พบผลลัพธ์ทั้งหมด 294 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหลังพ้นตำแหน่งกรรมการพรรคการเมือง: กรอบเวลาและความผิด
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง จำเลยซึ่งเป็นกรรมการสาขาพรรคพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 มีสิทธิที่จะยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินได้ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2545 ถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2545 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง หากจำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายในกำหนดเงื่อนไขเวลาดังกล่าว การกระทำของจำเลยก็จะไม่เป็นความผิด แต่ถ้าจำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินนับตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2545 เป็นต้นไป ซึ่งเกินกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่พ้นตำแหน่ง จำเลยจึงจะมีความผิดตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าในระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 ถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2545 จำเลยไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง แม้การกระทำของจำเลยในช่วงเวลาตามฟ้องดังกล่าวยังไม่เป็นความผิด เพราะอยู่ในเงื่อนเวลาสามสิบวัน ที่ให้จำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินได้แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อมาว่าการที่จำเลยไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำความผิดพอสมควรให้จำเลยเข้าใจข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่าในระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 ถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2545 จำเลยไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง แม้การกระทำของจำเลยในช่วงเวลาตามฟ้องดังกล่าวยังไม่เป็นความผิด เพราะอยู่ในเงื่อนเวลาสามสิบวัน ที่ให้จำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินได้แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อมาว่าการที่จำเลยไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำความผิดพอสมควรให้จำเลยเข้าใจข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีทรัพย์สินหลังพ้นตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค ความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง
ตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 42 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการสาขาพรรคการเมือง มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เข้าดำรงตำแหน่งและภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง จำเลยเป็นกรรมการบริหารสาขาพรรค ก. ได้ลาออกและถือว่าพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 จำเลยต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง จำเลยจึงมีสิทธิที่จะยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2545 ถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2545 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง หากจำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินภายในกำหนดเงื่อนเวลาดังกล่าว การกระทำของจำเลยก็จะไม่เป็นความผิด แต่ถ้าจำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินนับตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2545 เป็นต้นไป ซึ่งเกินกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่พ้นตำแหน่ง จำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าในระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 ถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2545 จำเลยไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ แม้การกระทำของจำเลยในช่วงเวลาตามฟ้องดังกล่าวยังไม่เป็นความผิด เพราะอยู่ในเงื่อนเวลาสามสิบวัน ให้จำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อมาว่าการที่จำเลยไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำความผิดพอสมควรให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ: เงื่อนไขช่วงเวลาเกิดหนี้ และการแจ้งความประสงค์แก่ผู้ทำแผน/ผู้บริหารแผน
การที่กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้ขอหักกลบลบหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/33 นั้น เป็นระบบการจัดการทรัพย์สินในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ที่จะนำหนี้ที่ตนมีภาระต้องชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อยู่แล้วในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไปหักกับหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้
มาตรา 90/33 ที่บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นหนี้ลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" ย่อมหมายถึงในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ฉะนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้จะนำมาหักกลบลบหนี้ได้นั้น เจ้าหนี้ต้องเป็นหนี้ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกัน เจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสามารถนำหนี้ที่มีต่อกันมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 โดยหากเจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้แล้วก็ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี
มาตรา 90/33 ที่บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นหนี้ลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" ย่อมหมายถึงในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ฉะนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้จะนำมาหักกลบลบหนี้ได้นั้น เจ้าหนี้ต้องเป็นหนี้ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกัน เจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสามารถนำหนี้ที่มีต่อกันมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 โดยหากเจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้แล้วก็ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: เงื่อนไขหนี้ก่อน-หลังศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ
การที่กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้ขอหักกลบลบหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/33 นั้น เป็นระบบการจัดการทรัพย์สินในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ที่จะนำหนี้ที่ตนมีภาระต้องชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อยู่แล้วในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไปหักกับหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้
มาตรา 90/33 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" ย่อมหมายถึงในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนึ่งซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ฉะนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้จะนำมาหักกลบลบหนี้ได้นั้นเจ้าหนี้ต้องเป็นหนี้ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกัน เจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสามารถนำหนี้ที่มีต่อกันมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 โดยหากเจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้แล้วก็ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี
มาตรา 90/33 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" ย่อมหมายถึงในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนึ่งซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ฉะนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้จะนำมาหักกลบลบหนี้ได้นั้นเจ้าหนี้ต้องเป็นหนี้ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกัน เจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสามารถนำหนี้ที่มีต่อกันมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 โดยหากเจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้แล้วก็ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4016/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค่าจ้างทนายเป็นส่วนแบ่งทรัพย์สิน: โมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
สัญญาที่โจทก์ในฐานะทนายความเรียกร้องค่าจ้างเป็นส่วนแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่ดินที่เป็นมูลพิพาทที่จำเลยที่ 2 แบ่งที่ดินอันจำเลยทั้งสองจะพึงได้รับเป็นที่ดิน 40 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นเงินจากการขายที่ดินพิพาทที่ได้มาทั้งหมดขอแบ่ง 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อจำเลยชนะคดี มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันซึ่งเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเกินคำฟ้อง: ศาลไม่อาจพิพากษาในส่วนที่ไม่ได้บรรยายไว้ แม้มีคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาซื้อหินอ่อนและหินแกรนิตกับโจทก์ในราคา 1,770,000 บาท ชำระมัดจำงวดแรกร้อยละ 20 ของราคาหินเป็นเงิน 354,000 บาท งวดต่อไปชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันส่งหินให้และออกใบแจ้งหนี้/ใบวางบิลเรียกเก็บเงิน โจทก์ส่งหินอ่อนและหินแกรนิตให้จำเลยตามสัญญาและเรียกเก็บเงินเรื่อยมา ปรากฏว่าจำเลยค้างชำระค่าหินอ่อนและหินแกรนิตโจทก์เป็นเงิน 578,329.95 บาท ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบว่ายอดเงินที่จำเลยค้างชำระดังกล่าวมียอดเงินที่จำเลยสั่งซื้อหินอ่อนและหินแกรนิตเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาที่โจทก์จำเลยทำสัญญากันไว้จำนวน 137,561.08 บาท รวมอยู่ด้วย ซึ่งโจทก์ไม่ได้บรรยายไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมีคำขอให้ชำระเงินในส่วนนี้ปนรวมมาด้วยก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าหินอ่อนและหินแกรนิตที่จำเลยสั่งซื้อเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากสัญญาที่จำเลยทำสัญญาซื้อกับโจทก์ตามที่ปรากฏในคำฟ้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้จากการซื้อขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร ศาลเชื่อพยานบุคคลที่เป็นกลาง
โจทก์ที่ 1 และจำเลยทั้งสองต่างเบิกความยันกันปากต่อปากว่า จำเลยทั้งสองซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากโจทก์ที่ 1 ไปขาย ยังไม่ได้ชำระเงิน ส่วนจำเลยทั้งสองยืนยันว่า ซื้อไปจริงแต่ชำระเงินแล้ว แต่โจทก์มีพยานซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านที่โจทก์เป็นลูกบ้านและผู้ใหญ่บ้านที่จำเลยทั้งสองเป็นลูกบ้านรวมทั้งอดีตกำนันที่ทั้งสองฝ่ายเป็นลูกบ้านเบิกความในทำนองเดียวกันว่าทั้งสองฝ่ายได้เจรจากันและจำเลยทั้งสองยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าเสื้อผ้าที่ซื้อไปจากโจทก์ที่ 1 จริง โดยมีบันทึกถ้อยคำเป็นหลักฐาน และโจทก์ยังมีพนักงานสอบสวนที่ไกล่เกลี่ยคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ที่ 1 จริง จำเลยที่ 2 จะนำที่ดินมาตีใช้หนี้ แต่ที่สุดตกลงกันไม่ได้ จึงมีบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน แม้เอกสารทั้งสองฉบับจำเลยทั้งสองจะไม่ยอมลงลายมือชื่อจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่มีผลผูกพันจำเลยทั้งสองก็ตาม แต่ก็ฟังประกอบคำเบิกความพยานของโจทก์ที่ 1 ที่ยืนยันว่ามีการเจรจากันจริง โดยพยานของโจทก์ที่ 1 ต่างเป็นเจ้าพนักงานของรัฐและอดีตเจ้าพนักงานของรัฐ เป็นผู้ใหญ่ที่น่าเชื่อถือในหมู่บ้านที่ทั้งสองฝ่ายอยู่อาศัยทั้งไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ถือได้ว่าเป็นพยานคนกลาง ทำให้มีน้ำหนักน่าเชื่อว่าเบิกความไปตามความจริง ส่วนจำเลยทั้งสองคงมีแต่ตัวจำเลยทั้งสองเบิกความว่า ได้ชำระค่าเสื้อผ้าสำเร็จรูปให้โจทก์ที่ 1 หมดแล้วไม่ได้ค้างชำระ โดยไม่มีพยานอื่นใดมาสนับสนุน แม้โจทก์ที่ 1 จะจำไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองรับซื้อเสื้อผ้าไปวันที่เท่าใดและมีรายการเสื้อผ้าใดบ้าง แต่จำเลยทั้งสองรับว่าการรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปขายมิได้ทำหลักฐานไว้ การที่โจทก์ที่ 1 จำไม่ได้จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ซื้อขายกันมีเป็นจำนวนมาก โจทก์ที่ 1 อาจหลงลืมได้ พยานหลักฐานที่โจทก์ที่ 1 นำสืบมาจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่าพยานจำเลยทั้งสอง เชื่อว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ที่ 1 จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์มีเงื่อนไข และการเลิกสัญญาโดยสมัครใจ สิทธิเรียกร้องเงินคืน
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า คำฟ้องโจทก์ซึ่งกล่าวถึงสภาพข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาโอนสิทธิเช่าซื้อ แต่คำขอบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ จำเลยไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์ประสงค์สิ่งใดทำให้ไม่อาจสู้คดีได้ถูกต้อง คำให้การจำเลยดังกล่าวมิได้บรรยายให้เห็นว่า ฟ้องของโจทก์ส่วนใดเคลือบคลุมหรือไม่ชัดแจ้งอย่างไร หรือเนื้อหาในคำฟ้องขัดแย้งกันอย่างไร ซึ่งอ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้ ถือว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยจำเลยผู้ขายยอมให้โจทก์ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาและมีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อโจทก์ผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว จึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงราคากันตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป แม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่หากได้มีการวางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วคู่กรณีก็ย่อมฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ตามมาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เมื่อจำเลยตกลงขายรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในราคา 200,000 บาท โจทก์ได้ผ่อนชำระแล้วเป็นเงิน 95,000 จึงถือว่าโจทก์ได้วางประจำและชำระหนี้บางส่วนแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีได้
โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย ย่อมทำให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อโจทก์ได้มอบรถยนต์พิพาทคืนแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ได้รับมาแก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ย โดยสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยจำเลยผู้ขายยอมให้โจทก์ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาและมีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อโจทก์ผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว จึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงราคากันตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป แม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่หากได้มีการวางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วคู่กรณีก็ย่อมฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ตามมาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เมื่อจำเลยตกลงขายรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในราคา 200,000 บาท โจทก์ได้ผ่อนชำระแล้วเป็นเงิน 95,000 จึงถือว่าโจทก์ได้วางประจำและชำระหนี้บางส่วนแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีได้
โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย ย่อมทำให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อโจทก์ได้มอบรถยนต์พิพาทคืนแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ได้รับมาแก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ย โดยสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3331/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่เคลือบคลุม-อายุความสิทธิเรียกร้องซื้อขายอาหารสัตว์: การพิจารณาอายุความตามวัตถุประสงค์การใช้สินค้า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซื้อสินค้าไปจากโจทก์หลายครั้งและมีหนี้ที่จำเลยสั่งซื้อสินค้าแล้วยังไม่ชำระราคารวม 34 ครั้ง โดยระบุรายละเอียดวันสั่งซื้อ จำนวนรายการที่ซื้อ ตลอดจนค่าสินค้าและค่าขนส่งแต่ละครั้ง โจทก์มีสำเนาใบส่งของและใบกำกับสินค้าแนบมาท้ายฟ้องด้วยซึ่งถือว่าเป็นส่วนของคำฟ้อง เพียงแต่โจทก์ระบุเงินบางรายการผิดไปจากหลักฐานที่ปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องทำให้ยอดเงินไม่ตรงกันเท่านั้น ดังนั้นหากคำนวณจากเอกสารท้ายฟ้องก็จะได้ยอดเงินที่ถูกต้อง ส่วนยอดหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็มีจำนวนตรงตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องว่าได้มีการทำข้อตกลงกันเช่นใด แต่สุดท้ายแล้วโจทก์ก็เรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามใบส่งของและใบกำกับสินค้าทั้ง 34 ครั้งนั่นเอง ซึ่งจำเลยสามารถตรวจสอบและต่อสู้คดีได้ถูกต้องว่าสินค้ารายการใดบ้างที่จำเลยไม่ได้สั่งซื้อหรือไม่ได้รับสินค้า ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว จึงเป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
จำเลยซื้ออาหารโคมาเพื่อใช้ในฟาร์มของจำเลย ไม่ได้ซื้อเป็นอาหารโคที่เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคเอง แต่จำเลยมีกิจการเลี้ยงโคเพื่อจำหน่ายนมโคหรือจำหน่ายเนื้อโค จึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงมีอายุความ 5 ปี
จำเลยซื้ออาหารโคมาเพื่อใช้ในฟาร์มของจำเลย ไม่ได้ซื้อเป็นอาหารโคที่เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคเอง แต่จำเลยมีกิจการเลี้ยงโคเพื่อจำหน่ายนมโคหรือจำหน่ายเนื้อโค จึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงมีอายุความ 5 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2976/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นเพียงเปลือกนอกของสัญญาการกู้ยืมเงิน การนำสืบหลักฐานทำได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและได้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว จำเลยก็สามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าความจริงเป็นการทำสัญญากู้เงินกัน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง เพราะเป็นการนำสืบว่าสัญญาซื้อขายนั้นเป็นนิติกรรมอำพราง ต้องบังคับตามสัญญาที่แท้จริงคือสัญญากู้เงิน