พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5165/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุกรุกที่ดินของรัฐ: ความผิดต่อรัฐ พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำกัดผู้ร้องทุกข์
ความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1), 108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐ ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 ดังนั้น เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนคดีนี้แล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (1), 120 และ พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 11 (1) โดยมิต้องคำนึงว่าผู้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีจะเป็นผู้ใด หรือได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายที่แท้จริงหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอัยการจำกัดเฉพาะคดีผิดสัญญาประกันหลังคดีถึงที่สุด เมื่อไม่มีผิดสัญญา อัยการไม่มีอำนาจฎีกา
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยผู้ต้องหาทั้งสามชั่วคราวระหว่างสอบสวน โดย ฉ. ผู้ประกันได้วางหลักประกันเป็นเงินสด 60,000 บาท และทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว ฉ. มาขอหลักประกันคืน ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนหลักประกันแก่ผู้ประกัน ดังนี้ พนักงานอัยการจะฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการเกี่ยวกับสัญญาประกันนั้นมีเฉพาะกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันแต่เมื่อความรับผิดตามสัญญาประกันของ ฉ. สิ้นสุดลงแล้ว อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันก็ย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงด้วย.