล้วให้เลื่อนคดีไปซักค้านนัดต่อไปพร้อมกับสืบพยานคู่อีกปากหนึ่งก็เพื่อความเป็นธรรมที่จะไม่ให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีและเพื่อความรวดเร็ว เนื่องจากมีการซักถามในนัดนี้ไว้ก่อนจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปซักถามในนัดหน้า คำสั่งของศาลชั้นต้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ไม่ยอมนำพยานเข้าสืบตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการควบคุมกระบวนพิจารณาเพื่อความเป็นธรรมและความรวดเร็วในการดำเนินคดี
การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอำนาจของศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 271 ศาลย่อมมีสิทธิควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำพยานเข้าสืบเพียง 1 ปาก จนจบคำซักถามแล้วให้เลื่อนคดีไปซักค้านนัดต่อไปพร้อมกับสืบพยานคู่อีกปากหนึ่งเพื่อความเป็นธรรมที่จะไม่ให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีและเพื่อความรวดเร็ว เนื่องจากการซักถามในนัดนี้ไว้ก่อนจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปซักถามในนัดหน้า คำสั่งของศาลชั้นต้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาอุทธรณ์: การบังคับใช้หนี้ร่วมเฉพาะผู้ที่อุทธรณ์ และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต่างฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้าง กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 โจทก์ที่ 1 เพียงผู้เดียวอุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย โดยที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์ ดังนั้นคดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3ย่อมยุติไปแล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต่างใช้สิทธิที่โจทก์แต่ละคนมีอยู่ แม้จะฟ้องรวมกันมา แต่หนี้ของโจทก์แต่ละคนสามารถแยกออกจากกันได้ไม่ใช่หนี้ร่วมที่ไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์เพียงผู้เดียว คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่มีผลไปถึงคดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: การบังคับใช้คำพิพากษาเฉพาะโจทก์ที่อุทธรณ์เมื่อหนี้ของแต่ละโจทก์แยกจากกันได้
โจทก์ทั้งสามต่างฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง กับจำเลยที่ 2 นายจ้าง ให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม และยกฟ้องจำเลยที่ 2 โจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียวอุทธรณ์ ขอให้จำเลยที่ 2 นายจ้างร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่อุทธรณ์ คดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสามต่างใช้สิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกัน รับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์แต่ละคนจะได้รับ แม้จะฟ้องรวมกันมาแต่หนี้ของโจทก์แต่ละคนสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์เพียงผู้เดียว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่มีผลไปถึงคดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษา ให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ทั้งที่คดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ยุติไปแล้วจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ศาลฎีกายกฎีกาของจำเลยที่ 2 ซึ่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา จึงไม่มีค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกาที่จะต้องคืนให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ผลกระทบต่อคดีที่ถึงที่สุดแล้ว และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นอันยุติหรือถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปแล้ว ตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต่างใช้สิทธิฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์แต่ละคนได้รับ แม้ฟ้องรวมกันมาแต่หนี้ของโจทก์แต่ละคนสามารถแยกออกจากกันได้ หนี้ของโจทก์แต่ละคนจึงไม่ใช่หนี้ร่วมที่ไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์เพียงผู้เดียวคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่มีผลไปถึงคดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเสียเองได้
of 11