คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานละทิ้งหน้าที่ และสิทธิในการได้รับเงินประกัน/ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
จำเลยมีระเบียบเกี่ยวกับเงินประกันความว่า "หากมีความเสียหายเกิดขึ้นอันอยู่ในความรับผิดชอบตามหน้าที่ของพนักงาน ไม่ว่าจะโดยเจตนา ไม่เจตนา ประมาทเลินเล่อ อันเป็นความผิดจากการกระทำของพนักงาน โรงพยาบาลมีสิทธิหักค่าเสียหายออกจากเงินประกันได้ทันทีตามความเป็นจริง และพนักงานต้องไม่กระทำความผิดสถานร้ายแรงตามกฎหมาย และถูกเลิกจ้างตามความผิดนั้นโรงพยาบาลจะคืนเงินประกันให้"การที่โจทก์ขาดงานอันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นเวลาติดต่อกันถึงห้าวัน ย่อมเป็นการเสียหายแก่จำเลยอยู่ในตัวและถือได้ว่าเป็นการร้ายแรง เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุนี้จึงเข้าเกณฑ์ตามระเบียบดังกล่าว ซึ่งจำเลยมีสิทธิหักเงินประกันได้ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า สำหรับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง: การป่วยของลูกจ้างไม่ใช่เหตุให้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่ได้เกิดจากการกระทำของลูกจ้างเอง
ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(2)และ (5) ที่แก้ไขใหม่ ระบุว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้ รับความเสียหายหรือลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้ รับความเสียหายอย่างร้ายแรงดังนี้การที่โจทก์ป่วยไม่สามารถปฏิบัติงานตาม หน้าที่ได้ ตาม ปกตินั้นเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตาม สภาพร่างกายโดย ธรรมชาติ มิใช่เกิดจากการกระทำของโจทก์ ถือ ไม่ได้ว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้ รับความเสียหายหรือเป็นการกระทำโดย ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้ รับความเสียหาย เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้อง จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.