พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6706/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานยักยอกทรัพย์: ขอบเขตคำว่า 'บริษัท' ในข้อบังคับบริษัท
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดความผิดวินัยอย่างร้ายแรงคือ ลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ของบริษัทหรือของเพื่อนร่วมงานในบริเวณบริษัท คำว่า"บริษัท" มิได้หมายถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของบริษัทแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายความรวมถึงทรัพย์ที่บริษัทครอบครองดูแลรับผิดชอบอยู่ด้วย เมื่อปรากฏว่า ของขวัญนาฬิกาตั้งโต๊ะที่โจทก์เบียดบังเอาไปเป็นของผู้ที่นำมามอบให้แก่บริษัท ข. ขณะที่ของขวัญนั้นอยู่ในความครอบครองดูแลและรับผิดชอบของจำเลย และจำเลยมอบให้โจทก์ครอบครองดูแลแทน ซึ่งจำเลยจะต้องนำของขวัญ ดังกล่าวไปมอบให้บริษัท ข. กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้ยักยอกทรัพย์ของจำเลยไปตามข้อบังคับดังกล่าวอันเป็นการกระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อดังกล่าวของจำเลยในกรณีร้ายแรงแล้ว แต่กรณีมิใช่เป็นการยักยอกทรัพย์ของเพื่อนร่วมงานในบริเวณบริษัทของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากหนังสือเสนอแนวทางปรับปรุงการบริหาร การกระทำของผู้บริหารระดับสูงไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
โจทก์ทำงานกับจำเลยในหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคลการที่โจทก์เห็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารของผู้จัดการทั่วไป โจทก์จึงมีหนังสือถึงประธานกรรมการจำเลยซึ่งมีข้อความว่า "ผู้จัดการทั่วไปขาดการเรียนรู้ถึงการบริหารงาน ทำงานไม่เป็น ปฏิบัติไป ในทางลิดรอนสิทธิอำนาจในการบริหารงานของหัวหน้าแผนก งานทุกอย่างจะต้องผ่านการเห็นชอบทำให้พนักงานทำงานกันไม่ได้ เต็มที่เนื่องจากการหวาดกลัว การวิตกว่าจะถูกตัดค่าจ้าง และหรือจ่ายค่าชดเชยแก่โรงแรม" และขอเข้าพบประธานกรรมการเพื่อต้องการเสนอปัญหา และประสงค์ที่จะเสนอข้ออันควรปรับปรุงแก้ไขต่อประธานกรรมการผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้ อันเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่เป็นฝ่ายบริหารระดับสูงด้วยคนหนึ่งเท่านั้นทั้งถ้อยคำตามหนังสือไม่มีข้อความตอนใดดูถูกดูหมิ่นอันเป็นการหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลใด ๆ ของจำเลยอันถือได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรง การกระทำของโจทก์อาจเป็น ผลดีต่อจำเลยก็ได้ เมื่อโจทก์ไม่มีความผิดใดในอันที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าและค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2011/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การปฏิบัติหน้าที่บกพร่องประมาทเลินเล่อ ไม่ถึงร้ายแรง แต่พอสมควรแก่เหตุเลิกจ้างได้
โจทก์เป็นลูกจ้างธนาคารจำเลย ขณะโจทก์ทำงานเป็นสมุหบัญชีในสาขาธนาคารจำเลยได้อนุมัติให้จ่ายเงินสดแก่ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตที่มาขอเบิกเงินเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อโดยโจทก์มิได้รับประโยชน์หรือเรียกร้องเอาผลประโยชน์จากการอนุมัติ ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการอนุมัติไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่เห็นสมควร การที่โจทก์ไม่ควบคุมดูแลพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ให้ส่งใบเบิกไปให้ส่วนบัตรเครดิต สำนักงานใหญ่ในวันรุ่งขึ้นตามระเบียบของจำเลย หาใช่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่อย่างใดไม่ จำนวนเงินที่โจทก์อนุมัติให้จ่ายแก่ลูกค้าผู้นำบัตรเครดิตมาขอเบิกตามฟ้อง แม้จำเลยจะเรียกเก็บจากธนาคารที่ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตมาขอเบิกไม่ได้ เนื่องจากล่วงเลยเวลากว่า 120 วันแล้วก็ตาม แต่จำเลยก็ยังมีสิทธิที่จะทวงถามหรือฟ้องบังคับเอาแก่ลูกค้าผู้มาขอเบิกได้ การปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อของโจทก์ดังกล่าวจึงยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรง โจทก์ทำงานตำแหน่งสมุห์บัญชีมีหน้าที่ดูแลการเงินในสาขาของจำเลย การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อย่อมทำให้จำเลยเสียหาย แม้ความเสียหายดังกล่าวจะยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าการกระทำของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6715/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ไม่มีความผิดทางวินัยร้ายแรง โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบ
โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงถึงขึ้นไล่ออกหรือปลดออกจากงาน จำเลยได้ตั้งกรรมการสอบสวนการกระทำของโจทก์ ทางสอบสวนไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟังว่า โจทก์กระทำผิดวินัยที่จะต้องถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากงาน แต่มีมลทินมัวหมอง และมีพฤติการณ์อันไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ หากจะให้ปฏิบัติงานต่อไปอาจเป็นการเสียหายแก่จำเลย จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยระเบียบพนักงาน พ.ศ. 2517 ข้อ 34(3)และให้ถือว่าออกจากงานเพราะกระทำผิด ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อ 36 แห่งข้อบังคับฉบับเดียวกัน แต่เมื่อข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยระเบียบพนักงานเอกสารหมาย ล.7 ข้อ 36 มีข้อความว่า"พนักงานผู้ใดต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ตามข้อ 34ซึ่งไม่ใช่เป็นการออกจากตำแหน่งหน้าที่เพราะการกระทำผิดมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์และการสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค"และข้อ 34 แห่งข้อบังคับฉบับเดียวกันมีข้อความว่า"การสั่งให้พนักงานผู้ใด พ้นจากตำแหน่งหน้าที่โดยการให้ออกให้พิจารณาโดยเหตุดังนี้"(3) มีข้อความว่า"พนักงานผู้นั้นต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและการสอบสวนไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่าได้กระทำผิดที่จะถูกไล่ออกหรือปลดออกแต่มีมลทินหรือมัวหมองหรือมีพฤติการณ์อันไม่น่าเป็นที่ไว้วางใจซึ่งจะให้ปฏิบัติงานต่อไปอาจเป็นการเสียหายแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค" ดังนี้ ผลการสอบสวนที่สรุปว่าจำเลยไม่มีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อกล่าวหาที่จะต้องมีโทษถูกไล่ออกหรือปลดออกจากงานแต่มีมลทินหรือมัวหมอง หรือมีพฤติการณ์อันไม่น่าเป็นที่ไว้วางใจฯ ซึ่งต้องด้วยข้อบังคับฉบับดังกล่าวข้อ 34(3)นั้น ซึ่งตามเนื้อหาแล้วไม่ได้เป็นการระบุว่าโจทก์กระทำผิดวินัยในข้อใด แต่เป็นเรื่องที่ตามทางสอบสวนปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวนว่ามีเหตุสงสัยตามสมควรว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยจะอาศัยข้อบังคับฉบับดังกล่าวสั่งให้โจทก์ออกจากงานได้ก็ตาม แต่จะถือว่าโจทก์ออกจากตำแหน่งหน้าที่เพราะกระทำผิดยังไม่ได้ คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยให้ถือว่าได้กระทำผิดจึงเป็นเรื่องเกินเลยไปจากที่ข้อบังคับกำหนดไว้โจทก์ยังคงมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อ 36 แห่งข้อบังคับฉบับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: คำด่าที่ไม่ร้ายแรงและการจ่ายค่าชดเชย
ถ้อยคำที่โจทก์ด่านางวันทนีย์ว่า "อีหัวล้าน" เป็นเพียงคำไม่สุภาพ ไม่ถึงกับเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง การที่จำเลยระบุในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทอย่างร้ายแรงและกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างเท่านั้น เท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเหตุที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเหตุเลิกจ้าง ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย จำเลยจึงยกเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ การที่โจทก์กล่าวเพียงคำว่า "อีหัวล้าน" เท่านั้น มิได้กล่าววาจาหรือแสดงกริยาอื่นใดอีก เพียงถ้อยคำซึ่งกล่าวด้วยอารมณ์ผิดหวังและไม่พอใจจากการที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การพิจารณาเหตุผลเลิกจ้างตามคำสั่งเลิกจ้างและพฤติการณ์ก่อนเกิดเหตุ
ตามคำสั่งเลิกจ้าง นายจ้างระบุในคำสั่งเลิกจ้างว่า ลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรงและกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างเท่านั้น เท่ากับนายจ้างประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างทั้งสองประการดังกล่าวเป็นเหตุเลิกจ้าง ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย ดังนี้เมื่อนายจ้างถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ การที่นายจ้างยกเหตุว่าลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายขึ้นต่อสู้ ศาลย่อมไม่รับวินิจฉัย นายจ้างมิได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามกำหนดเวลาซึ่งถือว่าเป็นการผิดสัญญาและไม่ชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 29 ย่อมทำให้ลูกจ้างผิดหวังเกิดความรู้สึกไม่พอใจนายจ้าง และมายืนออกันอยู่ที่หน้าโรงงาน เมื่อเห็นนายจ้างขับรถผ่านมาลูกจ้างได้กล่าวถ้อยคำว่า "อีหัวล้าน" ต่อนายจ้างซึ่งกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงความไม่พอใจต่อนายจ้างอันมีผลสืบเนื่องมาจากการที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ นอกจากถ้อยคำดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างก็มิได้กล่าววาจาหรือแสดงกริยาอย่างอื่นใดประกอบอีก เพียงถ้อยคำซึ่งกล่าวด้วยอารมณ์ผิดหวังดังเช่นกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง และถ้อยคำดังกล่าวเป็นเพียงถ้อยคำที่ไม่สุภาพไม่ถึงกับเป็นการดูหมิ่นนายจ้างซึ่งหน้า จึงมิใช่เป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีแถลงการณ์กล่าวหานายจ้างสร้างความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง
กรรมการลูกจ้างซึ่งเป็นผู้คัดค้านทำและแจกจ่ายแถลงการณ์ด่วนพิเศษมีข้อความกล่าวถึงผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างว่า "พอเข้าทำงานแล้วบริษัทฯ ก็ยังพูดว่า บริษัทฯ อยากให้เกิดความสามัคคีเหมือนเดิมแต่พอพนักงานเข้ามาทำงานแล้ว ให้ความร่วมมือกับทางบริษัทในการทำงานแต่ทางบริษัทฯ ยังทำให้พนักงานกับสหภาพฯ แตกสามัคคีมาโดยตลอดจนกระทั่งมาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2525 ทางบริษัทฯ ได้โยกย้ายคณะกรรมการสหภาพฯ โดยมีเจตนากลั่นแกล้งและแก้แค้นคณะกรรมการสหภาพฯ และ "ทางสหภาพฯ ยังรู้ข้อมูลอีกว่า พวกเรานัดหยุดงานนั้น พวกที่เข้าทำงานก่อนได้เงินปลอบขวัญอีกมากพอสมควรให้กับพวกที่เข้ามาทำงานอีกโดยที่พวกเราไม่ได้อย่างนี้พวกเราก็เห็นแล้วว่าบริษัทฯ ไม่มีความจริงใจต่อพนักงาน และบริษัทฯ ต้องการที่จะให้พนักงานแตกแยกกันด้วย ฉะนั้น ขอให้พนักงานเล็งเห็นว่าบริษัทฯ ยังเล่นพวกเราไม่เลิกโดยพยายามจะล้มองค์กรสหภาพฯ" และ"ในเมื่อบริษัทฯ เคยพูดว่าเราจะล้มเรื่องเก่า ๆ และไม่มีการกลั่นแกล้งต่อพนักงานทุกคน...แล้วคุณโกมลพูดที่โรงอาหารเมื่อเราเข้าทำงานในวันแรกแล้วทำไมผู้ใหญ่ถึงพูดกลับกลอกอย่างนี้ พวกเราจะเชื่อถือได้อย่างไร" ข้อความดังกล่าวแม้จะอ่านรวมกันแล้วก็ยังเป็นการกล่าวหาผู้ร้องว่ามีพฤติการณ์ในทางร้าย กลั่นแกล้งและแก้แค้นผู้คัดค้านทั้งเก้าซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานไม่เลิกรา ไม่เป็นไปตามที่พูดไว้ ผู้ร้องไม่มีความสุจริตใจ ต้องการให้พนักงานแตกความสามัคคี พยายามทำให้สหภาพแรงงานซึ่งเป็นองค์กรของลูกจ้างเลิกไปและกล่าวหาผู้ร้องว่าเป็นคนไม่อยู่กับร่องกับรอย ซึ่งข้อความดังกล่าวล้วนแต่ทำให้ลูกจ้างและผู้อ่านข้อความนั้นรู้สึกว่า ผู้ร้องประพฤติปฏิบัติตนไม่ดี ไม่ถูกต้อง และไม่มีคุณธรรมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างทั้งสิ้น การทำและแจกจ่ายแถลงการณ์ด่วนพิเศษดังกล่าวจึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อันเป็นความผิดร้ายแรงตามข้อบังคับซึ่งร่วมกันกำหนดขึ้นระหว่างผู้ร้องกับสหภาพแรงงานที่ผู้คัดค้านเป็นสมาชิกอยู่ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านที่กระทำความผิดดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เมาสุราเข้าทำงานในโรงงาน ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า ห้ามพนักงานดื่มหรือเสพสุราในขณะปฏิบัติงานหรือในบริเวณโรงงานหรือบริษัทโดยมิได้รับอนุญาตจากฝ่ายบริหารเป็นอันขาดผู้ใดฝ่าฝืนถือเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวมีความมุ่งหมายที่จะห้ามมิให้พนักงานมึนเมาสุราในขณะปฏิบัติงาน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของจำเลยและผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของจำเลย การที่โจทก์ออกไปดื่มสุราข้างนอกบริษัทแล้วเมาสุรากลับเข้าไปทำงานในโรงงานหรือบริษัท ย่อมถือได้ว่าโจทก์เมาสุราในขณะปฏิบัติงานนั่นเองอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวและเมื่อลักษณะงานของโจทก์เป็นงานขับรถเครน ยกของหนักซึ่งโจทก์ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง ทั้งเคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับเครนทำให้พนักงานของจำเลยได้รับบาดเจ็บสาหัสการกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการยักยอกทรัพย์ของลูกจ้างอื่น แม้ไม่ให้ความร่วมมือ
นางสาว ร. ลูกจ้างคนหนึ่งของจำเลยยักยอกทรัพย์ของจำเลยไป แต่โจทก์ไม่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินนั้น และความเสียหายที่เกิดแก่จำเลยก็เป็นการกระทำของนางสาว ร. โจทก์มิได้กระทำการใด ๆเป็นที่เสียหายแก่จำเลย แม้โจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการติดตามเอาทรัพย์ที่ นางสาว ร.ยักยอกไปและจับกุมนางสาวร. ได้ขณะอยู่กับโจทก์ก็ตาม ก็หาเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(2) ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง: การป่วยของลูกจ้างไม่ใช่เหตุให้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่ได้เกิดจากการกระทำของลูกจ้างเอง
ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(2)และ (5) ที่แก้ไขใหม่ ระบุว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้ รับความเสียหายหรือลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้ รับความเสียหายอย่างร้ายแรงดังนี้การที่โจทก์ป่วยไม่สามารถปฏิบัติงานตาม หน้าที่ได้ ตาม ปกตินั้นเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตาม สภาพร่างกายโดย ธรรมชาติ มิใช่เกิดจากการกระทำของโจทก์ ถือ ไม่ได้ว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้ รับความเสียหายหรือเป็นการกระทำโดย ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้ รับความเสียหาย เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้อง จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.