คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 107 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากเจ้าหนี้เป็นจำนวนไม่เกิน 20,000 บาท ในวันเดียวกันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2ยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวตลอดจนดอกเบี้ยและเงื่อนไขในสัญญาโดยไม่ได้ระบุวงเงินค้ำประกันไว้ แสดงว่าลูกหนี้ที่ 2 ยอมเข้าค้ำประกันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ในวงเงินเพียง20,000 บาท ดังนี้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ในวงเงิน 20,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญานับแต่วันผิดนัด จนถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คำพิพากษาในคดีแพ่งที่ให้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 ร่วมรับผิดกับลูกหนี้จำเลยที่ 1 เต็มตามจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เจ้าหนี้นั้น ไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะสอบสวนและมีความเห็นให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา 94,105 และศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามมาตรา 107(3) ค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 ชำระเป็นหนี้ที่ผูกพันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และเจ้าหนี้ย่อมขอรับชำระหนี้นี้ในคดีล้มละลายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศผูกพันได้ หากไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อย
เจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อสัญญาว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาให้ใช้ กฎหมายของประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ มาบังคับแก่กรณีและดำเนินกระบวนพิจารณาทางอนุญาโตตุลาการในประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตาม ขั้นตอนขัดต่อ กฎหมายหรือขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ จึงผูกพันลูกหนี้เจ้าหนี้นำมาฟ้องบังคับในศาลไทยได้โดย ไม่จำต้องให้ศาลไทยกลับไปวินิจฉัยอีกว่าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าหนี้จึงอาศัยคำชี้ขาดทางอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศผูกพันลูกหนี้ และบังคับได้ในไทย หากไม่ขัดกฎหมาย
เจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อสัญญาว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาให้ใช้กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มาบังคับแก่กรณีและดำเนินกระบวนพิจารณาทางอนุญาโตตุลาการในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงผูกพันลูกหนี้เจ้าหนี้นำมาฟ้องบังคับในศาลไทยได้โดยไม่จำต้องให้ศาลไทยกลับไปวินิจฉัยอีกว่าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าหนี้จึงอาศัยคำชี้ขาดทางอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ผลผูกพันและขอบเขตการบังคับใช้
เจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อสัญญาว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาให้ใช้กฎหมายของประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์มาบังคับแก่กรณี และดำเนินกระบวนพิจารณาทางอนุญาโตตุลาการในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงผูกพันลูกหนี้ เจ้าหนี้นำมาฟ้องบังคับในศาลไทยได้โดยไม่จำต้องให้ศาลไทยกลับไปวินิจฉัยอีกว่าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าหนี้จึงอาศัยคำชี้ขาดทางอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนหนี้สิน และการพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลาย
แม้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำขอรับชำระหนี้ว่ามีหนี้อยู่จริงตามคำขอก็ตาม แต่ ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สิน จึงเป็นอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายเพื่อสอบสวนหาความจริงว่าหนี้รายใดขอรับชำระหนี้ได้ หรือต้องห้ามไม่ให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะใช้อำนาจนี้สอบสวนค้นคว้าหาความจริงเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรมการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนยังไม่สิ้นกระแสความแล้วอาศัยเพียงคำให้การของเจ้าหนี้ที่ตอบ คำถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งตนยังสงสัยอยู่มาอ้างเป็นข้อพิรุธสงสัยว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริงเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนหนี้สินและการพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลาย
แม้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำขอรับชำระหนี้ว่ามีหนี้อยู่จริงตามคำขอก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สิน จึงเป็นอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายเพื่อสอบสวนหาความจริงว่าหนี้รายใดขอรับชำระหนี้ได้ หรือต้องห้ามไม่ให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะใช้อำนาจนี้สอบสวนค้นคว้าหาความจริงเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรม การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนยังไม่สิ้นกระแสความ แล้วอาศัยเพียงคำให้การของเจ้าหนี้ที่ตอบคำถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งตนยังสงสัยอยู่มาอ้างเป็นข้อพิรุธสงสัยว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริงเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้กู้ยืมโดยเจ้าหนี้รู้ถึงหนี้สินของลูกหนี้ และการพิสูจน์ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
ขณะที่ลูกหนี้กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ ลูกหนี้มีสัญญารับเหมาก่อสร้างซึ่ง ทำกับ ก. และกำลังจะได้ เงินอยู่แล้ว แสดงว่าลูกหนี้มีงานมีสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างและยังมีเงินหมุนเวียนสำหรับชำระหนี้ได้ ต่อไป แม้ลูกหนี้จะเอาเงินที่กู้ยืมจากเจ้าหนี้ไปใช้ หนี้ตาม เช็ค ซึ่ง กำลังถูก ดำเนิน คดีเนื่องจากเช็ค เบิกเงินไม่ได้ ยังถือ ไม่ได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวดังนี้ฟังไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กู้ไปโดย รู้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ได้.