พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์ และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายสองจำนวน คือเงินที่โจทก์ต้องเพิ่มค่าจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้าง 856,067.45 บาท และเงินที่โจทก์ต้องจ้างผู้ควบคุมงาน 36,200 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 856,067.45 บาท ยกฟ้องค่าเสียหายส่วนต้องจ้างผู้ควบคุมงาน โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายในส่วนนี้ ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยรับผิดในส่วนที่ศาลยกฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าเสียหายในส่วนต้องจ้างผู้ควบคุมงานโจทก์ได้รับความเสียหายจริง จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบ ต้องถือว่าปัญหาได้ยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้ว และไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตาม มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญาว่าจ้างก่อสร้างข้อ 20 ระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3 และ (2) ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไป ส่วนสัญญาข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 เป็นเงิน มอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญา ข้อ 20(1) และ (2) จากจำเลยทั้งสามได้ แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
สัญญาว่าจ้างก่อสร้างข้อ 20 ระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3 และ (2) ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไป ส่วนสัญญาข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 เป็นเงิน มอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญา ข้อ 20(1) และ (2) จากจำเลยทั้งสามได้ แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6532/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ และการครอบครองไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
บทบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 31 มีเจตนาจะปกป้องราษฎรผู้ได้สิทธิในที่ดินให้มีที่ดินไว้ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี และภายในระยะเวลาดังกล่าวทางราชการยังควบคุมที่ดินนั้นอยู่ มิได้ปล่อยให้เป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นระยะเวลาที่อยู่ในบังคับห้ามโอน ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจสละหรือโอนสิทธิครอบครองหรือทำนิติกรรมสัญญาประการใดอันมีผลหรือมีลักษณะไปในทางที่สละหรือโอนหรืออาจต้องถูกบังคับให้มีการโอนสิทธิครอบครองดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทภายในระยะเวลาห้ามโอน แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะกำหนดรับโอนสิทธิครอบครองกันในวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม ก็เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมาย เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ส่วนสัญญาจำนองเป็นประกันเห็นได้ชัดว่า โจทก์และจำเลยจำนองเป็นประกันในวงเงินเท่ากับราคาที่ซื้อขายกัน ส่วนสัญญาก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินก็ทำในวันเดียวกับสัญญาจะซื้อจะขาย เห็นได้ว่าสัญญาจำนองเป็นประกันและสัญญาก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายโดยคู่สัญญาไม่มีเจตนาผูกพันในเรื่องจำนองและสิทธิเหนือพื้นดิน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155
โจทก์ไม่มีสิทธิสละหรือโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยภายในระยะเวลาห้ามโอนรวมถึงการเข้าแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทในช่วงเวลานี้ก็ทำไม่ได้ดังนั้น การยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงถือได้ว่าจำเลยครอบครองไว้แทนโจทก์ ไม่ถือว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ กรณีไม่ใช่ฟ้องร้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่จะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันและสัญญาก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน เป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และมาตรา 155 โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะยกข้อสัญญาที่เป็นโมฆะขึ้นกล่าวอ้างได้การที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นโมฆะจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์ไม่มีสิทธิสละหรือโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยภายในระยะเวลาห้ามโอนรวมถึงการเข้าแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทในช่วงเวลานี้ก็ทำไม่ได้ดังนั้น การยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงถือได้ว่าจำเลยครอบครองไว้แทนโจทก์ ไม่ถือว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ กรณีไม่ใช่ฟ้องร้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่จะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันและสัญญาก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน เป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และมาตรา 155 โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะยกข้อสัญญาที่เป็นโมฆะขึ้นกล่าวอ้างได้การที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นโมฆะจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6327/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะยกคำขอไปก่อน
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งซึ่งจำเลยรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ แต่ศาลชั้นต้นไม่นับโทษต่อให้เพราะคดีดังกล่าวยังไม่ได้พิพากษา เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้นับโทษต่อโดยอ้างว่าคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วโดยจำคุกจำเลยรวม10 ปี จำเลยไม่ได้แก้ฎีกาหรือฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงฟังได้ว่าคดีดังกล่าว ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้วจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลลดโทษเหลือครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพิพากษานับโทษต่อ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบแสดงพยานหลักฐานต่อศาลให้เห็นว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้เพื่อจำหน่าย จำนวนเมทแอมเฟตามีนที่ยึดได้มีเพียง 50 เม็ดมีปริมาณสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม จึงไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย พยานโจทก์อ้างว่าสืบทราบว่าจำเลยมีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่บ้านจำเลย แทนที่พยานโจทก์จะใช้วิธีล่อซื้อแต่กลับขอเพียงหมายค้นบ้านจำเลยเท่านั้น ส่วนพยานโจทก์ที่ทำการซุ่มดูและเห็นจำเลยและวัยรุ่นส่งมอบของให้กันก็ไม่ยืนยันว่าสิ่งของที่ส่งมอบกันนั้นเป็นอะไรทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาจำเลยก็ให้การปฏิเสธ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยจำหน่าย จ่าย แจก หรือมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย คงฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษต่อจากคดีก่อน แต่ศาลชั้นต้นไม่นับโทษต่อให้เพราะคดีดังกล่าวศาลยังไม่ได้พิพากษา เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้นับโทษต่อโดยอ้างว่าคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วโดยพิพากษาลงโทษจำคุก จำเลยไม่ได้แก้ฎีกาหรือฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงฟังได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวแล้วจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อได้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษต่อจากคดีก่อน แต่ศาลชั้นต้นไม่นับโทษต่อให้เพราะคดีดังกล่าวศาลยังไม่ได้พิพากษา เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้นับโทษต่อโดยอ้างว่าคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วโดยพิพากษาลงโทษจำคุก จำเลยไม่ได้แก้ฎีกาหรือฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงฟังได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวแล้วจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5856/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสที่ดินพิพาท การซื้อขายโดยไม่สุจริตและผลของการเพิกถอนนิติกรรม
บิดาโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และจำเลยที่ 1 และเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) เมื่อจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 1476(1) และเมื่อจำเลยที่ 2เบิกความยอมรับว่าก่อนซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีสามีคือโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริตโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทได้ตามมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง พิจารณาผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตใน การดำเนินคดีของโจทก์แล้ว ศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายอีกด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว
หลังจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว โจทก์ได้นำคำฟ้องมายื่นใหม่โดยโจทก์ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง คำฟ้องเดิมหลายแห่งเพื่อให้ถูกต้องตามความเป็นจริง มิได้เปลี่ยนแปลงจำนวนที่ดินอันเป็นสาระสำคัญของคำมั่นว่าจะ ขายที่ดินของจำเลยและตามคำฟ้องเดิมบรรยายว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 เวลา 8.30 นาฬิกา โจทก์พร้อมด้วย ว. ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามที่ได้นัดหมายไว้กับจำเลย แต่ในคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่ไม่ได้ระบุ ว. นั้น ชั้นพิจารณา ในคดีเดิมทั้งโจทก์และ ว. ไม่ได้เบิกความถึงว่า ว. ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันเวลาดังกล่าว จึงไม่ทำให้เห็นว่า พยาน โจทก์ทั้งสองเบิกความแตกต่างหรือขัดแย้งกันในเรื่องนี้ นอกจากนั้นคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่มีข้อความเพิ่มเติมจาก คำฟ้องเดิมว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลย ก็เป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี
หลังจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว โจทก์ได้นำคำฟ้องมายื่นใหม่โดยโจทก์ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง คำฟ้องเดิมหลายแห่งเพื่อให้ถูกต้องตามความเป็นจริง มิได้เปลี่ยนแปลงจำนวนที่ดินอันเป็นสาระสำคัญของคำมั่นว่าจะ ขายที่ดินของจำเลยและตามคำฟ้องเดิมบรรยายว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 เวลา 8.30 นาฬิกา โจทก์พร้อมด้วย ว. ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามที่ได้นัดหมายไว้กับจำเลย แต่ในคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่ไม่ได้ระบุ ว. นั้น ชั้นพิจารณา ในคดีเดิมทั้งโจทก์และ ว. ไม่ได้เบิกความถึงว่า ว. ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันเวลาดังกล่าว จึงไม่ทำให้เห็นว่า พยาน โจทก์ทั้งสองเบิกความแตกต่างหรือขัดแย้งกันในเรื่องนี้ นอกจากนั้นคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่มีข้อความเพิ่มเติมจาก คำฟ้องเดิมว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลย ก็เป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีแพ่ง ศาลต้องพิจารณาผลกระทบต่อคู่ความทุกฝ่าย ไม่ใช่แค่ผู้ขอถอน
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้ว ศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายอีกด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์แต่ฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด
ในคดีความผิดฐานรับของโจรนั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับจำนำรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ว่าเมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์ของกลางแล้วจำเลยต้องนำสืบแก้ตัวว่าตนไม่รู้ว่าเป็นของที่ได้มาจากการกระทำความผิด เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยรับจำนำรถจักรยานยนต์ของกลางโดยรู้ว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ พยานโจทก์จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ลำพังคำรับสารภาพชั้นจับกุม แต่จำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาคดี จะนำมาฟังลงโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและประกันตามคำสั่งศาล การไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดและการขาดเหตุสุดวิสัย
จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นภายในวันที่ 21 มีนาคม 2544แต่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในวันที่ 11 เมษายน 2544 โดยจำเลยแสดงไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด โดยเฉพาะใบสำคัญความเห็นแพทย์ท้ายคำร้องก็ระบุว่าพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลถึงวันที่ 18 มีนาคม 2544 เท่านั้นดังนั้น กรณีจึงไม่มีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23