พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการกำหนดโทษคดียาเสพติด: พิจารณาปริมาณของกลางและผลกระทบต่อสังคม
ในการกำหนดโทษจำเลยในคดีใด ย่อมเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณากำหนดโทษในแต่ละคดีเป็นคดีไป ทั้งนี้ นอกจากจะพิจารณาเรื่องปริมาณมากน้อยของยาเสพติดให้โทษของกลางประกอบพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ยังต้องคำนึงถึงผลเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยประกอบด้วย ซึ่งในสภาพของบ้านเมืองในปัจจุบัน ปัญหาเกี่ยวกับการแพร่ระบาด ของยาเสพติดให้โทษชนิดนี้ก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สังคมทั่วไป เฮโรอีนของกลางคดีนี้ก็มีปริมาณมาก ซึ่งอาจแบ่งขายออกเป็นหลอดเล็กให้แก่ผู้ที่เสพติดได้เป็นจำนวนมากมาย การใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจึงเหมาะสมแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2057/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุเฮโรอีนเข้าข่ายความผิดฐานผลิตยาเสพติด แม้เป็นการกระทำส่วนหนึ่งของการจำหน่าย
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ให้คำนิยาม คำว่า"ผลิต" ให้หมายความรวมตลอด ถึง การแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุด้วยการที่จำเลยที่ 1 เทเฮโรอีนจากหลอดใหญ่แบ่งใส่ห่อกระดาษเล็กแล้วเก็บเฮโรอีนขนาดเล็กทั้งหมดใส่ถุงพลาสติกขนาด ใหญ่ ดังนี้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ แบ่งบรรจุอันเป็นการผลิตยาเสพติดให้โทษแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดอาญา: การกระทำร่วมกันเป็นกรรมเดียวกัน
จำเลยทั้งสองร่วมกันนำเฮโรอีนจำนวนเดียว กันออกนอกประเทศแต่ แบ่งแยกหน้าที่กันซุกซ่อน โดย จำเลยที่ 1 ซุกซ่อน ติดตัว ไป 3 ก้อนจำเลยที่ 2 ซุกซ่อน ติดตัว ไป 9 ก้อน จำเลยทั้งสองนั่งรถแท็กซี่คันเดียวกันไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพเพื่อเดินทางออกนอกประเทศโดย เครื่องบินลำเดียวกัน และถูก จับในเวลาไล่เลี่ยกัน ขณะอยู่ห่างกัน 40 เมตร ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมกันกระทำผิดในกรรมเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 2 เคยถูก โจทก์ฟ้องและมีคำพิพากษาถึงที่สุดในกรรมนี้ไปแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ศาลชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เฉพาะตัว จำเลยที่ 2.