คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 145 วรรคสอง (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอให้เจ้าพนักงานที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดินเป็นคำขอที่ไม่ชอบ ศาลไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกที่ไม่เป็นคู่ความได้
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยได้กระทำการซึ่งเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ และฟ้องบังคับจำเลยไม่ให้กระทำการรบกวนสิทธิของโจทก์ ไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยด้วยแต่อย่างใด ฉะนั้น ที่โจทก์มีคำขอให้เจ้าพนักงานที่ดินยกเลิกการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย และออกโฉนดให้แก่โจทก์จึงเป็นคำขอที่บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีคำขอของโจทก์จึงไม่ชอบและไม่อาจบังคับได้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) เป็นเรื่องคำพิพากษาที่วินิจฉัยข้อกรรมสิทธิ์เป็นคุณแก่โจทก์สามารถใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้หาใช่เป็นเรื่องบังคับให้เจ้าพนักงานที่ดินกระทำการหรือไม่กระทำการแต่อย่างใดไม่ ปัญหาว่าศาลไม่อาจบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะเป็นการบังคับบุคคลภายนอก และมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 60 เป็นเรื่องที่มีกรณีโต้แย้งสิทธิกันเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดิน และไม่อาจตกลงกันได้ในชั้นเจ้าพนักงานที่ดิน และต้องฟ้องคดีต่อศาลซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจะต้องรอเรื่องไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดแล้วจึงให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการต่อไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วมีคำขอให้บังคับแก่เจ้าพนักงานที่ดินโดยไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินมาด้วยดังเช่นกรณีของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การครอบครองปรปักษ์และการพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าของทายาท
คำสั่งศาลที่แสดงว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อจำเลยพิสูจน์ได้ว่าโจทก์เข้าอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยเจ้าของเดิมและโจทก์ไม่เคยแสดงการเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของเดิมและจำเลยซึ่งเป็นทายาท จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ และเมื่อจำเลยไม่ต้องการให้โจทก์อาศัยต่อไปโจทก์ก็ต้องออกจากที่ดินพิพาท.