คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิศณุ เลื่อมสำราญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การรับผิดชอบราคารถยนต์ที่สูญหายจากโจรภัย และการคำนวณค่าเสียหายที่เหมาะสม
คำฟ้องของโจทก์เรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกัน แม้มิได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายอันเนื่องมาจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย แต่โจทก์ได้แนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายคำฟ้องและมีคำขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา และโจทก์ได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อโดยอ้างส่งสัญญาเช่าซื้อต่อศาล เมื่อสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ระบุว่าหากทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัย สูญหาย ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบ คำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าวพอถือได้ว่าโจทก์ได้เรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายแล้ว เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อก็ต้องใช้ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่ยังขาดอยู่โดยอ้างว่าเป็นเงินส่วนที่โจทก์ขาดทุน เมื่อค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่นั้น ก็คือค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่รวมทั้งหนี้สินอื่นที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นว่าจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดซึ่งก็เป็นค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 จึงเป็นการกำหนดประเด็นที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการเพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อทรัพย์สินเปลี่ยนมือไปแล้ว
ขณะที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำ น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่จะถูกบังคับคดี การยึดและการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทจึงไม่ชอบ แม้โจทก์จะเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินพิพาทได้โดยสุจริต ก็ไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาท ซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นไปก่อนแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องเรียกโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินพิพาทได้มาสอบถามเสียก่อน ส่วนโจทก์จะได้รับความเสียหายอย่างไรก็สามารถไปฟ้องร้องว่ากล่าวกันเป็นอีกเรื่องต่างหากได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่ใช่การกู้ยืมอำพราง แม้โจทก์ไม่มีสินค้าเป็นของตนเอง
การให้เช่าซื้อเป็นธุรกิจหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในธุรกิจการค้าอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทมหาชน จำกัด ดังที่ได้ระบุไว้ตามหนังสือรับรอง แม้โจทก์จะไม่มีสินค้าของตนเอง แต่ก็อาจนำเอาสินค้ามาให้ลูกค้าทำการเช่าซื้อได้ โดยทำสัญญาเช่าซื้อกันไว้ล่วงหน้า ให้มีผลบังคับกันได้ ในเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์ทั้งมิได้มีข้อจำกัดว่าเมื่อไม่มีสินค้าของตนเองแล้วจะประกอบธุรกิจการค้าประเภทนี้ไม่ได้ จำเลยก็ยอมรับข้อเสนอของโจทก์ในอันที่จะผูกพันตนตามสัญญาเช่าซื้อและทราบถึงวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ ทั้งยังได้ยอมรับเอาเงื่อนไขต่าง ๆ รวมทั้งการชำระหนี้อันเป็นผลโดยตรงที่คู่กรณียอมรับนับถือและพึงใช้บังคับต่อกันตามข้อสัญญา สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นนิติกรรมที่ใช้บังคับแก่คู่กรณีได้ มิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: สัญญาต่างประเภทมีอายุความต่างกัน
แม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าหนี้ที่จำเลยจ่ายเช็ค จำเลยชำระให้แก่โจทก์หมดแล้ว คงเหลือแต่หนี้ที่จำเลยใช้บัตรเครดิตของโจทก์เท่านั้น หนี้ที่จำเลยใช้บัตรเครดิตจึงมิใช่หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดแต่เป็นหนี้ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิต โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยใช้แทนการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยเงินสดหรือใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินสด โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7) โจทก์หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจำเลยใช้บัตรเครดิตวันที่ 31 มีนาคม 2535 ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามบัตรเครดิตตั้งแต่นั้นมานับถึงวันฟ้องวันที่ 29 กันยายน 2542 เกินกว่า 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: หนี้บัตรเครดิตมีอายุความ 2 ปีนับจากวันผิดนัดชำระ
หนี้ที่จำเลยใช้บัตรเครดิตมิใช่หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยใช้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสด หรือใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินสดโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(7) โจทก์หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจำเลยใช้บัตรเครดิตวันที่ 31มีนาคม 2535 ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามบัตรเครดิตตั้งแต่นั้นมานับถึงวันฟ้องวันที่ 29 กันยายน 2542 เกินกว่า 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7103/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญาเช่าซื้อสูงเกินส่วน ศาลลดหย่อนตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อ และไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ แม้ตามสัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินให้เช่าในอัตราค่าเช่าคิดเป็นจำนวนเงินเดือนละไม่น้อยกว่าค่างวดที่ต้องผ่อนชำระตามสัญญาเช่าซื้อ แต่ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของหรือในกรณีที่สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงและผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเสียหายใด ๆ แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันผิดนัด ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายอันมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดดอกเบี้ยให้โจทก์นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อเป็นหนี้เงินโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ได้อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6683/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าของผู้ประกอบการค้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) สิทธิของโจทก์ในการเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าที่ค้างชำระจึงมีอายุความ 2 ปี
ตามสัญญาซื้อขายกระแสไฟฟ้า จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือน ค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระในเดือนพฤษภาคม2538 ต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2538 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่ค้างชำระเมื่อวันที่ 28มกราคม 2542 เกินกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ และโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนมรดก: จำเป็นต้องรวมทายาทผู้รับมรดกเป็นคู่ความหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์จำเลยเพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกของ ม. ออกจากโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยอ้างว่า ว. บิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ม. ผู้เป็นภริยา ว. และเป็นมารดาโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะรับมรดกที่ดินมาแต่ต้น อันเป็นการโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์กับกองมรดกของ ม. โดยตรงและการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นที่มีสิทธิรับมรดกของ ม. ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีเมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกทายาทของ ม. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมไม่มีผลผูกพันทายาทอื่นของ ม. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการโอนมรดก: จำเป็นต้องรวมทายาทผู้รับมรดกเป็นคู่ความหรือไม่?
โจทก์ฟ้องคดีขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินสาขา จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกของ ม. มารดาซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วออกจากโฉนดที่ดินและน.ส.3 โดยอ้างว่า ว. บิดาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ก่อนตายม. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกดังกล่าวมาแต่ต้น อันถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์กับกองมรดกของ ม. โดยตรง และการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นที่มีสิทธิรับมรดกของ ม. ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกทายาทของ ม. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วยผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันทายาทอื่นของ ม. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการโอนมรดก: จำเป็นต้องมีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเป็นคู่ความร่วมด้วย
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาตาคลี จำเลยที่ 2 ในฐานะ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ และเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินของ ว. บิดาให้แก่ ม. มารดาซึ่งก็ถึงแก่ความตายไปแล้วเช่นกัน โดยอ้างว่า ว. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์เพียงผู้เดียวก่อนถึงแก่ความตาย ม. ผู้เป็นมารดาจึงไม่มีสิทธิที่จะรับมรดกที่ดินดังกล่าวมาแต่ต้น อันเป็นการโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์กับกองมรดกของ ม. โดยตรง และการขอให้ เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นที่มีสิทธิรับมรดกของ ม. ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกทายาทของ ม. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมไม่มีผลผูกพันทายาทอื่นของ ม. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
of 11