คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรูญวิทย์ ทองสอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาได้เอง
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้นำโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ และจำเลยที่ 1 ให้การรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ เมื่อในระหว่างที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อน จำเลยที่ 1 ได้มากระทำความผิดในคดีนี้อีก ศาลที่พิพากษาในคดีหลังจึงต้องนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ แม้ศาลล่างทั้งสองไม่นำโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ และจำเลยที่ 1 มิได้ฎีกา เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจนำโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก กรณีมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 เพราะกฎหมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาในคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วย ทั้งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราผู้เยาว์โดยมีตัวการร่วม ข่มขู่ และผลกระทบต่อการแจ้งความล่าช้า
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 3 ได้ช่วยจำเลยที่ 3 ถอดเสื้อผ้าผู้เสียหายออกระหว่างนั้นก็คอยปิดปากและจับแขนผู้เสียหายไว้เหนือศีรษะให้จำเลยที่ 3 กระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่ ถือได้ว่าเป็นตัวการร่วมในการกระทำชำเราผู้เสียหายแล้วตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 83
การที่ผู้เสียหายเบิกความถึงเหตุการณ์หลังจากถูกกระทำชำเราแล้วจำเลยที่ 2 และที่ 3 ข่มขู่ว่าหากเอาเรื่องไปบอกคนอื่นจะฆ่าให้ตาย ผู้เสียหายเคยเล่าเรื่องให้จำเลยที่ 1 ฟังแต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ ซ้ำยังถูกจำเลยที่ 2 ตบอีกอันเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เสียหายเกรงกลัว ไม่กล้าเล่าให้ผู้ใดฟัง ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์อายุเพียง 14 ปีเศษ มีการศึกษาน้อยไม่เคยอยู่ที่จังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นจังหวัดเกิดเหตุมาก่อน ไม่ทราบว่าสถานีตำรวจอยู่ที่ไหนและจะต้องดำเนินการอย่างไร เมื่อสบโอกาสเพราะบ้านเกิดเหตุปลอดคน ผู้เสียหายจึงหนีกลับบ้านที่จังหวัดเพชรบุรีแล้วเล่าเรื่องให้ ล. ฟังนั้น เป็นการเบิกความถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับและสมเหตุผล แม้ว่าเมื่อเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายไม่ได้รีบแจ้งความก็ไม่เป็นพิรุธเพราะถูกขู่เอาไว้ส่วนที่ ล. เบิกความว่าไม่ได้รีบแจ้งความทันทีเพราะไม่อาจตัดสินใจว่าจะจัดการอย่างไร เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีพระคุณต่อผู้เสียหายมาก่อน ต้องรอปรึกษามารดาจำเลยที่ 1 ก่อนแล้วจึงไปแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า ล. เคยมีเหตุโกรธเคืองกับจำเลยที่ 3 มาก่อน จึงไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะกลั่นแกล้งหรือปรักปรำจำเลยที่ 3 คำเบิกความดังกล่าวของ ล. จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต: พิจารณาจากความร้ายแรงแห่งคดี
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52(2) ในการลดโทษประหารชีวิตถ้าจะลดกึ่งหนึ่งให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษจำคุกตั้งแต่ 25 ปีถึง 50 ปี ซึ่งศาลจะลดโทษให้เพียงใดเป็นดุลพินิจของศาล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดว่าร้ายแรงหรือไม่เพียงใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1เป็นภริยาผู้ตายสมคบกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ฆ่าผู้ตายแล้วยังใช้น้ำมันราดและจุดไฟเผาศพผู้ตายเพื่อปิดบังซ่อนเร้นการตาย พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นการกระทำความผิดร้ายแรงและไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลดโทษให้จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่งจากโทษประหารชีวิตเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนายิงปืนในที่สาธารณะ เล็งเห็นผลถึงแก่ชีวิต ถือเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงยิงไปทางกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในร้านขายอาหารซึ่งมีประมาณ 20 คน โดยไม่ใยดีว่ากระสุนปืนจะถูกใครหรือไม่ แม้จะเป็นการยิงเพียงนัดเดียวก็อาจถูกผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ ทั้งกระสุนปืนดังกล่าวถูกต้นขาขวาของเด็กคนหนึ่งจึงเป็นการกระทำที่ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น เป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสอง จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9692/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและแพ่ง ขึ้นอยู่กับผู้เสียหายที่แท้จริง และอายุความความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 271, 272, 273 และ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไต่สวนมูลฟ้องแล้ว ประทับฟ้องเฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ที่โจทก์ในฐานะผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด และความผิดตามมาตราดังกล่าวมีระวางโทษ จำคุกกว่า 1 ปี ถึง 7 ปี จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 ดังนี้ เมื่อนับถึงวันที่ 9 เมษายน 2542 อันเป็นวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9594/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีขัดทรัพย์: คำร้องขอของผู้ร้องมีลักษณะคล้ายฟ้อง ต้องชัดเจนในรายละเอียดทรัพย์สินและอำนาจฟ้อง
ในการพิจารณาคดีร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 วรรคสอง กำหนดว่าศาลต้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นเหมือนอย่างคดีธรรมดา ผู้ร้องขัดทรัพย์จึงมีฐานะเสมือนเป็นโจทก์ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา(โจทก์เดิม) มีฐานะเสมือนจำเลย ดังนั้น คำร้องขอของผู้ร้องขัดทรัพย์จึงเปรียบเสมือนคำฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าคำร้องขอของผู้ร้องมิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้รายการใดเป็นของผู้ร้อง จึงเป็นคำฟ้องของผู้ร้องขัดทรัพย์ที่ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นฟ้องเคลือบคลุม แต่ฟ้องเคลือบคลุมในคดีแพ่งก็ไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจะยกขึ้นพิจารณาเองไม่ได้ โจทก์ซึ่งเป็นเสมือนจำเลยจะต้องต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ ทั้งจะต้องให้การโดยชัดแจ้งด้วยว่าฟ้องเคลือบคลุมอย่างไร มิฉะนั้น ไม่เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยถึง และในคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นเสมือนจำเลยก็ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่าคำร้องขอของผู้ร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมแต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าคำร้องขอของผู้ร้องเป็นคำร้องขอที่ขาดสาระสำคัญในเรื่องอำนาจฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ถูกต้องศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9567/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางเจ้าพนักงาน ยึด/ทำลายพยานหลักฐาน และร่วมกันจำหน่ายยาเสพติด
เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุม ป. สั่งให้ ป. ส่งเมทแอมเฟตามีนที่ ป. ถืออยู่เพื่อเป็นพยานหลักฐาน การที่จำเลย นำถุงบรรจุเมทแอมเฟตามีนจากมือของ ป. หลบหนีไป เป็นการเอาไปเสียซึ่งเมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานสั่งให้ ส่งเพื่อเป็นพยานหลักฐาน มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9273/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และการบันทึกคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ตามกฎหมาย
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีอำนาจอนุญาตให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูงได้นั้นจะต้องบันทึกข้อความลงไว้ให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายโดยชัดเจน คือ จะต้องบันทึกความเห็นของตนให้ได้ความว่า ข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึก ยืนยันด้วยว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมว่า "?รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม?" เช่นนี้ จึงถือไม่ได้ว่ามีการอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9273/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คดีอาญาที่ศาลแขวงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง หากไม่มีการอนุญาตโดยชัดเจนตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมกล่าวแต่เพียงว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมมีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิ แสดงว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีอำนาจอนุญาตให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูงได้นั้นจะต้องบันทึกข้อความลงไว้ให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายโดยชัดเจนว่า ข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และตนอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมว่า รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเช่นนี้ จึงถือไม่ได้ว่ามีการอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9022-9023/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ & การคิดอัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญา
การส่งหมายเรียกพยานบุคคล 5 คนซึ่งอยู่ที่ประเทศอังกฤษให้มาเป็นพยานตามคำร้องของผู้คัดค้านต้องใช้เวลานานเกินสมควรไม่ทันกำหนดนัดสืบพยานผู้คัดค้านและผู้ร้องซึ่งศาลชั้นต้น (ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง) ได้กำหนดนัดล่วงหน้าไว้แน่นอนแล้วโดยคู่ความทั้งสองฝ่ายเห็นชอบตามรายงานกระบวนพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงไม่อนุญาต อย่างไรก็ตามศาลชั้นต้นก็มิได้ปฏิเสธคำร้องขอของผู้คัดค้านเสียทั้งหมด โดยยังคงเปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านส่งบันทึกถ้อยคำแทนการสืบพยานบุคคลของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งอยู่ต่างประเทศหรืออาจขอสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาลโดยระบบการประชุมทางจอภาพตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ข้อ 31 และข้อ 32 หรือนำพยานบุคคลดังกล่าวมาเป็นพยานเองก็ได้ แต่ผู้คัดค้านก็หาได้กระทำอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ พฤติการณ์ส่อแสดงว่าผู้คัดค้านประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเช่นนี้ชอบแล้ว
ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ร. อนุญาโตตุลาการในประเทศอังกฤษไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้เพราะผู้คัดค้านได้คัดค้านไว้แล้วตามเอกสารท้ายคำคัดค้าน โดยมิได้อ้างเหตุว่าไม่มีอำนาจพิจารณาคดีอย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศคือ เงินดอลล่าร์สหรัฐและเงินปอนด์สเตอร์ลิงเท่านั้น โดยขอให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษานั้น นอกจากจะไม่เป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสองแล้ว ยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอบังคับของผู้ร้องโดยกำหนดการคิดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำร้องขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง
of 12