พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาป่วยของลูกจ้าง: แม้ไม่ถึงขั้นไม่สามารถทำงานได้ ก็มีสิทธิลาป่วยได้ตามกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 12 มิได้มีบทบัญญัติว่า ลูกจ้างจะต้องมีอาการป่วยจนไม่สามารถทำงานได้จึงมีสิทธิลาป่วยได้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างป่วยจริงแล้วยื่นใบลาป่วย จึงมิใช่เป็นการลาป่วยเท็จ และเมื่อเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะลาได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 12จำเลยจึงจ่ายค่าจ้างในวันลาดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาป่วยต้องตรงตามข้อบังคับบริษัท และการจ่ายค่าจ้างเมื่อลูกจ้างไม่ได้ป่วยจริงแต่ฝ่าฝืนระเบียบ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การลาป่วยไว้ว่า พนักงานมีสิทธิลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างปีหนึ่งไม่เกิน30 วันทำงาน ถ้าพนักงานป่วย 3 วันทำงานติดต่อกัน พนักงานจะต้องแสดงใบรับรองจากแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง ถ้าไม่อาจทำใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งได้ให้ชี้แจงเหตุผลให้ทราบการลาป่วยต้องขอลาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ หรือระหว่างการเจ็บป่วยต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบ ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องกระทำภายใน 4 ชั่วโมงแรกของเวลาเริ่มปฏิบัติงานหรือแจ้งให้ทราบในวันแรกที่มาทำงานตามปกติ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มาทำงาน4 วัน ติดต่อกัน คือวันที่ 131415 และ 18 กันยายน 2532 โจทก์ยื่นใบลาป่วย 4 วันตามข้อบังคับของจำเลย โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง แพทย์ลงความเห็นว่าโจทก์ป่วยในวันที่ 1516 และ 18 กันยายน2532 หาได้รับรองว่าโจทก์ป่วยในวันที่ 1314 กันยายน 2533ด้วยไม่ การที่โจทก์ยื่นใบลาป่วยในวันที่ 1314 ด้วย จึงไม่ตรงต่อความจริง และไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลย จำเลยมีสิทธิปฏิเสธการลาป่วยที่ไม่ถูกต้องได้โดยไม่จำเป็นต้องให้โจทก์ทำใบรับรองแพทย์มาแสดงอีก หาเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 12 ไม่เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ในการยื่นใบลาป่วย การที่โจทก์ลาป่วยเพียง 2 วัน โดยโจทก์ไม่ได้ยื่นใบลาในวันลาและไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบในระหว่างการลา เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ป่วยจริง การฝ่าฝืนของโจทก์ดังกล่าวคงมีความผิดฐานฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเท่านั้นไม่อาจถือว่าโจทก์ขาดงานด้วยการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างในวันดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาป่วยต้องยื่นใบลาตามข้อบังคับ หากใบรับรองแพทย์ไม่ตรงกับวันที่ลาป่วย จำเลยมีสิทธิปฏิเสธการลาได้
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดการลาป่วยว่า"ถ้า พนักงานป่วยสามวันทำงานติดต่อ กัน พนักงานจะต้อง แสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบัน" การที่โจทก์ซึ่ง เป็นพนักงานลาป่วยติดต่อ กันหลายวันโดย มีใบรับรองแพทย์มาแสดงสองฉบับ แต่ใบรับรองแพทย์ดังกล่าวมิได้รับรองว่าโจทก์ได้ ป่วยในวันที่ 1314ด้วย การยื่นใบลาป่วยในวันดังกล่าวจึงไม่ตรง ตาม ข้อบังคับของจำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธการลาป่วยที่ไม่ถูกต้องของโจทก์ได้ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการลาของโจทก์ดังกล่าวไม่ถือ เป็นการลาป่วย จึงหาเป็นการขัดต่อ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 12 ไม่.