คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไกรฤกษ์ เกษมสันต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค: ต้องมีหนี้ที่บังคับได้ การรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่
การกระทำที่จะเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการกระทำความผิด มิใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณา การที่โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้และแนบสำเนาสัญญารับสภาพหนี้มาท้ายฟ้อง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด เพราะการรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่ เพียงแต่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับข้อเท็จจริงตามคำท้าในคดีแพ่ง การเบิกความของพยานผู้เชี่ยวชาญเป็นหลักฐานสำคัญ
การที่โจทก์จำเลยตกลงท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของส. เป็นข้อแพ้ชนะในคดี ถือว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 84(1) โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดเสียก่อน ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นเป็นประโยชน์ต่อคู่ความฝ่ายใด อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องยอมรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นทั้งหมดดังนั้น เมื่อ ส. เบิกความว่าน่าเชื่อว่าเส้นแนวเขตของแผนที่พิพาทส่วนที่จำเลยชี้น่าจะเป็นเส้นแนวเขตที่ถูกต้องซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของคำท้าทุกประการ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดของจำเลยแต่ละคนในคดีปล้นทรัพย์ ต้องอาศัยพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน และไม่ถือเป็นเหตุในลักษณะคดีหากพยานไม่เชื่อมโยง
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดจะเป็นเหตุในลักษณะคดีหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป ข้อเท็จจริงใดที่รับฟังต้องฟังถึงจำเลยคนอื่นเช่นเดียวกัน ย่อมเป็นเหตุในลักษณะคดี สำหรับคดีนี้พยานหลักฐานที่ใช้วินิจฉัยจำเลยที่ 5 แตกต่างจากจำเลยที่ 6 คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสองแยกกันเป็นคนละส่วนและมีข้อที่แตกต่างกัน รวมทั้งพยานอื่นที่เกี่ยวข้องกับจำเลยทั้งสองด้วย ดังนั้น พยานหลักฐานที่จะใช้วินิจฉัยความผิดของจำเลยที่ 5 จึงแตกต่างไปจากจำเลยที่ 6 มิใช่พยานชุดเดียวกันทั้งหมด จึงไม่เป็นเหตุในลักษณะคดี