พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6518/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีประกันภัย, โมฆียะสัญญา, และสิทธิทายาทรับมรดกตามกรมธรรม์
ส. ตัวแทนขายประกันของจำเลย สาขานครราชสีมา ติดต่อ อ. ให้ทำสัญญาประกัน และ อ. ตกลงทำสัญญาตามแบบฟอร์มตรวจร่างกายและสัญญาประกันภัยของจำเลย จึงเป็นการเริ่มต้นทำสัญญาประกันภัยที่จังหวัดนครราชสีมาถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดนครราชสีมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีที่ศาลจังหวัดนครราชสีมาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1)
นายแพทย์ พ. ผู้ตรวจสุขภาพและร่างกายของ อ. ก่อนทำสัญญาประกันภัยมีความเห็นว่า อ. ไม่มีปัญหาอะไร ส่วนนายแพทย์ น. ตรวจร่างกาย อ. หลังจากทำสัญญาประกันภัยแล้วยืนยันว่า อ. เป็นเพียงโรคประสาทเครียดสามารถรักษาให้หายขาดได้ และ ส. ตัวแทนขายประกันของจำเลยซึ่งเป็นผู้ติดต่อ อ. ทำสัญญาประกันภัยยืนยันว่า อ. สามารถพูดคุยได้รู้เรื่องแบบคนปกติธรรมทั่วไปและได้มีการสั่งงานให้ลูกน้องปฏิบัติงานได้อย่างปกติ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่า อ. รู้แล้วว่าตนเจ็บป่วยเป็นโรคประสาทเครียดซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและไม่ได้ประกอบอาชีพแล้ว ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจทำให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยจึงไม่ตกเป็นโมฆียะ
โจทก์เป็นบุตร ง. จึงเป็นทายาทลำดับที่ 1 และมีสิทธิรับมรดกของ ง. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ขณะที่ อ. ตาย ง. ยังมีชีวิตอยู่ง. จึงมีสิทธิได้รับเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยครึ่งหนึ่ง และเมื่อ ง. ตาย สิทธิในการเรียกเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยจึงตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยไม่ต้องนำสืบให้เห็นว่าเป็นทายาทของ ง. ลำดับไหน มีทายาทด้วยกันกี่คน โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ง. ผู้รับประโยชน์ได้
นายแพทย์ พ. ผู้ตรวจสุขภาพและร่างกายของ อ. ก่อนทำสัญญาประกันภัยมีความเห็นว่า อ. ไม่มีปัญหาอะไร ส่วนนายแพทย์ น. ตรวจร่างกาย อ. หลังจากทำสัญญาประกันภัยแล้วยืนยันว่า อ. เป็นเพียงโรคประสาทเครียดสามารถรักษาให้หายขาดได้ และ ส. ตัวแทนขายประกันของจำเลยซึ่งเป็นผู้ติดต่อ อ. ทำสัญญาประกันภัยยืนยันว่า อ. สามารถพูดคุยได้รู้เรื่องแบบคนปกติธรรมทั่วไปและได้มีการสั่งงานให้ลูกน้องปฏิบัติงานได้อย่างปกติ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่า อ. รู้แล้วว่าตนเจ็บป่วยเป็นโรคประสาทเครียดซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและไม่ได้ประกอบอาชีพแล้ว ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจทำให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยจึงไม่ตกเป็นโมฆียะ
โจทก์เป็นบุตร ง. จึงเป็นทายาทลำดับที่ 1 และมีสิทธิรับมรดกของ ง. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ขณะที่ อ. ตาย ง. ยังมีชีวิตอยู่ง. จึงมีสิทธิได้รับเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยครึ่งหนึ่ง และเมื่อ ง. ตาย สิทธิในการเรียกเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยจึงตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยไม่ต้องนำสืบให้เห็นว่าเป็นทายาทของ ง. ลำดับไหน มีทายาทด้วยกันกี่คน โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ง. ผู้รับประโยชน์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6474/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำฉุดผู้เสียหายลงน้ำแล้วกดศีรษะ ไม่ถึงเจตนาฆ่า พิจารณาจากสภาพแม่น้ำและระดับน้ำ
ภาพถ่ายสภาพแม่น้ำที่จำเลยฉุดผู้เสียหายลงไปในแม่น้ำแล้วใช้มือกดศีรษะผู้เสียหายลงไปในน้ำ จนกระทั่งผู้เสียหายหลุดมือ กระแสน้ำพัดพาผู้เสียหายไปนั้นสภาพเป็นแม่น้ำไม่กว้างและพื้นเป็นทางค่อย ๆ ลาดลงไป ไม่ลึกชัน บริเวณที่เกิดเหตุก็ไม่ปรากฏว่าเป็นจุดใด ห่างจากฝั่งกี่เมตร แม้พนักงานสอบสวนจะบันทึกว่า ขณะเกิดเหตุน้ำในแม่น้ำมีมากลึกท่วมศีรษะของผู้เสียหาย แต่ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นส่วนไหนที่ลึกท่วมศีรษะอาจเป็นบริเวณช่วงกลางแม่น้ำก็ได้ ทั้งภาพถ่ายที่อ้างถึงก็ไม่ปรากฏว่าถ่ายหลังเกิดเหตุนานประมาณเท่าใด แต่ตามภาพถ่ายเห็นได้ว่าเป็นลำน้ำที่ตื้นเขินเป็นส่วนใหญ่ประกอบกับขณะเกิดเหตุหากจำเลยยืนกดศีรษะของผู้เสียหายได้แสดงว่าระดับน้ำน่าจะมีความสูงไม่ถึงศีรษะจำเลยและผู้เสียหาย ดังนั้นจากสภาพที่เกิดเหตุขณะนั้น จำเลยไม่อาจเล็งเห็นผลได้ว่า การกระทำของจำเลยอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดและการชำระค่าธรรมเนียมศาลที่ไม่ครบถ้วน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้ชำระได้
แม้การยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อศาลชั้นต้น ผู้ร้องจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลขณะยื่นคำร้องตามท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 2(3) จำนวน 20 บาท และค่าคำสั่งตามตาราง 2(7) อีกจำนวน 50 บาทก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นโดยเสียเฉพาะค่าคำร้อง 20 บาท ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งให้รับคำร้องและทำการไต่สวนตลอดจนมีคำสั่งชี้ขาดไปแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีพฤติการณ์จงใจจะหลีกเลี่ยงไม่ยอมเสียค่าธรรมเนียมศาลให้ครบถ้วนแต่อย่างใด เมื่อความปรากฏในชั้นพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาลให้ครบถ้วนตามท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5861/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อหลังบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ: โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเฉพาะค่าใช้ทรัพย์และค่าเสียหายอื่น ไม่สามารถเรียกค่าเช่าค้างชำระได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 บัญญัติไว้เพียงว่า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบเงินที่ผู้ให้เช่าซื้อรับไว้และกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเท่านั้น การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในขณะที่โจทก์มีสิทธิกลับเข้าครอบครองรถยนต์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องซ้ำซ้อนกัน ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนสัญญาเลิกกันได้ คงเรียกได้แต่ค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม และค่าเสียหายอื่นที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดนอกเหนือจากค่าเสียหายอันเกิดจากการใช้ทรัพย์โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันยังคงอยู่ แม้จะมีการเรียกร้องค่าสินไหมจากประกันภัย
แม้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยรถยนต์ที่เช่าซื้อจะเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย ด้วยการยื่นคำขอรับชำระหนี้ของบริษัทผู้รับประกันภัยในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 27,91 ก็เพื่อเป็นการรักษาสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไว้เท่านั้น และเป็นการไม่แน่นอนว่าจะได้รับชำระหนี้ เพราะคำขออาจถูกยกหรืออนุญาตทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การเข้าถือเอาประโยชน์ของโจทก์จึงมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ, ประกันภัย, ล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายยังคงอยู่แม้มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถไปจากโจทก์ โดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เอาประกันภัยระบุให้โจทก์เป็น ผู้รับผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยนั้น สัญญาประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้ออันมีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 เพื่อทดแทนความเสียหายให้แก่โจทก์อีกทางหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเพื่อให้ได้รับชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวนจากข้อผูกพันตามสัญญาฉบับใดฉบับหนึ่งหรือทั้งสองฉบับจนกว่าจะได้รับครบถ้วน การที่รถที่เช่าซื้อประสบอุบัติเหตุเสียหายจนซ่อมแซมไม่ได้ และโจทก์ได้เข้าถือเอาผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัย แต่ผู้รับประกันภัยถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย โจทก์จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ดังกล่าว ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าการเข้าถือเอาประโยชน์ของโจทก์ตามสัญญาประกันภัยได้รับชดใช้ค่าเสียหายแล้ว เพราะการยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นเพียงการปฎิบัติตามขั้นตอนที่บังคับไว้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายเพื่อรักษา สิทธิเรียกร้องเอาไว้และเป็นการไม่แน่นอนว่าจะได้รับชำระหนี้ เพราะคำขออาจถูกยกหรืออนุญาตทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนก็ได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5441/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และการพิจารณาฟ้องซ้ำ/ฟ้องซ้อน
ศาลอุทธรณ์จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาในประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะใช้ดุลพินิจกระทำได้เมื่อปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเสียให้เสร็จสิ้นโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 อันมีลักษณะเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันมาจากการซื้อขายโดยสละและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้และตกลงจะแบ่งแยกให้ภายหลัง ประเด็นข้อพิพาทคดีทั้งสองจึงแตกต่างกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 อันมีลักษณะเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันมาจากการซื้อขายโดยสละและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้และตกลงจะแบ่งแยกให้ภายหลัง ประเด็นข้อพิพาทคดีทั้งสองจึงแตกต่างกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5054-5055/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง: แหวนไม่ใช่เครื่องมือพิเศษทำร้ายร่างกาย
แหวนและหัวแหวนของกลางมีลักษณะเป็นแหวนพลอยเหมือนกับแหวนธรรมดาทั่วไป และเมื่อจำเลยที่ 1 ชกต่อยโจทก์ร่วม ปรากฏว่าหัวแหวนได้หลุดออกจากตัวแหวนทันที แสดงว่าแหวนและหัวแหวนของกลางไม่มีลักษณะพิเศษที่ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อประสงค์ใช้ในการชกต่อยใบหน้าโจทก์ร่วม เพื่อให้เกิดบาดแผลอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น แต่เป็นเครื่องประดับที่ใช้กันอยู่ทั่วไป จึงฟังไม่ได้ว่าแหวนและหัวแหวนของกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เวลาเกิดเหตุลักทรัพย์ หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นการลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 มีนาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงจนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักทรัพย์สร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใดและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษลักทรัพย์ ต้องพิจารณาเวลาเกิดเหตุ หากไม่ปรากฏชัดต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำผิดของจำเลยว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 มีนาคม 2544เวลากลางคืนก่อนเที่ยงจนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดแม้พอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ปัญหาดังกล่าวแม้มิได้มีฝ่ายอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง